December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

กขค. เตือนล้งผลไม้ เรื่องพฤติกรรมเอาเปรียบเกษตรกร

May 24, 2021 753

กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2564 - คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เดินหน้าสร้างความเป็นธรรมพร้อมดูแลเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ทั่วประเทศ 

รับฤดูกาลผลไม้ไทยหลากหลายชนิดที่มีผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก พร้อมเตือนผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ห้ามมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำความผิด ไกด์ไลน์แนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจการรับซื้อผลไม้ ประกอบด้วย 1.การไม่ระบุวันหรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ 2. การต่อรองราคารับซื้อผลไม้ลดลงจากที่กำหนดไว้ในสัญญา 3. ปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดความเสียหาย และ 4. การฮั้วกันกำหนดราคารับซื้อผลไม้ ซึ่งหากเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ประสบปัญหาถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) สามารถร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือช่องทางเว็บไซต์และอื่น ๆ ได้ทันที

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า และโฆษกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า ฤดูกาลผลไม้หลากหลายชนิดที่ผลผลิตกำลังออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ได้ประสบปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มธุรกิจที่รับซื้อผลไม้ (ล้ง) เนื่องจากการมีอำนาจต่อรองที่น้อยกว่า คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) จึงได้เน้นความสำคัญในการเข้าไปกำกับดูแลเกษตรกรผูปลูกผลไม้ให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น โดยจะเข้มงวดกวดขันให้ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ปฏิบัติตามแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้  ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2563 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวได้กำหนดพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่อาจเข้าข่ายความผิดมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย

  1. การไม่ระบุวันหรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ การใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่ารวมถึงเงื่อนไขการค้าที่ไม่เป็นธรรมซึ่งส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้รายอื่นได้ เป็นต้น
  2. การต่อรองราคารับซื้อผลไม้ลดลงจากที่กำหนดไว้ในสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  การกำหนดคุณภาพของผลไม้หรือเงื่อนไขอื่นใดที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
  3. การชะลอการเข้าเก็บผลไม้การเก็บผลไม้ไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญา หรือเลือกเก็บผลไม้บางส่วน รวมทั้งพฤติกรรมในลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
  4. การฮั้วกันเพื่อผูกขาดหรือลดการแข่งขัน เช่น การร่วมกันกำหนดราคาซื้อหรือจำกัดปริมาณของสินค้า หรือร่วมกันกำหนดแบ่งท้องที่ซื้อขาย เป็นต้น

นายสันติชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ถูกเอาเปรียบทางการค้า มีอยู่เป็นประจำทุกปี คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรในเรื่องดังกล่าว พร้อมกำชับให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) เข้าไปกำกับดูแลให้ความเป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า และลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง โดยที่ผ่านมามีเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ภาคตะวันออก ร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ที่มีพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมจำนวนทั้งหมด 10 เรื่อง ซึ่งตรวจพบว่ามีการกระทำความผิดที่เข้าข่ายการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 57 จำนวน 1 ราย และได้ลงโทษปรับทางปกครอง ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด ส่วนอีก 8 ราย อยู่ระหว่างการดำเนินเรื่องของคณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อยุติและนำเสนอให้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.)  พิจารณาในเร็ววันนี้  และยุติเรื่อง จำนวน 1 ราย เนื่องจากเป็นกรณีข้อพิพากทางแพ่งที่ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากมีโทษปรับในอัตราที่ค่อนข้างสูง จึงอยากเตือนให้ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ระมัดระวังพฤติกรรมทางการค้า ที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตามแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ และสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้หากได้รับการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจการรับซื้อผลไม้ (ล้ง) สามารถร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือช่องทางเว็บไซต์ www.otcc.or.th หมายเลขโทรศัพท์ 02-199-5444  ตลอดจนอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

X

Right Click

No right click