January 03, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. โดยนางสุศมา ปิตากุลดิลก (ขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนและบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ารับรางวัลจาก นายโรเบิร์ต ดอว์เนา (ซ้าย) Head of CSA Corporate Engagement, S&P Global จากการได้รับคัดเลือก ให้อยู่ใน The Sustainability Yearbook 2024 ของ S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 จากการประเมินผล  การดำเนินการด้านความยั่งยืนให้อยู่ในระดับ Top 10%  ของบริษัทในกลุ่มธุรกิจน้ำมันและก๊าซขั้นต้นและครบวงจรซึ่งเข้าร่วมประเมินทั้งหมด 117 บริษัทจากทั่วโลก

ความสำเร็จในครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนธุรกิจครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) พร้อมสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้แก่บริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นแก่กลุ่มนักลงทุนให้มั่นใจได้ว่า ปตท.สผ. จะสามารถดำเนินธุรกิจโดยมีผลประกอบการที่ดี ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามกรอบแนวคิดด้านความยั่งยืน

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จัดทำโครงการ “Subsurface Data for U” เพื่อส่งมอบข้อมูลทางด้านธรณีศาสตร์จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจริงของบริษัทแบบครบวงจร ให้กับมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านธรณีศาสตร์และวิศวกรรมปิโตรเลียม เช่น ข้อมูลการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน (Seismic data) ข้อมูลหลุมเจาะ (Well data) และข้อมูลด้านวิศวกรรมปิโตรเลียม รวมทั้ง ระบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่พร้อมใช้งาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน การศึกษาวิจัย และเพิ่มทักษะให้นิสิต นักศึกษาจากการเรียนรู้โครงสร้างทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ และวิศวกรรมปิโตรเลียมของแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่โครงการซึ่งบริษัทเป็นผู้ดำเนินการ รวมทั้ง เป็นการส่งเสริมการสร้างบุคลากรด้านธรณีศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย โดย ปตท.สผ. ได้ส่งมอบข้อมูลดังกล่าวให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรก และมีแผนจะส่งมอบข้อมูลให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต่อไป

นอกจากนี้ บริษัทผู้ให้บริการในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ได้แก่ ชลัมเบอร์เจอร์ โอเวอร์ซีส์ เอส. เอ. (SLB) บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ยิบอินซอย จำกัด ยังร่วมสนับสนุนโครงการ “Subsurface Data for U”  โดยมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และฮาร์ดดิสก์ ให้แก่สถาบันการศึกษาด้วย

“Subsurface Data for U” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ ในโครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect ซึ่ง ปตท.สผ. ได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพิ่มศักยภาพบุคลากรของทั้งสองฝ่ายผ่านการศึกษาวิจัยต่าง ๆ รวมทั้ง การส่งผู้เชี่ยวชาญของ ปตท.สผ. ไปร่วมสอนวิชาต่าง ๆ กับมหาวิทยาลัย และเปิดโอกาสให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมาฝึกงานกับ ปตท.สผ. เพื่อร่วมกันสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ธรณีศาสตร์ วิศวกรรมปิโตรเลียม ซึ่งเป็นความรู้ที่สำคัญของการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมซึ่งเป็นพลังงานหลักของประเทศ

Honeywell UOP ได้รับเลือกให้เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนของ ปตท.สผ.สำหรับโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนอาทิตย์ในแหล่งก๊าซอาทิตย์ในอ่าวไทย

แม็ท สปาลด์ดิ้ง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Honeywell UOP เปิดเผยว่า SeparexTM เมมเบรน (Membrane) เทคโนโลยี ของ Honeywell UOP จะช่วยบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับจากแหล่งกำเนิดโดยทางธรณีวิทยาจะถูกกักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินและแหล่งก๊าซที่หมดศักยภาพในการผลิตแล้วอย่างถาวรได้แก่การฉีดเข้าไปในแหล่งก๊าซใกล้เคียงที่หมดศักยภาพแล้ว เทคโนโลยีของ Honeywell UOP จะนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดที่จะปรับปรุงระบบที่มีอยู่เดิมในการเพิ่มความเข้มข้นให้กับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับจากแหล่งกำเนิดโดยใช้กระบวนการ เมมเบรน 2 ขั้นตอน โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของแท่นก๊าซนอกชายฝั่ง เทคโนโลยีนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกู้คืนของไฮโดรคาร์บอนซึ่งอาจถูกเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการช่วยเพิ่มการผลิตไฮโดรคาร์บอนและเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการนอกเหนือจากการดักจับคาร์บอน

" ปัจจุบันนี้ ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 15 ล้านตันต่อปีที่ได้ถูกดักจับและถูกกักเก็บหรือใช้ประโยชน์ผ่านความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการแก้ปัญหาด้านคาร์บอนไดออกไซด์ ของ Honeywell ปัจจุบัน Honeywell มีความสามารถในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 40 ล้านตันต่อปีผ่านโครงการที่ติดตั้งทั่วโลก และเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้นำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์นี้มาสู่โครงการการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ซึ่งเป็นโครงการที่มีความสำคัญในประเทศไทยโดยร่วมกับ ปตท.สผ . การมีส่วนร่วมในโครงการนี้ เป็นผลมาจากความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่าง Honeywell กับ ปตท . สผ . และจากการขยายเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนของเราที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลก เรามีความยินดีที่ความเชี่ยวชาญเหล่านี้จะมอบโซลูชันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนของแหล่งอาทิตย์ในประเทศไทย " แม็ท สปาลด์ดิ้ง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Honeywell UOP Asia กล่าว

Honeywell UOP จะให้บริการด้านวิศวกรรมและให้คำปรึกษาสำหรับ Front End Engineering Design (FEED) และระยะต่อๆ ไปของโครงการ จนกระทั่งถึงกระบวนการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) นอกจากนี้ บริษัทยังจะจัดหา SeparexTM Membrane Elements สำหรับโครงการนี้ นอกเหนือจากการให้การสนับสนุนในช่วงก่อนการว่าจ้างและการเริ่มต้นในเฟสต่อๆ ไปของโครงการ โดยโครงการนี้จะเป็นหนึ่งในการติดตั้งเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของ Honeywell สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการนำเอาเทคโนโลยีการแปรรูปก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในเชิงพาณิชย์มาใช้ในการดักจับ และกักเก็บคาร์บอน

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังช่วยเสริมกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันการดักจับ คาร์บอนไดออกไซด์ ของ Honeywell และด้วยประสบการณ์เชิงพาณิชย์ที่มีมากกว่า 70 ปี รวมถึงความสามารถของเทคโนโลยี Honeywell ที่มีการปรับใช้ (ระบบเมมเบรนและระบบที่ใช้สารละลาย ประเภท Chemical และประเภท Physical) ในโครงการที่ติดตั้งต่างๆ ซึ่งช่วยให้สามารถดักจับ คาร์บอนไดออกไซด์ จากแหล่งกำเนิดก๊าซ ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ดักจับได้จำนวน 15 ล้านตันต่อปีนั้นได้ถูกนำมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิตของน้ำมันที่ดียิ่งขึ้น

 กรมประมง ร่วมกับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่งอ่าวไทย ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง กรุงเทพฯ

การศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อการประมง ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ รวมถึง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศต่อการบริหารทรัพยากร สัตว์น้ำให้สอดคล้องกับแนวทางการรักษาสมดุลระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนอีกด้วย

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงด้วยมาตรการหลากหลายรูปแบบ การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลหรือปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์น้ำนับเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ ที่ผ่านมากรมประมงได้มีการศึกษาและพัฒนาวัสดุและรูปแบบการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันกรมประมงใช้แท่งคอนกรีตเป็นมาตรฐานในการจัดสร้าง เนื่องจากเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับความร่วมมือในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลด้วยวัสดุขาแท่นปิโตรเลียม เป็นการนำร่องในการศึกษา ด้านแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลรูปแบบใหม่ในประเทศไทยที่ยังมีการศึกษาที่ไม่ครอบคลุมด้านการประมงจึงต้องอาศัยความร่วมมือกัน ในการพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อวางแนวทางการใช้ประโยชน์จากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมอย่างเหมาะสมในอนาคต นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับด้านวิชาการและด้านการประมงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร ตลอดจนส่งเสริมการทำประมงนอกชายฝั่งและการทำประมงชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืนต่อการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมง อีกทางหนึ่งด้วย

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ. ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในอ่าวไทยมากว่า 37 ปี ซึ่งปัจจุบันกิจกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบางพื้นที่ในอ่าวไทยได้สิ้นสุดลง สิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ การผลิตซึ่งจะต้องทำการรื้อถอนหลังจากที่สิ้นสุดการทำหน้าที่ ในการผลิตปิโตรเลียมเพื่อเป็นพลังงานให้กับประเทศแล้วนั้น ยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อในการทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลได้ ซึ่งการนำขาแท่นผลิตปิโตรเลียมไปจัดสร้างเป็นปะการังเทียมในระดับน้ำลึกราว 50-60 เมตร เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลและช่วยเพิ่มผลผลิตที่เป็นประโยชน์ ต่อการประมง ซึ่งนับเป็นแนวทางที่ทั้ง 5 หน่วยงาน จะมาร่วมกันศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกในการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อท้องทะเลไทย

การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานมาร่วมกันศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ในการนำ ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปจัดสร้างเป็นแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมง รวมถึง การนำไปต่อยอดให้เกิดการปฏิบัติได้จริง ในอนาคต

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click