November 22, 2024

ความคาดหวังในอาชีพและการทำงานของคนรุ่นใหม่กำลังเปลี่ยนไป การสำรวจของ Deloitte ระบุว่า คน Gen Z  (61%) และมิลเลนเนียล (58%) เชื่อว่าพวกเขามีพลังในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กรของตนได้

ปารมิตา ประพฤติธรรม จากสายงาน Channel Strategy & Transformation ตัวแทนพนักงานรุ่นใหม่วัย Gen Z ของทรู ที่ผ่านโปรแกรม True Next Gen สร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้ามาช่วยเร่งขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น Telco-Tech Company เธอได้แบ่งปันมุมมอง ความมุ่งมั่น และการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้จริง

นอกจากนี้เธอได้ชวน Sandip Shivaji Landge จากสายงาน S&D Strategy and Performance Management เพื่อนร่วมงานต่างเจเนอเรชั่นที่ผ่านประสบการณ์ทำงานท่ามกลางความหลากหลายมาถึง 15 ปี ใน 3 ประเทศที่มีความแตกต่างอย่างอินเดีย เมียนมา และไทย โดยร่วมแบ่งปันเคล็ดลับการทำงานในสภาพแวดล้อมและผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมกับการสร้างมิตรภาพและการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในชีวิตการทำงานอีกด้วย

จากการทำกิจกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ สู่ความฝันทางการเมือง

“เรามีความฝันชัดเจนว่า อยากทำงานด้านการเมือง โดยได้แรงบันดาลใจจากการเลือกประธานนักเรียนตอนประถมปลาย ได้เห็นว่าการเป็นผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนได้แม้ในเวลานั้นจะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ก็ตาม ประกอบกับเมื่อเข้ามหาวิทยาลัยมีโอกาสได้ทำกิจกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการทำชุมนุมบัญชีที่มีกิจกรรมส่งเสริมให้เพื่อนๆ เข้าใจทางเลือกอาชีพนอกสาขาวิชาเรียน หรือการไปสร้าง Business Model ให้หมู่บ้านใน จ.สุรินทร์ ทำให้ชาวบ้านมีช่องทางหารายได้มากขึ้นจริงและยั่งยืน จากกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เราอยากสร้าง Impact ที่ใหญ่ขึ้น และตอกย้ำแรงบันดาลใจที่อยากเข้าสู่การเมืองมากขึ้นไปอีกด้วย นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ว่า ทักษะการสื่อสารกับคนที่หลากหลายเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งเราต้องสะสมทักษะนี้ไว้ให้มากที่สุด”

จุดเปลี่ยนสู่การค้นหาตัวเอง และกล้าเสี่ยงกับทางที่เลือก

“ตอนอยู่ปี 2 เราเริ่มรู้สึกว่าไม่ได้อยากทำงานตรงสายการบัญชี (Accounting) ที่กำลังเรียนอยู่ แต่เรามีความสนใจด้านธุรกิจที่กว้างกว่านั้น และยังอยากสำรวจความชอบของตัวเองให้แน่ใจ เราได้ปรึกษากับรุ่นพี่ รวมถึงผู้ใหญ่หลายท่านว่าเราควรเลือกทำงานอะไรดี รวมถึงถามเรื่องแนวคิดในการดำเนินชีวิตด้วย เราเก็บข้อมูลจากมุมมองที่หลากหลาย พร้อมกับพาตัวเองไปฝึกงานในหลายตำแหน่งงานและหลายแวดวง ทั้ง สตาร์ทอัพ HR Consultant ไปจนถึงการบัญชี และทำกิจกรรมแข่งขันเคสธุรกิจต่างๆ ด้วย”

“เราเข้าใจดีว่า ถ้าทำงานในสายการบัญชี จะมีงานที่มั่นคงไปตลอดชีวิต แต่เราไม่อยากเสียเวลากับงานที่รู้ว่าไม่ใช่ และอยากใช้ช่วงชีวิตที่ยังตื่นตัวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ และมี Passion เต็มเปี่ยมไปค้นหาสิ่งที่ชอบ แม้จะรู้ว่ามีความเสี่ยงเยอะกว่า หรือสุดท้ายอาจหาตัวเองไม่เจอเลยก็ได้ แต่เมื่อได้ไตร่ตรองจนตกตะกอนแล้ว สุดท้ายเราขอลองเสี่ยงดูดีกว่า”

ประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายในโปรแกรม True Next Gen

“พอเรียนจบเราได้ผ่านการทดสอบเข้ามาในโปรแกรม True Next Gen ซึ่งตอบโจทย์เรามาก เพราะเปิดโอกาสให้ได้ทำงานหลายตำแหน่งหลายสาขา ได้เรียนรู้หลายอย่าง ประกอบกับทรู ที่กำลังมุ่งสู่การเป็น Telco-Tech Company น่าจะมีการสร้างนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งเราอยากเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนั้น ในเวลา 1 ปีครึ่ง เราได้ทำงานถึง 3 สายงาน ตั้งแต่งาน Retail Operations ของ True Shop สาขาต่างๆ งาน Financial Strategy ที่ MorDee และงาน Channel Profitability Analysis กับทีม Finance ทุกงานเราได้ลงมือทำจริง ทำให้ Learning Curve สูงมาก ทั้งการทำงานกับผู้คนและตัวเนื้องานต่างๆ เอง”

“พอจบโปรแกรมก็ได้ทำงานในสาย Channel Strategy & Transformation โดยสานต่องานโปรเจกต์ Channel Profitability ที่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงการบริหารจัดการ ที่นำ Performance ของแต่ละ Channel การขายของบริษัทมาวิเคราะห์แยกย่อยให้เห็นความสามารถในการทำกำไรแท้จริงของแต่ละช่องทางการขาย ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมข้อมูลยิบย่อยของภาพเล็ก มาสู่การวิเคราะห์เป็นภาพใหญ่ ผลลัพธ์ที่ออกมาทำให้แต่ละช่องทางการขายนำไปสร้างกลยุทธ์ที่แก้ไขปัญหาหรือริเริ่มสิ่งใหม่ในการทำกำไรมากขึ้น งานนี้ได้ทั้งความรู้และได้ทำงานร่วมกับคนเยอะมากจากหลากหลายฝ่าย ตอนนี้ก็ใกล้สำเร็จแล้ว”

การทำงานท่ามกลางความหลากหลายไม่มีสูตรสำเร็จ

“การที่เราอายุน้อย เราพยายามหาโอกาสสร้างสัมพันธ์กับพี่ๆ ทุกคน โดยไม่ใช่แค่เรื่องงานเท่านั้น เราลองหาว่าจะคุยเรื่องไหนที่มีความสนใจร่วมกันบ้าง และพยายามหาโอกาสมานั่งทำงานและใช้เวลาร่วมกันแบบ Face to Face เสมอ ที่ผ่านมาเราเคยใช้การสื่อสารหรือวิธีการทำงานแบบเดียวกันที่คิดว่าใช้ได้กับทุกคน แต่สุดท้ายได้เรียนรู้ว่า แต่ละคนมุมมองแตกต่าง มี Mindset หรือการมองโลกคนละแบบ ดังนั้นการสื่อสารหรือทำงานกับแต่ละคนจึงไม่มีสูตรสำเร็จในแบบเดียว เราต้องเข้าใจแต่ละคน ไปพร้อมกับการหาวิธีที่เราก็ไม่เสียความเป็นตัวเองด้วย”

“ข้อดีของการที่เราเป็นเจเนอเรชั่นใหม่คือ เรามีมุมมองที่แปลกใหม่ มีความกระตือรือร้น และมาพร้อมรอยยิ้มเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งต่อไปยังคนรอบข้าง พี่ๆ เคยบอกว่าการที่เราเข้ามาในทีมทำให้ทุกคนสดใสขึ้น ลดความเครียดได้ และเสริมความสัมพันธ์ในทีมได้ สำหรับเราที่เป็นเด็ก ก็ไม่มีอีโก้อะไร ไม่มีอะไรจะเสียที่เราจะเสนอสิ่งใหม่ หรือแม้แต่ถามหรือขอเรียนรู้งานจากทุกคนได้”

มีความสบายใจในทุกด้าน เพื่อทำงานในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดของตัวเอง

“ชีวิตคนเราทุกวันนี้มีความวุ่นวายในหลายด้านมากๆ การที่เราจะมีสมาธิในการทำงาน ทุ่มเทงานได้เต็มที่เต็มความสามารถ มาจากการที่ไม่ต้องกังวลเรื่องอื่นๆ ในชีวิตมากนัก ยิ่งวัยทำงานก็จะมีทั้งเรื่องลูก พ่อแม่ที่อายุมากขึ้น หรือแม้แต่ความเจ็บป่วยของตัวเอง สวัสดิการต่างๆ ที่บริษัทจัดให้จึงมีความสำคัญอย่างมาก ถ้าบริษัทมีสวัสดิการที่รองรับปัญหาชีวิตนอกการทำงานของพนักงานได้ มองกว้างไปกว่าเรื่องงาน คิดว่าตรงนี้ก็ช่วยให้ทุกคนทำงานได้เต็มที่ เต็มศักยภาพมากที่สุดได้”

พูดคุยเรื่องการทำงานกับเพื่อนร่วมงานต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม และต่างเจเนอเรชั่น

ปารมิตา: “ในทีมที่เราทำงาน มีความหลากหลายในแทบทุกด้าน อย่างคุณ Sandip ก็เป็นเพื่อนร่วมงานที่มีความแตกต่างจากเรา เขาให้คำแนะนำดีๆ หลายอย่างจากความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีประสบการณ์ทำงานในหลายประเทศมาก่อน”

Sandip: “ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ผมทำงาน 3 ประเทศในสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาก เริ่มจากการทำงานกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ใน 5 รัฐของอินเดีย ที่แต่ละรัฐก็มีความแตกต่างทั้งภาษาและวัฒนธรรมอยู่แล้ว ต้องปรับตัวใหม่ทุกอย่าง ต่อมาก็ย้ายไปทำงานที่เมียนมาซึ่งมีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างมากเช่นกัน ผมเริ่มต้นบุกเบิกกับคนที่ไม่มีพื้นฐานงานด้านโทรคมนาคมมาก่อน ความท้าทายที่เพิ่มมาคือสอนให้พวกเขาเข้าใจธุรกิจไปด้วย และปัจจุบันผมทำงานประเทศไทยได้ 2 ปีครึ่งแล้ว ที่ผ่านมามีเดินทางไปทำงานที่นอร์เวย์บ้าง ทั้งหมดนี้เป็นการเดินทางที่ท้าทาย ได้พบเจอผู้คนที่แตกต่าง เรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งสนุกและตื่นเต้น”

ปารมิตา: “สำหรับเราช่วงแรกที่ทำงานกับคนต่างชาติ ก็รู้สึกว่ามีอุปสรรคเรื่องภาษาบ้าง แต่ก็สัมผัสได้ว่า เขาไม่เคยโฟกัสเรื่องแกรมมาร์ถูกหรือผิด เขากลับพยายามที่จะเข้าใจเรา ช่วยเรา ทั้งที่พวกเขาก็มีตำแหน่งที่สูงมาก หรือมีประสบการณ์ทำงานเยอะกว่าเรามาก เขายังอยากเรียนรู้และเข้าใจเรา อย่างคุณ Sandip ก็ให้คำแนะนำที่ดีมาก ดังนั้นเราก็กล้าที่จะพูดคุย ส่วนเรื่องวิธีการทำงาน เรารู้สึกว่าถ้ามีอะไรก็บอกตรงๆ เขาก็ช่วยจัดให้เลย”

Sandip: “ผมคิดว่าช่วงแรกๆ เพื่อนร่วมงานคนไทยหลายคนก็คล้ายกับปารมิตา คือยังไม่เปิดใจพูดคุยกัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอุปสรรคด้านภาษาและความแตกต่าง แต่ผมพยายามสร้างมิตรภาพ ให้ทุกคนมองว่าผมเป็นเพื่อน ไม่สร้างแรงกดดันเพิ่มเติมว่าผมเป็นชาวต่างชาติ ที่จะกลายเป็นข้อจำกัดและระยะห่างได้ สิ่งสำคัญคือการทำตัวผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทย ทำเหมือนกับที่ทุกคนทำ พร้อมไปกับทำความรู้จักกัน ให้ทุกคนมั่นใจว่าทุกอย่างไม่ใช่อุปสรรค ถึงพูดภาษาอังกฤษสื่อสารไม่คล่อง เราก็เรียนรู้ภาษาท่าทางได้ และแสดงว่าผมเปิดใจกว้างให้กับทุกคนสามารถเข้ามาคุยกันได้ทุกเมื่อ”

“และเคล็ดลับหนึ่งของผมคือ การมีช่วงเวลาพักและดื่มกาแฟด้วยกัน เพื่อให้มีโอกาสที่จะพูดคุยเรื่องต่างๆ นอกเหนือจากงาน ผมเชื่อว่า ถ้าให้เวลาพักสักนิด จะทำให้คุณใกล้ชิด เข้าใจกันและกันมากขึ้น และแสดงออกได้ดีขึ้น ส่งผลให้งานดีขึ้นเช่นกัน”

ปารมิตา: “เคล็ดลับนี้ของคุณ Sandip เราได้นำไปใช้กับเพื่อนร่วมงานไทย และพบว่ามันได้ผลดีมากด้วยเหมือนกัน การที่เขามีมิตรภาพที่ดี ทำให้เราไม่ปิดกั้นตัวเองที่จะพูดคุย ที่ผ่านมาเราได้ขอคำแนะนำ ความคิดเห็นเกี่ยวกับงาน มุมมองการใช้ชีวิต และทักษะความรู้ทางธุรกิจจากคุณ Sandip เสมอ รวมถึงเรียนรู้วิธีการทำงานกับความหลากหลายต่างๆ ด้วย”

Sandip: “ปารมิตาเป็นเพื่อนร่วมงานที่อายุน้อยที่สุดในทีม แต่เธอสามารถเข้าใจความต้องการของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และปรับตัวให้เข้ากับทีมได้ดี ผมยกย่องคนที่แสดงความสนใจและทำความเข้าใจกับงานอย่างลึกซึ้ง ผมรู้สึกว่าคนรุ่นใหม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำความเข้าใจและทำสิ่งที่แปลกใหม่ พวกเขาไม่ยึดติดกับแนวทางเดิมๆ พยายามเป้าหมายและวิธีที่แตกต่างออกไป ผมก็เชื่อเช่นกันว่า ถ้าไม่คิดต่างก็ยังคงได้ผลลัพธ์เดิมๆ ดังนั้นแม้จะมีความแตกต่างของวัย แต่เราเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีที่สุดต่อกัน”

Lesson Learned: การทำงานท่ามกลางความหลากหลายด้านวัย เชื้อชาติ และวัฒนธรรม

  • Building Relationships: สร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน หาโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากเรื่องการทำงาน
  • Adaptability and Learning: การเปิดใจเรียนรู้รับฟังความที่หลากหลาย และปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ช่วยให้ทำงานได้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
  • Effective Communication: รับฟังและเข้าใจมุมมองของผู้อื่น พร้อมสื่อสารเข้าใจง่าย ชัดเจน รวมถึงพยายามสื่อสารแบบ Face to Face เพื่อเพิ่มความเข้าใจจากบริบทและท่าทาง จะช่วยให้ทำงานร่วมกันได้ราบรื่น

ทรู คอร์ปอเรชั่น เชื่อว่าความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเพศ วัย อายุ เชื้อชาติ ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ โดยในเดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลาย (Pride Month) ทรู แสดงจุดยืนในการสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียม จากการผสานความแตกต่าง โอบรับความหลากหลายของทุกคนในทุกมิติ และกล้าแสดงความเป็นตัวเอง ผ่านแคมเปญ #BringYourBest เพราะที่ทำงานคือพื้นที่ให้เราได้เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด พร้อมนำเสนอเรื่องเล่าของคนทรู ที่สะท้อนความแตกต่างหลากหลายและเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพและความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง

ผนึก HPE Aruba หนุนภาคธุรกิจ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน Wi-Fi ง่าย-เร็ว-ประหยัด

ประสบการณ์ชีวิตของนักทำคอนเทนต์ที่เติบโตจากการเผชิญหน้ากับความกลัว ความท้าทาย และขีดจำกัดของตัวเอง

พร้อมถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์อย่างเป็นทางการ ผ่าน ทรูวิชั่นส์ และแอปฯ ทรูวิชั่นส์ นาว (ใหม่) ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. - 11 ส.ค. 2567

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ยักษ์ใหญ่วงการไอทีของโลกอย่าง Microsoft และ LinkedIn ได้เปิดเผยรายงาน 2024 Work Trend Index Annual Report โดยระบุว่า ปีนี้ถือเป็นปีแห่งการใช้งาน AI ให้เกิดผลลัพธ์ในการทำงานอย่างแท้จริง (The Year AI at Work Gets Real) โดยพบว่า จากการสำรวจความเห็นพนักงาน 31,000 คน ใน 31 ประเทศ พวกเขามีความตื่นตัวต่อการใช้งาน AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้งานหลายครั้งต่อสัปดาห์ ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ที่สำคัญ AI ช่วยเพิ่มศักยภาพ-ขยายเพดานการประกอบอาชีพ

เช่นเดียวกับ สถานการณ์ที่ “ทรู คอร์ปอเรชั่น” กับเป้าหมาย Telco-Tech Company ขับเคลื่อนผ่านกลยุทธ์ AI-First Organization โดยภายในงาน AI Gets Real ได้มีการเปิดเผยถึง ความก้าวหน้าและพัฒนาการในการใช้ AI ในงานบริการลูกค้าผ่านผู้ช่วยบริการลูกค้า “มะลิ” (Mari) ซึ่งเป็นการทำงานแบบ Cross-Functional นำโดย ปิยะพันธุ์ นาคะโยธิน หัวหน้าสายงานด้านบริการลูกค้า และ บัณฑิต แพงป้อง หัวหน้าสายงานด้านไอทีและความปลอดภัย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

มะลิ 3.0 ฉลาดขึ้น-เป็นมนุษย์ขึ้น

ปิยะพันธุ์ อธิบายว่า ด้วยเป้าหมายสู่การเป็น Telco-Tech Company โดยหนึ่งในกลยุทธ์หลักคือ Customer Centricity ทรู จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวระบบบริการลูกค้าผ่านผู้ช่วยออนไลน์ “มะลิ” ตั้งแต่ปี 2557 และพัฒนาต่อเนื่อง ขยายขีดความสามารถมาเป็นรูปแบบแชทที่่มีเทคโนโลยี AI อยู่เบื้องหลัง

บัณฑิต เผยเบื้องหลังการพัฒนามะลิว่า ด้วยการพัฒนาของ AI ที่ล้ำหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะ Generative AI ในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้มะลิ 3.0 มีศักยภาพที่สูงขึ้น การตอบโต้-ปฏิสัมพันธ์ใกล้เคียงพนักงานที่เป็นมนุษย์มากขึ้น ครอบคลุมทั้งระบบแชท (chatbot) และระบบเสียง (voicebot) ทำให้มะลิเวอร์ชั่นใหม่นี้มีความสามารถในการแสดงผลข้อมูลให้เข้าใจโดยง่ายผ่านทาง “เสียงและตัวหนังสือ” ตัวอย่างเช่น การแสดงผลข้อมูลเปรียบเทียบดีไวซ์ (Devices) หรือแพ็คเกจ มะลิจะแสดงผลผ่านรูปแบบตัวหนังสือและตารางทาง chatbot ทำให้ลูกค้าสามารถเห็นข้อมูลแบบองค์รวม และตัดสินใจง่ายขึ้น

“มะลิเวอร์ชั่นใหม่มีความใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น เข้าใจบริบททางภาษาที่ซับซ้อนมากขึ้น ฉลาดและแม่นยำ นำเสนอบริการได้อย่างถูกต้องมากขึ้น” ปิยะพันธุ์ กล่าว พร้อมเล่าเสริมว่า เดิมที ทีมคอลเซ็นเตอร์มีการใช้ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ IVR (Interactive Voice Response) ในการสนองตอบคำขอของลูกค้าผ่านการกด “เลขหมาย” บนโทรศัพท์ แต่ระบบยังกล่าวมีข้อจำกัดทางด้านการนำเสนอความหลากหลายของบริการ รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการทำธุรกรรมที่ค่อนข้างนาน ซึ่งมะลิได้เข้ามาทลายข้อจำกัดดังกล่าว พร้อมขยายขีดความสามารถการบริหารจัดการความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วมากขึ้น

ความก้าวหน้าของมะลิ 3.0 สอดรับกับเทรนด์การตลาดในปัจจุบันที่ลูกค้ามีความต้องการมากขึ้น ขณะเดียวกัน การแบ่งกลุ่มลูกค้าก็มีลักษณะแยกย่อยลงไปในระดับ nano-segmentation จนถึง hyper-personalization ที่ตอบสนองความต้องการในระดับปัจเจกบุคคล

ข้อควรระวังจาก AI

แม้ Gen AI ได้เข้ามาปฏิวัติการทำงาน ขยายขีดความสามารถ แต่หัวหน้าสายงานด้านไอทีและความปลอดภัยของทรู ก็ระบุถึงข้อควรระวังในการพัฒนา ดังนี้

  1. ด้วยบทบาท “ผู้ช่วย” แก่ลูกค้าและพนักงาน มะลิจึงมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลลูกค้า ฉะนั้น การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลบาลข้อมูลและเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
  2. มะลิจะต้องสามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจนเท่านั้น หาก AI เกิดความไม่มั่นใจ คำขอนั้นจะถูกส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นมนุษย์ทันที เนื่องจากความเป็นไปได้ของปัญหาที่เกิดจาก “อาการหลอนของ AI” (AI Hallucination) ทำให้ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ได้ไม่สมเหตุผลหรือผิดพลาดได้ ซึ่งหากไม่ตรวจสอบก็อาจมีผลทางลบต่อการแก้ไขปัญหาแก่ลูกค้าได้
  3. การทำงานของมะลิในรูปแบบ voicebot ยังคงมีข้อจำกัด หากสภาพแวดล้อมทางเสียงไม่เอื้ออำนวย ก็อาจทำให้มะลิเกิดความสับสนและไม่เข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ voicebot ยังคงถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังมีการใช้งานในวงจำกัด โดยทรูถือเป็นผู้ให้บริการรายเดียวในธุรกิจโทรคมนาคมที่ให้บริการดังกล่าว และจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อไป

ผลกระทบของ AI กับบทบาทที่เปลี่ยนไปของมนุษย์

บัณฑิต ยอมรับว่า วิวัฒนาการและบทบาทที่มากขึ้นของ AI ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของคนในสายงานบริการลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญ โดย “มะลิ” อยู่ในทุกกระบวนการทำงาน เกิดเป็น “กระบวนการภายใน” (internal process) ที่ทุกแผนกมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยแผนกบริการลูกค้าเป็นแม่งานในการออกแบบระบบ แผนกการตลาดใช้ประโยชน์จากมะลิในการทำ personalization แผนกไอทีคอยป้อนข้อมูลให้มะลิได้เรียนรู้และเก่งขึ้นทุกๆวัน แผนกโครงข่ายนำ AI มาช่วยต่อยอดโครงข่ายอัจฉริยะ โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด

เพราะทรูเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี AI จึงได้ลงทุนนำ ChatGPT Enterprise มาให้พนักงานได้ทดลองใช้และเรียนรู้ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกๆ มีการอัพเกรดโปรแกรมต่างๆ ให้เป็น AI-powered version พร้อมทั้งลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์​ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานและประมวลผล AI

ปิยะพันธุ์ กล่าวเสริมว่า อิทธิพลของ AI ต่อฟังก์ชั่นการทำงานที่มีมากขึ้น ทำให้พนักงานต้องรีสกิล (reskill) ดังเช่น กรณีพนักงานบริการลูกค้าที่จะเปลี่ยนบทบาทสู่ผู้พัฒนามะลิให้สามารถดูแลและเข้าใจลูกค้าได้ดีขึั้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีลูกค้าอีกหลายเซ็กเม้นท์ (segment) ที่ยังต้องการพนักงานที่เป็นมนุษย์ในการดูแลอยู่

“หากพิจารณาให้ดี หน้าที่ที่แท้จริงของมะลิคือการเป็น ‘ผู้ช่วย’ หรือ co-pilot ในการให้คำแนะนำแก่พนักงาน แทนที่การเข้าหาระบบที่ซับซ้อน ช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการ มีมาตรฐาน และลด human errors (ความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์)” ปิยะพันธุ์ อธิบาย

ก้าวถัดไปของมะลิ

“เพราะลูกค้ามีความต้องการไม่เหมือนกัน ทรูจึงมีแผนในการพัฒนาให้ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น เช่น ในกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุที่ต้องปรับให้มีการใช้คำที่ง่ายขึ้น เสียงนุ่มนวลน่าฟัง พูดช้าลง โดยมะลิจะปรับวิธีการสื่อสารกับลูกค้าแต่ละกลุ่มด้วยตัวเอง ถือเป็นกระบวนการ Self-Learning ประเภทหนึ่งของ AI” ปิยะพันธุ์ เผย

ด้านบัณฑิต กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากความต้องการที่ให้มะลิเก่งเรื่องบริการลูกค้าแล้ว ทีมยังต้องการให้มะลิมีความรู้ความเข้าใจด้านโครงข่าย โดยมีแผนที่จะอินทิเกรต AI 2 ชุดที่มีข้อมูลลูกค้าและข้อมูลโครงข่ายเป็นฐานให้มะลิได้เข้าถึง เรียนรู้ และพัฒนา ซึ่งภายหลังข้อมูลจาก AI 2 ชุดดังกล่าวได้ทำงานร่วมกัน ก็จะทำให้เเกิดบริการใหม่ๆ และมะลิก็จะเข้าใจ ตอบคำถาม และแก้ไขปัญหาโครงข่ายให้ลูกค้าได้อีกด้วย

“โดยปกติ เมื่อลูกค้าสอบถามถึงความปกติการใช้งานโครงข่าย พนักงานจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากต่อการสืบทราบถึงปัญหาที่แท้จริงในระยะเวลาที่จำกัด แต่เมื่่อมีการรวม AI 2 ชุด มะลิจะนำเอาข้อมูลจากหลายแหล่งมาวิเคราะห์ ระบุถึงต้นตอปัญหา พร้อมวิธีการแก้ไข ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว” บัณฑิต ระบุ

ปิยะพันธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ท่ามกลางความต้องการลูกค้าที่มีมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มะลิจะช่วยให้ลูกค้าจะมีประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น เข้าใจปัญหา พร้อมหาทางแก้ไขภายใต้ระยะเวลาที่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงความต้องการแบบ personalization

ทั้งนี้ มะลิ 3.0 นี้ได้เริ่มทยอยทดลองใช้งานกับลูกค้ากลุ่มที่คุ้นเคยและใช้งานมะลิอยู่แล้ว และกำลังจะขยายผลต่อไป

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click