วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศปรับเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสองท่าน
นายธศพงษ์ รังควร ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตและบริหารข้อมูลลูกค้า สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “หลังจากที่เคทีซีได้เป็นหนึ่งในบัตรเครดิตรายแรกที่สามารถรองรับการชำระเงินผ่าน Google Wallet ได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้สมาชิกสามารถใช้บริการการชำระเงินผ่านบัตรเคทีซีบนสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยยิ่งกว่าเดิม โดยเคทีซีได้จับมือกับพันธมิตรวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด มอบสิทธิพิเศษให้สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า และบัตรเคทีซี มาสเตอร์การ์ด เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกได้ทดลองมีประสบการณ์กับ Google Pay เพียงเพิ่มบัตรฯ ใน Google Wallet และแตะจ่าย ชำระเงินแบบไร้สัมผัสผ่าน Google Pay ได้ง่ายและรวดเร็วทุกจุดชำระเงินที่มีสัญญลักษณ์ Contactless ด้วยคาดหวังว่าจำนวนความถี่ที่สมาชิกจะเลือกใช้จ่ายผ่านช่องทางการชำระเงินแบบไร้สัมผัสจะเพิ่มขึ้น 30%”
รายละเอียดสิทธิพิเศษมีดังนี้
สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า รับ e-Coupon เครดิตเงินคืนสูงสุด 1,000 บาทต่อเซลส์สลิป ผ่านแอป KTC Mobile เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ด้วย Google Pay ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปต่อเซลส์สลิปแบบชำระเต็มจำนวนเท่านั้น (ไม่รวมการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์) ที่ร้านค้าที่มีเครื่องรับชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless) สมาชิกจะได้รับ e-Coupon เครดิตเงินคืนตามมูลค่าที่กำหนดไว้สำหรับแต่ละลำดับรายการใช้จ่ายที่เข้ามาในระบบ ได้แก่ 5 /10 / 50 / 100 / 200 / 500 และ 1,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนเครดิตเงินคืนต่อวัน ระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 – 31 ธันวาคม 2565
สมาชิกบัตรเคทีซี มาสเตอร์การ์ด รับเครดิตเงินคืน 100 บาท เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ด้วย Google Pay ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปต่อเซลส์สลิปที่กูร์เมต์ มาร์เก็ต และโฮม เฟรช มาร์ท ทุกสาขา (จำกัดจำนวนเครดิตเงินคืนสูงสุด 400 บาท / สมาชิก 1 ท่าน / เดือน) ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 – 31 มีนาคม 2566
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดการชำระเงินด้วย Google Pay และวิธีเพิ่มบัตรฯ ใน Google Wallet ที่ https://www.ktc.co.th/google-pay สอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือที่เว็บไซต์ www.ktc.co.th/google-pay สมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก เคทีซี ทัช ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์ได้ที่นี่: http://bit.ly/apply-ktc
วีซ่า (VISA) ผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศเปิดตัว Google Wallet สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตวีซ่าในประเทศไทยที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ และบัตรกรุงไทย (เคทีซี) โดยผู้ถือบัตรสามารถใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยด้วย Google Wallet ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android และ WearOS ไม่ว่าจะในร้านค้า การช้อปออนไลน์ ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และยังสามารถจัดเก็บบัตรเครดิตไว้ภายใน Google Wallet ได้อีกด้วย
การเปิดตัวในครั้งนี้สอดรับกับพฤติกรรมการใช้จ่ายผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเปิดรับวิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลและลดการใช้เงินสดลง จากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study)1 เผยให้เห็นว่าเกือบเก้าในสิบ (88%) ของชาวไทยในปัจจุบันที่ไม่ได้ชำระเงินแบบโมบายคอนแทคเลสต่างรับทราบเกี่ยวกับการชำระเงินด้วยวิธีนี้ และมีถึง 87% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่สนใจที่จะเริ่มใช้การชำระเงินในรูปแบบดังกล่าว
พิภาวิน สดประเสริฐ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การเกิดโรคระบาดเป็นตัวขับเคลื่อนการชำระเงินแบบคอนแทคเลส เพราะผู้บริโภคต่างมองหาช่องทางที่ปลอดภัยและสะดวกในการใช้จ่าย อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้คนทั้งในเรื่องการติดต่อ ทำธุรกิจ และให้ความบันเทิงไปในตัว เป้าหมายของวีซ่าคือการเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการชำระและรับเงินสำหรับทุกคน การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอของเรา และเราเองภูมิใจที่ได้ส่งมอบประสบการณ์การชำระเงินที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคชาวไทย ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับเราที่ได้ร่วมสนับสนุนกูเกิ้ล ธนาคารกรุงเทพ และเคทีซี เพื่อมอบ Google Wallet และอีกหนึ่งประสบการณ์การชำระเงินที่ไร้รอยต่อและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้งออนไลน์หรือแตะอุปกรณ์สวมใส่ของพวกเขาที่จุดรับชำระเงิน”
แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่า “จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ e-Conomy SEA 2022 พบว่าการชำระเงินแบบดิจิทัลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าการชำระเงินแบบดิจิทัลในไทยจะมีมูลค่าธุรกรรมรวม (Gross Transaction Value: GTV) สูงถึง 1.61 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 เนื่องจากปัจจุบันคนไทยหลายล้านคนนิยมชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เราจึงรู้สึกตื่นเต้นที่ได้นำ Google Wallet มาให้บริการในประเทศไทย ด้วย Google Wallet ผู้ใช้งานในไทยสามารถแตะเพื่อจ่ายเงินในร้านค้า หรือเช็คเอาท์ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งเข้าถึงบอร์ดดิ้งพาสสำหรับการเดินทางที่เร่งรีบในช่วงเทศกาลวันหยุดส่งท้ายปลายปีได้อย่างง่ายดาย เปรียบเสมือนการรวมทุกกระเป๋าไว้ในที่เดียวในทุกการเดินทาง ซึ่งทั้งสะดวกและปลอดภัย”
แจ็คกี้ หวาง (ซ้าย) Country Director, Google ประเทศไทย และ พิภาวิน สดประเสริฐ (ขวา) ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย
วิธีการชำระเงินผ่านโมบายคอนแทคเลสไม่ต่างจากการชำระแบบผ่านบัตรคอนแทคเลส ที่ผู้บริโภคเพียงแค่แตะเพื่อจ่ายด้วยสมาร์ตโฟนที่เครื่องอ่าน ณ จุดรับชำระเงิน ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผู้บริโภคชาวไทยบอกว่าข้อดีห้าอันดันแรกของการชำระเงินผ่านโมบายคอนแทคเลส คือ ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด (68%) ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด (65%) เป็นรูปแบบการชำระเงินที่ทันสมัย (59%) ง่ายต่อการใช้งานและติดตั้งระบบ (58%) และไม่จำเป็นต้องพกบัตรเพื่อการชำระเงิน (56%)2
Google Wallet ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างประสบการณ์การชำระเงินที่รวดเร็วและปลอดภัย แอปจะทำงานโดยมีหน่วยประมวลผลร่วมที่ช่วยให้การชำระเงินมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยแบบหลายชั้นที่ออกแบบให้สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ Google Wallet ยังใช้โทเค็น ซึ่งเป็นชุดข้อมูลชั่วคราวแทนข้อมูลเลขบัญชีจริงที่จะช่วยรักษาข้อมูลของเจ้าของบัตรให้ปลอดภัย โดยชุดข้อมูลจะถูกสร้างขึ้นเมื่อมีการเพิ่มบัตรไปที่ Google Pay หรือในแอปของธนาคารที่ติดตั้ง เพื่อให้ข้อมูลของผู้บริโภคนั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในขณะที่ชุดข้อมูลตัวเลขโทเค็นที่สร้างขึ้นมาทดแทนเลขบัญชีจริงจะถูกส่งไปยังร้านค้าแทน
ผู้ถือบัตรวีซ่า จะสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ บนอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android และ WearOS ตั้งแต่เวอร์ชั่น Android 5.2 เป็นต้นไป โดยสามารถดาวน์โหลดแอป Google Wallet ได้ที่ Play Store
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Wallet สามารถดูได้ที่ https://wallet.google. และสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชำระเงินแบบคอนแทคเลสของวีซ่าได้ที่ www.visa.co.th
วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก แนะผู้ประกอบการไทยเตรียมรับนักท่องเที่ยวที่จะกลับเข้ามาหลังไทยเปิดประเทศอีกครั้ง โดยจากผลสำรวจเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวระดับโลกฉบับล่าสุดของวีซ่า (Visa Global Travel Intentions Study)[1] พบว่าประเทศไทยได้ถูกจัดอันดับให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวลำดับที่สี่ที่น่าเดินทางไปเยือนมากที่สุดในโลก
ย้อนกลับไปเมื่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของกรุงเทพฯ ได้เปิดให้บริการในปลายปี 2542 หลายคนอาจคาดไม่ถึงต่อผลที่เกิดขึ้นต่อการดำรงชีวิตในเมืองของเรา แน่นอนว่าการสัญจรในเมืองสะดวกขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะเดียวกันพัฒนาการของระบบขนส่งมวลชนยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเมืองในทุกแห่งหน ช่วยให้เด็กๆ เดินทางไปโรงเรียนได้เร็วขึ้น เปิดประตูสู่สถานที่ใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ กระตุ้นเศรษฐกิจเล็กใหญ่ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเดินทางให้กับโลกใบนี้อีกด้วย
เมื่อการปรับเปลี่ยนสู่สังคมเมืองขยายตัว และจำนวนประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลต่อกำลังของโครงสร้างสาธารณูปโภคในปัจจุบัน ข่าวดีก็คือเมืองของเรายังคงเดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา และไม่ได้มีเพียงเส้นทางใหม่ๆ เท่านั้นที่ได้รับการพัฒนา แต่ยังคงรวมถึงระบบการรับชำระเงินเบื้องหลังที่จัดว่าเป็นเครื่องยนต์การขับเคลื่อนประสบการณ์การเดินทางที่สำคัญ ด้วยการยกเครื่องใหม่ในครั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถใช้บัตรเครดิตที่มีอยู่แล้วเพื่อชำระค่าโดยสารที่ประตู ไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวเพื่อเติมเงิน และที่สำคัญที่สุดเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น
ล่าสุด วีซ่า ได้ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) (BEM) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำเทคโนโลยีระดับโลกมาใช้ในรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ซึ่งหมายความว่าผู้โดยสารสามารถใช้บัตรเครดิตประเภทคอนแทคเลสของตนเอง “แตะเพื่อจ่าย” ที่ประตูทางเข้า ซึ่งนอกจากจะทำให้การชำระเงินเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังช่วยขจัดขั้นตอนในการเข้าคิวเพื่อซื้อตั๋ว หรือเติมเงินในบัตรโดยสารทุกเดือนอีกด้วย และนี่เป็นก้าวสำคัญที่ยกระดับให้กรุงเทพฯ มีความทันสมัยทัดเทียมกับมหานครของโลกอย่าง ลอนดอน นิวยอร์ก ดูไบ ซิดนีย์ และสิงคโปร์ และอีกมากกว่า 500 โปรเจกต์ในหัวเมืองชั้นนำทั่วโลกให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ
เมื่อพูดถึงการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัล ประเด็นที่ต้องเน้นย้ำคือเรื่องความปลอดภัย ในรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินและม่วงนี้ใช้โซลูชั่นการชำระเงินแบบดิจิทัลของวีซ่าที่มีชื่อว่า Cybersource ซึ่งหนึ่งในฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยหลักคือระบบ โทเค็น ซึ่งเป็นระบบการปกก้อง และจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ปลอดภัยตามมาตราฐานสูงสุดของวีซ่า กล่าวคือเมื่อผู้โดยสารแตะบัตรเครดิตลงบนที่อ่านบัตรบนประตู ระบบจะแปลงตัวเลข 16 หลักบนบัตรเป็นรหัสโทเค็น (เช่น จาก 4123 5678 9101 2131 เป็น 0001 1001 1100 0011) เพื่อใช้ในการชำระเงิน ซึ่งระบบโทเค็นนี้เป็นเกราะป้องกันชั้นเลิศที่ป้องกันไม่ให้ข้อมูลของผู้ถือบัตรถูกนำไปใช้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นเพื่อเสริมความปลอดภัยอีกขั้นไม่ว่าจะเป็น รฟม. และธนาคารกรุงไทยเองก็ไม่เก็บข้อมูลบัตรเครดิตเอาไว้ได้ นับเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยอย่างแท้จริง
ที่สุดแล้วความร่วมมือของวีซ่า กับ รฟม. BEM และธนาคารกรุงไทย ได้ช่วยปลดล็อกสิ่งที่เรารู้จักกันในวงการอุตสาหกรรมการชำระเงินว่า “ระบบสัญจรแบบเปิด (open-loop)” อันนำมาซึ่งฝันที่เป็นจริงที่ผู้โดยสารต้องการมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร ทุกวันนี้คนกรุงฯ ต้องพกบัตรมากมายในกระเป๋าสตางค์ซึ่งแต่ละใบใช้กับระบบขนส่งแต่ละประเภท ระบบสัญจรแบบเปิดช่วยให้บัตรหนึ่งใบสามารถใช้ชำระค่าโดยสารทุกประเภท โดยไม่จำเป็นต้องพกบัตรโดยสารแต่ละประเภทในการเดินทางให้ยุ่งยากอีกต่อไป ในทางปฏิบัติหมายความว่าคุณใช้บัตรเพียงแค่ใบเดียวที่ใช้ชำระค่าโดยสารเมื่อไปทำงาน ซื้อข้าวกลางวัน ช้อปปิ้ง และเดินทางกลับบ้าน ถือเป็นโซลูชั่นที่ช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นอย่างแท้จริง
การใช้งานการชำระเงินแบบคอนแทคเลสยังให้ประโยชน์มากมายแก่ผู้ประกอบการ โดยค่าใช้จ่ายในการเก็บค่าโดยสารสามารถลดลงได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งยังช่วยลดค่าบริหารจัดการเงินสดได้อีกด้วย และการเดินทางแบบไร้รอยต่อจะช่วยลดการเข้าคิวที่สถานีซึ่งเป็นปัจจัยในการเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ผู้โดยสารได้ จากการศึกษาในสหรัฐฯ พบว่า 84 เปอร์เซ็นต์ ของนักเดินทางในเมืองใหญ่ๆ หงุดหงิดจากการเข้าคิวต่อจากคนที่ใช้เวลานานในการซื้อตั๋วโดยสาร และ 67 เปอร์เซ็นต์ บอกว่าพวกเขาพลาดรถไฟเที่ยวที่จะขึ้นเพราะคิวซื้อตั๋วที่ยาวเหยียด ด้วยการชำระแบบคอนแทคเลสนี้เราไม่จำเป็นต้องรอแลกเหรียญหรือเติมเงินบัตรโดยสารของเราอีกต่อไป ลองคิดดูว่าการเดินทางสัญจรทั่วกรุงเทพฯ สำหรับนักท่องเที่ยวจะง่ายเพียงใด หากเราสามารถมอบประสบการณ์การเดินทางแบบไร้รอยต่อที่แท้จริงให้กับพวกเขาได้
ถือได้ว่านี่เป็น “จิ๊กซอว์” ชิ้นสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นรถประจำทาง ทางด่วน และเรือโดยสาร ให้สามารถรองรับการชำระแบบคอนแทคเลสได้ แต่ในมุมมองของเรา ประโยชน์ของการมีระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย และเชื่อมต่อนั้นเป็นมากกว่าการช่วยให้การชำระเงินในการเดินทางนั้นรวดเร็วและปลอดภัย แต่ส่งผลโดยตรงไปยังสามแกนหลักในด้านความยั่งยืนอย่าง ประชากร เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อีกด้วย
บางทีประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการทำให้ระบบขนส่งเชื่อมโยงได้ทั่วทั้งเมืองคือการเปิดประตูสู่สถานที่แห่งใหม่ สิ่งนี้จะเป็นเหมือนการผจญภัยครั้งสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงชาวเมืองให้สามารถค้นหาคาเฟ่และร้านอาหารใหม่ๆ หรือจะเป็นการสำรวจเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่ก็เป็นได้ ทั้งยังเป็นการช่วยคลายความหนาแน่นจากย่านใจกลางเมือง ขยายพื้นที่ทำงาน และบริการ และยังช่วยสร้างงานและโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็กเติบโตได้อีกด้วย และอีกสิ่งที่ลืมไม่ได้คือเมื่อมีคนสัญจรผ่านระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและมลพิษอื่นๆ
จริงอยู่ที่ระบบการขนส่งมวลชนแบบเปิดช่วยให้คนเดินทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้รวดเร็วและง่ายดายขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่สิ่งสำคัญที่มากกว่านั้นคือการยกระดับคุณภาพชีวิต เมื่อพื้นที่เมืองของเรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายมากขึ้น เราต้องไม่ลืมว่าความคิดนอกกรอบ บวกกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมและพิสูจน์แล้ว จะช่วยแก้ปัญหาหรือแม้แต่สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นก็เป็นได้
บทความ โดย สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย