บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำเจตนารมณ์ในการสร้างความตระหนักรู้และการเข้าถึงนวัตกรรมและบริการทางการแพทย์ เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีของคนไทยอย่างยั่งยืน ผ่านการเปิดตัวแคมเปญ “เตรียมภูมิคุ้มกันให้ทุกความพิเศษ” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรับรู้ถึงความสำคัญของการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายในสถานการณ์ที่โควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือวิธีการอื่นๆ เช่น ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB (Long-acting Antibody) โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือตอบสนองต่อวัคซีนได้ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในการดำเนินชีวิตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไป การได้รับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปจะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต พร้อมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยสามารถออกมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “แคมเปญเตรียมภูมิคุ้มกันให้ทุกความพิเศษ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของแอสตร้าเซนเนก้าในการเดินหน้าดูแลสุขภาพของคนไทยทั้งในช่วงการแพร่ระบาดและหลังจากนี้ต่อไป แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผ่อนคลายมาตรการการป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย แต่ประชาชนยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ และเกิดการเจ็บป่วยจากโควิด-19 โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือตอบสนองต่อวัคซีนได้ไม่เพียงพอ เราจึงอยากสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเสริมภูมิคุ้มกัน รวมถึงภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เพื่อช่วยให้ประชากรกลุ่มเสี่ยง รู้จัก เข้าใจและได้รับการปกป้องจากโรคระบาดนี้”

เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง แคมเปญดังกล่าวได้พาทุกคนไปรู้จักกับเรื่องราวที่สะท้อนถึงความสำคัญของภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 ผ่านการสื่อสารทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ พร้อมเปิดตัวสองภาพยนตร์สั้นชุด “เตรียมภูมิคุ้มกันให้ทุกความพิเศษ” บอกเล่าเรื่องราวของ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง และผู้ป่วยโรคไต ที่ไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตได้อย่างคนทั่วไป เพราะร่างกายอาจตอบสนองต่อวัคซีนได้ไม่เพียงพอเนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อและมีอาการรุนแรงจากโควิด-19 มากกว่าที่หลายคนคาดคิด ซึ่งนอกจากจะสร้างการตระหนักรู้ถึงผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในสังคมแล้ว ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องยังได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ

เกี่ยวกับ LAAB (Long-acting Antibody)

LAAB (Long-acting Antibody) หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป คือยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ปัจจุบันได้รับการอนุมัติแบบมีเงื่อนไขในประเทศไทยให้นำมาใช้สำหรับการฉีดป้องกันและรักษาโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง หรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยใช้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม โดย LAAB จะฉีดที่สะโพกเพื่อให้ร่างกายสามารถรับแล้วนำไปใช้ได้เลยภายใน 6 ชั่วโมง จึงช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป หรือไม่ตอบสนองต่อวัคซีน

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการใช้ LAAB เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดหรือมะเร็งที่อวัยวะอื่นๆ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ รวมไปถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือน ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือ ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายในการรับยา LAAB ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข สามารถแจ้งที่แพทย์ผู้ให้การรักษา เพื่อให้แพทย์ได้ประเมินและดำเนินการแจ้งความจำนงขอเข้ารับยาต่อไป

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม และรับชมภาพยนตร์สั้นชุด “เตรียมภูมิคุ้มกันให้ทุกความพิเศษ” ฉบับเต็มได้ทาง https://bit.ly/3uQ7P0c

 

แอสตร้าเซนเนก้า ส่งมอบยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) ชุดแรกจำนวนกว่า 7,000 โดส ให้กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ต้นสัปดาห์นี้ เพื่อนำไปจัดสรรและใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มประชาชนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องในประเทศไทย โดยในวันนี้ กรมควบคุมโรคได้เริ่มใช้ LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า กับกลุ่มเป้าหมายโดยเริ่มที่ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายเป็นกลุ่มแรก

 

 

วัคซีนหลักทุกชนิดที่ทำการศึกษา มีประสิทธิผลของวัคซีนอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน  ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยทีมวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่และคณะ1 พบว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นที่สี่

ผลการศึกษาซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ Evusheld ในการรักษาโรคโควิด-19 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยนอกที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง  

เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตราเซนเนก้า กล่าวว่า “ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine เป็นอีกหนึ่งข้อมูลสนับสนุนการใช้ Evusheld เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการการป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งขณะนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อมูลจากการศึกษานี้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการยื่นพิจารณาการขึ้นทะเบียนยาในข้อบ่งชี้ทั้งในทางการรักษาและการป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 ในทุกๆด้าน” 

นอกจากนี้ ในรายงานผลลัพธ์รอง (secondary endpoint) Evusheld ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว ได้ถึง 72% (95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 0.3, 92; nominal p=0·036) โดยมีผู้รับ Evusheld 3 คน (0.7%) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 11 คน (3%) ที่ต้องอาศัยการรักษาด้วยเครื่องมืออื่นๆ อาทิ เครื่องช่วยหายใจ หรือเครื่องหัวใจ-ปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย (ECMO)1. 

จากการศึกษาแท็คเคิล Evusheld มีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดี โดยพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (AEs) ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมากกว่ายา Evusheld (36% และ 29% ตามลำดับ) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้คือภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยโรคโควิด-19  ซึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 49 คน (11%) และในกลุ่มที่ได้รับ Evusheld 26 คน (6%) สำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับรุนแรงนั้นเกิดขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 12% และในกลุ่มที่ได้รับ Evusheld1 7%   โดยมีรายงานผู้เสียชีวิต 6 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และ 3 รายในกลุ่มที่ได้รับ Evusheld1 

TACKLE 

ก่อนหน้านี้ทางแอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลลัพธ์เบื้องต้นที่ดีจากการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง 

Evusheld

Evusheld เดิมชื่อ AZD7442 คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody - LAAB) ที่ผสมยา LAAB สองชนิด ได้แก่ tixagevimab (AZD8895) และ cilgavimab (AZD1061) ซึ่งมาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ และได้อนุญาตให้แอสตร้าเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563 โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ตัวนี้จะมีความจำเพาะที่ต่างกัน เพื่อจับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-27 ในคนละจุด2 และถูกพัฒนาต่อโดยแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต(half-life) เพื่อเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ และปรับให้มีการจับกันของ Fc Receptor และ Complement ชนิด C1q ที่ลดลง3 10 โดยการขยาย half-life นั้น สามารถเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ได้มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับแอนติบอดี้ทั่วไป4-6 จากข้อมูลของการทดลองในระยะที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของไวรัส (neutralizing antibody) คงอยู่ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน7และการปรับให้มีการจับของ Fc Receptor ที่ลดลงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะ antibody-dependent enhancement (ADE) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แอนติบอดี้ของเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้นแทนที่จะยับยั้งการติดเชื้อ8 

มีหลักฐานค้นคว้าในหลอดทดลองและการทดลองในสิ่งมีชีวิต (แบบใช้สัตว์) ที่แสดงให้เห็นว่ายา Evusheld สามารถป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน และสายพันธุ์ที่เป็นกังวลทั้งหมดที่ได้รับการทดสอบจนถึงตอนนี้9-13 จากการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ยังยืนยันถึงประสิทธิภาพของ Evusheld ในการลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลก9-14 และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า Evusheld ลดปริมาณเชื้อไวรัสและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในปอดต่อทุกสายพันธุ์ย่อยของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน BA.1, BA.1.1 และ BA.29  การศึกษาพรีคลินิกครั้งใหม่จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พบว่า Evusheld ลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.513 ได้ไม่ต่างกัน 

ยา Evusheld ที่กำลังพัฒนาอยู่นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงเงินทุนจากหน่วยงานด้านสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐฯ  ภายใต้การกำกับดูแลของ Office of the Assistant Secretary for Preparedness and Response และ Biomedical Advanced Research and Development Authority ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหม และ Joint Program Executive Office for Chemical, Biological, Radiological and Nuclear Defense ภายใต้สัญญาหมายเลข W911QY-21-9-0001 

ภายใต้ข้อตกลงกับแวนเดอร์บิวท์ แอสตร้าเซนเนก้าจะจ่ายส่วนแบ่งค่าสิทธิจากยอดขายในอนาคต 

 

Page 2 of 6
X

Right Click

No right click