January 22, 2025

การเคหะแห่งชาติร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ หรือ สปสช. ประชุมวางแผนและขับเคลื่อนโครงการ “ตู้ห่วงใย” ตั้งในชุมชนนำร่อง 2 พื้นที่ในโครงการของการเคหะแห่งชาติ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร นำทีมเจ้าหน้าที่ จัดกิจกรรมลงพื้นที่ เขตบางเขน ประชาสัมพันธ์การใช้สิทธิ์ 30 บาท พร้อมรับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร กับ โครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ ในพื้นที่กรุงเทพฯ” เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมเดินหน้าเชิญชวนสถานพยาบาล/คลินิกเอกชน เข้าร่วมโครงการเพื่อขยายการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างครอบคลุม เผยภายหลังเปิดตัวโครงการฯ มีประชาชนกทม. สิทธิบัตรทอง เข้ารับบริการแล้วเกือบ 150,000 ราย  

ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ และโฆษก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า “สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร ได้เดินหน้าประชาสัมพันธ์โครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ ในพื้นที่กรุงเทพฯ” ในทุกมิติทั้งการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมลงพื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน และเชิญชวนสถานพยาบาล/คลินิกเอกชน เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการช่วยยกระดับการรักษาพยาบาล เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในพื้นที่ใกล้เคียง และการลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่

ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่เขต กทม. ทั้ง 50 เขต มีหน่วยสถานพยาบาล/คลินิกเอกชน เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมแล้วกว่า 1,331 แห่ง แบ่งออกเป็น คลินิกเวชกรรม 151 แห่ง, คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 13 แห่ง, คลินิกทันตกรรม 179 แห่ง, คลินิกเทคนิคการแพทย์ 41 แห่ง,  คลินิกการแพทย์แผนไทย 25 แห่ง, คลินิกกายภาพบำบัด 21 แห่ง และ ร้านยา GPP+ ร้านยาคุณภาพ 901 แห่ง พร้อมกันนี้ จากข้อมูลการรับบริการของประชาชนสิทธิบัตรทองที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.66 เข้าใช้บริการแล้วกว่า 144,884 ราย 246,164 ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 4 ก.ย.67) และตัวเลขเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาใช้บริการมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2567  

ดังนั้น สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร จึงได้เร่งลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้และรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนให้มากขึ้น โดยล่าสุด ได้จัดทีมลงพื้นที่เขตบางเขน บริเวณตลาดถนอมมิตร ถนนวัชรพล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณกว่า 1.8 แสนคน มีผู้ถือสิทธิบัตรทองเกือบ 50% และมีจำนวนสถานพยาบาล/คลินิกเอกชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 40 กว่าแห่ง ซึ่งมีปริมาณไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องเร่งประชาสัมพันธ์และเชิญชวน เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยบริการนวัตกรรมให้ครอบคลุม พร้อมกันนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์สิทธิต่างๆ ในการเข้ารับบริการ โครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ ในพื้นที่กรุงเทพฯ” แก่ประชาชน รวมถึงการเปิดรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนที่เคยใช้บริการ ซึ่งความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดี คือ ชอบแนวคิดของโครงการ สามารถรับบริการได้รวดเร็ว สะดวก เพียงแค่บัตรประชาชนใบเดียว แต่ก็ยังมีบางส่วนที่มีข้อสงสัยกับรูปแบบการให้บริการที่ยังไม่เข้าใจมากนัก โดยทาง สปสช. จะนำความคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านี้ ไปปรับปรุงให้ดีขึ้น สร้างข้อมูลที่เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป”

“สำหรับโครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ ในพื้นที่กรุงเทพฯ” ประชาชนผู้ถือสิทธิบัตรทองสามารถเข้ารับบริการได้แล้ววันนี้ ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ใช้เพียงแค่บัตรประชาชนใบเดียว เพียงสังเกตตราสัญลักษณ์ใหม่สีแดง “30 บาทรักษาทุกที่” ซึ่งจะปรากฏที่หน่วยบริการนวัตกรรม 7 ประเภท ได้แก่ คลินิกเวชกรรม, คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, คลินิกทันตกรรม, คลินิกเทคนิคการแพทย์,  คลินิกการแพทย์แผนไทย , คลินิกกายภาพบำบัด และ ร้านยา GPP+ ร้านยาคุณภาพ ส่วนสถานพยาบาล/คลินิกเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นเอกสารสมัครขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แล้ววันนี้เช่นกัน ผ่านทางเว็บไซต์ https://ossregister.nhso.go.th/#/public-portal หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 กด 5” ทันตแพทย์อรรถพร กล่าวปิดท้าย

 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร​ ขอเชิญคลินิก สถานพยาบาลร้านยา เอกชน สมัครเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมให้บริการสาธารณสุขวิถีใหม่ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมยกระดับโครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร” ซึ่งจะคิกออฟอย่างเป็นทางการ ในวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 พร้อมเร่งปรับปรุงระบบรองรับ ลงทะเบียนง่าย จ่ายเงินคืนเร็ว หากข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์  

สปสช.มีความตั้งใจในการยกระดับการให้บริการระบบสาธารณสุขเพื่อประชาชน ให้เข้าถึงบริการสุขภาพภายใต้นโยบาย “ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาที่หน่วยบริการนวัตกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาความหนาแน่นของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ สปสช. จึงขอเชิญชวนหน่วยบริการนวัตกรรม 7 ประเภทในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย คลินิกเวชกรรม, คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, คลินิกทันตกรรม, คลินิกเทคนิคการแพทย์,  คลินิกการแพทย์แผนไทย , คลินิกกายภาพบำบัด และ ร้านยา GPP+ ร้านยาคุณภาพ ร่วมสมัครเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  

สำหรับหน่วยบริการเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถเตรียมเอกสารสมัครดังนี้ ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (แบบ ข.ย.5) สำหรับร้านยา ส่วนสถานพยาบาลประเภทอื่นไม่ต้องใช้เนื่องจากเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแล้ว, หนังสือมอบอำนาจและเอกสารผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมีมอบอำนาจ), บัญชีธนาคารพร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (Book Bank) โดยชื่อบัญชีต้องตรงกับชื่อหน่วยบริการ หรือนิติบุคคล หรือชื่อผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล สพ.7 โดยไม่ต้องวางหลักประกันสัญญา และประกาศขึ้นทะเบียนและลงนามนิติกรรมภายใน 5 วันทำการ  

ทั้งนี้ สปสช. ได้เร่งทำการปรับปรุงระบบเพื่อรองรับทั้งในส่วนการขึ้นทะเบียนและการเบิกจ่าย  เพื่อให้สามารถลงทะเบียนง่าย จ่ายเงินคืนเร็ว  หากข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมกันนี้ยังได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อให้ข้อมูล เชิญชวน และอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนทันทีให้กับหน่วยบริการนวัตกรรมที่สนใจทั่วกรุงเทพฯ  

คลินิก สถานพยาบาล ร้านยา เอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่สนใจ สามารถยื่นเอกสารสมัครขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แล้ววันนี้! แบบ One Stop Service ผ่านทางเว็บไซต์ https://ossregister.nhso.go.th/#/public-portal หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 กด 5 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานครขอเชิญคลินิก สถานพยาบาลร้านยา เอกชน สมัครเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมให้บริการสาธารณสุขวิถีใหม่ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมยกระดับโครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร” ซึ่งจะคิกออฟอย่างเป็นทางการ ในวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 พร้อมเร่งปรับปรุงระบบรองรับ ลงทะเบียนง่าย จ่ายเงินคืนเร็ว หากข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์

สปสช.มีความตั้งใจในการยกระดับการให้บริการระบบสาธารณสุขเพื่อประชาชน ให้เข้าถึงบริการสุขภาพภายใต้นโยบาย “ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาที่หน่วยบริการนวัตกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาความหนาแน่นของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ สปสช. จึงขอเชิญชวนหน่วยบริการนวัตกรรม 7 ประเภทในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย คลินิกเวชกรรม, คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, คลินิกทันตกรรม, คลินิกเทคนิคการแพทย์,  คลินิกการแพทย์แผนไทย , คลินิกกายภาพบำบัด และ ร้านยา GPP+ ร้านยาคุณภาพ ร่วมสมัครเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สำหรับหน่วยบริการเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถเตรียมเอกสารสมัครดังนี้ ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (แบบ ข.ย.5) สำหรับร้านยา ส่วนสถานพยาบาลประเภทอื่นไม่ต้องใช้เนื่องจากเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแล้ว, หนังสือมอบอำนาจและเอกสารผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมีมอบอำนาจ), บัญชีธนาคารพร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (Book Bank) โดยชื่อบัญชีต้องตรงกับชื่อหน่วยบริการ หรือนิติบุคคล หรือชื่อผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล สพ.7 โดยไม่ต้องวางหลักประกันสัญญา และประกาศขึ้นทะเบียนและลงนามนิติกรรมภายใน 5 วันทำการ

ทั้งนี้ สปสช. ได้เร่งทำการปรับปรุงระบบเพื่อรองรับทั้งในส่วนการขึ้นทะเบียนและการเบิกจ่าย  เพื่อให้สามารถลงทะเบียนง่าย จ่ายเงินคืนเร็ว  หากข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมกันนี้ยังได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อให้ข้อมูล เชิญชวน และอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนทันทีให้กับหน่วยบริการนวัตกรรมที่สนใจทั่วกรุงเทพฯ

คลินิก สถานพยาบาล ร้านยา เอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่สนใจ สามารถยื่นเอกสารสมัครขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แล้ววันนี้! แบบ One Stop Service ผ่านทางเว็บไซต์ https://ossregister.nhso.go.th/#/public-portal หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 กด 5  

ข่าวดีสำหรับผู้ที่แพ้วัคซีนโควิด-19 ที่รัฐจัดสรร ที่อาศัยอยู่ตามที่ห่างไกลทั่วประเทศ

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click