November 22, 2024

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ อว. เปิดการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ International Conference on Islam in Malay World (ICON – IMAD) ครั้งที่ 13 ณ ม.อ.ปัตตานี

July 31, 2024 114

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ  International Conference on Islam in Malay World (ICON – IMAD) ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ ความกลมเกลียวและการพัฒนา: บทบาทของอิสลามในโลกมลายูเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน   เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนของนักวิชาการโลกมลายู การสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ   เมื่อวันที่ 30  กรกฎาคม 2567 ณ  คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  

การประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ  International Conference on Islam in Malay World (ICON – IMAD) ครั้งที่ 13 ในครั้งนี้จัดขึ้นโดยคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นเจ้าภาพ โดยมีคณะผู้บริหารและนักวิชการจากมหาวิทยาลัยมาลายา มหาวิทยาลัย Sultan Sharif Ali, Brunei Darussalam และ มหาวิทยาลัย UIN Sunan Gunung Djati Bandung, Indonesia เข้าร่วมการการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ ภายในกิจกรรมมีเวทีพบปะเสวนากับวิทยากรผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการปฏิบัติ และหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทอิสลามกับมรดกทางวัฒนธรรมมลายู ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ศาสตราจารย์ ดร.อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต และพบปะกล่าวแนะนำบทบาท ICESCO ในโลกมลายู นอกจากนั้นมีการสรุปการสัมมนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ และมีการมอบรางวัล Paper awards จากนั้นได้มีการมอบธง ICON – IMAD ให้กับเจ้าภาพครั้งต่อไปประเทศบรูไนดารุสสลาม พร้อมกล่าวเชิญชวนเข้าร่วมงาน ICON – IMAD ครั้งที่ 14 ต่อไป

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า ประชุมสัมมนา"ICON-IMAD" จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2011 ที่บันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ครั้งที่ 3 โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพระหว่าง ประเทศไทย มาเลซีย บูรไน และอินโดนีเซีย นอกจากนำเสนอผลงานทางวิชาการแล้ว ยังเป็นวทีการแลกเปลี่ยนระหว่างสหสาขาวิชา ผู้เชี่ยวชาญอิสลามศึกษาและมุสลิมศึกษา ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระดับภูมิภาค สำหรับการสัมมนาที่จังหวัดปัตตานีประเทศไทย ได้นำเสนอกรอบนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่มุ่งมั่นที่จะยกระดับการศึกษาและการวิจัยโดยเน้นที่ความครอบคลุม นวัตกรรม และความยั่งยืนของพื้นที่ ที่มุ่งเน้นด้านการศึกษาที่ครอบคลุมและการเข้าถึง การปรับปรุงระบบหลักสูตรและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ด้านการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านความร่วมมือและการสร้างเครือข่าย การสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและสถาบันนานาชาติ และด้านโครงการพิเศษสำหรับโลกมลายู ส่งเสริมการศึกษาศาสนาอิสลามและบทบาทในการพัฒนาภูมิภาคการมีส่วนร่วมและความร่วมมือที่สำคัญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวว่า  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับการยกระดับให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ได้จัดการสัมมนานานาชาติร่วมกับพันธมิตรชั้นนำจากนานาชาติ อาทิ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยนาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตปัตตานี , Universiti Malaya (UM), Postgraduate Program, Universitas Islam Negeri Sunan Gunung Djati Bandung (UIN Bandung), และ Faculty of Usuluddin, Sultan Sharif Ali Islamic University (UNISSA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของกลุ่มประเทศโลกมลายูในการส่งเสริมความสามัคคีและการพัฒนาในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำระดับนานาชาติ เพื่อยกระดับการวิจัยและพัฒนาในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการหารือเกี่ยวกับแนวทางในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน

“มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเป็นเอกภาพ การจัดสัมมนาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและเอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรนานาชาติ เพื่อดำเนินงานวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ  กล่าวเพิ่มเติม

X

Right Click

No right click