February 23, 2025

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด (KTX) ได้รับรางวัล "Popular Agent" จากงาน TFEX Best Award 2024 ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการขยายฐานผู้ลงทุนใหม่ในตลาด TFEX ได้อย่างโดดเด่นตลอดปีที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากคุณอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ที่ 1 จากซ้าย) และ ดร.รินใจ ชาครพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) (ที่ 1 จากขวา) เป็นผู้มอบรางวัลให้กับ นายปิยพงศ์ พันธ์ทิพย์จตุพร(ที่ 2 จากซ้าย) ตัวแทนจาก KTX ในฐานะโบรกเกอร์ที่มีผลงานโดดเด่นด้านการขยายฐานนักลงทุน ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำบทบาทสำคัญของบริษัทฯ ในการส่งเสริมและพัฒนาตลาดอนุพันธ์ของไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

รางวัล TFEX Best Award เป็นเวทีเชิดชูโบรกเกอร์ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นในด้านต่าง ๆ ซึ่ง KTX ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและขยายโอกาสการลงทุนให้กับนักลงทุนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาด TFEX เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA หนึ่งในผู้นำธุรกิจยางธรรมชาติครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลกและผู้ผลิตถุงมือยางอันดับหนึ่งของประเทศไทย

ทั้งนี้ นายวีรสิทธิ์ ได้เผยว่า หลังจากบริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นกู้ จำนวน 4 ชุดให้กับประชาชนทั่วไป ระหว่างวันที่ 31 มกราคม และ 3 - 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ประกอบด้วย หุ้นกู้อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.40% ต่อปี หุ้นกู้อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.70% ต่อปี หุ้นกู้อายุ 8 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.85% ต่อปี และหุ้นกู้อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 6 เดือน ปรากฏว่า หุ้นกู้ STA ได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนอย่างดีเยี่ยม ทำให้สามารถปิดการขายได้ตามเป้าหมายรวมมูลค่า 3,650 ล้านบาท

บริษัทฯ ขอขอบคุณผู้ลงทุนที่ไว้วางใจลงทุนในหุ้นกู้ STA รวมถึงขอบคุณสถาบันการเงินที่เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่อำนวยความสะดวกทั้งด้านข้อมูลและช่องทางการจำหน่ายให้กับผู้ลงทุน ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทฯ ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ที่ระดับ “A-” แนวโน้ม “คงที่” ขณะเดียวกัน ความสนใจของผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้ STA ยังสะท้อนความมั่นใจในโอกาสเติบโตของบริษัทฯ ในฐานะผู้นำธุรกิจยางธรรมชาติ ซึ่งภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ จะตอกย้ำความแข็งแกร่งด้านฐานะและโครงสร้างทางการเงินของ STA โดยบริษัทฯ จะเดินหน้าขยายธุรกิจตามแผนที่วางไว้ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี กล่าว

ปัจจุบัน บมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายยางธรรมชาติแบบครบวงจร (Full Supply Chain) ในหลายประเทศ เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ ได้แก่ การทำสวนยางพาราในประเทศไทย ธุรกิจกลางน้ำ ประกอบด้วย การผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ ทั้งยางแท่ง (TSR) ยางแผ่นรมควัน (RSS) และน้ำยางข้น (Concentrated Latex) ไปจนถึงธุรกิจปลายน้ำ ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง รวมถึงสินค้าสำเร็จรูป อาทิ ท่อไฮดรอลิกแรงดันสูง ปัจจุบัน บริษัทฯ มีโรงงานรวม 43 แห่ง เป็นโรงงานยางธรรมชาติ 37 แห่ง และถุงมือยาง 6 แห่ง กระจายในหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีบริษัทย่อยอีกหลายแห่งที่ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัท ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ด้านการขนส่ง เป็นต้น โดยบริษัทฯ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ก็เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักความยั่งยืนและธรรมาภิบาล โดยได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ในหมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry) ที่ระดับ “AAA” จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการผ่านเกณฑ์การประเมินที่ระดับสูงสุดเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และนับเป็นปีที่ 10 ที่ได้รับประเมินเป็นหุ้นยั่งยืน รวมถึงได้รับรางวัล “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2024” ส่งเสริมธรรมาภิบาล ประจำปี 2567 และยังได้เข้าเป็นสมาชิกของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชั่นของภาคเอกชนไทยมาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

บริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด (XD) มองรัฐยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) ช่วยเพิ่มความคุ้มค่าและสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ตอกย้ำความน่าสนใจลงทุนโทเคนดิจิทัลในไทย พร้อมเป็นแรงสนับสนุนสำคัญให้โทเคนดิจิทัลกลายเป็นสินทรัพย์ยอดนิยมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนโทเคนดิจิทัลของภูมิภาคเอเชีย

นายธนศักดิ์ กฤษณะเศรณี รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด (XD) กล่าวว่า “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การลงทุนในโทเคนดิจิทัลในประเทศไทยได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอย่างมาก ด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล รวมถึงการสนับสนุนของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ เพื่อสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมให้โทเคนดิจิทัลกลายเป็นสินทรัพย์ยอดนิยมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั่วโลกสนใจเข้ามาลงทุน ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการลงทุนโทเคนดิจิทัลที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย”

ในอดีตเงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดของผู้ถือครองโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องถูก หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 รวมทั้งผู้มีเงินได้ต้องนำรายได้ดังกล่าวไปรวมเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเท่ากับว่าเสียภาษีถึงสองต่อ แต่ในปัจจุบันตามประมวลกฎหมายรัษฎากรได้กำหนดให้กำไรหรือผลประโยชน์อื่นใด ของผู้ถือโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนได้รับการยกเว้นในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน นอกจากนี้นักลงทุนที่ดำเนินการผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ยังได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม โดยอนุญาตให้นักลงทุนนำผลขาดทุนจากการลงทุนในโทเคนดิจิทัลมาหักลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ ช่วยให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มจำนวน ทำให้โทเคนดิจิทัลเป็นทางเลือกการลงทุนที่มีความคุ้มค่า และสร้างแรงจูงใจให้กล้าลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งทำให้ทำธุรกรรมได้สะดวกและมีความชัดเจนมากขึ้น ลดข้อกังวลด้านภาษีและช่วยสร้างความมั่นใจในการลงทุนในระยะยาว

“โทเคนดิจิทัลเป็นทางเลือกการลงทุนที่ทันสมัยและมีศักยภาพสูง เนื่องจากใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่ทำให้ธุรกรรมมีความปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ง่าย นักลงทุนสามารถมั่นใจในกระบวนการทำงานของระบบโทเคนดิจิทัลที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการทุจริตและข้อผิดพลาดทางการเงิน ทำให้หลายอุตสาหกรรมกำลังนำโทเคน

ดิจิทัลไปใช้ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกรรม ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การเงิน อสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว”

นอกจากนี้ ความนิยมในโทเคนดิจิทัลยังได้รับแรงกระตุ้นจากการคาดการณ์ของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ เช่น Boston Consulting Group (BCG) ที่ระบุว่า ตลาดโทเคนดิจิทัลทั่วโลกจะเติบโตจนมีมูลค่าสูงถึง 10% ของ GDP โลกภายในปี 2030 คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 86 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งโอกาสเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนที่มีความพร้อมและเข้าใจตลาด

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงที่นักลงทุนควรพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยความเสี่ยงหลักคือ ความผันผวนของราคาที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และนักลงทุนควรมีการศึกษาเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลแต่ละประเภทอย่างถี่ถ้วน รวมถึงประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในแต่ละตัว นอกจากนี้ การติดตามข่าวสารและกฎเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจะช่วยให้นักลงทุนสามารถปรับตัวและรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“การผสมผสานระหว่างนโยบายสนับสนุนและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้โทเคนดิจิทัลกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว ในอนาคตโทเคนดิจิทัลจะไม่ได้เป็นเพียงสินทรัพย์เพื่อการลงทุนเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลก โดยบริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด ยังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและพัฒนาโอกาสการลงทุนในโทเคนดิจิทัล เพื่อช่วยให้นักลงทุนไทยและต่างชาติสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ที่มีศักยภาพนี้ได้อย่างมั่นใจและยั่งยืน” นายธนศักดิ์ กล่าวปิดท้าย

SCB CIO มอง Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50 bps มาอยู่ที่ 4.75%-5.00% ต่อปี พร้อมปรับลดต่อเนื่องในปีนี้อีก 50 bps และในปีหน้าอีก 100 bps จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงเข้าใกล้เป้า 2% ของ Fed ขณะที่การจ้างงานที่อ่อนแอลง แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ ผนวกกับภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการเกิด Recession ชี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยนโยบายการเงินผ่อนคลายขึ้น ต้นทุนการเงินต่ำลง หนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น แนะหุ้นสหรัฐฯ ยังให้ผลตอบแทนที่ดี กลุ่ม Quality Growth ประเภท IT รวมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น สาธารณูปโภค สุขภาพ และสินค้าจำเป็น ยังคงน่าสนใจ

ส่วนการจัดพอร์ตเน้นกระจายความเสี่ยงโดย Core portfolio แนะลงทุนในหุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง (IG) เน้นลงทุนตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ ยังให้น้ำหนักส่วนใหญ่บนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้านพอร์ตเสริม แบ่งเงินลงทุน 15 -25% ในตลาดหุ้นเวียดนามและไทย จากเศรษฐกิจเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ส่วนไทยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps มาอยู่ที่ 4.75%-5.00% สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด และเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า Fed มีความมั่นใจมากขึ้นบนทิศทางอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่กำลังเข้าสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน โดย Fed กล่าวว่า ความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายด้านเงินเฟ้อ และการจ้างงานมีความสมดุลกัน และ Fed แสดงความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนการจ้างงาน ส่วนในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Dot Plot นั้น เจ้าหน้าที่ Fed ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 50 bps ภายในสิ้นปีนี้ และปรับลดอัตราดอกเบี้ย 100 bps และ 50 bps ในปี 2568 และ 2569 ตามลำดับ นอกจากนี้ Fed ยังได้ปรับคาดการณ์ต่างๆ โดย Fed ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2567 ลงเล็กน้อยอยู่ที่ 2.0% ต่อปี จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน มิ.ย.ที่ 2.1% ต่อปี ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการว่างงานในช่วงสิ้นปี 2567 เป็น 4.4% จากเดิมคาดไว้ที่ 4.0% ขณะที่ปรับลดคาดการณ์ของเงินเฟ้อ PCE ในช่วงสิ้นปี 2567 ลงเหลือ 2.3%YoY จากเดิมคาดไว้ที่ 2.6%YoY โดยอัตราเงินเฟ้อทั้ง PCE และ Core PCE จะเข้าสู่ระดับ 2.0% ในปี 2569 เป็นต้นไป

นายศรชัย มีมุมมองว่า แม้ว่าตลาดแรงงานจะอ่อนแอลง แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ และยังไม่มีสัญญาณว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยการปลดพนักงานยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ผู้บริโภคยังคงใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณของการชะลอตัวของเศรษฐกิจแบบ Soft landing ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินนโยบายการคลัง และการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินอยู่ โดยคาดว่า Fed มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเทียบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอดีต โดยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed fund ลงรวม 50bps ในการประชุมช่วงที่เหลือของปีนี้ อยู่ที่ 4.25%-4.50% และปรับลดรวมอีก 100 bps ในปี 2568 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Fed funds สิ้นปี 2568 อยู่ที่ 3.25%-3.50%

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ได้เผชิญกับภาวะ Recession จะช่วยสนับสนุนทั้งการลงทุนในตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมทั้ง ตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ตามสถิติตั้งแต่ปี 2517การปรับตัวของราคาสินทรัพย์ลงทุนประเภทต่างๆ ในช่วงที่ Fed ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นทั่วโลกและตราสารหนี้ของสหรัฐฯ มักมีผลตอบแทนที่ดี โดยเงินดอลลาร์ สรอ.มักจะอ่อนค่าลงในช่วง 12 เดือนหลังจากการปรับลดดอกเบี้ย ด้าน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ น้ำมัน ล้วนปรับเพิ่มขึ้น

ในส่วนของตราสารหนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มักปรับเพิ่มความชันขึ้น เมื่อใกล้ช่วงที่ Fed เริ่มจะปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตได้ และไม่มี Recession การปรับเพิ่มความชันของ Yield Curve หลังจากนี้อาจไม่มากนัก ความชันของเส้นอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นรอบนี้ แสดงถึงความกังวลด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยในปี 2567 ยังคงต่ำ ทำให้คาดว่า Bond Yield สหรัฐฯ จะลดลงไม่มาก และผลตอบแทนของตราสารหนี้สหรัฐฯ น่าจะมาจาก Carry Yield เป็นหลัก ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างกระแสเงินสดสำหรับนักลงทุนที่ต้องการพอร์ตการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ

แนวโน้มของตลาดหุ้น นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมีส่วนช่วยให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง และสนับสนุนให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ตามสถิติในอดีต หลัง Fed ปรับลดดอกเบี้ย 12 เดือน ในภาวะที่ไม่เกิด Recession หุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ เช่น S&P 500 มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นขนาดเล็ก เช่น Russell 2000 นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Quality Growth อย่าง IT และกลุ่ม Defensive เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) กลุ่มสุขภาพ (Healthcare) และ กลุ่มสินค้าจำเป็น (Consumer Staples) ยังคงน่าสนใจ โดยเรายังให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ จากกำไรของตลาดเกิดใหม่ จะเข้าสู่ช่วงชะลอตัวในปี 2568

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน SCB CIO ยังคงยึด 3 วัตถุประสงค์หลักที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน โดยเน้นกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากได้รวบรวมสถิติต่างๆ แล้วพบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เดือนกันยายน มีผลตอบแทนแย่ที่สุดในทุกสินทรัพย์ และเดือนตุลาคม มีความผันผวนสูงที่สุดโดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีการเก็บสถิตินับตั้งแต่ 2527 นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมือง การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้นทั้งจากสงครามยูเครน -รัสเซีย และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล และฮามาสที่มีการตอบโต้กันเป็นระลอก เราจึงให้ความสำคัญในเรื่องการกระจายการลงทุน เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต

โดยพอร์ตลงทุนหลัก ( Core Portfolio) ลงทุนระยะยาว 1 ปีขึ้นไป ควรกระจายลงทุนในสินทรัพย์เพื่อตอบโจทย์ 3 วัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1) เพื่อสร้างกระแสเงิน แนะนำลงทุนในหุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง ( IG) ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกู้เอกชนในไทย หุ้นกู้ Perpetual ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารที่สูง และตราสารหนี้นอกตลาด (Private Credit) ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าหุ้นกู้เอกชนในตลาด ขณะที่ สามารถเลือกคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้ลำดับแรก และมีหลักประกัน เป็นต้น 2) เพื่อสร้างการเติบโต เน้นน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ โดยยังให้น้ำหนักอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจยังคงชะลอตัวในระดับปานกลาง กำไรบริษัทยังเร่งตัวสูงขึ้น แต่เศรษฐกิจ และผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังคงสนับสนุนการเติบโตของตลาดในระยะยาว และ 3) การป้องกันความเสี่ยงของพอร์ต ด้วยการลงทุนในทองคำ ซึ่งช่วยป้องกันความเสี่ยงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในพอร์ตเสริม (Opportunistic Portfolio) กรณีที่รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง – สูง โดยแนะนำให้แบ่งเงินลงทุนบางส่วน ประมาณ 15 -25% อาจพิจารณาลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม และไทย โดยตลาดหุ้นเวียดนามน่าสนใจ เนื่องจากมีแนวโน้มได้แรงหนุนดังนี้ 1) เศรษฐกิจเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

โดยดัชนี PMI เดือนสิงหาคม ขยายตัว 53.4 ขณะที่ การส่งออกเดือนสิงหาคม ขยายตัว 14.5% YoY 2) กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียน ใน 2Q2567 ขยายตัว 14%YoY และมีแนวโน้มขยายตัวดีใน 2H2567 3) เงินเฟ้อเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 3.5%YoY ลดลงจากเดือนกรกฎาคม และต่ำกว่าเป้าระยะยาวที่ 4.5% ส่งผลให้ความกังวลมบนประเด็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางเวียดนามลดลง และ 4) Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ 12M Blended Forward P/E อยู่ที่ 10.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี -1 s.d.

ส่วนตลาดหุ้นไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ต่อเนื่องถึงปี 2568 ได้แรงหนุนจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยภาครัฐจะสนับสนุนเงินจำนวน 10,000 บาทต่อคน ที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน จากการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของภาครัฐ ที่ต่อเนื่องมากขึ้น และ จากภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัว นอกจากนี้ คาดว่า เศรษฐกิจไทยยังได้แรงหนุนจากการที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยคาดว่า ในเดือน ธันวาคม นี้ กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 bps และลดต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2568 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.0%

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทย ได้แรงหนุนจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้น ตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ท่ามกลาง Valuation ของดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ที่ยังอยู่ในระดับที่ไม่แพง โดย SET Index ซื้อขายอยู่บนระดับ valuation ที่น่าสนใจ โดย 12M Blended Forward P/E อยู่ที่ 14.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี อยู่ประมาณ -1.0 s.d. และมองว่า เม็ดเงินที่ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ทั้งจากเม็ดเงินลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ รวมทั้งเม็ดเงินที่ไหลเข้าลงทุนผ่านกองทุนรวม Thai ESG จากการปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีแนวโน้มดึงดูดเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนในประเทศที่ต้องการลดหย่อนภาษี และนักลงทุนต่างประเทศ จากธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน (Governance) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องและมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย ประกอบกับ ทิศทางเงินทุนจากต่างประเทศยังมีแนวโน้มไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทย จาก Sentiment ที่ดีขึ้นตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดทุนที่ออกมา และจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งมากกว่าการปรับลดดอกเบี้ยของกนง.

สำหรับอัตราผลตอบแทนรวมของสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่ต้นปี 2567 – YTD (18 กันยายน 2567) ทองคำให้ผลตอบแทนดีที่สุด อยู่ที่ 24.5% โดยได้รับผลบวกจากการที่ Yield ปรับตัวลดลง และธนาคารกลางของประเทศต่างๆมีความต้องการถือครองทองคำมากขึ้น รองลงมาเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ 19.3% จากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดีในช่วงครึ่งแรกของปี ประกอบกับ การคาดหวังว่า Fed จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และมีแรงส่งจากหุ้นกลุ่ม Tech ที่มีผลประกอบการที่ค่อนข้างดีในช่วงไตรมาสที่ 1 แม้ในไตรมาสที่ 2 ผลประกอบการจะแผ่วลงแต่ถือว่าอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างดี ต่อมาคือ Global REITs อยู่ที่ 13.8% ได้รับอานิสงค์จากการที่ Bond Yield ปรับตัวลดลง ทำให้ผลตอบแทนของ REITs ดีขึ้น DM Equity ex US อยู่ที่ 10.7% EM Equity อยู่ที่ 9.1% HY Bond อยู่ที่ 8.8% TIPS อยู่ที่ 5.2% IG Bond อยู่ที่ 5.1% Gov Bond อยู่ที่ 2.8% และ Oil อยู่ที่ -1.4% ส่วนการลงทุนในรายประเทศ US large อยู่ที่ 19.3% India อยู่ที่ 18.2% Vietnam อยู่ที่ 12.2% ยุโรปอยู่ที่ 11.8% China offshore 11.3% US Small 9.9% Japan 9.2% Indonesia 7.8% Thai 4.7% และ Korea -3%

จากข้อมูลขององค์การนาซา (NASA) ระบุว่าวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 เป็นวันที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่ภาวะโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้นนี้กลับไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของการลงทุนตามหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ขณะที่ในปี 2566 มีการเปิดตัวกองทุนเพื่อความยั่งยืน (กองทุน ESG) ถึง 993 กองทุน แต่จำนวนกองทุนทั้งหมด กลับลดลงเหลือ 566 กองทุนในปีเดียวกัน และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในปี 2567 โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีการเปิดตัวกองทุนเพียง 100 กองทุนเท่านั้น

เพื่อเข้าใจภาวะลำบากของการลงทุนด้านความยั่งยืน เราได้พูดคุยกับนอรีน คัยอุม หัวหน้าสายงานนักลงทุนสัมพันธ์ ของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเคยทำงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ที่ดีแทค ประเทศไทย และ Grameenphone ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทเลนอร์ ประเทศบังคลาเทศ โดยนอรีน ยังเคยทำงานในหลากหลายสายอาชีพอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านสื่อสารองค์กร การวางกลยุทธ์ ทรานสฟอร์เมชั่นองค์กร และการตลาด

นักลงทุน ESG รุ่นใหม่ในเอเชีย

นอรีน เห็นว่าการถดถอยของหุ้น ESG วอลล์สตรีทไม่น่าส่งผลกระทบในระดับเดียวกันกับภูมิภาคเอเชีย “พลวัต ในสหรัฐอเมริกาและในเอเชียนั้นแตกต่างกันมาก ซึ่งในมุมมองดิฉัน สาเหตุที่ ESG มีความสำคัญในภูมิภาคของเรามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นเพราะเรามีผู้นำและคนรุ่นใหม่ที่มีความตระหนักรู้ในหน้าที่ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน ซึ่งคนรุ่นใหม่นี้ไม่ได้มองแค่ยอดขายหรือผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองถึงผลกระทบของธุรกิจต่อโลกและสังคมด้วย” เธอกล่าว “สิ่งนี้ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อคนรุ่นใหม่ เริ่มรู้สึกกังวลมากขึ้น และอยากได้ทางเลือกที่จะมีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนในทุกๆ วัน”

แท้จริงแล้ว การออกพันธบัตร ESG ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตถึง 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรกของปี 2567 ซึ่งเพิ่มขึ้น 27.4% จากปีที่ผ่านมา จากการศึกษาของ AXA Investment Managers (AXA IM) พบว่า 39% ของนักลงทุนในเอเชียถือกองทุน ESG ซึ่งเมื่อเทียบกับนักลงทุนในยุโรปมีสัดส่วนไม่ถึงหนึ่งในสี่ และในภูมิภาคนี้ คนไทย แสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพของกองทุน ESG ที่จะครองตลาดได้ โดย 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดหวังว่ากองทุน ESG จะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า

 “กองทุน ESG เริ่มได้รับความสนใจอย่างจริงจังในปี 2561 จึงถือเป็นกรอบการทำงานที่ค่อนข้างใหม่ ซึ่งยังไม่ได้ปลูกฝังอยู่ในดีเอ็นเอของบริษัท ดิฉันขอเรียกว่าเป็นวิวัฒนาการที่ต่อยอดมาจากสิ่งที่เราเคยรู้จัก นั่นก็คือความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือ CSR ซึ่งในขณะที่ CSR เป็นเพียงเช็คลิสต์ ว่าองค์กรนั้นมีพฤติกรรมที่ดี แต่ไม่อาจน่าเชื่อถือได้อย่างแท้จริง ESG เป็นกรอบการทำงานที่เข้มงวดกว่าเพื่อให้องค์กรนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ มีความรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมา ซึ่งจำเป็นต้องมีหลักการกำกับดูแลที่แข็งแกร่ง อันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจให้น่านับถือ ได้รับความไว้วางใจ”

ต้องชัดเจน

หนึ่งในกรอบการทำงานดังกล่าว คือการประเมินด้านความยั่งยืนองค์กรของ S&P Global ซึ่งประเมินองค์กรโดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์และข้อมูลกว่า 1,000 หัวข้อในมิติด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านธรรมาภิบาล อนึ่ง ทรู คอร์ปอเรชั่น ติดอันดับ 1 ดัชนีความยั่งยืนระดับโลกดาวน์โจนส์ (DJSI) ด้วยคะแนนสูงสุด ในกลุ่มโทรคมนาคมของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 แต่นักลงทุนยังเกิดความสับสนกับการติดอันดับดัชนีความยั่งยืนและใบรับรองต่างๆ ด้าน ESG จากหลากหลายสถาบัน

“แม้ว่าความตระหนักรู้เกี่ยวกับ ESG จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นักลงทุนต้องการความชัดเจนและมาตรฐานอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เรายังไม่สามารถอ้างได้ว่าบริษัทใดบริษัทหนึ่งมีความสมบูรณ์แบบ และเราทุกคนยังมีหนทางอีกยาวไกล” นอรีนอธิบาย “ยิ่งไปกว่านั้น ข้อกำหนดในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ESG สำหรับทุกอุตสาหกรรมและทุกประเทศ จะแตกต่างกันไปตามปัญหาและประเด็นที่เร่งด่วน และจำเป็นต้องปรับเกณฑ์การประเมินให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย”

 สำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย นอรีนเห็นว่าการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG มุ่งเน้นในมิติด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก "โครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายและเสาสัญญาณทั่วประเทศของบริษัทโทรคมนาคมกระตุ้นให้นักลงทุนสนใจว่าแผนดำเนินงานด้านพลังงานสีเขียวและพลังงานหมุนเวียนของบริษัทเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีความตระหนักเรื่องการขับเคลื่อนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นเหตุผลให้เรากำหนดเป้าหมายชัดเจนสู่การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2573 และองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ขณะเดียวกันเรายังมีการสื่อสารความคืบหน้าในการดำเนินงานของเราอย่างโปร่งใสและสม่ำเสมอ"

ความท้าทายอีกประการหนึ่งของการสร้าง ESG ให้มั่นคง คือการสร้างความมั่นคงให้แก่ทุกอุตสาหกรรม อาทิเช่น ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่มีการซื้อขายอย่างรวดเร็ว จะเผชิญกับแรงกดดันในการลดการใช้พลาสติกครั้งเดียวมากกว่าธุรกิจโทรคมนาคม อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโทรคมนาคมต้องยึดมาตรฐานที่สูงกว่าในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เป็นต้น

“โอกาสที่ฉันมองเห็นมากขึ้นในการสร้างเกณฑ์มาตรฐานสากล คือมิติด้านการกำกับดูแล บริษัทที่มีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในการจัดการกับประเด็นสำคัญๆ เช่น แรงงานเด็ก และการต่อต้านการทุจริต จะได้รับการสนับสนุน บริษัทที่ทำงานร่วมกับคู่ค้าพันธมิตรโดยปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนเช่นกัน ในเรื่องความเป็นผู้นำ สัดส่วนของผู้แทนที่สมดุลในคณะกรรมการก็มีความสำคัญต่อนักลงทุน และช่วยสร้างความไว้วางใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา” เธอกล่าว

ราคาหุ้นของทรู คอร์ปอเรชั่นที่พุ่งขึ้นกว่า 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม แสดงให้เห็นว่านอรีนดูเหมือนจะสามารถสร้างความมั่นใจในกลุ่มนักลงทุนได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา และเมื่อนักลงทุนให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น กรอบการทำงาน ESG ที่แข็งแกร่งของทรู คอร์ปอเรชั่น จะมีส่วนช่วยดึงดูดและรักษาการลงทุนของนักลงทุนต่อไป เพื่อส่งเสริมองค์กรให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่แข็งแกร่งและยั่งยืน

Page 1 of 10
X

Right Click

No right click