งานฟุงานฟุตบอลประเพณีสุดยิ่งใหญ่ สืบสานมายาวนาน ส่งต่อรุ่นพี่สู่รุ่นน้องมาหลายทศวรรษ พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากหยุดการจัดงานมานานกว่า 5 ปี กับการหวนคืนการแข่งขันที่มีประวัติมายาวนานเพื่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีกับ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 พร้อมปลุกพลังในตัวเองกับแมทซ์หยุดโลก!!! ประกาศความพร้อมในทุกส่วนของงานฟุตบอลประเพณีในครั้งนี้ตบอลประเพณีสุดยิ่งใหญ่ สืบสานมายาวนาน ส่งต่อรุ่นพี่สู่รุ่นน้องมาหลายทศวรรษ พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากหยุดการจัดงานมานานกว่า 5 ปี กับการหวนคืนการแข่งขันที่มีประวัติมายาวนานเพื่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีกับ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 พร้อมปลุกพลังในตัวเองกับแมทซ์หยุดโลก!!! ประกาศความพร้อมในทุกส่วนของงานฟุตบอลประเพณีในครั้งนี้
พร้อมร่วมกันสร้างความเป็นหนึ่งของชาวธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ปลุกพลังนิสิตทุกรุ่นทุกสมัย ให้มาเจอกันในนัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงอยู่คู่ประเทศไทยมาหลายช่วงยุคสมัย โดยจะกลับมาสร้างความทรงจำครั้งใหม่อีกครั้ง ซึ่งในปีนี้ทางสมาคมธรรมศาสตร์ฯ เป็นเจ้าภาพ สลับกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพในครั้งที่ผ่านมา โดยการจัดงานครั้งนี้ทั้งสองสถาบันได้มีการกำหนดรูปแบบงานที่ยังคงรักษาความยิ่งใหญ่ อลังการ พร้อมรวมความสุข สนุกบันเทิง สะท้อนถึงความรักความสามัคคี รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกัน
นายลวรรณ แสงสนิท ประธานกรรมการดำเนินงานการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ครั้งที่ 75 กล่าวถึงภาพรวมในงานปีนี้ว่า หากพูดถึงกีฬาของสองสถาบันการศึกษาที่อยู่คู่กันมายาวนานกว่า 90 ปี ก็ต้องคิดถึงการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ที่ห่างหายการจัดงานไปนานกว่า 5 ปี โดยเราพร้อมที่จะจัดงานขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ 75 โดยการเตรียมงานจากความรัก ความสามัคคี ของนิสิตนักศึกษาที่เป็นปัญญาชนของทั้งสองสถาบันทุกคนที่พร้อมสื่อสารผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการแปรอักษร, ขบวนพาเหรด เพื่อให้สังคมได้รับรู้และเห็นถึงความตั้งใจ ทั้งในด้านการกีฬา, กองเชียร์ ตลอดจนการแสดงทางความคิดเชิงสร้างสรรค์ของเส้นทางการเมือง-การปกครองของประเทศชาติ ผ่านการจัดงานในครั้งนี้
“การแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ที่ห่างหายไปนาน โดยมีนักศึกษาบางรุ่นไม่เคยได้สัมผัสงานนี้ ได้กลับมาสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้ง เราคาดว่าในทุก ๆ กิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นในปีนี้จะต้องยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยอุปกรณ์การเชียร์จะทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ในปีนี้เราตั้งใจทำการแปรอักษรให้ออกมาดีที่สุด เพราะการแปรอักษรถือเป็นเอกลักษณ์ และเสน่ห์ของงานฟุตบอลประเพณี และอีกเสน่ห์ของการแปรอักษรก็คือการที่มีการตอบโต้ระหว่างกันของทั้งสองสถาบัน ผ่านนิสิตนักศึกษามาแปรอักษรจริง ไม่ใช่การแปรอักษรรูปแบบดิจิทัล ซึ่งในปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่ายินดีที่ทางจุฬาจะเน้นการนำเสนอรูปแบบความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่มีอิสระโดยมีรุ่นพี่ คอยให้คำปรึกษากับรุ่นน้องในการทำงานแต่ละภาคส่วน จึงอยากขอเชิญชวนทุก ๆ ท่านมาพบกันในงานฟุตบอลธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 นี้ครับ”
ทั้งนี้ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” การแข่งขันที่เป็นไปตามประเพณีดั้งเดิมที่มีมายาวนานระหว่างนักกีฬาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นการแข่งขันที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประเพณีในวงการศึกษาของไทย จัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477ทซึ่งนอกจากจะเป็นการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังถือเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาวิทยาลัย และมีความสนุกสนานในส่วนของการเชียร์จากผู้ชมที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานด้วย
โดย “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 นี้มีการออกแบบเสื้อฟุตบอลประเพณีโดย นายภูริทัต ชูชัยยะ คณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ผู้ชนะการประกวดแบบเสื้อเชียร์จุฬาฯ ภายใต้แนวคิด “The Time of Tapestry: อดีต อนาคตของปัจจุบัน” ผ่านการดีไซน์ที่ผสมผสานระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ได้อย่างลงตัว
งานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 75 ทุกท่านฯ สามารถมาร่วมงาน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ได้ พร้อมกับนิสิต ทั้งรุ่นพี่ที่จบการศึกษาไปแล้ว และกำลังศึกษาอยู่ ที่จะมาพบกัน อีกหนึ่งสีสันที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ ทีมผู้นำเชียร์แห่งธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์ ปีนี้พร้อมมาก ฟาดแรง ไม่ยั้ง !!! #TEAMCHULA #TEAMTHAMMASAT พร้อมใจส่งแรงเชียร์ ให้ดังกึกก้องไปทั้งสนาม!!! ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ในวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัย ประตูเปิดเวลา 12.00 น. เป็นต้นไป
ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีการกำหนดรอบของการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยอยู่เป็นระยะๆ อย่างน้อยทุกๆ 5 ปี แต่สำหรับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Business School :TBS) เชื่อว่าโลกของความรู้ ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา ยิ่งเป็น MBA ยิ่งต้องพัฒนาไปให้ไว เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้เรียน สำหรับนำไปใช้ในการบริหารดำเนินธุรกิจ การทำงานในยุคปัจจุบันให้มากที่สุด
ทั้งนี้ ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยถึงหลังแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง ว่า TBS ยึดหลัก Customer Centric มาตลอด ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในการกำหนดและพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนให้ได้มากที่สุด
ปัจจุบันผู้ที่สนใจเข้ามาเรียน MBA จะมีอยู่ 3 กลุ่มหลักๆ กลุ่มแรกคือ พนักงานทั่วไปที่มีความฝันอยากเป็นผู้ประกอบการ โดยลักษณะของคนกลุ่มนี้คือ ทำงานอยู่ในฟังก์ชันของตัวเอง เช่น บัญชี วิศวกร เทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในงานของตัวเองแต่ยังขาดทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นเมื่ออยากเปิดบริษัทของตัวเอง อยากทำธุรกิจ อยากทำสตาร์ตอัป ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ก็จะเลือกเข้ามาเรียนรู้ที่ MBA เพราะเป็นหลักสูตรที่จะช่วยให้เริ่มเข้าใจถึงองค์ประกอบของการทำธุรกิจ ต้องมีฟังก์ชันอะไรบ้าง โดยผู้เรียนก็จะได้เรียนรู้ในทุกวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ จบไปก็สามารถเป็นผู้ประกอบการได้
ถัดมาใน กลุ่มที่สองคือ ผู้คนที่อยากเปลี่ยนสายงาน ยกตัวอย่างเช่น เรียนจบปริญญาตรีมาทางด้านวิศวกร แต่เมื่อทำงานไปสักระยะ เริ่มรู้สึกสนใจในงานด้านอื่น อย่าง การเงิน การตลาด ฯลฯ แต่จะเปลี่ยนงานไปเลยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยังขาดทักษะและประสบการณ์ ดังนั้นจึงเข้ามาเรียน MBA เพื่อศึกษาว่าถ้าเปลี่ยนสายงาน หรือ ธุรกิจที่สนใจอยากทำ ควรต้องมีความรู้มีอย่างไรบ้าง และค่อยเจาะลึกเข้าไปจนเกิดความเชี่ยวชาญ เช่น อยากทำด้านการเงิน ในปีหนึ่งของหลักสูตร MBA ก็จะได้เรียนพื้นฐานทั้งเรื่องของ Finance Marketing Human resources ฯลฯ พอปีสองถ้าสนใจการเงินจริง ๆ ก็สามารถเลือกวิชาการเงินโดยเฉพาะได้ ซึ่งพอเรียนรู้ก็จะมีทั้งทักษะ และประสบการณ์ด้านการเงิน สามารถขยับขยายเปลี่ยนสายงานได้ตามที่ตั้งใจไว้
กลุ่มที่สาม คือ คนทำงานที่ไม่ได้อยากเปลี่ยนสายงาน แต่อยากเติบโตขึ้นไปอีกระดับในองค์กรที่ทำ คือในแง่ของการทำงานต้องยอมรับว่า ถ้าอยากขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้นในสายงานที่ทำอยู่ เรื่องความรู้ทักษะในการบริหารเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เช่น เรียนจบมาแล้วทำงานวิศวกร การจะขึ้นเป็นระดับ Manager Director จะดูเฉพาะข้อมูลของวิศวกรไม่ได้ แต่ต้องรู้จักเรื่องของบัญชี การบริหารดูแลคนในทีม ดังนั้นเพื่อเพิ่มทักษะการมาเรียนต่อปริญญาโท มาเรียน MBA ก็เป็นอีกทางที่ทำให้เติบโตขึ้นไปได้อีก
ดังนั้น ทุกครั้งที่ TBS มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาหลักสูตร จะทำโดยคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ของผู้เรียนที่จะได้รับมาก่อนเสมอ โดยมีทั้งสัมภาษณ์ผู้เรียนว่าต้องการทักษะ หรือความรู้ด้านไหน และพูดคุยกับองค์กรบริษัทชั้นนำในไทย และต่างประเทศที่เป็นพันธมิตร ว่าต้องการคนทำงานที่มีทักษะแบบไหน และขอความคิดเห็นจากศิษย์เก่าว่าหลักสูตรที่สอนสามารถนำไปใช้งานได้จริง หรืออยากให้ปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบใดบ้าง ร่วมถึงแลกเปลี่ยนมุมมองการเรียนการสอนกับสถาบันการศึกษาทางด้าน MBA ในต่างประเทศ เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการศึกษาในไทย เรียกได้ว่าการปรับการพัฒนาหลักสูตรทำขึ้นจากสถานการณ์ของโลกการทำธุรกิจ ณ ปัจจุบันและรับเทรนด์ในอนาคตไปพร้อมกัน
หลักสูตรทันสมัย ถ่ายทอดจากตัวจริงในสนามธุรกิจ
โลกธุรกิจมาเร็วเปลี่ยนไว การเรียนการสอนเรื่องของบริหารธุรกิจ ให้กับผู้เรียนที่อยู่ในวัยทำงานที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว กลายเป็นความท้าทายของ TBS ที่ “ศ.ดร.นภดล” ยอมรับว่าหลักสูตรของที่นี่ต้องแน่นและทันสมัย ที่สำคัญผู้สอนในคณะของ MBA ต้องมีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญที่เหนือกว่าไปอีกระดับ
“อาจารย์ในภาค MBA มี 2 ภาคส่วนสำคัญ คือ อาจารย์ประจำ ซึ่งคณะอาจารย์ส่วนใหญ่ เป็นที่ปรึกษาให้กับภาคธุรกิจ บริษัทใหญ่ ๆ ดังนั้นจึงเข้าใจแนวทางกระบวนการทำธุรกิจในแต่ละยุคสมัยอย่างเข้มข้น ส่วนที่สองคือ กลุ่มของอาจารย์พิเศษ ซึ่งเป็นทั้ง CEO หรือ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท หรือผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ทางคณะเชิญเข้ามาร่วมบรรยายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสอนในหลักสูตร MBA ทางอาจารย์ก็สอนสิ่งที่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งทักษะ ความรู้ในการบริหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ AI หรือ ESG ฯลฯ คือผู้เรียนได้เห็นทั้งภาพการบริหารธุรกิจทั้งในวันนี้ และอนาคต
อย่างวันนี้ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจ เมื่อหลักสูตร MBA สอนให้คนเป็นผู้ประกอบการ เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ ความรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ AI จำเป็นต้องมี เพราะเป็นเครื่องมือที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะเข้ามาอยู่ในธุรกิจ ซึ่งสิ่งที่ TBS ทำไม่ใช่พัฒนาหลักสูตร AI ขึ้นมาโดยเฉพาะ แต่ปัจจุบัน ในหลายวิชาก็จะมีการแทรก เครื่องมือนี้เข้าไปอยู่แล้ว ทางคณาจารย์ก็จะพูดถึง AI ว่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร จะแทรกเรื่อง AI เข้าไปอยู่แล้วในบริบทของวิชาตัวเองที่สอนอยู่แล้ว
หรือ การเพิ่มรายวิชาที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดอย่าง CEO Vision ก็เกิดขึ้นจากแชร์ไอเดียร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับ TBS ที่ต่างเชื่อตรงกันว่า Vision คือหนึ่งในหัวใจของการบริหารธุรกิจให้โตได้อย่างแข็งแรง ซึ่งคนที่จะมาพูดเรื่องราวนี้ได้ดีที่สุด ก็คือ CEO หรือผู้นำองค์กร อย่างเวลาที่เจอวิกฤตทำอย่างไร นำพาองค์กรไป พลิกฟื้นขึ้นมา การทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง จึงได้สร้างวิชานี้ขึ้นมา โดยเชิญ CEO จากทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำองค์กรเอกชน ภาครัฐ เข้ามาร่วมบรรยาย ในบางครั้งก็มีการพานักศึกษาไปดูงานถึงบริษัทเลย
แลกเปลี่ยนความรู้ เพิ่มทักษะการบริหารรอบด้าน
นอกเหนือจากเรื่องของหลักสูตรแล้ว จุดเด่นที่สำคัญของ MBA ของมธ. ที่ต่างไปจากที่อื่น ๆ คือ เรื่องของรูปแบบการเรียนการสอนที่ชัดเจน ตั้งแต่ต้นทางคือ กำหนดเกณฑ์ผู้เข้าเรียนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ที่ทำเช่นนี้เพราะผู้เรียนจะได้รับทั้งความรู้จากหลักสูตร และความรู้จากการแชร์ประสบการณ์ร่วมกันของผู้เรียนด้วยกันเอง
ซึ่งเรื่องนี้ “ศ.ดร. นภดล” ย้ำว่าสำคัญมาก “การก้าวไปเป็น CEO ในบริษัท ย่อมเจอคนหลากหลายไม่ได้เจอคนกลุ่มเดียว เจอนักบัญชี วิศวกร สถาปัตย์ ฯลฯ ยิ่งไปสูง ต้องยิ่งเจอคนกว้าง ซึ่ง MBA ก็จะเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่ทำให้ได้เรียนรู้ อยู่กับคนที่มีความเห็นที่หลากหลายแตกต่างจากคุณ มองภาพจากโจทย์ ที่ไม่เหมือนที่คุณมองในอดีต เหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารสร้างธุรกิจให้เติบโตในอนาคต” พร้อมกับขยายความต่อว่า
การเรียน MBA ไม่ใช่เรียนจากตำรา แต่เรียนรู้จากการทำธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง เจอปัญหา การแก้ปัญหา ซึ่งภายในชั้นเรียนจะประกอบไปด้วยผู้คนทั้ง 3 กลุ่ม ที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งล้วนมี Background ที่ต่างกัน อยู่ในสายงานต่างกัน แต่ทั้งหมดมีความสนใจธุรกิจ สนใจการบริหารเป็นหลักเหมือนกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และการที่ทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานมาระดับหนึ่ง เมื่อยก Case Study หรือ มีผู้บริหาร CEO ในธุรกิจต่าง ๆ มาร่วมพูดคุย ก็จะเข้าใจการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น ซึ่งการแชร์ไอเดียจะเกิดความสัมพันธ์ทั้ง CEO และในระหว่างผู้เรียนทั้งหมดด้วย
อย่าง หันซ้ายไปเจอเพื่อนที่เรียนเป็นคุณหมอก็ได้รู้ว่าการบริหาร รพ.ต้องเจออะไร หรือ หันไปด้านขวา เจอเพื่อนเรียนที่เป็นนักบัญชี ถ้าเจอปัญหาต้องทำไง หรือเพื่อนด้านหน้าทำงานด้านวิศวะจะจัดการปัญหาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ฉะนั้นยิ่งมีความหลากหลายของผู้เรียนในชั้นเรียนมากเท่าไร ก็จะเป็นประโยชน์มากเท่านั้น เพราะในการทำงาน บริหารธุรกิจจริง ๆ ต้องเจอผู้คนที่หลากหลายทั้งอาชีพที่ต่างกัน ระดับสายงานที่ต่างกัน มีมุมมองที่แตกต่างจากเดิม ๆ การเรียน MBA ก็เหมือนทำให้ผู้เรียนค่อย ๆ ซึมซับกับความคิดเห็นที่แตกต่าง การทำธุรกิจในแง่มุมต่าง ๆ และสามารถนำมาปรับใช้ต่อยอดได้ในแบบของผู้เรียนเอง เพราะเมื่อทำธุรกิจ ต้องบริหารคนหลายฝ่าย เจอโจทย์มุมมองความคิดที่หลากหลาย”
นอกจากสร้างการเรียนรู้ในชั้นเรียนแล้ว ล่าสุด “ศ.ดร.นภดล” เผยว่าได้มีการจัดตั้ง สมาคมศิษย์เก่า MBA ธรรมศาสตร์ ขึ้นมา เพื่อให้เป็นแหล่งเชื่อมโยงระหว่างศิษย์เก่านับหมื่นคนกับศิษย์ปัจจุบัน ได้มีโอกาสสร้าง Connection ต่อกัน บนพื้นที่ ที่สามารถแลกเปลี่ยนมุมมองความคิด ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ผ่านรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ MBA Thamamsat Talk เวทีกลางที่จัดให้มีการพูดคุย Update ความรู้ หรือ MBA Thammasat Night เพื่อให้ศิษย์เก่าทุกรุ่นได้มาร่วมทำความรู้จักกันมีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจร่วมกันในมิติต่าง ๆ รวมถึงสร้าง MBATU Club ต่าง ๆ ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบันจะเป็นอีกส่วนสำคัญที่เพิ่มมิติหลักสูตร MBA ของ TBS ให้สามารถผลักดันสร้างคนทำงานที่เก่ง นักบริหารเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้
บทความ/รูปภาพ: กองบรรณาธิการ
การพัฒนาหลักสูตร MBA ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Business School :TBS) ที่ทำมาตลอดกว่า 8 ทศวรรษ และในขณะที่กำลังก้าวขึ้นสู่ปีที่ 87 ในห้วงที่ธุรกิจกำลังเผชิญกับ VUCA World ทาง TBS พร้อมเดินหน้าบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดรับกับความต้องการของภาคธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ ภายใต้ Vision ใหญ่ที่มุ่งมั่นในการ “บ่มเพาะผู้นำแห่งอนาคตที่จะกำหนดทิศทางของธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน”
ทั้งนี้ รศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพของการขับเคลื่อนคณะสู่การเป็นผู้นำและต้นแบบในการสร้างนักบริหารธุรกิจที่พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจในอนาคต ไม่เพียงแต่ในไทยเท่านั้น แต่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอาเซียนได้ยั่งยืน โดยมีจุดแข็งที่สำคัญคือ หลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดย TBS เป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกในไทยที่เป็น “Triple Crown Business School” นั่นคือการได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับนานาชาติจากสถาบันหลักด้านการบริหารธุรกิจของโลก ได้แก่ AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) จากสหรัฐอเมริกา EQUIS (EFMD Quality Improvement System) จากสหภาพยุโรป และ AMBA (Association of MBAs) จากสหราชอาณาจักร ซึ่งทั่วโลกมีเพียงไม่ถึง 100 แห่ง หรือ 1% ที่เป็น Triple Crown Business School การรับรองคุณภาพในระดับสามมงกุฎนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงคุณภาพของหลักสูตรของ TBS ที่ยืนหยัดปรับปรุง สร้าง และพัฒนาหลักสูตรให้สอดรับกับเทรนด์ของโลกธุรกิจที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ “รศ.ดร.สมชาย” เผยถึง 3 เทรนด์ใหญ่ของธุรกิจในอนาคต ที่กลายเป็นแกนหลักในการพัฒนาหลักสูตร MBA Thammasat เพื่อสร้างนักบริหารที่ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจทั้งในไทยและระดับอาเซียน
เทรนด์แรก คือ AI in Business Management ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่มักพูดถึง AI ในภาคการศึกษาว่าควรจำกัดอยู่ที่ตรงไหน แต่วันนี้อยากให้มอง AI ในมิติของการเป็นเครื่องมือในการบริหารธุรกิจ ทำให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น หากเรียน MBA Thammasat แล้วไม่เข้าใจบทบาทของ AI ในการบริหารธุรกิจ ไม่สามารถใช้ AI มาช่วยในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจทางธุรกิจ รวมทั้งการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรได้ ธุรกิจก็ไปรอดยากในอนาคต สำหรับ TBS เราให้ความสำคัญกับ AI in Business Management โดยได้สอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรมาโดยตลอด แต่ในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ของ MBA Thammasat ในปี 68 นี้จะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อมาเรียน MBA Thammasat นักศึกษาทุกคนจะสามารถใช้เครื่องมือ AI ต่างๆ ในการทำงานได้ในอนาคตได้อย่างเต็มที่
ถัดมาคือ ESG (Environmental, Social, and Governance) การทำธุรกิจให้อยู่รอด เติบโตได้อย่างยั่งยืนได้ในอนาคต ผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรต้องให้ความสำคัญใส่ใจดูแล สิ่งแวดล้อม ชุมชนสังคม พร้อมการกำกับดูแลกิจการที่ดี TBS เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น University for the People หรือมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน TBS จึงทำโครงการเพื่อสังคมและชุมชนมาตลอด ที่จับต้องอย่างเป็นรูปธรรมคือ “ธรรมศาสตร์โมเดล” เป็นโครงการเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนไทย ที่ทำมานานกว่า 10 ปี โดยเป็นการร่วมทำงานกันของ 3 ภาคส่วน ได้แก่ ชุมชนซึ่งมีภูมิปัญญาดั้งเดิม ภาคธุรกิจที่มีทรัพยากร และ TBS ที่มีนักศึกษาและคณาจารย์ที่มีองค์ความรู้ด้านบัญชีและบริหารธุรกิจ มาผนึกกำลังกันพัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์รวมถึงการทำการตลาดและการบริหารการเงิน เป็นสร้างประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนน ที่สำคัญคือชุมชนสามารถดำเนินการต่อไปหรือพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืน
“ในอดีตชุมชนผลิตสินค้าแล้วขายกันเองในชุมชนหรือบริเวณใกล้เคียง ผลลัพธ์คือแค่อยู่รอด ไม่เติบโต สิ่งที่ TBS ดำเนินการตาม “ธรรมศาสตร์โมเดล” คือ พาทีมนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมภาคเอกชน เข้าไปประชุมระดมสมองกันกับชุมชน และร่วมกันพัฒนาหรือปรับปรุงเพิ่มมูลค่าสินค้าของชุมชน อย่าง เดิมที่ชุมชนปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ แล้วก็นำมาขายเป็นกิโล มูลค่าก็ได้ไม่มาก แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการ “ธรรมศาสตร์โมเดล” มีการนำองค์ความรู้เข้าไปช่วยในทุกฟังก์ชันของการบริหาร ทั้งการออกแบบสินค้า คำนวณต้นทุน ตั้งราคา หาสถานที่ขาย ฯลฯ และชุมชนได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน จากขายข้าวธรรมดาก็พัฒนาเป็น Snack Bar ข้าวไรซ์เบอรี่ ขายผ่านหลากหลายช่องทางทั้งผ่านร้านค้าและผ่านออนไลน์ ขายได้ในราคาสูงกว่าเดิม เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าหลาย 10 เท่า ที่สำคัญคือแม้ทีมนักศึกษาจะกลับแล้วเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ แต่ชุมชนมีองค์ความรู้ เข้าใจธุรกิจมากขึ้น สามารถพัฒนาต่อยอดกันได้อย่างยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้” แบบนี้ถือว่าบรรลุความตั้งใจของ TBS ที่มีโอกาสในการดูแลสังคม ในขณะเดียวกันนักศึกษาก็ได้ลงมือทำงานจริง เข้าใจบริบทของการทำธุรกิจในทุกมิติอย่างแท้จริง
“หนึ่งใน DNA ที่สำคัญของธรรมศาสตร์ที่สะท้อนออกมาได้ชัดเจนคือ คนที่เรียนจบจากธรรมศาสตร์ นอกจากมีความรู้ความสามารถ ยังมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม เราเชื่อว่ามีความรู้แล้วการบริหารธุรกิจให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องดูแลสังคมรอบข้างด้วย การเติบโตโดยที่ไม่สนใจใคร ไม่ใช่วิสัยของนักบริหารที่ดี ซึ่งจิตสำนึกในการใส่ใจสังคมพร้อมช่วยเหลือดูแลสังคมให้ดีขึ้น กลายเป็น DNA ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ซึมซับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว”
เทรนด์สุดท้าย คือ Experiential Learning การเรียนตามเนื้อหาในชั้นเรียนอาจเข้าใจแค่หลักการเบื้องต้น แต่การได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง การได้พบเจอผู้บริหารตัวจริง การได้ลงมือทำจริง จะสร้างความเข้าใจที่มีความลึกซึ้ง ทำให้นักศึกษาพร้อมจะเป็นผู้บริหารที่ทำงานได้จริงในอนาคต
“รศ.ดร.สมชาย” กล่าวว่า TBS เน้นให้นักศึกษานำความรู้ทางการบริหารต่างๆ ไปประยุกต์ในทางปฏิบัติได้จริง ยกตัวอย่างเช่น การมี Business Case Competition เป็นการแข่งขันกรณีศึกษาทางธุรกิจ ทั้งที่เราจัดขึ้นเองและจากการส่งทีมนักศึกษาเข้าแข่งขัน ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยให้บริษัทจริงเป็น Case Company มาเป็นโจทย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์และเสนอ Solution เพื่อตอบโจทย์ของ Case Company นั้นๆ รวมถึงรายวิชาที่เน้นให้เรียนรู้เข้าใจโลกของการบริหารจริงๆ ภายใต้โครงการ Course Partnership ที่เราร่วมกับพันธมิตรจากภาคธุรกิจในการพัฒนารายวิชารวมทั้งร่วมสอนด้วย เช่น เราร่วมกับ Big 4 Audit Firm หรือสำนักงานสอบบัญชีระดับโลกทั้ง 4 แห่ง ก็ได้นำทีมผู้บริหารของสำนักงานมาร่วมพัฒนารายวิชาด้านการบัญชีและภาษีและร่วมสอนกับคณาจารย์ด้วย สิ่งที่นักศึกษาจะได้คือ ไม่ใช่แค่ทฤษฎีเท่านั้น แต่เข้าใจถึงการประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติ รวมถึงเข้าใจถึงอุปสรรคและการแก้ปัญหาในทุกมิติจากผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง หรืออย่างวิชา CEO Vision ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมพบปะพูดคุยกับ CEO ของบริษัทชั้นนำของไทย ในหลากหลายธุรกิจ สิ่งที่นักศึกษาได้จึงไม่ใช่แค่ความรู้ แต่ได้ Inspiration และ Mindset ในการบริหารธุรกิจ ที่ล้วนสำคัญไม่แพ้องค์ความรู้ด้านวิชาการ
พร้อมกันนี้ “รศ.ดร.สมชาย” กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตรของ TBS ให้สามารถสร้างผู้นำรุ่นใหม่ให้ได้ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ต้องทำควบคู่ไปในหลายมิติ ทั้งการพัฒนาหลักสูตรภายในส่วนของ TBS เอง และร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่มีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับเฉกเช่นเดียวกัน
“รศ.ดร.สมชาย” กล่าวว่า ถ้าต้องการบ่มเพาะนักศึกษาให้กลายเป็นผู้นำธุรกิจในอาเซียน การพัฒนาหลักสูตรโดยร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งที่ผ่านมา TBS ยกระดับความร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นสถาบันการศึกษาในต่างประเทศจากเดิมที่ทำแค่โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ มาเป็น Strategic Partner คือร่วมมือกับพันธมิตรที่มีแนวคิดเดียวกัน ร่วมทำกลยุทธ์พัฒนาหลักสูตรไปพร้อมกัน อย่างล่าสุด ทาง TBS ได้ร่วมมือกับ SMU (Singapore Management University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในประเทศสิงคโปร์ ที่เป็น Triple Crown Business School เช่นเดียวกับ TBS จัดทำโครงการ TBS x SMU 3+1 Dual Degree Program โดยผสานจุดแข็งของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน โดย 3 ปีแรกจะศึกษาที่ TBS และศึกษาที่ SMU ในปีสุดท้าย เมื่อจบโครงการนักศึกษาก็จะได้รับปริญญาตรีจาก TBS และปริญญาโทจาก SMU นั่นเอง ซึ่งตรงกับ Vision ของ TBS ที่ต้องการยกระดับนักศึกษาให้พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจในระดับอาเซียน
สำหรับการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ล่าสุด TBS กำลังพัฒนา 2 หลักสูตรใหม่ ทั้งหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรไทย พร้อมเปิดตัวเร็วๆ นี้
หลักสูตรนานาชาติเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการขับเคลื่อนธุรกิจในเวทีต่างประเทศได้ง่ายขึ้น “รศ.ดร.สมชาย” กล่าวต่อว่า TBS ถือเป็นสถาบันแห่งแรกๆ ในไทยที่จัดทำหลักสูตรปริญญาตรีด้านบัญชีและบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ ที่เรียกกันว่า BBA International Program โดยเรียนที่ มธ.ท่าพระจันทร์ ซึ่งดำเนินการมาแล้วกว่า 30 ปี จนถึงวันนี้เรามองว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะพัฒนาหลักสูตรนานาชาติขึ้นมาเพิ่มเติม ได้แก่ BBM (Bachelor of Business Management) International Program โดยจะเปิดสอนที่ มธ.ศูนย์รังสิต ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันในการเรียนรู้ โดยตั้งเป้าเปิดรับนักศึกษาต่างชาติและไทยในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนมีความเป็นนานาชาติอย่างแท้จริง อีกจุดเด่นของหลักสูตรนี้คือทางเลือกในการทำ 2+2 Double Degree คือ เรียนที่ TBS 2 ปีแรก และเรียนต่อที่สถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศอย่างออสเตรเลีย อังกฤษ สิงคโปร์ ที่เป็นมหาวิทยาลัยพันธมิตรกับ TBS อีก 2 ปี และได้รับปริญญาตรีจากทั้ง 2 สถาบัน เชื่อว่านักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้จะมีความพร้อมเป็นผู้นำแห่งอนาคตในการขับเคลื่อนธุรกิจของอาเซียนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้”
ส่วนหลักสูตรภาษาไทย TBS ได้เตรียมพัฒนาหลักสูตร OneTU 4+1 Dual Degree Program ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรีควบปริญญาโท ด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็น Comprehensive University หรือมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรครบถ้วนในทุกศาสตร์ ทั้งสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยคนที่จบปริญญาตรีจากศาสตร์ต่างๆ มักจะขาดทักษะด้านการจัดการซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมาก ในขณะที่ TBS มีความเชี่ยวชาญด้านทักษะการจัดการ จึงเกิดแนวคิดทำหลักสูตรที่เรียน 4 ปีที่คณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรียนทักษะการจัดการต่อที่ TBS อีก 1 ปี เมื่อจบหลักสูตรจะได้รับปริญญาตรีในศาสตร์เฉพาะด้านจากคณะนั้นๆ และปริญญาโทด้านการจัดการ (Master of Management) จาก TBS ดังนั้น นักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้จะมีความครบเครื่องเป็นอย่างมาก มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์เฉพาะด้านและเติมเต็มด้วยทักษะด้านการจัดการ จึงมีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำแห่งอนาคตที่จะขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของหลักสูตรใหม่ที่ “รศ.ดร.สมชาย” ย้ำว่า อย่าหยุดคิดหยุดทำ ต้องพัฒนาทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ พร้อมแชร์เคล็ดลับการออกแบบหลักสูตรของ TBS ว่ามาจากการตกผลึกองค์ความรู้จากทุก Stakeholders ที่เกี่ยวข้อง ทั้งความต้องการของนักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่า และผู้บริหารจากภาคธุรกิจ ซึ่งการที่ TBS มีพันธมิตรจากบริษัทชั้นนำ ทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงมีศิษย์เก่ามากมายที่พร้อมให้คำแนะนำ มีการทำ Focus group จากทุกกลุ่ม ทำให้ทราบว่าต้องการคนทำงานที่มีทักษะอย่างไรในอนาคต และหลักสูตรควรปรับไปในทิศทางใด เพราะอย่าลืมว่าโลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เมื่อนักศึกษาจบไปหลักสูตรเนื้อหาที่เรียนมาต้องใช้บริหารธุรกิจได้จริง ไม่ใช่ล้าสมัย ไม่ทันกับการแข่งขัน หรือมีทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาดงาน ฉะนั้นมั่นใจได้ว่าหลักสูตร “MBA Thammasat” จะช่วยเติมเต็ม เพิ่มพูนองค์ความรู้ให้แก่นักบริหารได้อย่างครบเครื่องทันโลกธุรกิจทั้งในวันนี้และอนาคต
บทความ/รูปภาพ: กองบรรณาธิการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธาน “งานประชุมวิชาการ ด้านสื่อและการสื่อสาร แห่งคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2567” โดยได้รับเกียรติจาก คุณวิทิต หวังวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ
บริษัท ซีซันส์ เวิลด์ จำกัด องค์ปาฐกบรรยายพิเศษ , คุณนภาพรรณ หวังวรวงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท ซีซันส์ เวิลด์ จำกัด , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โมไนยพล รณเวช , ดร.ฉัตรฉวี คงดี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , คุณชลาลัย พงษ์ศิริ , คุณวรทัต กลั่นเกษร , คุณพจนีย์ ซิ้มสุวรรณ์ ร่วมจัดงาน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธาน “งานประชุมวิชาการ ด้านสื่อและการสื่อสาร แห่งคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2567” โดยได้รับเกียรติจาก คุณวิทิต หวังวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีซันส์ เวิลด์ จำกัด องค์ปาฐกบรรยายพิเศษ , คุณนภาพรรณ หวังวรวงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท ซีซันส์ เวิลด์ จำกัด , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โมไนยพล รณเวช , ดร.ฉัตรฉวี คงดี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , คุณชลาลัย พงษ์ศิริ , คุณวรทัต กลั่นเกษร , คุณพจนีย์ ซิ้มสุวรรณ์ ร่วมจัดงาน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์