September 19, 2024

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (เคทีซี)  ร่วมด้วย บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เดินหน้ากระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว 55 จังหวัดทั่วประเทศ หวังยกระดับการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยวและกระจายรายได้สู่ชุมชนเพื่อเป็นแรงผลักดันให้รายได้การท่องเที่ยวในประเทศโตตามเป้าหมายที่ 1.2 ล้านล้านบาท พร้อมมอบสิทธิพิเศษผ่านแคมเปญ ‘ขับรถเที่ยวเมืองรอง (เมืองน่าเที่ยว) กับบัตรเครดิตเคทีซี’ รับเครดิตเงินคืน4% เมื่อเติมน้ำมันที่ พีทีที สเตชั่น ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 

นางสาวสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. กล่าวว่า ททท. ขานรับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว หรือ เมืองรอง 55 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) นำรายได้กระจายสู่ชุมชน และยังถือเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์  IGNITE THAILAND’S TOURISM ของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายการเป็น Tourism Hub ที่สำคัญของโลก จึงได้ร่วมมือกับร่วมมือกับ เคทีซี หรือ บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท  
ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และพันธมิตรอีกหลายรายออกแคมเปญ ‘ขับรถเที่ยวเมืองรอง (เมืองน่าเที่ยว) กับบัตรเครดิตเคทีซี’ รับเครดิตเงินคืน 4% เมื่อเติมน้ำมันที่สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และได้รับเครดิตเงินคืนกับสถานีบริการน้ำมันอีกหลายราย รวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ อีกมากมาย โดยตั้งเป้าหมายการออกแคมเปญในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) ไม่ต่ำกว่า 70,000,000 บาท  

นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในหมวดการท่องเที่ยวทั้งประเทศเดือนมกราคม – มิถุนายน 2567 เติบโตที่ 12% โดยยอดการเติบโตส่วนใหญ่มาจากหัวเมืองใหญ่จังหวัดท่องเที่ยว สะท้อนได้ว่าการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) ยังต้องการแรงผลักดันจากรัฐบาลและภาคเอกชนในการกระตุ้นการท่องเที่ยวและนำรายได้สู่ชุมชนอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เคทีซีพร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยวของไทยให้บรรลุตามเป้าหมายของรัฐบาลโดยมอบสิทธิพิเศษด้านการท่องเที่ยวครอบคลุมทั้งสถานีบริการน้ำมัน / ส่วนลดและแลกคะแนนรับเครดิตเงินคืนร้านอาหารและร้านกาแฟ 136 ร้านค้า / ส่วนลดที่พัก 41 โรงแรม และส่วนลด 9 พันธมิตรรถเช่า ทั้ง 55 จังหวัดเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ktc.co.th/tat  

นายสุวัฒน์ เทพปรีชาสกุล ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า แคมเปญดังกล่าวถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต   เคทีซีที่วางแผนขับรถท่องเที่ยวไปยังเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) 55 จังหวัดใช้บริการที่สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และชำระค่าน้ำมันผ่านบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า และบัตรเครดิตเคทีซี มาสเตอร์การ์ด รับเครดิตเงินคืน 4% โดยมีเงื่อนไขข้อมูลจังหวัดที่อยู่ตามที่ระบุในใบแจ้งยอดของสมาชิกฯ ต้องไม่ตรงกับจังหวัดที่ตั้งของสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ที่ทำรายการ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนให้คนไทยเที่ยวต่างถิ่น และกระจายรายได้สู่ชุมชน สมาชิกสามารถรับสิทธิ์ดังกล่าวได้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567  นอกจากนี้ สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซียังสามารถใช้คะแนน KTC FOREVER จำนวน 169 คะแนน แลกรับเครดิตเงินคืน 20 บาท เมื่อมียอดการใช้จ่ายที่ร้าน คาเฟ่ อเมซอน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 

นายถนัดผล ดุละลัมพะ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์และการตลาดค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท.น้ำมัน  และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า ปัจจุบันสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ภายใต้การกำกับดูแลของ OR ใน 55 จังหวัดเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,093 สถานี ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเคทีซีในครั้งนี้จะเป็นส่วนช่วยให้คนไทยสนใจขับรถท่องเที่ยวเส้นทางเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) มากยิ่งขึ้นด้วยสิทธิพิเศษที่คุ้มค่า พร้อมได้ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันคุณภาพจาก พีทีที สเตชั่น ซึ่งครอบคลุมความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น “Super Power” น้ำมันเกรดพรีเมียมคุณภาพสูง ที่มีคุณสมบัติเด่นเรื่องความแรง รู้สึกได้ทันทีที่เติม พร้อมทำความสะอาด ปกป้องเครื่องยนต์ สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการน้ำมันที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยมีทั้ง Super Power ดีเซล และ Super Power GSH95 และสำหรับผู้บริโภคที่เน้นเรื่องความประหยัดคุ้มค่า ขอแนะนำ “Xtra Save” น้ำมันเกรดมาตรฐานสูตรใหม่ที่ทำให้ขับไปได้ระยะทางไกลกว่าเดิม ด้วย “สารเพิ่มพลังเครื่องยนต์ มากขึ้น 1.5 เท่า” เพิ่มอัตราเร่งได้เต็มกำลัง ปกป้องเครื่องยนต์ และลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน มอบความคุ้มค่าแก่ผู้บริโภคทุกคน โดยมีน้ำมันครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มดีเซล กลุ่มเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ น้ำมันทุกชนิดของ พีทีที สเตชั่น ได้รับรองมาตรฐาน EURO 5 ซึ่งมีปริมาณกำมะถันลดลงถึง 5 เท่า ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กลดลง อากาศสะอาดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันอย่างละเอียดเป็นประจำในทุกสาขา เพื่อควบคุมคุณภาพและส่งมอบน้ำมันที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคสอดคล้องกับพันธกิจหลักของภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในมิติแห่งความยั่งยืน 

ศึกษาข้อมูลรายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pttor.com/th/news/promotion และติดตามโปรโมชันและกิจกรรมอื่น ๆ ได้ที่ Facebook Fanpage: PTT Station หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1365 Contact Center หรือ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ   

การท่องเที่ยวไต้หวันเผยปี 67 คนไทยไปไต้หวันเพิ่มขึ้นเกือบ 18%  เดินหน้าจับมือเคทีซีเปิดตัวแคมเปญ ‘Unseen Taiwan 2024’ เที่ยวได้ในทุกฤดูกาล พร้อมเผยโฉมโลโก้ ‘Taiwan - Waves of Wonder’ สะท้อนกลยุทธ์การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สอดรับเทรนด์คนไทยนิยมเดินทางใกล้ วางรูปแบบการท่องเที่ยวตามปัจเจกนิยม และให้คุณค่ากับบริการรักษ์โลก หวังสิ้นปีดันยอดคนไทยเยือนไต้หวันเพิ่มไม่ต่ำกว่านักท่องเที่ยวในช่วงก่อนโควิด 

 

มิสซินดี้ เฉิน ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวไต้หวัน ประจำกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ในปี 2566 นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปไต้หวันทั้งสิ้นเกือบ 4 แสนคน และตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2567 ยอดรวมนักท่องเที่ยวคนไทยแตะ 153,638 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 17.82% เป็นผลจากการขยายระยะเวลานโยบายฟรีวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย 14 วัน จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2568 รวมถึงจำนวนเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ - ไต้หวัน ก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน สำหรับในปีนี้ การท่องเที่ยวไต้หวันได้เปลี่ยนโลโก้ใหม่ภายใต้ธีม ‘Taiwan - Waves of Wonder’ เพื่อชูจุดยืนเรื่องกลยุทธ์การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้รูปแบบเส้นสายลอนคลื่นที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภูเขา ทะเล ถนนทรงคดเคี้ยว หรือทางรถไฟ      บ่งบอกถึงความงดงามของภูมิทัศน์ธรรมชาติผสานกับมรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนานของไต้หวัน การเลือกโทนสีส้มเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ขึ้น สื่อถึงความหวังสำหรับการท่องเที่ยวยั่งยืนที่พร้อมส่งต่อไปยังประชากรรุ่นต่อไปในอนาคต  

ถึงแม้ว่าไต้หวันต้องการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้ได้มากขึ้น แต่รัฐบาลก็ได้ออกนโยบายเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจมีต่อทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ด้วยการรณรงค์ให้ความรู้แก่หน่วยงานภาคการท่องเที่ยวในเรื่องการลดปริมาณขยะ การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และเคารพวัฒนธรรมพื้นถิ่น นอกจากนี้รัฐบาลยังได้วางแผนงานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวยั่งยืน (Sustainable Tourism) ดังนี้  1) โครงการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Ecotourism Initiatives) การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ อุทยานธรณี และเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมแผนการบริหารด้านการท่องเที่ยวใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2) การคมนาคมคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Transportation) ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเลือกเดินทางด้วยรถไฟ เส้นทางจักรยาน หรือการเช่ารถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยปริมาณคาร์บอน 3) การรับรองมาตรฐานคุณภาพ (Certification and Standards) รัฐบาลสนับสนุนธุรกิจบริการท่องเที่ยวให้ได้รับใบรับรอง อาทิ  Green Travel Mark และ Travelife เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Development) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน อาทิ ที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบการกำจัดของเสีย รวมถึงศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวเพื่อให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรม 

ทั้งนี้ ปัจจุบันไต้หวันได้มีโครงการที่เป็นแบบอย่างของนโยบายท่องเที่ยวยั่งยืนเชิงรุก อาทิ ระบบยืมแก้วน้ำใช้ซ้ำที่ทะเลสาบสุริยันจันทรา: เพื่อลดปริมาณแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว โดยอนุญาตให้ผู้เข้าชมยืมแก้วน้ำใช้ซ้ำ (Reuse) แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะลดขยะตามสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม หรือโครงการติดป้าย Bicycle-Friendly: เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วยจักรยาน โดยรับรองมาตรฐานที่พักว่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักปั่นจักรยาน และส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

นอกจากเรื่องของการท่องเที่ยวยั่งยืนแล้ว  ไต้หวันยังมีสถานที่ท่องเที่ยวจากแคมเปญ ‘Unseen Taiwan 2024’ ที่พร้อมมอบประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับนักท่องเที่ยวใน 4 ฤดูกาลดังนี้ 

  1. ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) เป็นช่วงที่ดอกซากุระกำลังบานและสวยงามที่สุด ไต้หวันมีจุดชมดอกซากุระหลายแห่ง อาทิ ไทเป – อุทยานแห่งชาติหยางหมิงซาน หรือสวนเล่อหัว / นิวไทเป - วัดเทียนหยวน / เจียอี้ – อุทยานแห่งชาติอาลีซาน และ เถาหยวน - ลาลา เมาท์เทน  หรือหากต้องการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไต้หวันมีวัดมากถึงกว่า 12,000 แห่งทีเดียว 
  1. ฤดูร้อน (Summer) ไต้หวันเป็นสวรรค์ของนักชิม มีร้านอาหารที่ได้รับรางวัลมิชลินถึง 4 เมืองทั่วเกาะไต้หวันได้แก่ ไทเป  ไถจง เกาสง และไถหนาน ในขณะที่ Street Food ของไต้หวันก็เป็นที่นิยมด้วยรสชาติที่อร่อย มีความหลากหลาย ในราคาที่เหมาะสม  
  1. ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) อากาศช่วงนี้เหมาะกับการปั่นจักรยานท่องเที่ยว ไต้หวันมีเส้นทางการปั่นจักรยานที่จัดอันดับจาก CNN ว่าเป็น 1 ในเส้นทางจักรยานที่สวยงามที่สุดในโลก นั่นคือ เส้นทางปั่นจักรยานรอบทะเลสาบสุริยันจันทรา หรือจะเลือกแช่บ่อน้ำพุร้อนเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อาทิ บ่อน้ำพุร้อนหยางหมิงซานที่ไทเป  ซึ่งถือเป็นน้ำพุร้อนที่มีเอกลักษณ์เพราะได้รับความร้อนมาจากภูเขาไฟ ทำให้น้ำพุร้อนมีส่วนผสมของกำมะถันสีขาวและกำมะถันสีเขียว 
  1. ฤดูหนาว (Winter) นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปไต้หวันเพื่อช้อปปิ้ง ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองวันสิ้นปี จะมีการจุดดอกไม้ไฟสว่างไสวไปทั้งเมืองไทเป และหัวเมืองใหญ่ทั่วเกาะไต้หวัน รวมถึงกิจกรรมรื่นเริงอื่นๆ อีกมากมายเพื่อต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ 

 

นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service และการตลาดหมวดสายการบิน “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดของเคทีซีที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอคือเรื่อง Partnership Marketing โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และขยายขอบเขตความร่วมมือกับพันธมิตรในทุกภาคส่วน อาทิ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว สายการบิน บริษัทตัวแทน (ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์) โรงแรม รถไฟ รถเช่า หรือเรือสำราญ ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังได้ทำกิจกรรมการตลาดร่วมกันเพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิกผ่านงานด้านการท่องเที่ยวหรืองานแฟร์ การจัดเวิร์กชอป และกิจกรรมร่วมกับชุมชน รวมถึงพัฒนาช่องทางสื่อสารให้ตรงกลุ่มสมาชิกมากยิ่งขึ้น สำหรับความร่วมมือกับการท่องเที่ยวไต้หวันในปี 2566 ที่ผ่านมา ได้รับผลตอบรับที่ดี สะท้อนจากจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีและยอดรวมการใช้จ่ายที่ไต้หวันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ไต้หวันยังคงเป็นเส้นทางยอดนิยมของสมาชิก โดยในครึ่งปีแรกของปี 2567สมาชิกใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ไต้หวันเป็นอันดับที่ 5 เมื่อดูจากพอร์ตยอดรวมการใช้จ่ายในต่างประเทศเส้นทางเอเชีย รองจากญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง และจีน และสมาชิกเลือกใช้บริการเพื่อเดินทางไปยังไต้หวันผ่าน KTC World Travel Service สูงเป็นอันดับที่ 4 รองจากฮ่องกง ญี่ปุ่น และ จีน โดยมียอดใช้จ่ายสำหรับการเดินทางต่อบุคคลอยู่ที่ 23,000 บาทต่อราย 

ในปี 2567 เทรนด์การท่องเที่ยวมีการปรับเปลี่ยนไป สมาชิกนิยมเลือกใช้เวลาเดินทางสั้นลง และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเองตามไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างมากขึ้น รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านการท่องเที่ยว KTC World Travel Service จึงได้รวมผลิตภัณฑ์บริการท่องเที่ยวที่แสดงความมุ่งมั่นด้านรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ในหมวดที่เรียกว่า ‘Green Products’ โดยเคทีซีได้ร่วมมอบสิทธิพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกับพันธมิตรทุกราย สำหรับแคมเปญ ‘Unseen Taiwan 2024’ เคทีซีได้จับมือกับสายการบินหลักได้แก่ ไชน่าแอร์ไลน์ (China Airlines) อีวีเอ แอร์ (EVA Air) สตาร์ลักซ์ แอร์ไลน์ (STARLUX Airlines) และการบินไทย (THAI Airways) มอบส่วนลดพิเศษเฉพาะบัตรเครดิตเคทีซี เมื่อสมาชิกจองตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินดังกล่าวรวมถึงผ่านช่องทางของเคเคเดย์ (KKday) นอกจากนี้ KTC World Travel Service ยังได้เสนอแพ็กเกจ ‘Taiwan Explorer’ รวมตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และบัตรรถไฟเพื่อเน้นเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระยะเวลา 3 วัน 2 คืน โดยสามารถเลือกเมืองจุดหมายที่ต้องการ เช่น ไทเป เกาสง หรือเมืองทางตอนใต้อื่นๆ สำหรับรายละเอียดแพ็กเกจมีดังนี้ 

  • Taiwan Explorer 3 วัน 2 คืน เริ่มต้นที่ราคา 13,900 บาท / ท่าน ประกอบด้วย ตั๋วเครื่องบินสาย การบินไชน่าแอร์ไลน์ อีวีเอ แอร์ สตาร์ลักซ์ แอร์ไลน์ และการบินไทย เส้นทางกรุงเทพฯ – ไทเป ไป - กลับ ชั้นประหยัด ที่พักโรงแรมอินเฮาส์ ย่านซีเหมินติง 2 คืน รวมอาหารเช้า สำหรับ 2 ท่าน และบัตรรถไฟ MRT ใช้เดินทางในไทเปได้ไม่จำกัดเที่ยว ระยะเวลา 3 วัน 
  • Unseen Taiwan 3 วัน 2 คืน ราคา 15,900 บาท / ท่าน ประกอบด้วย ตั๋วเครื่องบินสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ ขาไปเส้นทางกรุงเทพฯ - ไทเป ขากลับเส้นทางเกาสง - กรุงเทพฯ ชั้นประหยัด ห้องพัก 2 คืน ไม่รวมอาหารเช้า และบัตรรถไฟความเร็วสูง Taiwan Pass High – Speed Rail Edition เดินทางได้ไม่จำกัดเที่ยว ระยะเวลา 3 วัน 

ระยะเวลาการจองตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 – วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ระยะเวลาเดินทางตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 - วันที่ 15 มกราคม 2568 สมาชิกสามารถเลือกใช้บริการแบ่งชำระ 0% นาน 6 เดือน และพิเศษ!   เมื่อชำระค่าตั๋วเครื่องบินหรือแพ็กเกจด้วยบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่าทุกประเภท รับฟรี Dragon Pass ทันที ดูรายละเอียดสิทธิประโยชน์จากแคมเปญ ‘Unseen Taiwan 2024’ ได้ที่ www.ktc.co.th/UNSEENTAIWAN  

นายคณพศ สิทธิวงค์ บรรณาธิการนิตยสาร My World นิตยสารท่องเที่ยวราย 2 เดือนที่จัดพิมพ์สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่สนใจด้านการเดินทางและเป็นผู้มียอดใช้จ่ายสูงในหมวดท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ กล่าวว่า สมาชิกนิตยสาร My World มีไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวแบบ Frequent Travelers หรือวางแผนการท่องเที่ยวบ่อย ๆ ไต้หวันจึงเป็นเส้นทางที่ตอบโจทย์ เพราะมีองค์ประกอบครบครัน อาทิ วัฒนธรรมที่สะท้อนจากประวัติศาสตร์และประเพณีที่มีอายุยาวนาน นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมควบคู่ไปกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ ธรรมชาติและภูมิประเทศที่สวยงาม  เช่น อุทยานแห่งชาติอาลีซาน เมืองทางใต้ที่ทันสมัยและสวยงามอย่างเกาสง หรือเกาะทางใต้ที่มีวิถีดั้งเดิมของชาวประมง เช่น เกาะเผิงหู อาหารไต้หวันเป็นที่รู้จักในเรื่องความอร่อยและหลากหลาย โดยเฉพาะ Street Food ใน Night Market ที่มีในทุกเมืองใหญ่ การเดินทางสะดวก มีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน รถบัส หรือรถไฟความเร็วสูง ชาวไต้หวันมีชื่อเสียงในเรื่องความเป็นมิตรและการต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างอบอุ่น ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านและสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างใกล้ชิด 

นางสาวกิจชรัตน์ นทีธำรงสุทธิ์ จากเฟสบุ๊คเพจ Ratto Wanderlust เปิดเผยถึงเทรนด์การท่องเที่ยวไต้หวันมีการปรับเปลี่ยนไปตามไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยว และยังมีสถานที่ Unseen ที่ไม่ควรพลาด เช่น ถนนแห่งของกินย่านหย่งคัง (Yongkang Food Street) ที่นอกจากจะเป็นแหล่งรวมอาหารยอดนิยมโดยเฉพาะอาหารท้องถิ่นแท้ๆ ของไต้หวันแล้ว ยังมีร้านคาเฟ่น่ารักๆ ที่ทำให้ทุกคนเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพ รวมถึงสวนหรงจิ่น (Rongjin Gorgeous Time) แหล่งรวมสถานที่โดนใจวัยรุ่นแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองไทเปเหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติและยังมีกลิ่นอายสไตล์ญี่ปุ่น เดินทางสะดวกสบาย กิน ช้อป จบในที่เดียว 

มิสซินดี้ เฉินกล่าวปิดท้ายว่า การท่องเที่ยวไต้หวันได้ร่วมมือกับเคทีซีมาเป็นปีที่ 2 แล้ว และรู้สึกพึงพอใจกับกิจกรรมต่างๆ ที่เคทีซีให้การสนับสนุนด้วยดีทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์และสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกบัตรฯ  จำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปไต้หวันก็เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าสิ้นปี 2567 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปไต้หวันเพิ่มไม่ต่ำกว่านักท่องเที่ยวในช่วงก่อนโควิด 

ผู้สนใจสิทธิพิเศษด้านการเดินทางท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC World Travel Service โทรศัพท์ 02 123 5050 ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 22.00 น. หรือทักแชทไลน์ได้ที่ @KTCWORLD สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประมาณรายได้ท่องเที่ยวไทยปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.75 ล้านล้านบาท จากการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวสมบูรณ์ในฝั่งของรายได้ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาเพียง 52% ของภาวะปกติจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางที่เริ่มเปลี่ยนตามโครงสร้างอายุและรายได้ แนะภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน

 ในปี 2566 ที่ผ่านมานับเป็นความสำเร็จของการท่องเที่ยวไทยทั้งในมิติของนักท่องเที่ยวในประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ตัวเลข 254.4 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท รวมถึงในฝั่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ตามเป้าที่ทาง ttb analytics ประมาณการไว้ที่ 28 ล้านคน สร้างเม็ดเงินราว 1.4 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมประเทศไทยสร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้กว่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเดิมที่ 3 ล้านล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวหลุดเป้าไปราว 2 แสนล้านบาทจากที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้การประมาณรายได้จากนักท่องเที่ยวที่พลาดเป้าในปีที่ผ่านมา ในปี 2567 นี้ ก็ยังเห็นมุมมองของภาครัฐที่ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในมิติของจำนวนที่คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านคนสร้างรายได้กว่า 2.5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศ จะสามารถสร้างเม็ดเงินได้สูงถึง 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นกว่า 60% ทั้งที่รายได้จากปีก่อนก็ยังหลุดเป้าไปราว 10% โดยในมุมมองของ ttb analytics มีความเห็นว่าในปี 2567 นี้ ศักยภาพรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ราว 2.75 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ttb analytics ประเมินปี 2567 การท่องเที่ยวในประเทศยังสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2566 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสูงถึง 292.1 ล้านคน-ครั้ง บนพฤติกรรมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อทริปลดลงจากภาวะค่าครองชีพและภาระทางการเงินที่สูงขึ้นลดทอนรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง แต่จากการชดเชยของมิติเชิงจำนวนสามารถดันให้รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศคาดแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ได้อีกครั้งหนึ่ง บนรูปแบบของการท่องเที่ยวจากคนไทยดังนี้ 1) เทรนด์การเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ (One-Day Trip) โดยไม่พักแรมเพิ่มขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคกลาง และภาคตะวันตก ฟื้นตัวเทียบช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ 136% และ 146% แต่รายได้กลับฟื้นตัวเพียง 103% และ 119% ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวคนไทยมีแนวโน้มเที่ยวเมืองรองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมืองหลักเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ในพื้นที่ภาคเหนือมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และจังหวัดสตูล และนราธิวาส ในพื้นที่ภาคใต้มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 3) การปรับลดคืนค้างแรมลงโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดห่างไกล ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลงต่อทริป

โดยเฉพาะในกลุ่มภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนผ่านเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 กลับมาที่ 58% และ 72% ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวในอัตราที่สูงกว่าที่ 100% และ 92% ตามลำดับ

2) ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2567 คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 33.1 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.75 ล้านล้านบาท จากค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อทริปที่คาดสูงขึ้นจากราคาที่พักที่ปรับตัวรับอุปสงค์ และแนวโน้มวันท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวไม่นับรวมชาวจีน (Non-Chinese Travelers) คาดกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ปัจจัยที่น่าจับตา คือการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีน (Chinese Travelers) ที่คาดยังไม่ฟื้นตัวสมบูรณ์ด้วยอัตราการกลับมาที่ราว 5.7 ล้านคน คิดเป็น 52% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากแรงกดดันดังต่อไปนี้

2.1) แรงกดดันจากเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน เช่น ปัญหาการว่างงานในคนอายุ 16-24 ปี ที่สูงเกินกว่า 20% ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่จะเดินทางออกนอกประเทศที่ลดลง ซึ่งตามสถิติจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกกว่า 63% มีอายุต่ำกว่า 35 ปี รวมถึงความมั่งคั่งสุทธิที่ลดลงจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงินที่ยังน่ากังวล ที่ส่งผลให้สินทรัพย์หรือรายได้ของชาวจีนบางกลุ่มลดลงจนอาจกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ

2.2) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งสัญญาณเติบโตชะลอตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2560-2562 นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าไทยเพิ่มขึ้นที่ 6.5% ต่อปี ในขณะที่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ยังรักษาอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวจีนได้สูงถึง 14% และ 20% ต่อปีตามลำดับ กอปรกับในปี 2566 พบนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกนอกประเทศภาพรวมฟื้นตัวกว่า 60%-65% ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนในไทยกลับฟื้นตัวเพียง 32% ของภาวะปกติ

2.3) ความดึงดูดในเรื่องของอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ เนื่องจากตลาดท่องเที่ยวไทยเป็นตลาดที่เข้าถึงง่ายจากค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ไม่สูง ส่งผลให้ตลาดไทยอยู่ในฐานะจุดหมายแรกของการเริ่มเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ (Entry Level) ที่อาจได้ประโยชน์ในระยะแรกแต่อาจเริ่มถูกตั้งคำถามถึงอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ (Revisit Intention) เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาอาจมีทางเลือกในการเดินทางไปยังประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนในปี 2562 มีสัดส่วนที่เท่ากันที่ 28% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนในฝรั่งเศสที่มีสัดส่วนเพียง 3% แต่สามารถสร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 7%

 โดยสรุป ttb analytics คาดว่าปี 2567 มูลค่าการท่องเที่ยวไทยจะมีมูลค่า 2.75 ล้านล้านบาทต่ำกว่าเป้าที่ภาครัฐได้วางไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาทหรือห่างจากเป้าหมายเกือบ 8 แสนล้านบาท แต่มองว่ายังมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในเชิงคุณภาพ หากมีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ให้ตรงตามกลุ่มให้ชัดเจน เช่น นักท่องเที่ยวจากเอเชียที่ไทยได้ประโยชน์จากการเดินทางที่สะดวกและค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ต่ำ ภาครัฐควรตั้งเป้าหมายในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำ เช่น สิทธิประโยชน์ที่อาจมอบให้เมื่อมีการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สะดวก ปลอดภัย ที่สามารถเชื่อมกับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมีความต้องการท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคอื่น ๆ และในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่อยู่อาศัยระยะยาวสูงโดยเปรียบเทียบอาจให้เป็นในรูปแบบสิทธิประโยชน์เรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ จัดหาบริการระบบประกันสุขภาพที่

ครอบคลุม รวมถึงในภาพรวมควรจัดตั้งหน่วยงานสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไปอีกระดับเพื่อสามารถส่งต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร เพิ่มโอกาสการกลับมาเที่ยวซ้ำสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอายุน้อย และโน้มน้าวให้นักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะอยู่อาศัยระยะยาว เพื่อโอกาสในการยกระดับให้การท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว

นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานการตลาดและสื่อสารองค์กร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วย นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร และ นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service เข้าพบนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการททท.คนใหม่ ณ สำนักงานใหญ่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรี เมื่อเร็วๆนี้

ทั้งนี้ เคทีซี และ ททท. ได้มีการหารือร่วมกันถึงความร่วมมือที่จะผลักดันและสนับสนุนการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้ตามที่คาดหมายไว้

“เคทีซี” มองการท่องเที่ยวไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว ส่งผลดีต่อการเช่ารถเพื่อการท่องเที่ยว เป็นที่นิยมมากขึ้น โดย 6 เดือนแรก ยอดการใช้จ่ายในหมวดรถเช่าเติบโตถึง 90% คาดการณ์ปลายปียังขยายตัวต่อ พร้อมจับมือ 17 พันธมิตร จัดแคมเปญเช่ารถขับรับไฮซีซั่น มองรถอีวีมาแรงเพราะประหยัดน้ำมัน หาที่ชาร์จสะดวก

นางสาววริษฐา พัฒนรัชต์ ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ส่งผลต่อการท่องเที่ยวไทยกลับมาฟื้นตัว และเป็นปัจจัยสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมรถเช่า (Car Rent) เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน โดยยอดการใช้จ่ายในกลุ่มรถเช่าช่วงเดือนมกราคม 2566 - มิถุนายน 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 90% และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี โดยครึ่งปีหลังมองว่าปัจจัยที่จะผลักดันให้ยอดการใช้จ่ายในกลุ่มรถเช่าขยายตัว คือการท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่น

“ ตอนนี้อุตสาหกรรมรถเช่ากลับมาฟื้นตัวตามการท่องเที่ยว และมองว่าช่วงครึ่งปีหลังยังโตต่อ เพราะเป็นช่วงไฮซีซั่นของไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยก็ชื่นชอบการเช่ารถ ทั้งขับเองและมีคนขับให้ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมรถเช่าเติบโต” นางสาววริษฐากล่าว

สำหรับเคทีซีมีโปรโมชั่นร่วมกับผู้ให้บริการรถเช่าชั้นนำทั้งในและต่างประเทศรวม 17 แห่ง พร้อมมีโปรโมชั่นพิเศษ เช่น รับส่วนลดสูงสุด 30% เมื่อเช่ารถและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี หรือ ใช้คะแนน KTC FOREVER เท่ายอดใช้จ่าย แลกรับเครดิตเงินคืน 12%

“ปัจจุบัน การเช่ารถอีวีได้รับความนิยมมากขึ้น โดยสัดส่วนการเช่ารถยนต์ปกติอยู่ที่ 80% และรถอีวี 20% เพราะราคาค่าเช่าไม่สูงมาก เช่น รถยนต์ไฟฟ้า Ora Good Cat จาก Hertz Thailand หนึ่งใน

พันธมิตรของเรา หากใช้บัตรเครดิตเคทีซีจะได้ส่วนลด 30% ค่าเช่าจะอยู่ที่ราคา 707 บาท จากราคาปกติ 1,010บาท แต่การใช้รถอีวี ยังมีข้อจำกัด และเหมาะกับนักท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะสามารถหาที่ชาร์จได้สะดวก”

สำหรับพันธมิตร 17 แห่ง ประกอบด้วย เอแซ็ป คาร์ เร็นทัล (ASAP) / เอวิส คาร์ เร็นทัล ( AVIS) / บัดเจ็ท คาร์ เรนทัล (Budget) / บิซคาร์ เรนทัล (Bizcar Rental) / ชิค คาร์เร้นท์ (Chic Car Rental) / ไดรฟ์ฮับ (Drivehub) / ไดรฟ์ คาร์ เร้นทัล (Drive Car Rental) / ยุโรปคาร์ (Europcar) / ฮ้อปคาร์ (Haupcar) / เฮิร์ซ (Hertz) / คลูก (Klook) / ไพร์ม คาร์ เรนทอล(Prime Cars) / เร้นท์ คอนเนคเต็ด (Rentconnected) / เรนทัลคาร์ดอทคอม (Rentalcars.com) / ซิกท์ เรนท์ อะคาร์ (Sixt) / ทราเวลไอโก (TraveliGo) และ ทรู ลีสซิ่ง (True Leasing)

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชัน ของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click