October 23, 2024

ตลาดโซลูชันความปลอดภัยอัจฉริยะไร้สาย (Intelligent Security Solution) มาแรงตอบโจทย์การใช้ชีวิต Smart life เผยเทรนด์ Smart Building และ Smart City ภาวะเศรษฐกิจบีบคั้น สังคมสูงวัย กระตุ้นตลาด คาดตลาดโลกจะเติบโตไปถึง 334.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2572 และอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 6.2%  ระหว่างปี  2566-2571 ตลาดไทยมีมูลค่า  27,000 ล้านบาท เมื่อปีก่อน AJAX  โซลูชันพิทักษ์ความปลอดภัย มาตรฐานยุโรป  ผ่านแอปฯ AJAX บนมือถือและ แอป AJAX PRO สำหรับศูนย์เฝ้าระวัง Monitoring Center พร้อมเปิดตัว  3  ผลิตภัณฑ์ใหม่ AJAX  NVR  เชื่อมกล้อง CCTV กับระบบตรวจจับขโมย และ ตรวจจับไฟไหม้ พร้อมแจ้งเตือนเรียลไทม์, KeyPad TouchScreen  ควบคุมง่ายแค่ปลายนิ้ว, ManualCallPoint (Red)  ปุ่มกดเตือนไฟไหม้และเหตุฉุกเฉินอื่นๆ พร้อมเดินหน้าขยายตลาด ผ่านพาร์ทเนอร์กลุ่มกล้องวงจรปิด ผู้ทำระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เจาะลูกค้า B2B ทุกกลุ่มธุรกิจบริการจัดการอาคาร อสังหาฯ โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานภาครัฐ พร้อมร่วมออกบูธในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2567 ในวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2567 ณ ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นางนิสา มังกรทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท  ชิสเท็ม 2000 จำกัด Exclusive Distributor ของผลิตภัณฑ์ AJAX ในประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดโซลูชันเพื่อความปลอดภัยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศคาดว่าจะเติบโตไปถึง 334.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2572 อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) คาดว่าจะอยู่ที่ 6.2%  ระหว่างปี  2566-2571 กลุ่มที่เติบโตสูง ได้แก่ ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์  กล้องวงจรปิด (CCTV) ระบบควบคุมการเข้าออก ระบบตรวจจับการบุกรุก รวมถึงระบบเตือนภัย อัจฉริยะ เพื่อป้องกัน เช่นเตือนไฟไหม้ น้ำท่วม เตือนอันตรายในการทำงานต่างๆ ด้านตลาดในประเทศไทย คาดว่าตลาดระบบรักษาความปลอดภัยในประเทศไทย จะมีมูลค่า  27,000 ล้านบาท ในปี  2566 กลุ่มที่เติบโตสูง ได้แก่ ระบบรักษาความปลอดภัย  สำหรับบ้านพักอาศัย ระบบรักษาความปลอดภัย สำหรับธุรกิจ

โดยเฉพาะโซลูชันอัจฉริยะไร้สาย (Intelligent Security Solution ) ปัจจุบันความกังวลด้านความปลอดภัยอาชญากรรม การก่อการร้าย  ภัยไฟไหม้และภัยธรรมชาติ เพื่อดูแลคนและทรัพย์สินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมและการโจรกรรมต่างๆ ในสภาวะเศรษฐกิจบีบคั้น การใช้ชีวิตในยุค Smart life และสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการเติบโตของเทคโนโลยี  เช่น  IoT  ปัญญาประดิษฐ์  และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในตลาดโลก ทำให้เกิดความต้องการ โซลูชันอัจฉริยะไร้สาย (Smart Security) ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบและอุปกรณ์เตือนภัยเดิมเช่น อุปกรณ์ตรวจจับไฟไหม้ที่ติดตั้งในอาคารต่างๆ อุปกรณ์ตรวจจับการรั่วไหลของแก๊ส รวมถึงกล้องวงจรปิด IP Cameraฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้น ซึ่งปัจจุบันผู้พัฒนาอุปกรณ์เหล่านี้ยังไม่มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน เชื่อมโยงการแจ้งเตือนบนมือถือ ในบางรายที่มีก็มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อโมบายแอปที่สูงมาก ทำให้มีช่องว่างทางการตลาด โซลูชั่นของ AJAX เข้าไปตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นโซลูชั่นที่สามารถเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ระบบแจ้งเตือนภัยและ IP Camera ง่ายในการเชื่อมต่อ, วิธีการใช้งาน, ความเสถียรของระบบ และความปลอดภัยทางไซเบอร์

 
ทั้งนี้ โซลูชันของ AJAX ดูแลเรื่องความปลอดภัยครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันขโมย อุปกรณ์ระบบตรวจจับแจ้งเหตุไฟไหม้ อุปกรณ์ตรวจจับน้ำท่วมพร้อมวาล์วอัตโนมัติ สวิตช์ไฟอัตโนมัติสำหรับอาคารพาณิชย์และที่พักอาศัย จุดเด่นที่แตกต่างจากโซลูชั่นอื่น ๆ คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อระบบเข้ากับกล้องวงจรปิดแบบ ONVIF ที่ติดตั้งอยู่เดิม, เชื่อมต่อการเตือนภัยจากเหตุเพลิงไหม้ หรือต่อ Relay เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อัตโนมัติอื่นๆที่ติดตั้งอยู่ ด้วยแอป AJAX ได้นอกจากนี้ ยังส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังผู้ใช้งานได้พร้อมกัน ถึง 200 users เป็นการอัปเกรดให้เกิดความคล่องตัวในการประสานงานขณะเกิดเหตุได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดความเสียหาย เพิ่มประสิทธิภาพในการสอดส่องเข้าถึงพื้นที่ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย

นอกจากนี้ AJAX ยังเป็นโซลูชั่นแบบไร้สาย ที่ออกแบบมาให้ง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง ไปจนถึงการใช้งาน พร้อมระบบตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่บนตัว HUB ด้วยตนเอง ตลอด 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์เจ้าของกิจการ ที่ต้องการหาเครื่องมือง่ายๆแต่มั่นใจได้ ในการควบคุมและตั้งค่าระบบ รวมทั้งรับสัญญาณเตือนภัยจากบ้าน อาคาร ของตนเองแบบเรียลไทม์ เปรียบเสมือนเป็น “ศูนย์บัญชาการความปลอดภัยเชิงป้องกัน” ที่ส่งตรงถึงมือถือทุกคนที่เกี่ยวข้อง สามารถระงับเหตุความเสียหายได้ทันท่วงที

ในไตรมาสที่ 2 นี้ AJAX ได้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ถึง 3 ผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ได้แก่

1. AJAX NVR ศูนย์กลางควบคุมระบบกล้องวงจรปิด ช่วยให้มองเห็นทุกมุมแบบเรียลไทม์ ควบคุมง่ายด้วยปลายนิ้ว เชื่อมต่อสัญญาณ Alert เข้าไปกดดูภาพบนแอปพลิเคชัน AJAX ในสมาร์ทโฟนได้ทันทีที่มีผู้บุกรุกเลือก Videowall จากกล้องหลายตัว พร้อมกันหรือแบบเต็มจอ บันทึกภาพคมชัด ด้วยระบบเก็บข้อมูลออนไซด์ ไม่ขึ้นคราวน์ รองรับกล้อง IP Camera ได้หลากหลาย พร้อมแอปศูนย์เฝ้าระวังเหตุ ที่สามารถเข้าไปเลือกดูกล้องจากหน่วยงานสาขาที่อยู่ต่างโลเคชัน ได้อย่างชัดเจนแบบเรียลไทม์
 
2. AJAX KeyPad TouchScreen ความปลอดภัยแค่ปลายนิ้ว เป็นกุญแจสู่ระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย หน้าจอสัมผัสขนาด 5 นิ้ว ใช้งานง่ายเหมือนแอปพลิเคชัน AJAX บนสมาร์ทโฟน รองรับหลายภาษาความปลอดภัยสูงด้วย เทคโนโลยี DESFire และ BLE   จัดการระบบง่ายดาย ทั้งการตั้งค่าระบบรักษาความปลอดภัย เปิด ปิด ระบบ ตรวจสอบสถานะควบคุมอัจฉริยะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมอื่น ๆได้ สามารถแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น เกิดไฟไหม้ หรือมีผู้บุกรุก แบบเรียลไทม์

3. ManualCallPoint(Red) ปุ่มกดฉุกเฉิน แจ้งเตือนไฟไหม้ และเตือนภัยอื่น ๆ เหมาะสำหรับการเตือนภัยร้ายแรงฉุกเฉิน กดปุ่มเดียว ระบบเตือนภัย ไซเรน ทั้งอาคาร หรือทั้งชั้น ทำงานทันที ไม่ต้องลุกไปกดที่แผงควบคุม ติดตั้งง่าย ไร้สาย เหมาะกับทุกพื้นที่ เหมาะสำหรับติดตั้งในโรงเรียน อาคารสถานที่ราชการ หรือเอกชนที่เปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่อาจถูกบุกรุกจากผู้ก่อการร้าย หรือผู้คลุ้มคลั่งขาดสติ ทำให้ช่วยระงับเหตุได้รวดเร็วทันสถานการณ์

สำหรับแผนขยายตลาด AJAX จะเพิ่มพาร์ทเนอร์ตัวแทนจำหน่าย ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มการจัดการความปลอดภัย และหน่วยงานภาครัฐ โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญของ AJAX ฝึกอบรมให้ความรู้กับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประยุกต์การออกแบบและติดตั้งระบบนำเสนอลูกค้า โดยพาสเนอร์จะได้ใบรับรอง AJAX เมื่อผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้พาร์ทเนอร์มีความเข้าใจในตัวโซลูชันและนำเสนอได้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าของตนเอง

"เรามั่นใจว่า AJAX จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านความปลอดภัยของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม และจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ บ้าน คอนโด ร้านค้า ห้างร้าน โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อช่วยยกระดับการพิทักษ์ดูแลความปลอดภัยให้แก่ชีวิต และลดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของเจ้าของธุรกิจในทุกระดับ” นางนิสา กล่าว

นอกจากนี้ AJAX จะไปร่วมออกบูธในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2567 ในวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2567 ณ ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยจัดแสดงการเชื่อมต่อโซลูชั่นของ AJAX เข้ากับอุปกรณ์ระบบอื่นๆ รวมทั้งการสาธิตการใช้งานของแอปฯ ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี ใช้งานง่ายและสะดวกเข้ากับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน ด้วยระบบอุปกรณ์มาตรฐานระดับโลก

 สำหรับไฮไลต์สำคัญของงาน Intel Innovation 2023 วันที่สอง นายเกร็ก ลาเวนเดอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทล ได้แบ่งปันข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับปรัชญาการทำงานของระบบนิเวศแบบเปิดของอินเทลที่ออกแบบมาเพื่อชุมชนนักพัฒนาโดยเฉพาะ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสมากมายที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถมอบให้ได้

เหล่านักพัฒนาต่างกระตือรือร้นที่จะใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานโซลูชั่นสำหรับลูกค้าและเอดจ์ไปยังดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์ในวงกว้าง โดยอินเทลมุ่งมั่นที่จะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยแนวทางการเร่งซิลิคอนที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการที่เปิดกว้าง ทางเลือกใหม่ ๆ ความไว้วางใจ และความปลอดภัยเป็นสำคัญ ด้วยการส่งมอบเครื่องมือที่พัฒนาประสิทธิภาพของการใช้ AI อย่างปลอดภัย และช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษาและปรับขนาดโซลูชั่นเหล่านั้น อินเทลได้ช่วยติดอาวุธให้เหล่านักพัฒนาขยายขุมพลัง AI ไปสู่ทุกที่ทั่วโลก

นายเกร็กกล่าวว่า “ชุมชนนักพัฒนาเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทุกคนควรสามารถเข้าถึง AI ได้อย่างง่ายดายและได้ใช้งาน AI ที่เชื่อถือได้ หากนักพัฒนาถูกจำกัดในการเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ก็จะเป็นการจำกัดการเข้าถึงยูสเคสจำนวนมากในการนำ AI ไปใช้ทั่วโลกไปด้วย อีกทั้งยังจำกัดการเปลี่ยนแปลงสำคัญต่อสังคมที่นักพัฒนาเหล่านี้สามารถช่วยโลกได้”

 

การใช้งาน AI ที่ง่ายขึ้น มาพร้อมกับความไว้วางใจและความปลอดภัย

ประเด็นสำคัญของงาน Intel Innovation 2023 วันที่สอง นายเกร็กยังได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของอินเทลในการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร ได้แก่ Intel® Transparent Supply Chain สำหรับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์ และรับรองการประมวลผลที่เป็นความลับเพื่อช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญในหน่วยความจำ โดยปัจจุบัน อินเทลกำลังขยายการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม และการปกป้องข้อมูลด้วยเครื่องมือและบริการใหม่ ๆ มากมาย รวมถึงความพร้อมใช้งานของการบริการการรับรองความปลอดภัย

นวัตกรรมบริการใหม่ล่าสุดนี้เป็นผลิตภัณฑ์แรกในไลน์อัพซอฟต์แวร์และบริการด้านความปลอดภัยของอินเทลที่เรียกว่า Intel® Trust Authority หรือหน่วยงานด้านความไว้วางใจของอินเทล ที่จะช่วยตรวจสอบและประเมินการทำงานของระบบ Trusted Execution Environment (TEE) การบังคับใช้นโยบาย และบันทึกการตรวจสอบของอินเทลอย่างเป็นอิสระและครอบคลุม โดยสามารถใช้ได้ทุกที่ที่มีการใช้งานการประมวลผลที่ป้องกันความลับของอินเทล รวมถึงมัลติคลาวด์ ไฮบริด ระบบภายในองค์กร และเอดจ์ โดย Intel® Trust Authority จะกลายเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการใช้งาน AI ที่เป็นความลับ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของการประมวลผลในสภาพแวดล้อมที่เป็นความลับ ที่ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนได้รับการประมวลผลในแอปพลิเคชันแบบแมชชีนเลิร์นนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุมานบนโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® ทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคต

 

AI เป็นพลังสำคัญของนวัตกรรมที่มียูสเคสการใช้งานในทั่วทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ การเงิน ไปจนถึงอีคอมเมิร์ซและการเกษตร

นายเกร็ก กล่าวว่า “กลยุทธ์ซอฟต์แวร์ AI ของเราก่อตั้งขึ้นบนระบบนิเวศแบบเปิดและการเร่งความเร็วในการประมวลผลแบบเปิดเพื่อที่จะสามารถขยายขุมพลัง AI ไปยังทุกที่ เรารู้ดีว่ามีโอกาสมากมายที่จะขยายขนาดของนวัตกรรม และเรากำลังผลักดันขอบเขตความเป็นไปได้ให้นักพัฒนา AI ได้สร้างสรรค์ผลงานของพวกเขาได้อย่างเต็มที่”

ระบบนิเวศแบบเปิด เปิดโอกาสสู่ทางเลือกใหม่เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด

องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต่างใช้ AI เพื่อเร่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ พลิกโฉมธุรกิจ และพัฒนาบริการเพื่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การใช้โซลูชั่น AI ในทางปฏิบัติยังถูกจำกัดด้วยความท้าทายมากมายที่องค์กรธุรกิจยังไม่สามารถรับมือได้โดยง่าย เพราะยังขาดความเชี่ยวชาญภายในองค์กรและทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการจัดการการใช้งาน AI ที่เหมาะสม (เช่น การเตรียมข้อมูลและโมเดลการจำลองข้อมูล) ตลอดจนแพลตฟอร์มกรรมสิทธิ์ที่มีราคาสูงและใช้เวลานานหากต้องซ่อมบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

อินเทลมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศแบบเปิดที่สามารถใช้งานกับสถาปัตยกรรมได้หลากหลายและง่ายดายมากขึ้น ในที่นี้รวมถึงการร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Unified Acceleration Foundation (UXL) ของมูลนิธิลินุกซ์ สมาคมที่ประกอบด้วยองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมนี้ พร้อมเดินหน้าส่งมอบระบบนิเวศซอฟต์แวร์เร่งความเร็วแบบเปิดเพื่อลดความซับซ้อนในการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม โครงการ UXL นั้นเป็นวิวัฒนาการของโครงการริเริ่มอย่าง oneAPI ที่เป็นโมเดลการเขียนโปรแกรมของอินเทลที่ช่วยให้เขียนโค้ดเพียงครั้งเดียวและสามารถใช้งานกับสถาปัตยกรรมการประมวลผลหลายประเภท อาทิเช่น CPU, GPU, FPGA และชิปเร่งความเร็ว อินเทลเตรียมที่จะส่งมอบข้อมูลของ oneAPI ให้แก่โครงการ UXL Foundation เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาข้ามแพลตฟอร์มในสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย

ยิ่งไปกว่านั้น อินเทลยังร่วมมือกับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ชั้นนำอย่าง Red Hat, Canonical และ SUSE เพื่อนำเสนอซอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่ได้รับการปรับให้เหมาะสม เพื่อช่วยรับประกันประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับสถาปัตยกรรมอินเทลรุ่นล่าสุด ภายในงาน Intel Innovation นายเกร็กยังได้ร่วมกับนายกุนนาร์ เฮลเล็กสัน รองประธานและผู้จัดการทั่วไปสำหรับธุรกิจ Red Hat Enterprise Linux ประกาศขยายความร่วมมือที่อินเทลเตรียมให้การสนับสนุนระบบนิเวศ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ตั้งแต่เริ่มต้นโดยใช้ CentOS Stream และอินเทลยังคงสนับสนุน AI ตลอดจนเครื่องมือและกรอบการทำงานของแมชชีนเลิร์นนิ่ง รวมถึง PyTorch และ TensorFlow อย่างต่อเนื่อง  เพื่อช่วยให้นักพัฒนาปรับขนาดประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย Intel Granulate เตรียมเพิ่ม Auto Pilot สำหรับการกำหนดสิทธิ์ทรัพยากรพ็อด Kubernetes ซึ่งเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพความจุที่จะให้คำแนะนำการจัดการความจุแบบอัตโนมัติและต่อเนื่องสำหรับผู้ใช้ Kubernetes ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถลดต้นทุนสำคัญสอดคล้องกับมาตรชี้วัดประสิทธิภาพด้านต้นทุนสำหรับสภาพแวดล้อมการจัดการแพ็คเกจซอฟต์แวร์แบบ Containerization นอกจากนี้ Intel Granulate ยังเพิ่มความสามารถในการประสานการทำงานอัตโนมัติสำหรับเวิร์กโหลด Databricks ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโดยเฉลี่ย 30% และลดเวลาในการประมวลผล 23% โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ด1  ในขณะที่ทั่วโลกพึ่งพา AI มากขึ้นในการแก้ปัญหาขนาดใหญ่และซับซ้อน และส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจที่แท้จริง เราต่างต้องการการปกป้องโมเดล AI ไปจนถึงข้อมูลและแพลตฟอร์มที่พวกเขาเรียกใช้เพิ่มมากขึ้นจากการดัดแปลง การหลอกเอาข้อมูล และการโจรกรรมข้อมูล การเข้ารหัสแบบ Fully homomorphic encryption (FHE) ช่วยคำนวณการประมวลผลได้โดยตรงกับข้อมูลที่เข้ารหัส แม้ว่าการใช้งานจริงจะถูกจำกัดด้วยความซับซ้อนและโอเวอร์เฮดในการคำนวณก็ตาม

นอกจากนี้ อินเทลยังเผยถึงแผนการที่จะพัฒนาตัวเร่งวงจรรวมเฉพาะแอปพลิเคชัน (ASIC) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านประสิทธิภาพล้านเท่าที่เกี่ยวข้องกับแนวทาง FHE แบบซอฟต์แวร์เท่านั้น นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดตัวชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เข้ารหัสเวอร์ชันเบต้า ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัย นักพัฒนา และชุมชนผู้ใช้ได้เรียนรู้และทดลองใช้การเข้ารหัส FHE ซึ่งจะเปิดตัวในปลายปีนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Intel® Developer Cloud ซึ่งเปิดให้ใช้งานทั่วไปตามที่ประกาศเมื่อวานนี้ และยังรวมถึงชุดอินเทอร์เฟซที่ทำงานร่วมกันได้เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ FHE เครื่องมือการแปล และเครื่องจำลองตัวอย่างของตัวเร่งฮาร์ดแวร์ด้วย

ความยั่งยืน Mobile ID และรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ

HID ผู้นำระดับสากลในด้านโซลูชั่นการระบุตัวตนและความปลอดภัยทางกายภาพ (physical security) ได้เผยแพร่ผลรายงาน State of the Security Industry Report เกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัย ที่รวบรวมความคิดเห็นจากพันธมิตร ผู้ใช้งาน และบุคลากรด้านความปลอดภัยและไอที ในตำแหน่งต่างๆ จำนวน 2,700 คน จากองค์กรหลากหลายขนาดกว่า 11 อุตสาหกรรม โดยการสำรวจได้จัดทำขึ้นเมื่อปลายปี 2565 โดยมีประเด็นที่ผู้ตอบแบบสำรวจเห็นตรงกัน 5 ประการ ดังนี้

1. เกือบ 90% มองว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ

ผู้บริโภคต่างเรียกร้องให้ผู้จัดหาสินค้าและบริการแสดงความโปร่งใสเกี่ยวกับผลกระทบด้านต่างๆ ทั้งในขั้นตอนการจัดหาผลิตภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนา โดย 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ความยั่งยืนจัดอยู่ในอันดับ “สำคัญถึงสำคัญที่สุด” และ 76% กล่าวว่า ลูกค้าให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็สะท้อนแนวโน้มดังกล่าว

เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว ทีมงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยจึงมีการใช้ระบบคลาวด์และ IoT (Internet of Things) มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการและลดการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ ก็กำลังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม ลดขยะและของเสีย และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. องค์กรส่วนใหญ่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ Identity-as-a-Service (IDaaS) อย่างเต็มรูปแบบเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริด

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ จำนวน 81% เผยว่า ได้เสนอรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ตัวอย่างเช่น 67% ระบุว่า การยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน และแบบไม่ใช้รหัสผ่านมีความสำคัญที่สุดในการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด และการทำงานทางไกล ในขณะที่ 48% ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ Mobile ID และการระบุตัวตนแบบดิจิทัล (Digital ID)

ที่น่าสนใจคือ การสำรวจยังเผยด้วยว่า เกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรยังไม่พร้อมที่จะใช้กลยุทธ์ IDaaS อย่างครอบคลุม

 

3. การระบุตัวตนแบบดิจิทัล (Digital ID) และการยืนยันตัวตนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ จะผลักดันให้มีการใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้า-ออกอาคารมากยิ่งขึ้น

การระบุและยืนยันตัวตนมักจะดำเนินการผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ รวมถึงสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สวมใส่ โดยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของกระเป๋าเงินดิจิทัลจากผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น Google, Apple และ Amazon เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของแนวโน้มดังกล่าว การใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ยังช่วยให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนสามารถเพิ่มกุญแจ บัตรประจำตัว และเอกสารดิจิทัลได้ ในแอปพลิเคชันกระเป๋าเงิน ซึ่งรวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียงใบขับขี่ในแปดมลรัฐ ข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ตรวจสอบได้ บัตรประจำตัวพนักงาน บัตรประจำตัวนักศึกษา และกุญแจห้องพักโรงแรม

ผลสำรวจยังเผยอีกว่า บริษัทอสังหาริมทรัพย์ (40%) กำลังแซงหน้าธุรกิจประเภทอื่นๆ เนื่องจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่กำลังใช้ระบบการเข้า-ออกอาคารด้วยโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันสำหรับผู้เช่าของบริษัทเหล่านี้

 

4. เกือบ 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นประโยชน์ของการยืนยันตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์แบบไร้สัมผัส

เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจากวิธีการควบคุมการเข้า-ออกอาคารแบบเดิมๆ การใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ ที่เพิ่มความแน่นหนาในการรักษาความปลอดภัย (เช่น การสแกนไบโอเมตริกซ์เพื่อยืนยันตัวตนทางกายภาพของแต่ละบุคคล) จะช่วยให้องค์กรสามารถป้องกันการลักลอบเข้า-ออกอาคาร และการปลอมแปลงการยืนยันตัวตนได้

ผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแนวโน้มดังกล่าว โดย 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีทั้งกำลังใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์อยู่ วางแผนที่จะนำมาใช้ หรืออย่างน้อยก็จะทดลองใช้ในอนาคตอันใกล้นี้

5. ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานยังคงเป็นปัจจัยที่น่ากังวล แต่ก็เริ่มมีมุมมองในเชิงบวกมากขึ้น

จากการสำรวจครั้งนี้ 74% ของผู้ตอบแบบสำรวจเผยว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานในปี 2565 ที่ผ่านมา แม้ว่า 50% จะมีมุมมองในเชิงบวกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในปี 2566 นี้ ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น ส่วนใหญ่คือบริษัทอสังหาริมทรัพย์ โดย 78% ระบุว่า มีความกังวลกับปัญหาห่วงโซ่อุปทาน

กว่าสองในสามขององค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน เผยว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานในปี 2565 แต่ในขณะเดียวกันก็มีมุมมองในเชิงบวกว่าปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขในปี 2566 นี้

การศึกษาทำความเข้าใจกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยสามารถเตรียมความพร้อมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และส่งมอบประสบการณ์ด้านความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยมทั้งแบบดิจิทัลและทางกายภาพ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ล้ำหน้า ทั้งโซลูชั่นและบริการต่างๆ ได้

ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์มาอย่างยาวนาน ในอดีตการเรียกร้องความเป็นส่วนตัวจะมุ่งเน้นไปที่ความเป็นส่วนตัวทางกายภาพ (Physical Privacy)

เป็น 1 ใน 5 องค์กรชั้นนำระดับโลกที่ได้รับการยอมรับในคุณภาพมานานถึง 2 ทศวรรษ

X

Right Click

No right click