December 22, 2024

ไซเซลแนะนำกลยุทธ์ระหว่างการตั้งเครือข่ายไร้สายที่สำนักงานหรือใช้คลาวด์บริหาร

November 11, 2019 2521

ในปัจจุบัน อุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นแล็ปท้อป สมาร์ทโฟน แท้ปเล็ตจะมีชิปเซ็ทรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายเข้ากับอินเทอร์เน็ตอยู่ในตัวเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ การ์ทเนอร์ (Gartner) คาดว่า1 ตลาดองค์กรและยานยนต์จะมีอุปกรณ์เชื่อมโยงผ่านอินเทอร์เน็ตในตัว (Internet of Things: IoT) จะเติบโตเป็น 5.8 พันล้านชิ้นในปีคศ.  2020 เพิ่มขึ้น 21% จากปีคศ. 2019 ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้งาน 4.8 พันล้านคน เพิ่มขึ้น 21.5% จากปีคศ. 2018 และในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตเองนับวันจะกลายเป็นบริการพื้นฐานเหมือนบริการสาธารณูปโภคทั่วไป

ดังนั้น หมายความว่า จะมีจำนวนอุปกรณ์โมบายที่จะเชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายขององค์กรมากขึ้นอีกมาก  องค์กรจะต้องพิจารณาเลือกใช้เครือข่ายที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการมากมายเหล่านั้น ให้มีการเชื่อมต่อที่สม่ำเสมอราบรื่น ให้แบนด์วิดท์สูง ความเร็วสูง

วิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมโครงข่าย WLAN

องค์กรมักมีคำถาม  ว่าควรจัดเครือข่ายไร้สาย  (WLAN: Wireless LAN) ตั้งที่สำนักงาน (On-premises WLAN) และใช้อุปกรณควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ดี? หรือบริหารผ่านคลาวด์ (Cloud-managed WLAN) ดี? ซึ่งเราควรย้อนกลับไปดูถึงวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมโครงข่าย WLAN ก่อน แล้วจึงพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างรูปแบบทั้งสองกันต่อไป

----------------------------------

1 Gartner’s predictions: https://www.gartner.com/en/newsroom/press-releases/2019-08-29-gartner-says-5-8-billion-enterprise-and-automotive-io

ยุคที่แอคเซสพ้อยท์ทำงานเดี่ยว  

ย้อนกลับไปในยุคที่เริ่มมีเครือข่ายไร้สาย  อุปกรณ์แอคเซสพ้อยท์แต่ละชิ้นจะทำงานและถูกบริหารแยกชึ้นกัน ซึ่งการใช้งานอิสระนี้ไม่ได้สร้างปัญหาใดๆ เนื่องจากส่วนใหญ่องค์กรจะใช้แอคเซสพ้อยท์ในงานที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ในห้องประชุม หรือที่ล้อปบี้ และมีอุปกรณ์โมบายเชื่อมต่อเข้ามาใช้งานเป็นจำนวนน้อย

ยุคที่นำอุปกรณ์ควบคุมระบบเครือข่ายไร้สายมาติดตั้งใช้งานที่สำนักงาน    

ต่อมา ความต้องการใช้งานเปลี่ยนไป ผู้ใช้งานต้องการใช้สัญญาณไวไฟในอาคารมากขึ้น อาทิ ในการประชุมและใช้จำนวนแอคเซสพ้อยท์นับร้อยๆ ชิ้น แต่แอคเซสพ้อยท์ยังไม่สามารถประสานงานระหว่างเครื่องกันเองได้ มีผลทำให้เกิดปัญหาด้านเทคนิค อาทิ การจัดโหลดบาลานซ์ การเลือกช่องทางสัญญาณ การทำ RF optimization การยืนยันสิทธิ์เพื่อเข้าใช้งาน และการทำโรมมิ่ง ซึ่งมักส่งผลให้เครือข่ายทำงานไม่สม่ำเสมอและคาดการณ์การทำงานในอนาคตไม่ได้

ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเกิดการใช้อุปกรณ์ควบคุมระบบเครือข่ายไร้สาย เพื่อจัดการทราฟฟิคและบริหารแอคเซสพ้อยท์ให้เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น การตั้งค่าและนโยบายต่างๆ  แต่ยังต้องอาศัยบุคลากรด้านไอทีที่มีความชำนาญมากขึ้น ในการดูแล ตั้งค่าระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

ยุคที่ใช้คลาวด์บริหารเครือข่าย  

หากองค์กรเลือกใช้โซลูชั่นบริหารเครือข่ายผ่านคลาวด์ องค์กรจะไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายเพื่อติดตั้งในทุกสาขาสำนักงาน   ในที่นี้ คลาวด์จะมีตัวคอนโทรลเลอร์เสมือนทำงานในพับลิคคลาวด์และรองรับแอคเซสพ้อยต์ทุกชิ้นผ่านอินเทอร์เน็ต  คลาวด์จึงสามารถบริหารแอคเซสพ้อยต์ได้ทั้งหมด รวมถึงการตั้งค่าเริ่มใช้งาน การตรวจสอบ การแก้ไขปัญหาต่างๆ

องค์กรเพียงจ่ายค่าโซลูชั่นบริหารเครือข่ายไร้สายขององค์กรผ่านคลาวด์นี้ในรูปแบบค่าบริการรายปี ทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในการวางแผนงบประมาณได้มากกว่า  และเพียงจ่ายค่าไลเซนส์ (Subscribed licenses) เท่านั้น คลาวด์จะช่วยดูแลเรื่องอื่นๆ ให้อย่างครบครัน รวมถึง การสำรองข้อมูล การเก็บข้อมูล การทำระบบสำรอง และอื่นๆ อีกมาก

ประโยชน์ของการใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายตั้งที่สำนักงาน และการใช้คลาวด์บริหารจัดการ  

ข้อดีของการใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงาน

  • พึ่งพาอินเทอร์เน็ตน้อยลง

โซลูชั่นที่ใช้คลาวด์บริหารจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ Wireless control data กับอุปกรณ์แอคเซสพ้อยต์ทั้งหลายในการตั้งค่า พิสูจน์ตัวตนก่อนใช้งานและอื่นๆ  ซึ่งหากองค์กรนั้นมีปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือมีค่าความหน่วงสูง หรือมีปัญหาด้านทรูพุธความเร็วที่ไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน แต่ในทางตรงกันข้าม อุปกรณ์ควบคุมระบบเครือข่ายไร้สายแบบที่ติดตั้งที่สำนักงานจะสามารถจัดการปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องอาศัยการใช้อินเทอร์เน็ต

  • ยืดหยุ่น ใช้งานและการทำงานต่อเนื่องกว่า

ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่สำนักงานจะได้รับการยอมรับว่ามีความยืดหยุ่น และปรับให้ใช้งานตรงต่อความต้องการมากกว่าในหลายๆ กรณี สามารถรองรับคุณสมบัติขั้นสูงของอุปกรณ์ไวไฟ และแอปพลิเคชั่นได้มากกว่า  นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นเครือข่ายใหญ่ที่ใช้แอคเซสพ้อยต์นับร้อยๆ ชิ้น   ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่ตั้งค่าเป็น Role-based access control และมี Secondary controller configuration จะสามารถทำงานเข้ากันได้ดี เพื่อสร้างศักยภาพในการเข้าใช้งานเครือข่ายแลนทีดีกว่าและให้การทำงานที่ต่อเนื่องกว่า

ข้อได้เปรียบของการโซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์

  • เริ่มต้นใช้งานและบริหารจากที่อื่นได้อย่างง่ายๆ

โซลูชั่นนี้จะช่วยให้การจัดการเป็นไปอย่างง่ายขึ้นมาก เนื่องจากไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมระบบไร้สายที่สาขาใดๆ เลย ผู้ให้บริการคลาวด์จะเชื่อมต่อจากระยะไกลเข้ามาจัดการกับอุปกรณ์โดยตรงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ไอทีประจำ ณ ที่นั้น และเคล็ดลับที่สำคัญคือ ควรเลือกใช้ผู้ให้บริการคลาวด์ที่มีบริการระดับสูงประเภท Zero-touch deployment ที่ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ไอทีเข้าไปจัดการใดๆ  จึงเห็นได้ชัดว่า การใช้โซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์นี้ทำให้การจัดการเครือข่ายเป็นไปอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะในองค์กรที่มีเจ้าหน้าที่ไอทีไม่เพียงพอ

  • ไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์จำนวนมากๆ ในการควบคุมระบบ

โซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์นี้สามารถบริหารแอคเซสพ้อยต์ได้ไม่จำกัด จึงช่วยให้ปรับขนาดเครือข่ายเป็นไปอย่างง่ายๆ  องค์กรจึงสามารถใช้โซลูชั่นนี้ในการบริหารแอคเซสพ้อยต์เพียงชิ้นเดียว และเพิ่มจำนวนได้ทันทีที่ธุรกิจขยายตัวหรือมีการขยายสาขาใหม่ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายเพิ่มเติม

แล้ว องค์กรแบบใดที่ควรใช้คลาวด์?

ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า องค์กรแบบใดที่ควรใช้โซลูชั่นแบบคลาวด์ เนื่องจากโครงสร้างการเชื่อมต่อไร้สายทั้งสองรูปแบบล้วนให้ประโยชน์ต่อองค์กร  แต่คำถามดังต่อไปนี้อาจช่วยให้ท่านตัดสินใจได้

ท่านมีเจ้าหน้าที่ไอทีในการบริหารเครือข่ายจำนวนจำกัดหรือไม่?

หากท่านมีเจ้าหน้าที่ไอทีสนับสนุนงานให้กับธุรกิจสาขาจำนวนหนึ่งและมีพนักงานประจำที่สาขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ท่านอาจพิจารณาใช้โซลูชั่นอุปกรณ์ควบคุมระบบเครือข่ายไร้สายติดตั้งที่สำนักงานได้ เนื่องจากสามารถออกแบบใช้งานได้ตามความต้องการจริงได้ดี  แต่ถ้าหากทีมงานของท่านมีจำนวนน้อยและท่านเองกำลังมองหาหนทางที่จะทำให้การจัดการเป็นไปอย่างง่ายๆ  โซลูชั่นแบบคลาวด์น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

องค์กรของท่านมีสาขากระจายตัวในสถานที่หลายแห่งหรือไม่?

ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงานเหมาะกับองค์กรใหญ่ที่มีเจ้าหน้าที่ไอทีดูแลเพียงพอ แต่โซลูชั่นที่ใช้คลาวด์บริหารนั้น จะช่วยจัดให้แอคเซสพ้อยต์สามารถตั้งค่าเองได้จะเหมาะกับธุรกิจมีสาขาหลายแห่ง เช่น เชนร้านค้าที่มีร้านสาขาขนาดเล็กในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ  ซึ่งพนักงานที่สาขานั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไอที เพียงแต่เสียบสายไฟและเปิดอุปกรณ์  เจ้าหน้าที่จะเชื่อมต่อรีโมทเข้าไปจัดการตั้งค่าและตรวจสอบอุปกรณ์จากที่อื่นได้ 

องค์กรของท่านมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือไม่?

เนื่องจากโซลูชั่นแบบคลาวด์ไม่ต้องการอุปกรณ์ควบคุมระบบเครือข่ายไร้สายที่เป็นฮาร์ดแวร์ และไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงว่าอุปกรณ์นั้นควรเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ ในเวลาที่ท่านเพิ่มจำนวนแอคเซสพ้อยต์เข้าไปในระบบณ ที่ใด จำนวนเท่าใด เมื่อไหร่ก็ได้   นอกจากนี้ บริการโซลูชั่นแบบคลาวด์นี้จะเป็นลักษณะจ่ายตามที่ธุรกิจขยายตัว (Pay as you grow) จึงทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในปัจจุบันและในอนาคตที่มักมีความไม่แน่นอนสูง

Table 1: เปรียบเทียบระหว่างโซลูชั่นประเภทใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายตั้งที่สำนักงาน และการใช้คลาวด์บริหารจัดการ  

ไม่ว่าองค์กรจะเลือกใช้โซลูชั่นที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมระบบเครือข่ายไร้สายหรือใช้โซลูชั่นบริหารเครือข่ายผ่านคลาวด์ ไซเซลมีความพร้อมจัดหาโซลูชั่นที่ช่วยบริหารอุปกรณ์ไร้สายจากที่เดียวกันได้อย่างปลอดภัย เอื้อให้องค์กรสามารถรองรับอุปกรณ์ไอโอทีในที่ทำงาน อุปกรณ์ส่วนตัวที่พนักงานนำมาใช้ในงานและอุปกรณ์ของแขกผู้มาเยือนองค์กรได้อย่างคล่องตัว  ด้วยตระกูลผลิตภัณฑ์ NXC Wireless Controller Series และกลุ่มผลิตภัณฑ์เกตเวย์พร้อมฟังก์ชัน AP Controller  มีความสามารถช่วยขยายเครือข่ายอย่างยืดหยุ่นและใช้งานเข้ากับอุปกรณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างยอดเยี่ยม โซลูชั่นเนบูล่าสำหรับคลาวด์ของไซเซล (Nebula Cloud Networking Solution) สามารถควบคุมอุปกรณ์เนบูล่าได้ทั่วทุกสถานที่ผ่านอินเตอร์เฟซการจัดการเดียว

ทั้งนี้ ตารางด้านล่างแสดงข้อเปรียบเทียบเพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างการใช้โซลูชั่น NXC และเนบูล่าได้ชัดเจนดีขึ้น  ช่วยท่านเลือกสถาปัตยกรรม WLAN ที่เหมาะสมเพื่อประสบการณ์ไร้สายที่ยอดเยี่ยมขององค์กร

  Table 2: เปรียบเทียบระหว่างการใช้โซลูชั่น NXC และเนบูล่า

 

X

Right Click

No right click