มนุษย์เงินเดือน หากจัดการเงินไม่เป็น ติดสไตล์สายเปย์ ก็มักจะหลงเข้าไปในวงจรการเงินแบบเดือนชนเดือน วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนคุณมาเปลี่ยน...จากมนุษย์เงินเดือนสายเปย์ไม่เลือก เป็นมนุษย์เงินเดือนสายเปย์แบบสมาร์ทให้คุณรู้จัก วางแผนใช้จ่าย เก็บออม และพร้อมลงมือทำ เพื่อการเงินที่ดีทั้งวันนี้และในอนาคต เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเปิดบัญชีเงินฝาก พร้อมตัวช่วยอย่าง “บัตรเดบิต”

บัตรเดบิต ตัวช่วยให้คุณไม่ต้องพกเงินสด ซึ่งแต่ละการใช้จ่าย ยอดจะถูกตัดจากเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ที่ผูกกับบัตร ช่วยให้บริหารรายจ่ายได้ง่ายขึ้น ไม่เกินตัว เกินกำลัง ตามเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก่อนจะทำบัตรเดบิตสักใบ มาดูกันกับ “5 เรื่องบัตรเดบิตต้องรู้”

  1. ศึกษาเงื่อนไขให้เข้าใจ

บัตรเดบิตของแต่ละธนาคารย่อมมีเงื่อนไขการใช้แตกต่างกัน ก่อนสมัครจึงควรทำความเข้าใจกับเงื่อนไขของแต่ละบัตรให้ดีเพื่อเลือกทำบัตรที่ตรงกับความต้องการ อาทิ มีค่าธรรมเนียมอย่างไร มีเงื่อนไขฝากขั้นต่ำครั้งแรกหรือไม่ ซึ่งบัตรเดบิต ttb all free เป็นบัญชีเงินฝากใหม่ที่ให้ฟรีสารพัดรายการไม่ว่าจะเป็น

  • ฟรีค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี
  • ฟรีค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต รูปแบบบัตรดิจิทัล ใช้จ่ายออนไลน์ได้สะดวก
  • ฟรีค่าธรรมเนียมกดเงินกับตู้เอทีเอ็ม
  • ฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินทั่วประเทศ
  • ฟรีค่าธรรมเนียม เติมเงิน และจ่ายบิล ทั้งผ่านตู้เอทีเอ็ม และ บนแอป ttb touch
  1. เลือกประเภทบัญชีที่ตอบโจทย์

บัตรเดบิตเป็นการทำบัตรกดเงินที่ผูกเข้ากับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพราะฉะนั้นเมื่ออยากเปิดบัญชีเงินฝากให้ตรงกับความต้องการจึงควรเลือกดูทั้งเรื่อง ค่าธรรมเนียม เงินฝากขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงื่อนไขในการถอนเงิน เพื่อเปรียบเทียบประเภทบัญชีเงินฝากที่ตอบโจทย์มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อต้องการเปิดบัญชีไว้ใช้จ่ายเป็นหลัก เก็บออมเป็นรอง ประเภทบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ฟรีอาจเป็นคำตอบที่ดีของใครหลายคน เช่น บัตรเดบิต ttb all free ที่สามารถใช้จ่ายได้อย่างอิสระ ไม่มีบวกเพิ่มค่าธรรมเนียมให้เป็นภาระการใช้จ่าย ใช้จ่ายบิล ซื้อของออนไลน์ หรือใช้จ่ายต่างประเทศก็ทำได้ ยิ่งถ้าเป็นคนชอบช้อปออนไลน์ ใช้จ่ายออนไลน์ หรือทำอะไรบนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ บัตรเดบิต ttb all free ดิจิทัล จะช่วยตอบโจทย์ได้มาก ที่สำคัญไม่มีค่าธรรมเนียมออกบัตรและรายปี

  1. ติดตามยอดเงินบนบัตรเดบิตผ่านแอปธนาคารฯ หรือ โมบายแบงก์กิ้ง ได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก และปลอดภัยขึ้นได้

ใส่ใจกับการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ฝึกทักษะทางการเงิน และการรับผิดชอบตัวเอง พร้อมตรวจสอบ และติดตามยอดเงินบัตรเดบิตผ่านแอปธนาคารฯ จะได้รู้ตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าเมื่อไหร่ใช้จ่ายเยอะเกินไป

  1. รู้วิธีเก็บบัตรเดบิตให้ปลอดภัย

เมื่อมีบัตรเดบิตเป็นของตัวเอง สิ่งสำคัญ คือ วิธีเก็บบัตรให้ปลอดภัย โดยเฉพาะในยุคที่มิจฉาชีพเกลื่อนเมืองแถมเข้าถึงตัวได้ทุกเมื่อ ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังเรื่องของข้อมูลบัตรเดบิตเป็นพิเศษ ไม่ถ่ายรูปบัตรลงโซเชียลโดยเด็ดขาด รวมทั้งไม่บอกและไม่กรอกข้อมูลบัตรสุ่มสี่สุ่มห้า หากมีเหตุทำบัตรหล่นหาย หาบัตรไม่เจอ มีการแจ้งเตือนกดเงินที่ไม่ได้เป็นคนกดเอง

สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรก คือ การอายัดบัตร โดยลูกค้าทีทีบีสามารถอายัดบัตรผ่านแอป ttb touch ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  • เข้าหน้าหลักแอป ttb touch จากนั้นเลื่อนหาปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง
  • เลือกเมนูเงินฝากที่ต้องการอายัดบัตร
  • เลือกแถบข้อมูลบัญชี
  • เลื่อนลงมาที่หัวข้อ การจัดการบัญชี เลือกเมนู บัตรเดบิต
  • เลือกประเภทบัตรเดบิตที่ต้องการอายัด
  • กดอายัดบัตร
  • อ่านรายละเอียด หากเข้าใจแล้วกดอายัดบัตร
  • ใส่ PIN เพื่อยืนยันการทำรายการ
  • ทำรายการอายัดบัตรเดบิตสำเร็จ
  1. เลือกบัตรเดบิตที่ให้สิทธิประโยชน์คุ้มกว่า

ข้อเปรียบเทียบสุดท้ายก่อนจะเลือกทำบัตรเดบิตสักใบคือเรื่องของความคุ้มค่า หลายคนจึงมองหาบัตรที่ให้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ากว่าการเก็บเงินไว้เฉย ๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ฝากเงินไว้ครบตามเงื่อนไขก็จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี และมีบัตรเดบิตที่คุ้มค่าในทุกการใช้จ่าย เช่น บัตรเดบิต ttb all free ฝากเงินไว้ได้ฟรีประกันอุบัติเหตุ เพียงเก็บเงินไว้ในบัญชีอย่างน้อย 5,000 บาท ก็ได้รับสิทธิ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาก่อน

ง่าย ๆ เพียงแสดงบัตร all free E-Care Card ในแอปพลิเคชัน ttb touch สถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 3,000 บาท/อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

จะเห็นได้ว่าบัตรเดบิตก็สามารถเป็นตัวช่วยในการจัดการเรื่องเงินให้ดีขึ้นได้ และเป็นได้มากกว่าบัตรเดบิต ด้วยสิทธิประโยชน์อื่น ๆ หรือการดูแลคุ้มครอง…รู้อย่างนี้แล้ว มาวางแผนการเงินให้ดีขึ้นได้ด้วย บัตรเดบิตที่ตอบโจทย์ชีวิตมนุษย์เงินเดือนด้วยกันเถอะ!

ทีเอ็มบีธนชาต โดย นางประภาศิริ โฆษิตธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล (ซ้ายสุด) ร่วมมอบรางวัลและแสดงความยินดีแก่ผู้โชคดีจากการซื้อสลากบำรุงสภากาชาดไทย ประจำปี 2566 รายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือสังคมและสาธารณกุศลต่อไป ซึ่งผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลใหญ่ รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ รุ่น C 220 d Av ได้แก่ นางสาวอโนชา เสนาะ (ที่ 2 จากซ้าย) และผู้ที่ได้รับรางวัลทองคำแท่งหนัก 10 บาท จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ นายสมภพ อินทรประสงค์, นายกิตติ จรัสรัตน์วัฒนา, นางสาวนพมาศ วัฒนเลี้ยงใจ และนายศรัณย์ ศิริภัทรประวัติ (ตามลำดับที่ 3 จากซ้าย) นอกจากนี้ ธนาคารยังได้มอบของรางวัลให้กับผู้โชคดีท่านอื่น ๆ ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “การให้” ผ่านสาขาธนาคารทั่วประเทศ ได้แก่ สร้อยคอทองคำหนัก 0.25 บาท จำนวน 50  รางวัล  และทองแท่งน้ำหนัก 0.125 บาท จำนวน 660 รางวัล รวม 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ณ ทีทีบี สำนักงานใหญ่

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ส่ง ttb spark academy ร่วมขับเคลื่อน Tech & Data Ecosystem ปูโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับประเทศ มุ่งพัฒนาคนรุ่นใหม่ตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัล เปิดกว้างให้นิสิต นักศึกษาที่สนใจด้าน Tech & Data และสาขาอื่น ๆ เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แข็งแกร่ง ผ่านจุดแข็งที่แตกต่างจากองค์กรอื่น ด้วยการลงมือทำจริงและนำผลงานสู่ลูกค้าได้จริงจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ / บริการ และขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละคนตลอดทุกช่วงชีวิต พร้อมเสริมมายเซ็ท (Mindset) เด็กรุ่นใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงของธุรกิจและอุตสาหกรรม

นายนริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งนำองค์ความรู้และประสบการณ์ส่งต่อให้สังคมเพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่มาตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัล ผ่านการสร้างพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ โดย ttb spark academy ได้จัดทำโครงการ Tech & Data Internship Program พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ รวมถึงน้อง ๆ จากมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยีและฐานข้อมูล (Tech & Data) ได้มาสัมผัสและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากพี่ ๆ ผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยพัฒนาและต่อยอดความรู้ ความสามารถของเด็กรุ่นใหม่ (Tech & Data Talent) ให้แข็งแกร่ง พร้อมโอกาสเติบโตในสายงานในอนาคต โดยในช่วงที่ผ่านมาได้คัดเลือกนิสิต นักศึกษามาฝึกงานในสายงาน Tech & Data นำเสนอความคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ จำนวน 69 คน จากผู้สมัครเกือบ 1,700 คน ผ่านการลงมือทำจริงและนำผลงานสู่ลูกค้าทีทีบีได้จริง

“การสร้าง Tech & Data Ecosystem ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับประเทศ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้าง คนเข้ามาขับเคลื่อน ซึ่งบุคลากรด้าน Tech & Data มีความสำคัญกับประเทศอย่างมาก ไม่ใช่แค่ภาคการเงิน โดยสะท้อนได้จากความต้องการที่เพิ่มสูงต่อเนื่อง และเกิดการแย่งชิงบุคลากรในสาขานี้ ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะ Tech & Data Talent เหล่านี้ จะเป็นผู้ขับเคลื่อนยุคต่อไปของประเทศ แต่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) จะทำให้องค์ความรู้เปลี่ยนไปเร็วมาก บางครั้งสิ่งที่เรียนมาอาจจะไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ ttb spark academy ทำ คือ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้พัฒนาศักยภาพทางด้าน Tech & Data ซึ่งเป็นศาสตร์สำคัญที่จำเป็นต่อโลกในยุคปัจจุบันและอนาคต”

โดย ttb spark academy ประกอบกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ภายใต้ 3 เรื่อง คือ 1. Build ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ด้าน Tech & Data เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมสนับสนุนและพัฒนานิสิต นักศึกษาที่สนใจด้านเทคโนโลยีและ Data Scientist รวมไปถึงด้านการเงิน การธนาคาร การตลาด เพื่อกระตุ้นให้ตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของ Tech & Data และสามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ ผ่าน knowledge sharing session รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับโลกการทำงานจริงและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาในภาคอุตสาหกรรมได้ โดยมีผู้สนใจสมัครร่วมโครงการจำนวนกว่า 2,000 คน 2. Groom ให้นิสิต นักศึกษามีโอกาสได้ค้นพบและทดลองสิ่งที่ตัวเองชอบผ่านการฝึกงานและการทำเวิร์คชอปในสาย Tech & Data จำนวน 69 คน จากผู้สมัครเกือบ 1,700 คน และ 3. Growth ต่อยอดให้นิสิต นักศึกษาที่ฝึกงานได้ทำงานจริงและนำมาต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นผ่านการสร้างดิจิทัลโซลูชันด้วยแนวคิด Humanized Digital Banking หรือ ดิจิทัลแบงก์กิ้งที่เป็นมิตร รู้จัก และรู้ใจ พร้อมให้ความสำคัญกับการมี Mindset ที่สอดคล้องไปกับโลกความจริงของธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ ttb spark academy มีจุดแข็งที่ทำให้ทีทีบีแตกต่างจากองค์กรอื่น ๆ

และล่าสุดทีทีบีร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านพัฒนาการศึกษายุคใหม่สู่การปฏิบัติจริงในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านดิจิทัลและดาต้า รวมถึงด้านอื่น ๆ ที่สามารถประยุกต์เข้ากันได้ เพื่อตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ทั้งในภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่มีความจำเป็นต่อภาคธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งเน้นสนับสนุนและพัฒนากำลังคนด้าน Data Science ที่สนใจในธุรกิจการเงิน การธนาคาร และการตลาด โดยทีทีบีเปิดพื้นที่สร้างประสบการณ์การทำงานจริงในช่วงการฝึกงานให้นิสิต นักศึกษา ภายใต้โครงการ "Stat Chula Project-Based Summer Internship Program" ที่เป็นความร่วมมือต่อเนื่องมาแล้วถึง 3 ปี

“ประเทศของเราต้องการพัฒนา Digital Transformation ที่มากกว่านี้ บุคลากรต้องสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ttb spark academy จึงไม่เพียงเปิดประตูวิสัยทัศน์ของการธนาคารดิจิทัลที่มุ่งเน้นความเป็นมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมพร้อมและปั้น Young Tech และ Data Talent เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงิน โดยในการฝึกงาน เรามองนักศึกษาเป็นเหมือนพนักงานคนหนึ่งและมีพี่เลี้ยง (Mentor) ประกบแบบ 1 ต่อ 1 พร้อมวางเป้าหมายของการฝึกงาน นอกจากนี้ยังเปิดกว้างให้นิสิต นักศึกษาที่เรียนด้านเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ บัญชี และอื่น ๆ เข้าร่วมโครงการ เพราะคนทำงาน Tech & Data ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ไปพร้อมกัน คือ นอกจากเข้าใจในหลักการแล้ว ต้องเข้าใจลูกค้าได้อย่างแท้จริง เพื่อนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละคนตลอดทุกช่วงชีวิต ตอกย้ำการเป็นธนาคารผู้นำด้านการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย นายนริศ กล่าวสรุป


ข้อมูลเพิ่มเติม Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล คือ กระบวนการนำข้อมูลมาสร้างมูลค่า ผ่านการวิเคราะห์ วิจัย เพื่อทำความเข้าใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะสามารถช่วยธุรกิจในแง่มุมไหนได้บ้าง จากนั้นจะเป็นการนำข้อมูลมาต่อยอดเพื่อสร้างผลประโยชน์ ซึ่งมีความสำคัญกับธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะองค์กรที่ทำงานแบบ Data Driven เพราะจะช่วยให้กระบวนการการทำงานของธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ช่วยลดงาน ลดความเสี่ยง ความผิดพลาด รวมถึงช่วยวัดผลได้อย่างถูกต้องและตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้น

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประมาณรายได้ท่องเที่ยวไทยปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.75 ล้านล้านบาท จากการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวสมบูรณ์ในฝั่งของรายได้ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาเพียง 52% ของภาวะปกติจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางที่เริ่มเปลี่ยนตามโครงสร้างอายุและรายได้ แนะภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน

 ในปี 2566 ที่ผ่านมานับเป็นความสำเร็จของการท่องเที่ยวไทยทั้งในมิติของนักท่องเที่ยวในประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ตัวเลข 254.4 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท รวมถึงในฝั่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ตามเป้าที่ทาง ttb analytics ประมาณการไว้ที่ 28 ล้านคน สร้างเม็ดเงินราว 1.4 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมประเทศไทยสร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้กว่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเดิมที่ 3 ล้านล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวหลุดเป้าไปราว 2 แสนล้านบาทจากที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้การประมาณรายได้จากนักท่องเที่ยวที่พลาดเป้าในปีที่ผ่านมา ในปี 2567 นี้ ก็ยังเห็นมุมมองของภาครัฐที่ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในมิติของจำนวนที่คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านคนสร้างรายได้กว่า 2.5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศ จะสามารถสร้างเม็ดเงินได้สูงถึง 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นกว่า 60% ทั้งที่รายได้จากปีก่อนก็ยังหลุดเป้าไปราว 10% โดยในมุมมองของ ttb analytics มีความเห็นว่าในปี 2567 นี้ ศักยภาพรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ราว 2.75 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ttb analytics ประเมินปี 2567 การท่องเที่ยวในประเทศยังสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2566 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสูงถึง 292.1 ล้านคน-ครั้ง บนพฤติกรรมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อทริปลดลงจากภาวะค่าครองชีพและภาระทางการเงินที่สูงขึ้นลดทอนรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง แต่จากการชดเชยของมิติเชิงจำนวนสามารถดันให้รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศคาดแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ได้อีกครั้งหนึ่ง บนรูปแบบของการท่องเที่ยวจากคนไทยดังนี้ 1) เทรนด์การเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ (One-Day Trip) โดยไม่พักแรมเพิ่มขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคกลาง และภาคตะวันตก ฟื้นตัวเทียบช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ 136% และ 146% แต่รายได้กลับฟื้นตัวเพียง 103% และ 119% ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวคนไทยมีแนวโน้มเที่ยวเมืองรองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมืองหลักเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ในพื้นที่ภาคเหนือมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และจังหวัดสตูล และนราธิวาส ในพื้นที่ภาคใต้มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 3) การปรับลดคืนค้างแรมลงโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดห่างไกล ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลงต่อทริป

โดยเฉพาะในกลุ่มภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนผ่านเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 กลับมาที่ 58% และ 72% ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวในอัตราที่สูงกว่าที่ 100% และ 92% ตามลำดับ

2) ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2567 คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 33.1 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.75 ล้านล้านบาท จากค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อทริปที่คาดสูงขึ้นจากราคาที่พักที่ปรับตัวรับอุปสงค์ และแนวโน้มวันท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวไม่นับรวมชาวจีน (Non-Chinese Travelers) คาดกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ปัจจัยที่น่าจับตา คือการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีน (Chinese Travelers) ที่คาดยังไม่ฟื้นตัวสมบูรณ์ด้วยอัตราการกลับมาที่ราว 5.7 ล้านคน คิดเป็น 52% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากแรงกดดันดังต่อไปนี้

2.1) แรงกดดันจากเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน เช่น ปัญหาการว่างงานในคนอายุ 16-24 ปี ที่สูงเกินกว่า 20% ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่จะเดินทางออกนอกประเทศที่ลดลง ซึ่งตามสถิติจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกกว่า 63% มีอายุต่ำกว่า 35 ปี รวมถึงความมั่งคั่งสุทธิที่ลดลงจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงินที่ยังน่ากังวล ที่ส่งผลให้สินทรัพย์หรือรายได้ของชาวจีนบางกลุ่มลดลงจนอาจกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ

2.2) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งสัญญาณเติบโตชะลอตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2560-2562 นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าไทยเพิ่มขึ้นที่ 6.5% ต่อปี ในขณะที่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ยังรักษาอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวจีนได้สูงถึง 14% และ 20% ต่อปีตามลำดับ กอปรกับในปี 2566 พบนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกนอกประเทศภาพรวมฟื้นตัวกว่า 60%-65% ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนในไทยกลับฟื้นตัวเพียง 32% ของภาวะปกติ

2.3) ความดึงดูดในเรื่องของอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ เนื่องจากตลาดท่องเที่ยวไทยเป็นตลาดที่เข้าถึงง่ายจากค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ไม่สูง ส่งผลให้ตลาดไทยอยู่ในฐานะจุดหมายแรกของการเริ่มเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ (Entry Level) ที่อาจได้ประโยชน์ในระยะแรกแต่อาจเริ่มถูกตั้งคำถามถึงอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ (Revisit Intention) เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาอาจมีทางเลือกในการเดินทางไปยังประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนในปี 2562 มีสัดส่วนที่เท่ากันที่ 28% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนในฝรั่งเศสที่มีสัดส่วนเพียง 3% แต่สามารถสร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 7%

 โดยสรุป ttb analytics คาดว่าปี 2567 มูลค่าการท่องเที่ยวไทยจะมีมูลค่า 2.75 ล้านล้านบาทต่ำกว่าเป้าที่ภาครัฐได้วางไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาทหรือห่างจากเป้าหมายเกือบ 8 แสนล้านบาท แต่มองว่ายังมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในเชิงคุณภาพ หากมีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ให้ตรงตามกลุ่มให้ชัดเจน เช่น นักท่องเที่ยวจากเอเชียที่ไทยได้ประโยชน์จากการเดินทางที่สะดวกและค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ต่ำ ภาครัฐควรตั้งเป้าหมายในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำ เช่น สิทธิประโยชน์ที่อาจมอบให้เมื่อมีการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สะดวก ปลอดภัย ที่สามารถเชื่อมกับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมีความต้องการท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคอื่น ๆ และในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่อยู่อาศัยระยะยาวสูงโดยเปรียบเทียบอาจให้เป็นในรูปแบบสิทธิประโยชน์เรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ จัดหาบริการระบบประกันสุขภาพที่

ครอบคลุม รวมถึงในภาพรวมควรจัดตั้งหน่วยงานสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไปอีกระดับเพื่อสามารถส่งต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร เพิ่มโอกาสการกลับมาเที่ยวซ้ำสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอายุน้อย และโน้มน้าวให้นักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะอยู่อาศัยระยะยาว เพื่อโอกาสในการยกระดับให้การท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว

ตอกย้ำความเป็นพันธมิตร สนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตอย่างยั่งยืน

X

Right Click

No right click