January 23, 2025

เพราะการเก็บเงินจริงจัง เป็นเรื่องยากของเด็กจบใหม่ หรือวัยเริ่มทำงาน โดยเฉพาะคนที่อยากสร้างเนื้อสร้างตัวเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยเงินเดือนที่อยู่ในระดับ Entry Level หรือเพิ่งเริ่มต้น ซึ่งหลายคนนอกจากต้องรับมือกับค่าใช้จ่ายส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่อยู่อาศัย หรือค่าอาหารในทุกวันแล้ว อาจต้องชำระคืนทุนการศึกษา หรือต้องช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้านอีกด้วย ดังนั้น First Jobbers อาจพบเจอความท้าทายทางการเงินได้หลากหลาย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนคุณมารู้จักเคล็ดลับ 5 นิสัยที่ช่วยให้วัยเริ่มทำงานเก็บเงินได้ไวขึ้น เพื่อการเงินที่ดีขึ้น

  1. กำหนดงบประมาณที่ใช้ต่อเดือน

 ไม่ว่าการเริ่มต้นชีวิตมนุษย์ทำงานจะยุ่งเหยิงแค่ไหน แบกอะไรบ้าง แต่เรื่อง “การเงิน”ต้องไม่หลุดโฟกัส เมื่อตั้งใจเก็บเงินอย่างจริงจัง สิ่งสำคัญคือ การคุมงบใช้จ่ายอย่างหนักแน่น ซึ่งการรู้จักตัวเองว่าในแต่ละเดือน ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับอะไร เท่าไหร่ ทั้งค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมถึงค่าชอปปิงต่าง ๆ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดสรรงบประมาณที่ใช้จ่ายต่อเดือน และการแยกบัญชีเป็นสัดส่วน 2 บัญชี คือ บัญชีเพื่อใช้และเพื่อออม เป็นตัวช่วยที่ดีในการจัดสรรเงิน และช่วยให้ติดตามการใช้เงินได้ง่ายขึ้น โดยจะได้รู้ว่าใช้เงินค่าอะไรไปเท่าไหร่ ตลอดเดือนจะเหลือเงินให้ใช้เท่าไหร่ ใกล้เต็มลิมิตแล้วหรือยัง และทำให้มั่นใจได้ว่าไม่รบกวนเงินที่ตั้งใจเก็บไว้แน่นอน

  1. ตั้งเป้าหมายการออม

เมื่อมีอิสระทางการเงินของตัวเองและทำงานเหนื่อย การเปย์ตัวเองด้วยของรางวัลจึงเป็นเรื่องปกติของวัยเริ่มทำงาน แต่หากมีความตั้งใจเก็บเงินให้ไวขึ้น การตั้งเป้าหมายการออมจะช่วยให้มีความแน่วแน่และข้ามผ่านอุปสรรคยั่วยวนใจได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายระยะสั้น เช่น เดือนนี้จะเก็บเงินให้ได้ 5,000 บาท เพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ ซื้อของที่อยากได้มานาน หรือเป้าหมายระยะยาว เช่น เก็บเงินเพื่อดาวน์คอนโด ดาวน์รถ การมีเส้นชัยที่ต้องไปให้ถึง ย่อมทำให้มีกำลังใจในการเก็บเงินโดยไม่ล้มเลิกไปเสียก่อน

  1. มีเงินสำรองฉุกเฉิน

เพราะชีวิตมีความไม่แน่นอน อาจเจอเรื่องไม่คาดฝันได้ทุกเวลา เช่น เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ มีเรื่องให้จำเป็นต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ หรืองานที่ทำยังไม่มั่นคง อาจมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนงาน ออกจากงาน เงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นเบาะรองรับสำคัญ เมื่อถึงวันสะดุดล้มก็ไม่เจ็บช้ำจนเกินไป

หนึ่งทางออกเพื่อรองรับความเสี่ยงเหล่านี้คือ การสำรองเงินบางส่วนไว้ผ่านการเปิดบัญชีเงินฝากที่มีประกันอุบัติเหตุฟรี เช่น เปิดบัญชีเงินฝาก ttb all free ที่ทำธุรกรรมออนไลน์ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วผ่าน แอป ttb touch ที่สำคัญยังได้ประกันอุบัติเหตุฟรี เบิกค่ารักษาได้ 3,000 บาท/อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพียงคงเงินฝากไว้ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ทุกวันตลอดทั้งเดือน

หากอายุยังน้อยและไม่แน่ใจว่าจะซื้อประกันอะไรดี แค่มีเงินฝากเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ttb all free ก็ได้รับประกันอุบัติเหตุฟรีแบบไม่ต้องสมัครอะไร หรือเสียค่าอื่นใดเพิ่ม เริ่มต้นสร้างวินัยทางการเงิน ด้วยการมียอดเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี ttb all free ให้ได้ตามเงื่อนไข เพิ่มความคุ้มครองทางการเงินได้อีกทาง

  1. ทำบันทึกรายรับรายจ่าย

หลายคนอาจมองว่าการทำบันทึกรายรับรายจ่ายยุ่งยาก เพราะต้องติดตามว่าในแต่ละวันจ่ายเงินค่าอะไรบ้าง ทว่าที่จริงแล้ว นิสัยการใช้จ่ายของคนวัยทำงานในปัจจุบัน มักเลือกโอนเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้ง หรือรูดจ่ายผ่านบัตรเดบิต ทำให้การทำบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยย้อนทวนความจำหรือว้าวุ่นกับเงินหล่นหาย เพราะมีหลักฐานทุกครั้งที่โอนเงินออกจากบัญชี ย้อนกลับมาดูก็เห็นทั้งภาพรวมและรายละเอียดทุกรายการ ทำให้ช่วยประเมินตัวเองได้ง่ายขึ้น จัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายได้อย่างชัดเจน และเห็นภาพว่ายอดใช้จ่ายไหนควรตัดออกเพื่อให้เก็บเงินได้มากขึ้น

สะดวกมากขึ้นด้วยฟังก์ชัน ‘Smart Search’ จากแอป ttb touch ให้คุณค้นหา และเรียกดูทุกรายการเดินบัญชีได้ง่าย ๆ เป็นตัวช่วยบันทึกและสรุปรายการใช้-จ่าย ให้คุณวางแผน ดูแลการเงินได้ดีขึ้น

  1. เลี่ยงการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้

 การใช้จ่ายเกินตัวของวัยทำงานอาจกลายเป็นภาระหนี้ที่ยากเกินแบกรับ ดังนั้น หากเป้าหมายคือการมีเงินเก็บ สิ่งสำคัญที่ต้องเลี่ยงคือ “หนี้” เพราะการมีหนี้หมายถึงการหยิบยืม ที่จำเป็นต้องจ่ายคืนในภายหลัง ซึ่งหากเป็นหนี้แล้ว การจะสำรองเงินไว้เพื่อการออมอาจเป็นเรื่องยากขึ้น หาเงินได้เท่าไหร่ก็ต้องนำไปจ่ายคืนในส่วนที่หยิบยืมมา

หากทำได้ทั้ง 5 ข้อดังกล่าวข้างต้น ก็จะทำให้วัยเริ่มทำงานมีโอกาสเก็บเงินได้เร็วมากขึ้น และการเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อเก็บเงินอย่างจริงจังควบคู่กันไปด้วยนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างรากฐานที่มั่นคงตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมเปิดโอกาสให้ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ได้มากกว่า

รถยนต์ถือเป็นทรัพย์สินที่มากกว่าแค่ใช้ขับขี่ แต่ยังสามารถใช้เพื่อสร้างรายได้ และต่อยอดโอกาสได้มากมาย เช่น ปล่อยให้เช่า หรือนำไปประกอบธุรกิจในการรับส่งของ รวมทั้งสามารถผันไปเป็นหลักประกันเงินกู้ยามจำเป็นได้อีกด้วย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะมาช่วยเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างสินเชื่อยอดนิยมทั้ง 2 รูปแบบ คือ รีไฟแนนซ์รถยนต์ และสินเชื่อรถแลกเงิน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนการกู้ยืม

รีไฟแนนซ์รถยนต์

รีไฟแนนซ์รถยนต์ คือ สินเชื่อทางเลือกสำหรับคนที่มีรถแต่ยังผ่อนไม่หมด แม้จะมีภาระผูกพันทางการเงิน แต่สินเชื่อประเภทนี้ช่วยให้ผู้กู้สามารถใช้รถยนต์เป็นหลักประกันในการกู้ได้  แต่ก็ยังสามารถนำรถยนต์ไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งประโยชน์ที่นำไปใช้จากเงินก้อนนี้ ได้แก่ ช่วยขยายระยะเวลาการผ่อนคืนได้นานขึ้น อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระที่ลดลงเมื่อเทียบกับหนี้เดิม และที่สำคัญช่วยคลายความเครียดจากภาระการผ่อนรายเดือน รวมทั้งหากมีเงินส่วนต่างเหลือยังสามารถนำไปจัดสรรเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้

ตัวอย่างการทำสินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์

หากกู้เงินเพื่อผ่อนรถเป็นจำนวน 500,000 บาท โดยผ่อนไปแล้ว 300,000 บาท เหลือเงินอีก 200,000 บาท และหากสถาบันการเงินทำการประเมินมูลค่ารถยนต์อีกครั้งและปล่อยกู้ได้ที่ 350,000 บาท เราก็จะสามารถนำเงินที่ได้ตรงนี้ไปปิดหนี้ที่เหลืออยู่ 200,000 บาทได้ โดยที่ยังเหลือเงินกู้ส่วนต่างอีกจำนวน 150,000 บาท ซึ่งสามารถนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพื่อต่อยอดทำธุรกิจ หรือนำไปชำระหนี้ส่วนอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อรถแลกเงิน

สำหรับสินเชื่อรถแลกเงิน เป็นสินเชื่อเพื่อคนมีรถที่ผ่อนชำระหมดแล้ว โดยผู้ที่ต้องการกู้สามารถใช้รถยนต์หรือเล่มทะเบียนรถเป็นหลักค้ำประกันเพื่อยื่นขอกู้สินเชื่อได้ และยังสามารถนำรถไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งทางธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะแบ่งประเภทสินเชื่อรถแลกเงินออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบโอนเล่มทะเบียนรถ และ แบบไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน ซึ่งโดยปกติสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีเงื่อนไขในการรับรถยนต์ที่ขอยื่นกู้จำเป็นต้องมีอายุการงานไม่เกิน 16 ปี

เมื่อจำเป็นต้องกู้เงินโดยใช้รถเป็นหลักประกันนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องเลือกพิจารณา คือ รถที่จะนำไปเป็นหลักประกันยังมีภาระผูกพันทางการเงินหรือไม่ เพราะถ้าหากยังผ่อนไม่หมด การรีไฟแนนซ์อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยปิดวงเงินสินเชื่อเดิม และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง รวมทั้งอาจมีเงินกู้เหลือพอที่จะนำไปใช้เป็นเงินทุนทำอย่างอื่น ในทางกลับกัน หากมีรถที่ผ่อนหมดแล้ว สามารถขอสินเชื่อรถแลกเงินเพื่อเพื่อนำเงินไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ทางการเงินที่ต้องการได้

ดังนั้น ก่อนตัดสินใจว่าจะเลือกทำสินเชื่อแบบใดแบบหนึ่ง ควรหาข้อมูล และขอรายละเอียดให้ครบถ้วนจากสถาบันการเงินเสียก่อน เช่น เงื่อนไขในการปล่อยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย วงเงินที่ให้ การให้บริการ และรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อนำมาเปรียบกันหลาย ๆ ที่เพื่อให้สามารถได้รับสิ่งที่คุ้มค่าและดีที่สุด

มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ

เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-075 

หรืออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fintips-car-loan  

อยากมี “บ้าน” สักหลัง เป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน

สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ การสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ดี เปรียบเสมือนการมีกุญแจสำคัญเพื่อไขไปสู่อนาคตที่สดใสของลูก

การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดก็ตาม ควรทำการศึกษาและเข้าใจในสินทรัพย์นั้น ๆ ให้ดีเสียก่อน

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click