×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ ไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงในระยะข้างหน้า เนื่องจากเป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและการหดตัวลงของจำนวนประชากรที่จะเริ่มต้นในปี 2030 ตามการการคาดการณ์ของ UN อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดหัวเมืองใหญ่จะยังขยายตัวต่อได้ตามแนวโน้มการย้ายถิ่นฐานของประชากรเข้าสู่เมืองใหญ่ที่มีมากขึ้น ทำให้ทิศทางอสังหาฯ ไทยจะแตกต่างกันระหว่างเมืองใหญ่และเมืองรองมากขึ้น โดยการเติบโตของภาคอสังหาฯ ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่เท่านั้น

ทิศทางอสังหาฯ ชะลอตัว เมื่อจำนวนประชากรใกล้หดตัว

จำนวนประชากรและความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ ถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนภาคอสังหาฯ ที่ส่งผลให้ทั้งความต้องการซื้อทั้งตลาดที่อยู่อาศัยและ เชิงพาณิชย์อย่างศูนย์การค้า สำนักงาน และ คลังสินค้าเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตของจำนวนประชากรไทยที่มีแนวโน้มซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด คือช่วงอายุระหว่าง 25-54 ปี ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วนับตั้งแต่ปี 2015 และเริ่มมีจำนวนลดลง ในขณะที่จำนวนประชากรไทยในภาพรวมจะเริ่มลดลงในปี 2030 ซึ่งจะทำให้ภาคอสังหาฯ ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่รุนแรงมากขึ้น

อีก 4 ปัจจัย กดดันการเติบโตของอสังหาฯ ไทย

นอกจากปัจจัยด้านประชากร ภาคอสังหาฯ ที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษปี 2010s โดยไม่ได้เกิดจากเฉพาะโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป แต่ยังมาจากอีก 4 ปัจจัยภายในประเทศที่เริ่มเปลี่ยนทิศทางและกดดันการเติบโตของภาคอสังหาฯ คือ (1) การขยายพื้นที่เขตเมืองในต่างจังหวัด หรือ Urbanization ชะลอตัวตามภาคอุตสาหกรรมและบริการที่อาจไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่ากับในอดีตตามภาวะ Deglobalization (2) กำลังซื้อคนไทยหดตัว จากรายได้ที่เติบโตช้าลงตามภาวะเศรษฐกิจ ในขณะที่ราคาบ้านยังคงเพิ่มขึ้นเร็ว (3) อัตราดอกเบี้ยที่อาจค้างสูงนาน จะเป็นปัจจัยที่ลดกำลังซื้อและเพิ่มภาระหนี้ให้กลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัย และ (4) ระดับหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงมากแล้วในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่ไทยกำลังจะเข้าสู่ช่วงขาลงของวัฏจักรสินเชื่อ (Deleveraging) ส่งผลให้การกู้ยืมอาจมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นและความสามารถในการก่อหนี้เพิ่มเติมของผู้กู้ทำได้น้อยลง

เมืองใหญ่ยังรอดจากการย้ายถิ่นฐานเข้าเมือง

ถึงแม้ภาคอสังหาฯ ไทยโดยรวมจะชะลอตัวลง แต่อสังหาฯในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ยังไปต่อได้ โดยมีแรงสนับสนุนที่แตกต่างจากภาพรวมของประเทศไทย คือ (1) การย้ายเข้าเมืองใหญ่ สะท้อนจากจำนวนครัวเรือนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ขยายตัวที่ 5.6% ต่อปี หรือมากกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศถึง 5 เท่า (2) การขยายตัวของเส้นทางรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ และ (3) กำลังซื้อจากต่างชาติ ที่มีบทบาทมากขึ้นต่อการเติบโตของยอดขายอสังหา ฯ ในไทย และคาดว่าในอนาคตจะมีโอกาสเพิ่มเติมจากภาครัฐที่มีแนวโน้มผ่อนคลายและเปิดเสรีให้ต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศได้มากขึ้น เพื่อชดเชยจำนวนประชากรในประเทศที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม KKP Research ยังประเมินว่า การพึ่งพากำลังซื้อจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีนที่มีสัดส่วนมากกว่าครึ่ง อาจมีความเสี่ยงในระยะยาวจาก (1) ความมั่งคั่งของคนจีนมีแนวโน้มลดลงตามเศรษฐกิจจีนที่ไม่อาจเติบโตได้เร็วเท่ากับในอดีต (2) ไทยอาจไม่ใช่ตัวเลือกแรกในเอเชีย หากเน้นแข่งขันด้วยราคาเป็นหลัก และ (3) Capital Control จากรัฐบาลจีนเพื่อสกัดการไหลออกของเงินทุนจีน

อสังหาฯ เมืองรองสวนทาง เสี่ยงซบเซาจากจำนวนครัวเรือนหดตัว

ภาคอสังหา ฯ ในเมืองรองและเขตชนบทอาจซบเซา มีความเสี่ยงราคาบ้านปรับตัวลดลง ความต้องการที่อยู่อาศัยในจังหวัดเล็กหดตัวลงตามจำนวนครัวเรือนที่ย้ายไปยังเมืองใหญ่มากขึ้น สะท้อนจากจำนวนครัวเรือนในภาคอีสานและภาคเหนือที่เริ่มหดตัวที่ 1.2% ต่อปี โดยในปัจจุบันเริ่มเห็นตัวเลขปริมาณอุปทานของบ้านมากกว่าจำนวนครัวเรือน ซึ่งสวนทางกับกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่จำนวนบ้านในตลาดยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาด

KKP Research ประเมินว่า ปัญหา “บ้านล้นตลาด” ในต่างจังหวัดจะยิ่งถูกกดดันมากขึ้นจากความต้องการที่หดตัวลงต่อเนื่องตามจำนวนครัวเรือนที่ลดลง ประกอบกับสินเชื่ออสังหาฯ ในต่างจังหวัดที่มีแนวโน้มลดลงในภาพรวม ส่งผลให้มีแนวโน้มที่ในอนาคตจะมีจำนวนบ้านเหลือมากขึ้นและเป็นแรงกดดันให้ราคาบ้านต้องปรับลดลงได้เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นและจีนที่ประสบปัญหาราคาบ้านแถบชนบทหดตัว

อสังหาฯ ชะลอส่งผ่านเศรษฐกิจชะลอตัวตาม

ถึงแม้บทบาทของภาคอสังหาฯ ต่อเศรษฐกิจไทยจะมีจำกัด แต่การปล่อยให้ภาคอสังหาฯ ชะลอต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบไปยังภาคส่วนอื่นในเศรษฐกิจได้ ทั้งในภาคเศรษฐกิจจริงผ่านกลุ่มธุรกิจเกี่ยวเนื่องในภาคอสังหาฯ และภาคการเงินผ่านกลุ่มธนาคารและตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อคุณภาพสินทรัพย์ เพราะ สินเชื่อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนมากกว่า 30% ของสินเชื่อรายย่อยทั้งหมดและ ภาคอสังหาฯ มีการระดมทุนผ่านตลาดสารหนี้ที่มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง หากเกิดการชะลอตัวรุนแรงอาจส่งผลต่อเนื่องสู่ตลาดการเงินได้

 

4 กรกฎาคม 2566, - บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สานต่อเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืนของทั้งสององค์กรในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ลงนามความร่วมมือสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวระดับโลก (Mega global destination) ร่วมนำมาตรฐานใหม่เสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มุ่งเน้นการลดการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ สร้างคุณค่าองค์รวมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) รวมถึงสนับสนุนโครงการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล และการพัฒนาสังคมในอนาคต พร้อมร่วมสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การลงทุนอย่างต่อเนื่องของ AWC ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แถวหน้าของประเทศ เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงอนาคตทางเศรษฐกิจไทยที่กำลังดีขึ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักถึงบทบาทในการร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทยในทุกมิติ จึงมีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท แก่ AWC เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ๆ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ AWC อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคาร และธุรกิจภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพทางธุรกิจของ AWC และเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 20,000 ล้านบาทในครั้งนี้ จะช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจให้แก่ AWC ผ่านการพัฒนาโครงการคุณภาพมากมาย ที่จะสร้างความน่าตื่นเต้นให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อสนับสนุนประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ยั่งยืนระดับโลก”

นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า “AWC มีความประทับใจ SCB ต่อความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ที่ร่วมกันด้านความยั่งยืน ที่ได้ออกสินเชื่อด้านความยั่งยืนเป็นรายแรกของประเทศ ควบคู่การเดินหน้าผนึกกำลังร่วมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน ทั้งนี้ AWC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ SCB ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ โดย AWC มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก (Mega sustainable destination) อาทิ โครงการเอเชียทีค ที่จะสร้างเป็นแลนด์มาร์คความยั่งยืนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับกรุงเทพฯ โครงการอควอทีค กลางเมืองพัทยา และโครงการเวิ้ง นาครเกษม ศูนย์กลางคุณค่าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกลางไชน่า ทาวน์ รวมถึงโครงการลานนาทีค ที่มีคุณค่าของเสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมล้านนากลางเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่ง AWC เชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความยั่งยืนระดับโลกนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสานต่อนโยบายและกลยุทธ์หลักของประเทศสู่การเป็นผู้นำการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก

AWC ยังมุ่งพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารสีเขียวในระดับสากล อาทิ โรงแรมอินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies) และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง ได้รับการรับรอง LEED & WELL PRECERTIFIED รวมถึงอีกหลากหลายโครงการ โดยใช้สินเชื่อยั่งยืนแรกที่ได้รับการสนับสนุนจาก SCB เมื่อปีที่แล้ว โดยปัจจุบัน AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการเงินชั้นนำจัดวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่าร้อยละ 75 และตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวเชื่อมโยงความยั่งยืนเป็นร้อยละ 100 เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศ”

AWC มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เสาหลัก 9 มิติ หรือ 3 BETTERs ประกอบไปด้วย 1) การสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (BETTER PLANET) เพื่อโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น 2) การสร้าง

คุณค่าด้านสังคม (BETTER PEOPLE) เพื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3) การสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจ (BETTER PROSPERITY) เพื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น โดยที่ผ่านมา AWC ได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงแรม เชอราตัน สมุย ดำเนินโครงการธนาคารปู เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และโรงแรมบันยันทรี กระบี่ ที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิอันดามัน เพื่อนำร่องโครงการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านแนวคิดธุรกิจ reConcept ที่ส่งเสริมการนำเฟอร์นิเจอร์และวัสดุเก่า รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งของโรงแรมที่ไม่ได้ใช้งาน กลับมารีไซเคิลและใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ที่ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างรายได้สู่ชุมชนรอบโครงการ และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยท้องถิ่นเพื่อสร้างโอกาสรายได้ที่ยั่งยืนผ่านโครงการ เดอะ GALLERY เป็นต้น

AWC ยังคงดำเนินงานตามแผนแม่บทอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) สอดคล้องกับกรอบสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียว เพื่อมุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ครอบคลุมโรงแรมในเครือที่มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2019 นอกจากนี้ AWC จะพัฒนาโครงการในเครือตามกรอบเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวสากล อาทิ มาตรฐาน EDGE LEED หรือ WELL เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

“การลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ร่วมกันของ AWC และ SCB ในการดำเนินธุรกิจ โดย AWC จะยังคงดำเนินการตามกลยุทธ์ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ ของ AWC เพื่อร่วมสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งต่ออุตสาหกรรม ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ภายใต้พันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” พร้อมเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก” นางวัลลภา กล่าวเสริม

AWC ดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การได้รับการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รายชื่อหุ้นยั่งยืน Thailand Sustainability Investment (THSI) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ติดอันดับรายงานความยั่งยืน S&P CSA Yearbook 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P

Global ESG Score 2022” ได้รับรางวัล “Industry Mover” ในฐานะบริษัทที่มีความยั่งยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม รีสอร์ท และเรือสำราญ ได้รับการจัดอันดับรายงานการกำกับดูแลกิจการ ในระดับ “ดีเลิศ” (Excellence CG Scoring) ได้รับการรับรองให้เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) และได้รับการจัดอันดับในฐานะองค์กรที่มีการกำกับกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนของปี 2564 (ASEAN CG Scorecard)

 วิวัฒน์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการอาวุโส บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงเทรนด์ผู้บริโภคและอสังหาริมทรัพย์ ว่า ปัจจุบันวิวัฒนาการต่าง ๆ ได้ก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีการปรับขยับตามเทรนด์ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่คนไทยค่อนข้างมีรสนิยมและมีความทันสมัย

โดยแนวโน้มที่เกิดขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแวดวงอสังหาในมุมมองของวิวัฒน์ มีอยู่ 5 ประการ ประกอบด้วย   1) สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)  จากตัวเลขการบัญชีพร้อมเพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งแน่นอนว่าวงการอสังหาริมทรัพย์จะต้องนำทิศทางนี้มาใช้งานเช่นกัน

 2) เทคโนโลยีอัตโนมัติ   (Automation Becoming The New Norm) เป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อและข้อมูลจำนวนมากที่มีอยู่ ทำให้เกิดสตาร์ทอัพขึ้นเป็นจำนวนมาก และส่งผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ตามวิวัฒน์มองว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ก็จะต้องใช้ความระมัดระวังในการเลือกเทคโนโลยีเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องพยายามหาว่าอะไรที่เหมาะกับผู้บริโภคมากที่สุด

วิวัฒน์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการอาวุโส บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

 3) รสนิยมที่ยกระดับความหรูหราของสินค้าและบริการ (Ultra – High – Net – Worth – Individuals meets Ultra Luxury real estate market)  ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประชากรมีการศึกษาค่อนข้างดี จึงส่งผลต่อความต้องการที่จะใช้ชีวิตที่ดี มีรสนิยม เกิดเป็นเทรนด์ที่หรูหรา ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวข้องกับที่ดินซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด การดำเนินธุรกิจจึงมีแนวโน้มจะไปในการทำสินค้าราคาสูงมากขึ้น

4) การมองหาชีวิตที่ดี เข้าใกล้ธรรมชาติ เน้นสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น (Seek for Green & Clean Living) เพราะผู้คนรักตัวเองมากขึ้น เลือกสิ่งที่ดีที่สุดต่อตนเองนั่นคือธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตอาหารการกิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเช่นอารียาก็มีความตั้งใจนำเสนอในเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่นเรื่องการบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะ รวมถึงรายละเอียดแวดล้อมให้กับลูกบ้าน

และ 5) งานบริการหลังการขาย ที่กลายมาเป็นเรื่องหลักในการตัดสินใจซื้อบ้าน (Life At Home Begins After Sales) ซึ่งเทรนด์สุดท้ายนี้จะเห็นชัดที่สุดในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อผู้บริโภคมีการใส่ใจในบริการหลังการขายที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่มีขึ้นเพื่อลดขั้นตอนที่ไม่สำคัญ แต่ก็ยังคงชอบการใส่ใจจากนิติบุคคลและพนักงานที่ให้บริการหลังการขาย นอกจากนี้ ในเรื่องการรับประกันบ้านก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง วิวัฒน์บอกว่า ในวงการอสังหาริมทรัพย์เรื่องต่างๆ สามารถลอกเลียนกันได้ไม่ว่าจะเป็นแบบบ้าน เฟอร์นิเจอร์ แต่สำหรับการสร้างทีมงานที่เอาใจใส่ดูแลลูกค้าเป็นเรื่องที่ลอกเลียนกันได้ยาก

วิศิษฎ์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

เสริมว่าจาก 5 เทรนด์ข้างต้นสอดคล้องกับ 4 ยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินธุรกิจของอารียา ซึ่งประกอบด้วย งานออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นมาพร้อมกับคุณภาพ (Aesthetic Design & Premium Quality) ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัททำมาตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งด้านการออกแบบและการให้บริการ

ความสุขและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Happiness) ที่ทางอารียาตีความเป็นการใช้ชีวิตแบบ Green & Clean สะท้อนคุณภาพชีวิต โดยสอดแทรกอยู่ในทุกโครงการ

นวัตกรรมที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ทุกรูปแบบ (Innovative Living) เพื่อการอยู่อาศัยที่ทันสมัย โดยการมองไปข้างหน้าถึงความต้องการของผู้อยู่อาศัย

และการให้บริการดูแลลูกบ้านตั้งแต่เริ่ม ตลอดจนบริการหลังการขายอย่างสุดความสามารถ (Best In Class After Sales Service)  ที่อารียาเน้นการให้บริหารลูกบ้านระยะยาว 

ทั้ง 4 แกนนี้คือเสาหลักในการดำเนินธุรกิจของอารียา และช่วยสร้างความพึงพอใจแก่ผู้อยู่อาศัยในโครงการต่างๆ

 

สำหรับแผนการดำเนินงานในครึ่งปีหลังวิศิษฎ์บอกว่า อารียา พรอพเพอร์ตี้ จะมีการเปิดตัว 8 โครงการใหม่ มีมูลค่าการลงทุนรวม 7,275 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ The Village บางนา, โครงการ COMO PRIMO บางนา, โครงการ The Colors บางนา และบางบัวทอง, โครงการ Mandarina เกษตร – รามอินทรา, โครงการคอนโดมิเนียม A Space Mega บางนา 2, โครงการ The Parti เกษตร – นวมินทร์ และ โครงการ Busaba บ้านเดี่ยวติดถนนเสรีไทย

ในส่วนของการอยู่อาศัยแบบ Green and Clean มีการนำเทคโนโลยี Clean Air and Energy Saving ที่ได้พาร์ทเนอร์ใหม่อย่าง พานาโซนิค มาช่วยเสริมด้านเทคโนโลยี Clean Living ให้อากาศภายในบ้านปลอดโปร่ง สะอาด ปราศจากเชื้อโรค รวมถึงช่วยประหยัดพลังงาน และ  เทคโนโลยีควบคุมบ้านผ่านปลายนิ้วสัมผัส ด้วยระบบ Self-Managed Home Automation at Fingertips รวมถึงกิจกรรม Recycle Day ที่ได้มีการพัฒนาระบบในรูปแบบของแอปพลิเคชั่น ที่ช่วยให้การคัดแยกขยะของลูกบ้านง่ายและสะดวกขึ้น จนได้รับการตอบรับเป็นอย่างมาก   

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมามีการเปิดตัวแคมเปญใหม่ คือ “ความสุขมีตัวตน” เพื่อต้องการสื่อสารให้สอดรับกับความทันสมัยของผู้บริโภค รับกับรสนิยม และการใส่ใจสุขภาพกายและใจของสังคมเมือง 

และเพื่อเสริมการปรับภาพลักษณ์ใหม่ อารียาปรับโฉมใหม่เว็บไซต์หลัก www.areeya.co.th ให้มีความทันสมัย ใช้งานง่าย และรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเพิ่ม LiveChat ที่จะช่วยตอบคำถามผ่านหน้าเว็บไซท์ทุกวัน และลูกค้าสามารถชมบ้านตัวอย่างแบบ 360 องศาผ่านเว็บไซท์อารียาได้โดยไม่เดินทางไปถึงสถานที่จริงอีกด้วย

 

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่ขายได้ช้า และขายได้น้อยมาก ทำให้การลงทุนพัฒนาหรือลงทุนซื้ออาจมีปัญหาได้ ในทีนี้ได้จัดอันดับไว้ 20 รายการ ดังนี้:

            อันดับที่ 1 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 99 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 30 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 0.500-1.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 0.770 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 27 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 32 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 39.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 26 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1014 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 23 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.541 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D2: สะพานใหม่ มีจำนวน 130 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 980 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 130 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.590 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 170 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 950 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 5 หน่วย ยังเหลืออีก 165 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K3: มหาชัย เศรษฐกิจ มีจำนวน 115 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 344 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 9.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H7: บางปู มีจำนวน 67 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 603 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 8 หน่วย ยังเหลืออีก 59 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 86 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 602 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 2 หน่วย ยังเหลืออีก 84 หน่วย หรือเหลืออีก 98% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 8.120 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D3: บางบัว มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 284 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 1 หน่วย ยังเหลืออีก 34 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.734 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 60 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 164 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.888 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 504 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1456 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 498 หน่วย หรือเหลืออีก 99% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.329 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N2: วงแหวนรอบนอก-คลองมหาสวัสดิ์ มีจำนวน 53 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 176 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 49 หน่วย หรือเหลืออีก 92% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.440 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N4: บางบัวทอง มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 213 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 33 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 25.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 34 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 850 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.292 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล M1: ตลิ่งชัน มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 159 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 24 หน่วย หรือเหลืออีก 80% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.500 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 44 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 66 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 41 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.604 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 253 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 406 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 15 หน่วย ยังเหลืออีก 238 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.970 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B4: ชินเขต ท่าทราย มีจำนวน 463 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 912 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 16 หน่วย ยังเหลืออีก 447 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.490 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 211 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 736 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 204 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 42.091 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 143 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 6019 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 139 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามบางโครงการในทำเล ประเภทบ้านและระดับดังกล่าว ก็อาจขายดีสวนกระแส ทั้งนี้เพราะมีการบริหารจัดการที่ดี ก็เป็นได้เช่นกัน ต้องศึกษาในรายละเอียดด้วย

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่น่าจะพัฒนา มีอนาคต และผู้ซื้อให้การต้อนรับมากเป็นพิเศษ

            อันดับที่ 1 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.567 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G5: ลาดกระบัง มีจำนวน 41 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 64 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีก 14 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 76.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G2: พัฒนาการ มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 90 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 3 หน่วย หรือเหลืออีก 10% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 72.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.529 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 625 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1581 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 516 หน่วย ยังเหลืออีก 109 หน่วย หรือเหลืออีก 17% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 10.001-20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 12.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 176 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2270 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 17 หน่วย ยังเหลืออีก 159 หน่วย หรือเหลืออีก 90% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.693 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D6: นวมินทร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 39 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 15 หน่วย หรือเหลืออีก 65% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 52.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.550 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 952 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1476 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 521 หน่วย ยังเหลืออีก 431 หน่วย หรือเหลืออีก 45% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.276 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K6: วงแหวนรอบนอก-เพชรเกษม มีจำนวน 275 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1451 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 167 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 39% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 28 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 137 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 26 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 2 หน่วย หรือเหลืออีก 7% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 46.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.794 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 41 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 7 หน่วย ยังเหลืออีก 16 หน่วย หรือเหลืออีก 70% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.690 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 1,655 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2798 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 770 หน่วย ยังเหลืออีก 885 หน่วย หรือเหลืออีก 53% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.014 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 1,166 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4680 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 510 หน่วย ยังเหลืออีก 656 หน่วย หรือเหลืออีก 56% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.553 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 145 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 515 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 66 หน่วย ยังเหลืออีก 79 หน่วย หรือเหลืออีก 54% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 42.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.460 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E6: เจ้าคุณทหาร มีจำนวน 72 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 105 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 41 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 41.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.576 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G1: รามคำแหง มีจำนวน 36 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 57 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 28 หน่วย หรือเหลืออีก 78% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 36.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.523 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F5: รัชดา-ลาดพร้าว มีจำนวน 2,010 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 5070 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1323 หน่วย ยังเหลืออีก 687 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.778 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 2,107 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 14281 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1209 หน่วย ยังเหลืออีก 898 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.486 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F6: เทพลีลา-มหาดไทย มีจำนวน 96 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 143 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 40 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.826 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล L3: บางพลัด มีจำนวน 378 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 690 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 183 หน่วย ยังเหลืออีก 195 หน่วย หรือเหลืออีก 52% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.709 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 1,218 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4518 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 554 หน่วย ยังเหลืออีก 664 หน่วย หรือเหลืออีก 55% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.696 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล C2: ติวานนท์ มีจำนวน 139 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 236 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 59 หน่วย ยังเหลืออีก 80 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 31.5% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามก็พึงระวัง หากแห่กันไปพัฒนาแบบเดียวกันก็อาจ "พากันลงเหว" ได้

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click