×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

ดอลลาร์แข็งทองคำอ่อน จับตาราคาทองคำหากหลุด 1,685 โอกาสเข้าสู่ขาลง

August 17, 2021 517

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐกลับมาดี และ FED ยกเลิกทำ QE หนุนเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลต่อราคาทองคำร่วง

จับตาหากราคาทองคำหลุดต่ำกว่า 1,685 ดอลลาร์ มีโอกาสที่ราคาเข้าสู่ขาลง แนะติดตามสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด หากเกิดการล็อกดาวน์เมือง โอกาสกระทบกับนโยบายเศรษฐกิจและค่าเงิน ส่งผลต่อราคาทองอาจผันผวนอีกครั้

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า จากการติดตามเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัวเร็ว อัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับมา และตัวเลขการจ้างงานใกล้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกันกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ผลตอบแทน Bond Yield รัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนทั่วโลกมองว่าการอัดฉีดสภาพคล่อง QE หรือ การใช้นโยบายดอกเบี้ยระดับต่ำอาจจบลงเร็วกว่าที่คาดไว้  ดังนั้น ทองคำในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับค่าเงินดอลลาร์ จึงถูกเทขายอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ราคาปรับตัวลงไปเกือบถึงจุดต่ำสุดของปีนี้ ที่ระดับ 1,685 ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะมีแรงซื้อกลับเข้ามา แต่อย่างไรก็ตามราคาทองคำยังคงความเสี่ยงเป็นขาลงอยู่

“สถานการณ์ราคาทองคำในปีนี้ มีความคล้ายกับสิ่งที่เคยเกิดในปี 2012 ค่อนข้างมาก โดยในช่วงวิกฤตซับไพร์มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณยกเลิกนโยบายอัดฉีดสภาพคล่อง แม้จะยังไม่เริ่มลดวงเงิน QE แต่ราคาทองคำได้ตอบสนองล่วงหน้าด้วยการถูกเทขาย ดังนั้น ราคาทองคำในรอบนี้ จึงมีโอกาสที่จะปรับตัวลงได้อีกครั้ง หากค่าเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง”

เมื่อพิจารณาจากกราฟเทคนิคที่กรอบความเคลื่อนไหวรายเดือน ราคาทองคำมีโอกาสสูงที่จะขึ้นไปแตะระดับราคา 2,098 ดอลลาร์ และอาจจะเป็นจุดสูงสุดของกราฟคลื่นที่ 5 ซึ่งเป็นระดับราคาสูงสุดและหลังจากนั้น ราคาจะเข้าสู่ช่วงของการปรับฐาน โดยระดับที่ใช้ตัดสินใจว่าทองคำจะเข้าสู่ภาวะขาลงเต็มรูปแบบหรือไม่ อยู่ที่ระดับราคา 1,685 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับราคาที่จุดต่ำสุดของปีนี้

หากราคาทองคำยังยืนเหนือระดับราคาที่ 1,685 ดอลลาร์ได้ ก็อาจมีโอกาสที่ราคาปรับตัวขึ้นต่อได้ หากมีปัจจัยหนุน คือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งทำให้บางเมืองในสหรัฐฯ ต้องกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง และทำให้ FED อาจต้องอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามา ดังนั้น ต้องติดตามค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งเป็นสินทรัพย์เปรียบเทียบกับทองคำว่ามีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพราะค่าเงินดอลลาร์จะกดดันราคาสินทรัพย์อื่น ๆ รวมถึงตลาดหุ้นในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่อีกด้วย     

“มุมมองของผมจากการสังเกตท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ นับตั้งแต่มีการตัดสินใจทำ QE อีกครั้ง เมื่อปีที่แล้ว เหมือนว่าครั้งนั้น FED น่าจะได้รับบทเรียนจากการทำ QE ซึ่งสร้างปัญหาตามมาภายหลัง ส่งผลให้งบดุลของรัฐบาลเป็นหนี้ก้อนที่เกิดขึ้นจากการซื้อพันธบัตรของ FED เอาไว้เอง ซึ่งหากปล่อยให้มูลหนี้เพิ่มขึ้นก็อาจจะส่งผลสร้างความเสียหายต่อฐานะการคลังในอนาคต แม้ความเห็นของรัฐมนตรีคลังเจเน็ต เยลเลน ในวิกฤตรอบนี้ เธอเองพยายามจะออกเสียงให้ FED ต้องยุติการอัดฉีดสภาพคล่องให้เร็วที่สุด เช่นเดียวกับตอนที่เธอนั่งตำแหน่งประธาน FED เธอเป็นผู้ที่ยืนอยู่ข้างของการยกเลิกการทำ QE มาโดยตลอด จนเรียกว่าเป็นมือปราบ QE ก็ว่าได้ ดังนั้น ในฐานะนักลงทุนจึงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด”

X

Right Click

No right click