ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านองค์กรและบุคลากร อย่างไม่หยุดยั้ง

 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามความร่วมมือภายใต้โครงการ “Collaboration towards excellence in lung cancer

นำร่องที่โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ มุ่งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) มาเสริมการปิดช่องว่างในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้แก่ภาคประชาชนในการประเมินความเสี่ยงและเข้ารับการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อร่วมรณรงค์ไปกับแคมเปญ Close the care gap ขององค์การอนามัยโลก (WHO) วันมะเร็งโลก สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยแบบครบองค์รวมในทุกขั้นตอนการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม และการตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งในร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว ชูความเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็งแห่งเอเชียแปซิฟิก (Center of Excellence - Cancer)

นอกจากด้านการตรวจวินิจฉัยและรักษาของโรงพยาบาลที่ครบครัน แอสตร้าเซนเนก้า เป็นหนึ่งในสมาชิกของ The Lung Ambition Alliance (LAA) เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาคีพันธมิตรระดับนานาชาติ 4 องค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมใน 50 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เพื่อร่วมกันสานต่อเป้าหมายในการเพิ่ม ‘อัตราการรอดชีวิต 5 ปี’ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดให้เป็น 2 เท่า ภายใน พ.ศ. 2568 พร้อมศึกษาทำความเข้าใจถึงวิวัฒนาการของโรค พัฒนาเทคนิคระดับก้าวหน้าเพื่อการดูแลรักษาโรคมะเร็งปอด ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น

 

ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพวัฒโนสถ กล่าวว่า “งานแถลงข่าวในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการรณรงค์วันมะเร็งโลกหรือ World Cancer Day ซึ่งในปีนี้องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ให้ความสำคัญกับการ “Close the care gap” หรือการปิดช่องว่างในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งทางโรงพยาบาลเน้นในเรื่องของมะเร็งปอด เนื่องจากปัจจุบันเราพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดสูงขึ้นเป็นอย่างมากในคนที่ไม่สูบบุหรี่ และมีภัยคุกคามต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เช่น ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในผู้ที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR หรือ KRAS และในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการตรวจคัดกรองในมะเร็งปอดในกลุ่มที่ไม่เคยสูบบุหรี่ ดังนั้น การที่จะปิดช่องว่างหรือ Close the care gap ในเรื่องนี้ จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเสริม เช่น การนำปัญญาประดิษฐ์หรือ A.I. มาช่วยในการวินิจฉัยภาพเอกซเรย์รังสีทรวงอกในผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี และโรงพยาบาลนำชุดตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งในร่างกายจากเลือด (Circulating Tumor DNA : ctDNA) โดยใช้เทคโนโลยี Next-Generation Sequencing ที่สามารถตรวจหามะเร็งหลายชนิดพร้อมกัน เพื่อค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ก่อนเป็นจนถึงระยะเริ่มต้น ซึ่งช่วยเสริมการตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งเฉพาะบุคคล พร้อมทั้งช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

 

นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โรคมะเร็ง หากรู้เร็ว สามารถรักษาได้ โรคมะเร็งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทยให้ความสำคัญมาตลอดระยะเวลา 40 ปี เราพร้อมเดินหน้าประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข องค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมคนไทยหันมาตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้นมากขึ้น ทั้งนี้ ในฐานะบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก เรามุ่งมั่นในการนำวิทยาศาสตร์มาต่อยอดและพัฒนาการดูแลสุขภาพของประชาชนมาโดยตลอด ล่าสุดกับการนำเสนอการใช้เทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเครื่องเอกซเรย์ปอด เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบเงาของก้อนเนื้อในปอดซึ่งอาจเป็นตัวบ่งชี้มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นที่อาจมีขนาดเล็กหรือมองเห็นได้ยากภายในระยะเวลา 3 นาที ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิต เพิ่มอัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งปอดได้มากยิ่งขึ้น”

 

พญ.เมธินี ไหมแพง ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 1 และผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กว่า 10 ปีของโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรามุ่งมั่นให้การบริการทางด้านสุขภาพและศูนย์แห่งความเป็นเลิศในโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง รองรับผู้ป่วยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการร่วมมือกับแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทยในครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยส่งเสริมศักยภาพของโรงพยาบาล ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิชาการทางคลินิกวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันมะเร็งระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลก รวมถึงการถ่ายทอดนวัตกรรม และความเชี่ยวชาญขั้นสูงให้แก่ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multi-disciplinary team – MDT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกับแนวทางการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ส่งเสริมให้โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็งแห่งเอเชียแปซิฟิกในอนาคต

ความร่วมมือของทั้งสององค์กรในครั้งนี้ จะช่วยปิดช่องว่างการตรวจวินิจฉัย และดูแลเติมเต็มทุกการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง Close the Care Gap ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชนคนไทยและทุกเชื้อชาติ ห่างไกลจากโรคมะเร็ง และข้ามผ่านการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ร่วมกันปิดช่องว่างและเติมเต็มศักยภาพเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด World Cancer Awareness Month 2024: Close the Care Gap

 บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นพ.กร ตาลทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด สานต่อความร่วมมือภายใต้โครงการ Healthy Lung Thailand

ส่งมอบอุปกรณ์การตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรมิเตอร์ จำนวน 2 เครื่อง ให้แก่สำนักงานเขตสุขภาพที่ 11 กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น โรคหืดหรือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยมี นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้รับมอบสไปโรมิเตอร์เครื่องแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ณ โรงพยาบาลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจะมีการส่งมอบสไปโรมิเตอร์อีกจำนวนหนึ่งเครื่องในเร็ว ๆ นี้

สไปโรมิเตอร์ (Spirometer) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทดสอบสมรรถภาพทางปอดตามมาตรฐานสากล โดยจะทำหน้าที่วัดปริมาตรอากาศเข้าและออกจากปอด ทั้งในเชิงปริมาตร (volume) และอัตราการไหลของอากาศ (air flow) ซึ่งจะทำให้แพทย์ได้ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการประเมินและวินิจฉัยสมรรถภาพของปอดของผู้ป่วย

ต่อไป จากข้อมูลการใช้งานของหน่วยงานสาธารณสุข เครื่องสไปโรมิเตอร์จำนวนสองเครื่องที่ได้รับมอบคาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินหายใจให้แก่ผู้ป่วยกว่า 2,380 รายต่อปี นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยการคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจหลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้ โรคหืด (Asthma) ถือเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-communicable diseases (NCDs) ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหืดกว่า 2,000 ราย ส่วนโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ ของประชากรไทย โดยในปี 2561 มีผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวมากกว่า 3 ล้านคน และมีแนวโน้มที่การเสียชีวิตจะสูงขึ้นทุกปีเช่นเดียวกับทั่วโลก

ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญของโรค พร้อมส่งเสริมศักยภาพความรู้และทักษะของบุคลากรการแพทย์ รวมถึงขยายขีดความสามารถและเพิ่มการเข้าถึงบริการสำหรับโรคหืด (Asthma) และปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)

โครงการ Healthy Lung Thailand ถือเป็นโครงการเพื่อสังคมแบบยั่งยืนผ่านความร่วมมือระหว่าง แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสมาคมทางการแพทย์ โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนมีสุขภาพปอดที่แข็งแรงและคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการรณรงค์เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด และยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ และการเข้าถึงการบริการเพื่อนำไปสู่พัฒนาการด้านการรักษา และจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click