January 07, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

นางสาวกชสร โตเจริญธนาผล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2024 กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์ภาครัฐที่ต้องการยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นแรงส่งสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหารของไทย ซึ่งไทยมีข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารที่ครบวงจรและครอบคลุมห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป การบรรจุ จนส่งถึงมือผู้บริโภค แต่ทั้งหมดต้องถูกพัฒนาและสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น ซึ่งการส่งออกอาหารไทยในปี 2567 คาดว่าจะมีมูลค่า 1.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.5% มีปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่ที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ภาคการบริการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อเริ่มคลายตัวลง นับเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการที่ต้องผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตซึ่งเป็นหัวใจที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นกุญแจความสำเร็จวันนี้ อาทิ การใช้ IoT (Internet of Things) มาช่วยติดตาม ตรวจสอบ ควบคุมกระบวนการผลิตภายในโรงงาน การใช้วัตถุดิบและพลังงาน ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องจักรและโรงงานอัตโนมัติ (Automation) เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robot) ช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและจัดการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการบริหารจัดการเพื่อติดตามบันทึกข้อมูลการบริโภค และวิเคราะห์พัฒนาสินค้า การใช้ AI (Artificial Intelligence) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการควบคุมและปรับปรุงกระบวนการผลิตและการทำงาน ประมวลผล ช่วยตัดสินใจ รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพวัตถุดิบ สภาพแวดล้อมการผลิต ประสิทธิภาพเครื่องจักร จำลองกระบวนการผลิต ทดสอบ และปรับปรุงกระบวนการโดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรจริง ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาธุรกิจและการผลิตจะมีแต้มต่อในการบริหารจัดการลดต้นทุน ลดความเสี่ยง และเพิ่มความสามารถการแข่งขันได้อีกด้วย

งาน ProPak Asia นั้น มีส่วนช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหารของไทยให้ก้าวไปเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารของภูมิภาคอย่างเต็มที่ เพราะเป็นงานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ระดับเอเชีย ที่เชื่อมโยงและส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ของผู้ประกอบการ ผ่านงานแสดงสินค้า โดยแนวคิดการจัดงาน ProPak Asia 2024 คือ ยกระดับความสำเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนด้วย แนวคิด นวัตกรรม และ การลงทุน (Sustainably Empowering Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment) เพื่อเป็นแรงกระตุ้น สร้างแรงบัลดาลใจ สร้างความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อต่อยอดให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

นายรังสรรค์ อ่วมมี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจเกษตรภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารให้ความเห็นว่า อุตสาหกรรมการผลิตและแปร

รูปอาหารเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทย และไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารที่เหมาะสม จากภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยและทรัพยากรทางการเกษตรที่เพียงพอ ซึ่งในปี 2567 แนวโน้มที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมฯ คือ การเน้นย้ำเรื่องความยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนั้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ การวิเคราะห์ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังปฏิวัติกระบวนการผลิตทั้งหมด ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีขึ้น ส่วนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยอาหาร ห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงัก และความผันผวนของตลาดยังคงเป็นสิ่งที่ต้องระวัง การปรับตัวรับความท้าทายเหล่านี้ ต้องมีกลยุทธ์ที่คล่องตัวและมีนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

ธุรกิจเกษตรภัณฑ์เป็นบริษัทคนไทยที่มีประสบการณ์กว่า 50 ปี ให้บริการด้านวิศวกรรมอย่างครบวงจร ด้วยทีมงานวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์พร้อมติดตั้ง การสรรหาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนวิศวกรรมบริการหลังการขาย ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์เลี้ยง ระบบจัดเก็บและลำเลียงวัตถุดิบ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอุปกรณ์การเลี้ยง โรงงานแปรรูปอาหารและผลิตอาหารสำเร็จรูป รวมถึงการให้บริการด้านพลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ส่วนการร่วมงานกับ ProPak Asia นั้น ทางบริษัทฯ ได้เข้าร่วมต่อเนื่องมากว่า 7 ปี เนื่องจากเป็นงานที่เป็นศูนย์รวมของผู้ให้บริการสินค้าและเทคโนโลยีด้านการผลิตอาหารที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ผลที่ได้รับเป็นประโยชน์ทั้งต่อลูกค้า คู่ค้า และบริษัทฯ เป็นการอัพเดทเทคโนโลยีการผลิตอาหารจากบริษัทและจากคู่ค้า ได้มีโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่ต่อยอดความร่วมมือได้ในอนาคต มีโอกาสทำความรู้จักกับลูกค้ารายใหม่ เพื่อสร้างยอดขายได้ และยังสร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์ แก่นักลงทุนได้ว่าธุรกิจเกษตรภัณฑ์มีความพร้อมในการให้บริการด้วยศักยภาพด้านวิศวกรรม โดยไฮไลท์ที่นำมาจัดแสดงในงานฯ ปีนี้ จะให้ความสำคัญกับสินค้าและเทคโนโลยีที่เน้นการเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้แก่ลูกค้า มีการนำเสนอเครื่องจักรและเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในกระบวนการแปรรูปและบรรจุอาหาร พร้อมบริการครบวงจรด้านวิศวกรรมที่ออกแบบและบริหารงานได้ตามต้องการ ทั้งการออกแบบ ก่อสร้าง เครื่องจักร เทคโนโลยี และงานระบบ ตลอดจนวิศวกรรมบริการหลังการขาย เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจถึงความพร้อมการให้บริการด้านวิศวกรรมสำหรับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชีย

นายสุทธา มีสุข ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไฮเทค ฟู๊ด อีควิปเมนท์ จำกัด ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศมีสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารฮาลาล ผนวกกับแรงหนุนภาครัฐที่ส่งเสริมสินค้าอาหารของไทยให้ได้รับความนิยมในตลาดโลกและตลาดใหม่ๆ มากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยในการนำผลิตภัณฑ์ขยายสู่ตลาดนานาชาติ แต่การสร้างผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต้องมีการพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคด้วย โดยใช้การวิจัยพัฒนา นวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในกระบวนการผลิต ลดข้อผิดพลาด สร้างความปลอดภัย ความสะอาด และยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น

การดำเนินงานของบริษัทฯ ก็มีส่วนช่วยผู้ประกอบการด้วย เนื่องจากเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลัก ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีก อาหารทะเล เบเกอร์รี่ อาหารพร้อมทาน ผัก

ผลไม้ และ อาหารสัตว์ รวมถึงกระบวนการผลิต การเตรียม การขึ้นรูป การทำสุก และการบรรจุภัณฑ์ โดยมีพันธมิตรผู้ผลิตเครื่องจักรคุณภาพสูงจากทั่วโลก พร้อมบริการให้คำปรึกษาและการหา Solutions ที่เหมาะสมต่อความต้องการ หรือร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญผู้ผลิตจากต่างประเทศ เช่น Butcher หรือ Food Technologist การให้บริการโปรแกรม PM (Preventive Maintenance) ฯลฯ ส่วนการร่วมจัดแสดงในงาน ProPak Asia 2024 นั้น เพราะเป็นงานใหญ่ระดับเอเชีย กลุ่มผู้เข้าชมงานเป็นผู้ประกอบการเป้าหมายตัวจริงที่ต้องการหาเครื่องจักรไปใช้ในธุรกิจ โดยในปีนี้ได้มีการเตรียมเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดเข้าร่วมจัดแสดงถึง 7 กลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมสาธิตและทดสอบจริงอีกด้วย

งาน ProPak Asia 2024 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงานฯ สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com

นักลงทุนจองหุ้น BPS 120 ล้านหุ้นเกลี้ยง พร้อมเทรด 3 เมษายนนี้ สะท้อนความเชื่อมั่นของธุรกิจ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและโซลูชั่นด้านไฟฟ้าและสื่อสาร เพื่อก้าวสู่ SMART HOME ในอนาคต

นายวิชา โตมานะ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น BPS เปิดเผยว่า การเสนอหุ้น IPO ของบริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ BPS จำนวน 120 ล้านหุ้น ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคมที่ผ่านมา ปรากฎว่านักลงทุนให้ความสนใจจองซื้อหุ้นและให้การตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของ BPS ที่จะเป็นหนึ่งในหุ้นมีโอกาสเติบโตในอนาคต ด้วยภาพลักษณ์ของธุรกิจ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและโซลูชั่นเพื่อการอยู่อาศัยครบวงจร และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในทุกฟังก์ชั่นการใช้งาน

นายสุรพงษ์ สาเรชพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างให้ BPS เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและคู่ค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัท พร้อมทั้งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถพัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ด้านไฟฟ้า การประหยัดพลังงาน และการสื่อสาร เพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของบริษัทต่อไปในอนาคต

สำหรับเงินระดมทุนในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการลงทุนด้านอุปกรณ์และการติดตั้งงานเดินโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกเพื่อการสื่อสาร (Fiber to the Home : FTTx) สำหรับคอนโดมิเนียมและอาคารสูง ซึ่งมีโอกาสขยายตัวอย่างมากในอนาคต นอกจากนี้จะนำเงินไปใช้สำหรับก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้สำหรับช่างและบุคคลทั่วไป ทั้งในด้านการติดตั้งโซลาร์เซลบนหลังคา และระบบ Edge Data Center Facilities 24x7 Monitoring ซึ่งจะทำให้บุคลากรของ BPS มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพทำงานให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ในปี 2567 บริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ทั้งแนวราบและแนวสูง โดยตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจำนวน 30 เมกะวัตต์ นอกจากนี้บริษัทจะนำเสนอนวัตกรรม Green Home Solution เพื่อตอบสนองในเรื่องของบ้านอยู่สบาย บ้าน Internet ความเร็วสูง บ้านประหยัดพลังงาน เป็น One Stop Service ในเรื่องอุปกรณ์ และงานติดตั้ง ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้าน Supply Chain Management โดยจะเน้นไปยังตลาดบ้านมือสอง และกลุ่มประชากรสูงอายุมีความต้องการซ่อมแซม แก้ไข ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน พร้อมทั้งมองถึงการขยายโอกาส ให้สอดคล้องกับแนวคิด SMART HOME เช่น การติดตั้งโรงรถ พร้อมระบบ Solar roof-top (Garage Roof) การติดตั้งระบบระบายอากาศ (Airflow) และการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้า (EV Charger) อีกด้วย

กรุงเทพฯ/ 15 ธันวาคม 2566 – นักเทคโนโลยีไทยโชว์ผลงานนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ “งานวิจัยนวัตกรรมการรักษามะเร็ง” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น 2566 และ “งานวิจัยเทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา” และ “งานวิจัยวัสดุดูดซับโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2566 ในงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งนอกจากการแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลต่าง ๆ แล้ว ยังมีส่วนของงานสัมมนา TechInno Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ “Healthy Living” ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายด้านมาร่วมแบ่งปันเทรนด์และองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2023 ในหัวข้อ “Healthy Living” เพื่อเป็นแพลตฟอร์มแบ่งปันความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญและนักเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก รวมทั้งเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทย ซึ่งผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่นและรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2566 โดยงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และเอสซีจี

 

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และประธานกลุ่มบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า “การจัดงานในปีนี้มุ่งเน้นต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้งานจริง เราจึงจัด TechInno Mart ให้นักวิจัยจากไทยและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ได้มาจัดแสดงผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ เพื่อนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยเหล่านี้ไปต่อยอดพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป”

มอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีมอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายและผู้ชนะรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

1. ศาสตราจารย์ นพ. สุรเดช หงส์อิง, รองศาสตราจารย์ นพ. อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงาน: การค้นพบและวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่ผ่านการแปลงพันธุกรรมตัวรับแอนติเจนจำเพาะ chimeric antigen receptors T-cell (CAR-T) ด้วยเทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัด

 

รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

1. ดร. ภก. นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ สังกัดศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงาน: การวิจัยเทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา

2. ผศ. ดร. กนกวรรณ กองพัฒน์พาณิชย์ สังกัดสำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี ผลงาน: วิจัยโครงข่ายโลหะอินทรีย์เพื่อใช้เป็นวัสดุดูดซับโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

โดยนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะเข้ารับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 49 ในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

 

ในโอกาสนี้ รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบช่อดอกไม้ พร้อมกล่าวแสดงความยินดีแก่ทุกท่านที่ได้รับรางวัลว่า “ในนามของมูลนิธิฯ ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน และขอขอบคุณที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานอย่างต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ ผลงานของทุกท่านจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในวงการนี้ต่อไป รางวัลนี้ไม่เพียงเชิดชูเทคโนโลยีไทยที่ประสบความสำเร็จ และยังช่วยผลักดันความสามารถทางวิชาการของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึง TMA ที่ให้การสนับสนุน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงนักวิจัยและธุรกิจ ให้สามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป”

ภายในงานยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยที่ประสบความสำเร็จจากทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มานำเสนอผลงานและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อต่อยอดการค้นพบ จับคู่ธุรกิจและพัฒนาเพื่อประโยชน์ของคนในวงกว้างอีกด้วย อาทิ Breathology เครื่องเป่าวัดระดับน้ำตาลในเลือด, Biomede สตาร์ทอัพจากฝรั่งเศส ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำให้ดินที่ใช้ในการ

เพาะปลูกพืชที่ปนเปื้อนสารโลหะหนัก กลับมาสะอาดและมีคุณภาพดี, BlueTree เป็นบริษัทระดับโลกที่ทำการผลิตน้ำตาลทดแทนรสชาติเยี่ยม เพื่อลดการใช้น้ำตาลจากธรรมชาติในเครื่องดื่ม, Genfosis ให้บริการ Preventive Healthcare Solution โดยทดสอบวิเคราะห์จาก DNA เพื่อทราบถึงความเสี่ยง โอกาสในการเกิดโรค และแนวทางในการทำ Preventive Healthcare ไม่ให้เกิดโรค เป็นต้น

Inspiring the Future of Healthy Living

ในส่วนของงานสัมมนา TechInno Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ “Healthy Living” เริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “เมกะเทรนด์” โดยคุณอนุชา มาจำปา Country Head ประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (ไทยแลนด์) จำกัด ที่กล่าวถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมไปถึงภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Permacrisis) ทำให้เกิดผลกระทบ 4 ประการ คือ 1) คนคิดมากขึ้นเมื่อจะใช้จ่ายเงินแต่ละครั้ง 2) ให้ความสำคัญกับสินค้าที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน 3) ให้การสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นมากขึ้น และ 4) ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น ทำให้เกิดเมกะเทรนด์ ดังต่อไปนี้ เมกะเทรนด์ที่ 1 Traditional to Future Family พบว่าขนาดของครอบครัวลดลง เมกะเทรนด์ที่ 2 Pensioner Boom พบว่ามีแนวโน้มสัดส่วนผู้เกษียณอายุมากยิ่งขึ้น เมกะเทรนด์ที่ 3 Sustainable Living พบว่าคนพยายามสรรหาแนวทางในการลดผลกระทบเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม เมกะเทรนด์ที่ 4 Preventative Health Models คือปรับก่อนป่วย การกินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เมกะเทรนด์ที่ 5 Personalized Nutrition มีการตรวจว่าขาดสารอาหารอะไร มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอะไร เพื่อจัดเตรียมยาสำหรับแต่ละคนโดยเฉพาะ และเมกะเทรนด์ที่ 6 Mental Health เรื่องของสุขภาพจิตมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ทางด้านคุณอริยะ พนมยงค์ Co-CEO บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) และ CEO & Founder บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่นนอล จำกัด ได้บรรยายถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี และเน้นย้ำว่าไลฟ์สไตล์เป็นสิ่งสำคัญ และกล่าวอธิบายถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพว่า ความท้าทายในเรื่องนวัตกรรมและการทรานส์ฟอร์เมชั่น จำเป็นต้องให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง คือ 1) Users First, Not you first ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานเป็นลำดับแรก 2) Being a Platform ต้องเป็นแพลตฟอร์ม Universal เหมือน Google, Line, Facebook ไม่ยึดติดกับชื่อของโรงพยาบาล 3) Fixing the Obvious ต้องแก้ไขสิ่งที่จำเป็นและเห็นได้ชัดว่าเป็นปัญหา

ในการบรรยายหัวข้อ Food for Life: Innovation for Health and Environment ดร. อัลลัน ลิม (Dr. Allan Lim) Head of Open Innovation บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนา เนสท์เล่ จำกัด สิงคโปร์ ได้กล่าวถึงความท้าทายสำคัญที่เกิดขึ้นด้านอาหารคือ จะทำอย่างไรให้มีอาหารเพียงพอกับการบริโภคของประชากร 10 พันล้านคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2050 โดยเนสท์เล่พยายามสร้าง Sustainable foods ให้เกิดขึ้นตาม Net Zero Roadmap ของเนสท์เล่ ที่ครอบคุลมตั้งแต่ต้นน้ำ (Sourcing) ไปจนถึงกลางน้ำ การผลิตและบรรจุ (Manufacturing และ Packaging) ถึงขั้นสุดท้ายคือผู้บริโภค

ทั้งนี้ การวิจัยพัฒนา (R&D) ของเนสท์เล่ ให้ความสำคัญใน 5 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ 1) แนวโน้มอาหารใหม่ (New Food Trends) 2) อาหารว่างเพื่อสุขภาพ (Healthy Snacking) 3) การมีชีวิตยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี (Healthy Aging) 4) สารอาหารที่สามารถจ่ายได้ (Affordable Nutrition) และ 5) บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainable Packaging) โดยการสำรวจผู้บริโภคของเนสท์เล่ เน้นการค้นพบ เช่น การทำ Social Listening เพื่อการ Track Sentiment และ Perception ของผู้บริโภคต่อ Ingredients รวมถึงมีการทำ Open Innovation ทำ R&D Accelerator ที่สามารถเร่งกระบวนการวิจัยและการผลิตภายใน 6 เดือน โดยเชื่อว่า “Test and Learn” คือแนวทางที่ควรปฏิบัติ รวมถึงร่วมมือกับบริษัทในท้องถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเส้นทางแห่งนวัตกรรมนี้ร่วมกันได้

นอกจากนี้ ในงานยังได้มีการนำเสนอเรื่อง TechInno for Healthy Living โดยคุณวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องมาตรฐานอากาศ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการใช้ชีวิตของคนไทย ทำให้เอสซีจีได้พัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพอากาศออกมาช่วยลดปัญหา เช่น เทคโนโลยี Air Filter ซึ่งเป็นอุปกรณ์กรองอากาศคุณภาพสูงที่ใช้ในอาคาร, ระบบไอออนกำจัด

เชื้อโรค (Ion Technology) ที่มีขึ้นมาในช่วงโควิด 19, เทคโนโลยีการหมุนเวียนอากาศ กรองฝุ่น PM 2.5 ลดกลิ่น และป้องกันเชื้อโรค เป็นต้น

ในส่วนของดร. สืบสกุล โทนแจ้ง ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายถึงแนวโน้มเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านเฮลธ์แคร์ว่า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อแนวโน้มเทคโนโลยีด้านเฮลธ์แคร์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ ทั้งผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการอพยพข้ามถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ต้องมีการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาใช้ทำ Preventive care ให้แก่ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางไกล การเชื่อมต่ออุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน การนำ AI and Machine Learning มาใช้เพื่อประเมินอาการ AR/VR/MR การนำเทคโนโลยีภาพเสมือนมาใช้ในระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้วางแนวทางการรักษาได้รวดเร็วมากขึ้น Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทางการแพทย์ส่วนบุคคล และการทำ Big Data & Predictive Analytics ให้สามารถคาดการณ์อาการของคนไข้ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้ทำ Preventive cares ได้

จากกิจกรรมการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานระยะ 9 เดือน (Site Visit) ในโครงการวิจัย

X

Right Click

No right click