November 23, 2024

 เดินหน้าเชิดชูเกียรติ 3 นักวิจัยสตรีไทย โครงการทุน"เพื่อสตรีในงานวิทยาศาตร์ ประจำปี 2567" ผลักดันบทบาทสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน 

ลอรีอัล กรุ๊ป ประเทศไทย เดินหน้าผลักดันบทบาทของนักวิจัยสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ ด้วยการมอบทุนวิจัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 22 พร้อมประกาศรายชื่อ 3 นักวิจัยสตรีผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย "เพื่อสตรีในงานงานวิทยาศาสตร์"(For Women in Science)ประจำปี 2567  โดยได้มีการมอบทุนวิจัย 250,000 บาทพร้อมโล่เกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัยสตรีที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น สร้างคุณูปการแกแวดวงวิทยาศาสตร์ มีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนสังคมทั้งในประเด็นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของลอรีอัล ซึ่งมุ่งสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ผ่านการสนับสนุนงานวิจัยและเชิดชูบทบาทสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันสังคมสู่ความยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

 

นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจวบจนก้าวเข้าสู่ปีที่ 115 ในปีนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป ในฐานะบริษัทความงามระดับโลก เชื่อว่าความงามมีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์ เราตระหนักดีว่านวัตกรรมวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโลกใบนี้ อย่างไรก็ดี บทบาทระดับสูงของสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยยังคงต้องมีการผลักดันอีกมาก ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น นับแต่ตั้ง พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน มีนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ได้รับรางวัลอยู่เพียงร้อยละ 16 เท่านั้น แม้จะมีผู้หญิงอยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยเป็นจำนวนเทียบเท่ากับผู้ชายก็ตาม เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าโลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี ลอรีอัลจึงเดินหน้าเชิดชูเกียรติผลงานวิจัยอันโดดเด่นของสตรีผ่านโครงการ “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 22 เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในสายงานวิทยาศาสตร์ และพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้หญิงทุกคนสามารถเปล่งประกายได้ในแบบของตนเอง” 

ทุนวิจัยฯ 3 ทุน มอบแก่นักวิจัยสตรี 3 ท่าน จาก 3 สถาบัน ในสองสาขา 

สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จำนวน 1 ท่าน  

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับงานวิจัยหัวข้อ “การพัฒนาสารไวแสงและระบบนาโนนำส่ง เพื่อเป็นทางเลือกแบบแม่นยำสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง” 

สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จำนวน 2 ท่าน  

  1. ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับงานวิจัยหัวข้อ “การเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม” 
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับงานวิจัยหัวข้อ “การใช้ประโยชน์ก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการเร่งปฏิกิริยาเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนมุ่งสู่ Net Zero Emission” 

3 นักวิจัยสตรีผู้มีผลงานอันโดดเด่นที่ได้รับทุนโครงการฯ ประจำปี 2567 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กล่าวว่า แม้หลายทศวรรษที่ผ่านมาจะมีความก้าวหน้าด้านการพัฒนายาและอุปกรณ์การรักษาด้วยแสงเพื่อรักษามะเร็ง แต่ยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่อาจใช้ทางคลินิกได้อย่างแพร่หลาย ดิฉันและทีมวิจัยจึงเล็งเห็นว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งนั้น การปรับปรุงโครงสร้างของสารไวแสงและระบบนำส่งสารไวแสงไปยังเซลล์มะเร็งมีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ซึ่งทำได้โดยการพัฒนาตัวนำส่งที่มุ่งเป้ามะเร็งร่วมกับการกระตุ้นด้วยแสงเฉพาะที่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นโดยมีผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์น้อยลง ทางทีมวิจัยเราจึงมุ่งใช้เทคนิค “การบำบัดด้วยโฟโตไดนามิก” (PDT) และ “การบำบัดด้วยความร้อนจากแสง” (PTT) ร่วมกับวัสดุนาโนที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย โดยเน้นไปที่วิธีพัฒนาและสังเคราะห์สารไวแสงที่ตอบสนองต่อแสงได้อย่างดีเยี่ยม และมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงเท่านั้น โดยสารจะไม่มีพิษต่อเซลล์มะเร็งเมื่อไม่ได้ถูกกระตุ้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงเริ่มจากการสังเคราะห์สารประกอบ พิสูจน์โครงสร้าง และทดสอบสมบัติทางแสง จากนั้นจึงพัฒนาตัวนำส่งระดับนาโนที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ โดยควบคุมให้อนุภาคมีขนาดเหมาะสมต่อการมุ่งเป้าเซลล์มะเร็ง แล้วจึงทดสอบในระดับเซลล์มะเร็งเทียบกับเซลล์ปกติในระดับห้องปฏิบัติการ โดยเทียบระหว่างแบบใช้แสงกระตุ้นและไม่ใช้แสงกระตุ้น สุดท้ายระบบนำส่งสารไวแสงจะถูกนำไปทดสอบประสิทธิภาพในระดับสัตว์ทดลอง เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อระบบร่างกาย ทั้งเมื่อถูกกระตุ้นและไม่ถูกกระตุ้นด้วยแสง ซึ่งผลการทดลองล่าสุดพบว่าทีมผู้วิจัยสามารถพัฒนาสารไวแสงหลายกลุ่มได้สำเร็จ โดยพิสูจน์ในระดับห้องปฏิบัติการและระดับเซลล์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ สารแต่ละกลุ่มมีความจำเพาะต่อความยาวคลื่นแสงที่ใช้กระตุ้นและชนิดของมะเร็งต่างกัน ทำให้มีตัวเลือกหลากหลายในการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นตัวเลือกในการรักษามะเร็งได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ทีมผู้วิจัยยังพัฒนาระบบนำส่งสารไวแสงเหล่านี้ให้ไปสะสมที่ก้อนมะเร็งได้อย่างจำเพาะได้สำเร็จ และได้พิสูจน์ประสิทธิภาพการรักษามะเร็งในระดับสัตว์ทดลองแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดให้สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้ในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงไม่เพียงสร้างองค์ความรู้ด้านกลยุทธ์การออกแบบโมเลกุลอินทรีย์ที่ไวแสงและการพัฒนาระบบนำส่งระดับนาโน แต่ยังเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือและการต่อยอดการนำไปใช้ประโยชน์อีกมากมายเพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษามะเร็ง อีกทั้งมีส่วนสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็ง การตรวจคัดกรองมะเร็ง และเข้ารับการรักษามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษามะเร็งในประเทศไทยอีด้วย” 

 

ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวว่า สืบเนื่องจากปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลจากภาคพลังงานและภาคการผลิต เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) จึงเป็นที่คาดหวังว่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาเพื่อนำพาประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าปฏิกิริยารีดักชันเชิงเคมีไฟฟ้าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2RR) คือปฏิกิริยาที่สามารถผลิตสารเคมีมูลค่าสูงจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้หลายหลายชนิด แต่การผลิตสารเคมีเหล่านี้ยังมีข้อจำกัด คือมีกลไกซับซ้อน ใช้พลังงานสูง และมักประสบปัญหาการเลือกเกิดปฏิกิริยาที่ต่ำ ทั้งนี้ ในระบบปฏิกิริยาการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารเคมีเชิงไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้าที่ใช้ทำปฏิกิริยาประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว คือขั้วแอโนด (Anode) และขั้วแคโทด (Cathode) ปฏิกิริยารีดักชันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดขึ้นที่ขั้วแคโทด โดยระหว่างเกิดปฏิกิริยา ขั้วแอโนดจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชันของน้ำและเกิดเป็นก๊าซออกซิเจน (OER) เป็นปฏิกิริยาร่วม ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้พลังงานสูง งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งเป้าพัฒนาเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถทำปฏิกิริยาทั้งสองได้อย่างควบคู่กัน เพื่อเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการออกซิไดซ์ชีวมวลจากอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมกระดาษ ให้กลายเป็นวัสดุและสารเคมีที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ด้วย โดยใช้วิธีพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความจำเพาะสูงสำหรับกระบวนการ CO2RR และทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวในเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถขยายขนาดได้ จากนั้นปรับปรุงคุณสมบัติของตัวเร่งให้ผลิตสารเคมีได้สูง เสถียร และทนทานต่อสิ่งเจือปนในสารตั้งต้น รวมไปถึงการคัดเลือกชีวมวลที่เหมาะกับการทำปฏิกิริยาเคมีเชิงไฟฟ้า พัฒนาระบบการออกซิไดซ์ชีวมวล จากนั้นจึงพัฒนาระบบการทำปฏิกิริยาแบบควบคู่ระหว่าง CO2RR และการออกซิไดซ์ชีวมวล แล้วศึกษาความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์ พร้อมประเมินวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยี เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้วจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และสามารถขยายขนาดการผลิตสู่ระดับโรงประลอง (pilot scale) เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรมได้ และจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมหนัก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมเคมีและพลังงานของประเทศไทย” 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวว่า “สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ประเทศไทยจึงได้แสดงเจตจำนงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประชาคมโลกและมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 ปัจจุบันหลายภาคส่วนจึงพยายามใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน โดยการเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกทั้งสองชนิดนี้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงผ่านกลไกการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ผู้วิจัยเล็งเห็นว่า ปฏิกิริยาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ “ปฏิกิริยาการแตกตัวของมีเทน” และ “ปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิ่ง” เพราะผลิตทั้งพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดได้พร้อมกับใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษา 3 ส่วนด้วยกัน คือ (1) การใช้ประโยชน์จากของเสียเหลือทิ้งจากการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบรอบสอง (Secondary raw material) โดยนำเถ้าชานอ้อยซึ่งเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตน้ำตาลทรายมาสังเคราะห์เป็นโซเดียมซิลิเกต พร้อมศึกษาองค์ประกอบและลักษณะโครงสร้างของซิลิกาที่สังเคราะห์จากเถ้าชานอ้อย (2) การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเปลี่ยนก๊าซมีเทนเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจำพวกไฮโดรเจนและผลิตภัณฑ์คาร์บอน (3) การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจำพวกไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ผ่านปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิ่ง งานวิจัยนี้จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก โดยการใช้กลไกนาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดมลพิษจากกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการกำจัดกากของเสีย สร้างการผลิตที่ยั่งยืน สะอาด และมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือต้องการนำก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลที่สามารถนำของเสียเหลือทิ้งจำพวกเถ้าชานอ้อยมาเพิ่มมูลค่า สร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตอบโจทย์เร่งด่วนของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน” 

 

ทั้งนี้ โครงการทุนวิจัยลอรีอัล “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” หรือ For Women in Science ริเริ่มขึ้นในปี 2540 โดย มูลนิธิลอรีอัล ด้วยความร่วมมือจากยูเนสโก แต่ละปีได้สนับสนุนนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่มากกว่า 250 ท่าน ในโครงการระดับประเทศและระดับภูมิภาคทั่วโลก และได้มอบทุนเกียรติยศระดับนานาชาติแก่นักวิจัยสตรีระดับ Laureates ไปแล้วมากกว่า 100 ท่าน ซึ่งมีถึง 7 ท่าน ที่ก้าวสู่ความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบล สำหรับในประเทศไทย โครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” มอบทุนวิจัยทุนละ 250,000 บาท ให้กับนักวิจัยสตรีที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย ได้ดำเนินงานโครงการมาเป็นปีที่ 22 โดยมีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 87 ท่าน จากมากกว่า 20 สถาบัน 

ลอรีอัล กรุ๊ปเป็นผู้นำด้านความงามระดับโลกที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี จากบริษัทเครื่องสำอางเล็ก ๆ ในฝรั่งเศส สู่บริษัทข้ามชาติที่ครอบคลุมแบรนด์ความงามหลากหลาย ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า ผม เครื่องสำอาง และน้ำหอม โดยลอรีอัลไม่เพียงแต่สร้างผลิตภัณฑ์ความงาม แต่ยังมุ่งเน้นการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกด้วยพันธกิจในการ “สร้างสรรค์ความงามที่ขับเคลื่อนโลก”

การเติบโตของลอรีอัล กรุ๊ปในประเทศไทย

ปัจจุบันลอรีอัล กรุ๊ป มีแบรนด์ในประเทศไทยถึง 13 แบรนด์ที่ได้รับความนิยมและครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภค ด้วยการเข้าใจตลาดในท้องถิ่นและการปรับตัวอย่างชาญฉลาด ลอรีอัลสามารถขยายฐานลูกค้าและสร้างงานให้กับคนไทยหลายพันคน นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน

ความยั่งยืน: พลังขับเคลื่อนสู่อนาคต

ในโลกที่ผู้บริโภคใส่ใจในเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ลอรีอัล กรุ๊ปได้วางวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนในการใช้พลังแห่งวิทยาศาสตร์ในการบรรลุเป้าหมายที่ขับเคลื่อนความยั่งยืน ด้วยแนวคิด “Science Based Targets” ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “Planetary Boundaries” เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

การสร้างความหลากหลาย ความเท่าเทียม และความไม่แบ่งแยก (DE&I)ลอรีอัลเล็งเห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก (DE&I) โดยสนับสนุนให้พนักงานมีความเท่าเทียมในทุกแง่มุม ตั้งแต่เพศ เชื้อชาติ วัย ไปจนถึงความสามารถทางร่างกายและจิตใจ โครงการต่าง ๆ เช่น การอบรมอคติโดยไม่รู้ตัว ทำให้พนักงานรู้จักเปิดใจยอมรับความแตกต่างและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดกว้าง

การเปิดโอกาสและเสริมพลังให้เยาวชนทั่วโลก

หนึ่งในโครงการที่น่าจับตามองของลอรีอัลคือ “L’Oréal For Youth” ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้คนหนุ่มสาวทั่วโลก โดยเชื่อมช่องว่างระหว่างการศึกษาและการทำงานจริง เพื่อช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ เรื่องราวของผู้เข้าร่วมโครงการจากหลากหลายประเทศสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสและพลังบวกที่ลอรีอัลมอบให้ 

คนคือหัวใจสำคัญของลอรีอัล

พนักงานเป็นหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของลอรีอัล ด้วยการสนับสนุนที่ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาทักษะไปจนถึงสวัสดิการที่เป็นมิตร เช่น การลาพ่อ (Secondary Parental Leave) และการรองรับคู่รักเพศเดียวกัน ทำให้พนักงานสามารถมีชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวที่สมดุล 

ความเป็นผู้นำในด้านความหลากหลายระหว่างวัย

ลอรีอัลเล็งเห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างคนรุ่นต่าง ๆ โครงการ “Generaciones” ในสเปนที่ประสบความสำเร็จ ถูกขยายไปสู่โครงการ “L’Oréal For All Generations” ซึ่งทำให้พนักงานทั้งรุ่นใหม่และเก่ายังคงสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แบรนด์และความยั่งยืน: การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่ออนาคต

ผลิตภัณฑ์ของลอรีอัลทุกชิ้นไม่ได้มีดีแค่ความสวยงาม แต่ยังยึดมั่นในความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคหรือความงามชั้นสูง โดย Kiehl’s นำเสนอความยั่งยืนผ่านโครงการ “Open Doors” ที่สนับสนุนกลุ่มเยาวชนและผู้มีความหลากหลายทางเพศ

การส่งเสริมให้พนักงานได้เติบโตและแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่

ลอรีอัลมุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ทำให้พนักงานกล้าแสดงออกและนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ที่จะช่วยผลักดันบริษัทให้ก้าวไปข้างหน้า นอกจากนี้ยังจัดให้มีการฝึกอบรมทักษะและเส้นทางอาชีพที่ชัดเจนสำหรับพนักงานทุกคน

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนโลก

ด้วยความร่วมมือระดับโลก เช่น Global Alliance for Youth ที่ร่วมกับองค์กรอื่น ๆ อย่างเนสท์เล่ ลอรีอัลช่วยแก้ปัญหาการตกงานของคนหนุ่มสาวและสนับสนุนการพัฒนาทักษะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

อนาคตของลอรีอัล กรุ๊ป: การสร้างแรงบันดาลใจอย่างยั่งยืน

ลอรีอัลมองการณ์ไกลในการสร้างแรงบันดาลใจสู่การเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ และวางแผนที่จะต่อยอดพันธกิจเพื่อขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคงและยั่งยืน

ลอรีอัล กรุ๊ป - ความงามที่ขับเคลื่อนโลกด้วยคน

ลอรีอัล กรุ๊ปไม่ได้เป็นเพียงผู้นำในอุตสาหกรรมความงาม แต่ยังเป็นผู้บุกเบิกในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตที่ดีขึ้น การเดินทางสู่ความยั่งยืนและความหลากหลายที่แท้จริงจะทำให้ลอรีอัลสามารถก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับคนทั่วโลก

ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย จับมือพันธมิตรเดินหน้าพัฒนาต่อยอดโครงการจัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคม (Inclusive Sourcing Program) เป็นปีที่ 11 มอบโอกาสที่เท่าเทียมทางอาชีพให้แก่ผู้ขาดโอกาสทางสังคม มุ่งเน้นการกระจายโอกาสในการทำงาน การสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน พร้อมจัดงาน “Partnership Day” มอบรางวัลยกย่องพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการอย่างเต็มกำลัง

และมุ่งขยายโครงการฯ ไปยังพันธมิตรทางธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ผู้ขาดโอกาสเพิ่มขึ้นในประเทศไทย นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการอัปเดตการดำเนินงานด้านความยั่งยืนภายในประเทศ ตามวิสัยทัศน์ L’Oréal For The Future ที่มุ่งเร่งเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้คำนึงถึงขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก และร่วมแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วนโดยทีมงานลอรีอัลด้วยเช่นกัน

นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชากล่าวว่า “ในฐานะบริษัทผู้นำด้านความงามระดับโลกที่มีเป้าหมายในการสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ลอรีอัล ให้ความสำคัญในการทำงานที่ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกชุมชนที่เราดำเนินธุรกิจไปพร้อมๆ กับการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนั้น เรายังตระหนักดีถึงความหนักหนาของปัญหาที่โลกและสังคมกำลังเผชิญ และความจำเป็นที่ทุกๆ ฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนร่วม เราจึงมุ่งส่งเสริมให้พันธมิตรทางธุรกิจของเรา ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาสให้กลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางสังคมผ่านโครงการจัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคม (Inclusive Sourcing Program) ซึ่งถือเป็นหนึ่งโครงการสำคัญ โดยลอรีอัล กรุ๊ป ได้ตั้งเป้าในการช่วยผู้ขาดโอกาสทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 100,000 คนภายในปี 2030”

จากเป้าหมายของลอรีอัล กรุ๊ปในการช่วยผู้ขาดโอกาสทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 100,000 คนภายในปี 2030 นั้น ในปี 2023 ได้ดำเนินโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 429 โครงการครอบคลุมพื้นที่ 1,069 แห่งใน 67 ประเทศ และช่วยให้คนกว่า 93,165 คนให้สามารถเข้าถึงงานได้ โดยการทำงานครอบคลุมทั้งในด้าน การจ้างงานผู้ขาดโอกาส และการจัดซื้อวัตถุดิบจากชุมชน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Inclusive Sourcing และการให้โอกาสทางอาชีพผ่านการอบรบทักษะอาชีพเสริมสวยภายใต้โครงการ Beauty for a Better Life

“ในส่วนของลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทยนั้น เริ่มดำเนินโครงการ Inclusive Sourcing จัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคมมาตั้งแต่ปี 2014 จากจุดเริ่มต้นที่มีผู้ขาดโอกาสทางสังคมที่ได้รับประโยชน์ผ่านโครงการนี้ 6 คนในปีแรก มาเป็น 234 คนในปี 2024 และยังมีการขยายโครงการในการสร้างรายได้ให้บริษัทรายเล็กกลุ่ม SMEs และบริษัทสตรีเป็นเจ้าของ เรายังคงมุ่งหน้าผลักดันความร่วมมือกับพันธมิตรของเรา พร้อมกับการมองหาพันธมิตรใหม่ที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการเส้นทางการสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ตามพันธกิจเพื่อความยั่งยืนของเรา พันธมิตรทางธุรกิจคือกุญแจความสำเร็จในการดำเนินโครงการนี้ของเรา Partnership Day ถือเป็นวันสำคัญที่ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2016 เพื่อเชิดชูเกียรติพันธมิตรทางธุรกิจ ที่มีวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นร่วมกัน ในการขับเคลื่อนสังคมอย่างยั่งยืน” นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและสื่อสารสัมพันธ์ ลอรีอัล ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา กล่าวเสริม

 

ในปีนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป ได้มอบรางวัลยกย่องพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการอย่างเต็มกำลัง พันธมิตรประเภท Silver ได้แก่ บริษัท ฟรองค์ อินเตอร์เทรด จำกัด, พันธมิตรประเภท Gold ได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.รีแพ็ค และพันธมิตรประเภท Platinum ได้แก่ บริษัท พีเอ็มจี อินทิเกรทเต็ด คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด และยังได้ต้อนรับบริษัท SMEs และบริษัทที่มีสตรีเป็นเจ้าของที่ได้รับโอกาสการจ้างงานจากบริษัทฯ และในเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้

นอกจากการมอบรางวัลยกย่องพันธมิตรแล้ว ลอรีอัล กรุ๊ปยังอัปเดตการดำเนินการตามวิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืน L’Oréal For The Future ซึ่งมีการดำเนินงานจริงจังในหลากหลายมิติ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของกรุ๊ป ครอบคลุมในเรื่องของการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Fighting Climate Change), การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Manage Water Sustainably), เคารพความหลากหลายทางชีวภาพ (Respecting Biodiversity) และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Preserving Natural Resources) โดยในส่วนของลอรีอัล ประเทศไทยนั้น มีการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การเริ่มนำรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า (EV Truck) มาใช้สำหรับการขนส่งสินค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการใช้มาตรการเข้มงวดในการลดการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ อันเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการทำงานในด้านการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ

ภายในงาน ลอรีอัล ยังได้เสริมความเข้าใจร่วมกันในเป้าหมายด้านความยั่งยืนภายใต้ L’Oréal For The Future โดยเน้นในการทำงานในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางพันธมิตร เพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปตามเป้าหมายด้านความยั่งยืน อาทิ การออกแบบและสร้างจุดวางสินค้าและร้านค้าบนหลักการความยั่งยืนที่คำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลหรือสามารถนำไปรีไซเคิลได้เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน การจัดงานอีเว้นท์ที่คำนึงถึงการใช้วัสดุและการลดขยะสิ้นเปลือง การทำการสื่อสารการตลาดบนกล่องบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

ส่งเสริมเครือข่ายพันธมิตรเพิ่มการจ้างงาน พร้อมขยายการสร้างรายได้ให้บริษัท SMEs และสตรีเป็นเจ้าของ

ลอรีอัล กรุ๊ป รายงานตัวเลขผลประกอบการครึ่งปีแรกปี 2567 มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 7.3%1 โดยมียอดขายมูลค่า 2.212 หมื่นล้านยูโร การเติบโตมีความสมดุลระหว่างมูลค่าและปริมาณ ด้วยการผสมผสานระหว่างการวิจัยและนวัตกรรมอันทรงพลังกับความคิดสร้างสรรค์ทางการตลาดที่เป็นเอกลักษณ์ ช่วยให้บริษัทฯ สามารถนำเสนอนวัตกรรมที่ล้ำยุคให้กับผู้บริโภค และตอกย้ำความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำในตลาดความงามของโลกที่ยังคงคึกคักอย่างต่อเนื่อง

นายนิโคลา ฮิโรนิมุส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กรุ๊ป กล่าวถึงตัวเลขผลประกอบการดังกล่าวว่า “แรงขับเคลื่อนที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเราในตลาดเกิดใหม่ ยุโรป และอเมริกาเหนือ ช่วยทดแทนตลาดที่ซบเซาในจีน และสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยในธุรกิจค้าปลีกสินค้าปลอดภาษีเพื่อการท่องเที่ยว เราเห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วของแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง พลวัตที่ไม่เคยหยุดนิ่งของแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค และส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และแผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ ตลอดจนการเดินหน้าจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและการโฆษณาเพื่อโปรโมทนวัตกรรมใหม่และแบรนด์ทั้ง 37 แบรนด์ของเรา เป็นแรงหนุนให้ลอรีอัล กรุ๊ป สามารถก้าวข้ามตลาดความงามระดับโลกได้อีกครั้ง

ในสภาพแวดล้อมที่ยังคงถูกกำหนดโดยความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ เรายังคงเห็นแนวโน้มที่ดีของตลาดความงาม และมั่นใจว่าพลังแห่งนวัตกรรมและความแข็งแกร่งของโมเดลแบบหลายขั้วของเราจะทำให้เราสามารถเอาชนะทุกความท้าทายและบรรลุเป้าหมายในการเติบได้ในปีนี้”

ผลการดำเนินงานตามแผนก

แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ เติบโตขึ้น 5.7%1 ด้วยกลยุทธ์การขายผลิตภัณฑ์หลากหลายช่องทาง (Omnichannel) การขยายตัวอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งในอีคอมเมิร์ซ และการจัดจำหน่ายแบบคัดสรร การเติบโตในตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่คึกคักนี้ ได้รับแรงหนุนจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่: เคเรสตาส พรีเมียร์ (Kérastase Première) และ ลอรีอัล โปรเฟสชันแนล (L’Oréal Professionnel) แอบโซลู รีแพร์ โมเลกุลาร์ (Absolut Repair Molecular)

แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภค เติบโตขึ้น 8.9%1 ผลประกอบการครึ่งปีแรกตอกย้ำกลยุทธ์การทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงได้สำหรับทุกคน และกลยุทธ์ในการสร้างความพรีเมียมของแผนก แบรนด์หลักๆ ล้วนเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีแบรนด์ความงามอันดับหนึ่งของโลกอย่าง ลอรีอัล ปารีส (L’Oréal Paris) ที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระดับสองหลัก

แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง เติบโตขึ้น 2.3%1 โดยมีการเติบโตแข็งแกร่งในยุโรป และขยายตัวในระดับตัวเลขสองหลักในอเมริกาเหนือ รวมถึงในตลาดเกิดใหม่ โดยรวมแล้ว น้ำหอมยังคงเป็นหมวดหมู่ที่คึกคักที่สุด แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงยังเติบโตเหนือกว่าตลาดในทุกภูมิภาค ด้วยผลงานของแบรนด์กูตูร์ การฟื้นตัวของเมคอัพยังคงดำเนินต่อไป ด้วยแรงหนุนจากนวัตกรรมอันทรงพลังโดยอีฟ แซงต์ โลร็องต์ (Yves Saint Laurent) และอาร์มานี่ (Armani)

แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เติบโตขึ้น 16.4%1 โดยยังคงรักษาจังหวะการเติบโตแข็งแกร่งได้อย่างยอดเยี่ยม และเติบโตเหนือกว่าตลาดเวชสำอางซึ่งยังคงคึกตักต่อเนื่องแม้ว่าจะเผชิญกับภาวะการชะลอตัวลงในตลาดอเมริกา ลา โรช-โพเซย์ (La Roche-Posay) ยังคงเป็นแบรนด์ที่ทำรายได้สูงสุดให้กับแผนก อันเป็นผลมาจากความสำเร็จของนวัตกรรมล้ำยุคอย่าง “เมลา บี3” (MelaB3)  ซึ่งจัดการกับปัญหาเม็ดสีผิวเฉพาะจุดโดยใช้ Melasyl™ นวัตกรรมส่วนผสมสิทธิบัตรล่าสุดจากลอรีอัล กรุ๊ป

ผลการดำเนินงานของภูมิภาค  SAPMENA–SSA เติบโตขึ้น 15.2%

ในเอเชียแปซิฟิกใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้ตอนใต้ ซึ่งประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งในภูมิภาคนี้ มีการเติบโตครอบคลุมทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์และแผนก และทั้งเชิงปริมาณและมูลค่า โดยในส่วนของมูลค่านั้น ได้รับแรงหนุนจากการผสมผสานระหว่างส่วนผสมและราคาอย่างสมดุล ประเทศที่ทำรายได้หลักๆ ได้แก่ กลุ่มออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์  ไทย ซาอุดีอาระเบีย และอินเดีย

แผนกเวชสำอางมีผลงานโดดเด่นที่สุด ด้วยแรงหนุนจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเซราวี เช่นเดียวกับแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ที่ขับเคลื่อนโดยลอรีอัล ปารีส และการ์นิเย่ เช่นเดียวกับแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง ที่มี YSL Beauty เป็นแบรนด์ที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม น้ำหอมยังคงเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เติบโตเร็วที่สุด ด้วยแรงหนุนจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ต่างๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเติบโตแข็งแกร่งจากความสำเร็จของแผนกเวชสำอางและแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมได้รับแรงหนุนจากการสร้างความพรีเมียมทั้งในกลุ่มผู้บริโภคและช่างผมมืออาชีพ

ดูรายงานผลประกอบการได้ที่ www.loreal-finance.com

ผลงานด้านงานวิจัย เทคโนโลยีความงาม และดิจิทัล

  • แผนกวิจัยและนวัตกรรม ลอรีอัล กรุ๊ป ร่วมกับมหาวิทยาลัยออริกอน ประสบความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบการพิมพ์ผิวหนังชีวภาพที่เลียนแบบผิวหนังมนุษย์เป็นครั้งแรก ผลลัพธ์จากนวัตกรรมสร้างผิวหนังนี้ช่วยให้สามารถสร้างโครงสร้างที่เหมือนผิวหนังได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นของลอรีอัล กรุ๊ป ด้านนวัตกรรมและความงามที่ไม่ทดลองกับสัตว์
  • ลอรีอัล กรุ๊ปได้จัดแสดงนวัตกรรมความงามมากมายที่งานวีว่า เทคโนโลยี ในกรุงปารีส อาทิ เทคโนโลยีเพื่อการบำรุงผิวหน้า Renergie Nano-Surfacer|400 Booster จากลังโคม, เครื่องวิเคราะห์ผิว Derma-Reader จากคีลส์, เครื่องวิเคราะห์สุขภาพเส้นผม My Hair [iD] - Hair Reader จากลอรีอัล โปรเฟสชันแนล, ผู้ช่วยความงามส่วนตัว Beauty Genius จากลอรีอัล ปารีส และ CREAITECH เครื่องมือสำหรับผลิตคอนเทนต์ความงามด้วย Gen AI
  • งาน Cannes Lions International Festival of Creativity 2024 มอบรางวัลกรังด์ปรีซ์ สาขาการตลาดสื่อสังคมออนไลน์และอินฟลูเอนเซอร์ ให้กับเซราวี พร้อมกับรางวัลคานส์ ไลออนส์ อีกเก้ารางวัล ทำให้เซราวีเป็นหนึ่งใน 10 แบรนด์ที่ได้รับรางวัลมากที่สุดในงาน

ผลงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

  • มูดี้ส์ ได้ให้คะแนนการประเมินด้าน ESG แก่ลอรีอัล กรุ๊ป 74 คะแนนจาก 100 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มอุตสาหกรรมความงามอย่างมาก คะแนนดังกล่าวตอกย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนของลอรีอัล กรุ๊ปไปสู่รูปแบบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการตั้งเป้าการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ท้าทาย
  • ลอรีอัล กรุ๊ปได้รับรางวัล RoSPA (ราชสมาคมเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุ) รวม 69 รางวัล จากไซต์งาน 70 แห่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ด้านสุขภาพและความปลอดภัย
  • เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของโปรแกรม L’Oréal for the Future บริษัทฯ ได้นำ EcoDesignCloud ของ Eviden มาใช้ สำหรับวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสื่อ ณ จุดขายและสื่อส่งเสริมการขาย
  • มูลนิธิลอรีอัลและยูเนสโกประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลทุนวิจัย ลอรีอัล-ยูเนสโก เพื่อสตรีในด้านวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติครั้งที่ 26 เพื่อเป็นเกียรติแก่ผลงานวิจัยบุกเบิกด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่มีการก่อตั้งโครงการนี้ ผู้ได้รับรางวัลทุนวิจัยสตรี 7 คนจาก 132 คน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวิทยาศาสตร์

 

Page 1 of 14
X

Right Click

No right click