ณ งาน Huawei Analyst Summit ครั้งที่ 21 นายอีริค สวี ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ประกาศขอความร่วมมือในกลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาเนทีฟ แอปฯ สำหรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ของหัวเว่ย ว่า “เราสนับสนุนให้นักพัฒนาและเจ้าของธุรกิจแอปพลิเคชันในจีนเข้าร่วมอีโคซิสเต็มเนทีฟ แอปฯ ของระบบปฏิบัติการ HarmonyOS (แอปพลิเคชันที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนระบบปฏิบัตการ HarmonyOS โดยเฉพาะ) เพื่อผนึกกำลังมอบประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้า”

HarmonyOS คือระบบปฏิบัติการเจเนอเรชันใหม่ของหัวเว่ยที่ทำงานบนอุปกรณ์อัจฉริยะได้หลากหลาย อาทิ สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับสวมใส่, แท็บเล็ตและสมาร์ท ทีวี ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการหลักของอุปกรณ์อัจฉริยะมากกว่า 800 ล้านเครื่อง โดยข้อมูลจาก Counterpoint Research เผยว่า HarmonyOS มีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกถึง 4% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 16% ในประเทศจีนในไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2566

นายอีริค สวี กล่าวว่า การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS ของหัวเว่ยรุดหน้าอย่างมาก ในปัจจุบัน แอปพลิเคชันจำนวนกว่า 4,000 แอปจากเป้าหมาย 5,000 แอปได้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเพื่อรองรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS โดยหัวเว่ยตั้งเป้าพัฒนาหนึ่งล้านแอปพลิเคชันให้รองรับการใช้งานบนอีโคซิสเต็ม HarmonyOS

นายอีริค สวี เผยว่า HarmonyOS มาพร้อมสถาปัตยกรรมแบบใหม่ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเทคโนโลยี IoT ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภทตั้งแต่อุปกรณ์ IoT, โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน, แล็ปท็อป, และเดสก์ท็อป ตอบโจทย์การใช้งานแบบระบบปฏิบัติการเดียวกันสำหรับทุกอุปกรณ์

“ในอดีต เรามุ่งปรับการใช้งาน HarmonyOS สำหรับอุปกรณ์อัจฉริยะทุกประเภท โดยแอปพลิเคชันต่าง ๆ ยังคงใช้ อีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในประเทศจีน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหัวเว่ย ใช้เวลา 99% ไปกับแอปพลิเคชันประมาณ 5,000 แอป ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2567 เราจึงตัดสินใจพัฒนาแอปเหล่านี้ให้รองรับ HarmonyOS เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานการทำงานระหว่างอีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง” นายอีริค สวี กล่าว

“ในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยมุ่งบรรลุเป้าหมายการสร้างอีโคซิสเต็มสำหรับเนทีฟ แอปฯ ของ HarmonyOS การผลักดันอีโคซิสเต็ม HarmonyOS นับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แต่เราได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและจากนักพัฒนาแอปพลิเคชัน ในวันที่เรามีแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จำนวน 5,000 แอป และแอปอื่น ๆ จำนวนหลายพันแอปที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานบน HarmonyOS เราจะบรรลุเป้าหมายการสร้าง HarmonyOS ให้เป็นระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อัจฉริยะอันดับที่สามของโลก เพิ่มเติมจาก Apple iOS และ Google Android” นายอีริค สวี กล่าวย้ำ

แม้ว่าในช่วงแรก หัวเว่ยมุ่งใช้งานระบบ HarmonyOS เฉพาะประเทศจีน นายอีริค สวี เปิดเผยว่าบริษัทจะเดินหน้าขยายการใช้ระบบ HarmonyOS ในประเทศอื่น ๆ โดยใช้กลยุทธ์การขยายแบบรายประเทศ

สรุปรายงานประจำปี พ.ศ. 2566 ของหัวเว่ย จัดพิมพ์เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 เผยว่า หัวเว่ยทุ่มทุนบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS โดยนักพัฒนามากกว่า 380,000 ราย ได้รับการรับรองการทำงานบนระบบ HarmonyOS นอกจากนี้ หัวเว่ยได้ร่วมผลักดันโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและอุตสาหกรรมเพื่อร่วมพัฒนา HarmonyOS กว่า 150 โครงการ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมากกว่า 135 แห่งในประเทศจีนมีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านระบบปฏิบัติการ HarmonyOS อีกด้วย

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการหงเหมิง (HongMeng) หรือ HarmonyOS ของหัวเว่ย ได้รับการรับรองการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับ 6 (Evaluation Assurance Level 6 Augmented - EAL6+) เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรม จากมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยของข้อมูล Common Criteria for Information Technology Security Edging (CC) ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดของ เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป หัวเว่ยจึงเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะรายแรกของโลกที่ได้รับการรับรองในสาขานี้

นายอีริค สวี ยอมรับว่าการสร้างอีโคซิสเต็ม HarmonyOS เป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่ง “ดังที่คุณทราบแล้วว่าก่อนหน้านี้การพัฒนา HarmonyOS มิได้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลักของเรา แต่ในเมื่อเราตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์นี้แล้ว เราจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด”

ยกระดับนวัตกรรมรักษ์โลก และการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างปลอดภัย

สนับสนุนการเติบโตพร้อมบุกเบิกโอกาสใหม่ในภาคอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคธุรกิจอสังหาฯ มีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และบริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว พร้อมวางกลยุทธ์สร้างพันธกิจ เพื่อผลักดันให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นในระยะยาว สู่การเป็นองค์กรที่มุ่งสู่ความยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าหมายระยะกลาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2573 โดยวางแผนรองรับที่สามารถทำได้จริง ซึ่งการผลักดันการใช้พลังงานสะอาดสำหรับที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในแผนดำเนินงาน เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุพันธกิจและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นผลในระดับมหภาค พร้อมหนุนให้ลูกบ้านศุภาลัยได้อยู่อาศัยในบ้านประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง พร้อมติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” ตั้งเป้าเพื่อพิชิตยอด 15,000 หลัง ภายในปี 2571 โดยปัจจุบันได้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการที่จะดำเนินการติดตั้งไปแล้วกว่า 30 % ครอบคลุมกว่า 29 จังหวัด ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวสามารถคำนวณยอดผลิตกระแสไฟฟ้ารวมได้ 82,300 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 49,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เสมือนการปลูกต้นไม้ทดแทน 3.2 ล้านต้น และลูกบ้านศุภาลัยสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 20,000-30,000 บาทต่อปี และในอนาคต บริษัทฯ มีแผนพัฒนาเพิ่มช่องทางการ Tracking ติดตามพร้อมควบคุมการผลิตกระแสไฟฟ้าผ่าน Application : SABAI สามารถใช้งานได้อย่างครบวงจรมากขึ้น

นายกิตติพงษ์ ศิริลักษณ์ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความเข้าใจเทรนด์ผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ตระหนักและใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้กำลังมองหาที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงพร้อมคิดค้นนวัตกรรมด้านการก่อสร้าง การออกแบบ รวมถึงการพัฒนาวัสดุก่อสร้างร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าที่อยู่อาศัยของศุภาลัยในทุกประเภทเป็น “บ้านรักษ์โลก” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ผ่าน 5 แกนหลักของลูกค้า ดังนี้

  1. นวัตกรรมเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้ออกแคมเปญ “Supalai Self-Provedเชิญชวนพิสูจน์ผลลัพธ์ของนวัตกรรมการก่อสร้างอย่างรักษ์โลก ผ่าน Supalai Waste Meter มาตรวัดปริมาณขยะจากการก่อสร้างโดยให้น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และนวัตกรรมด้านต่าง ๆ อาทิ การออกแบบบ้าน/อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบเพื่อลดเศษวัสดุเหลือใช้ การออกแบบเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งในนวัตกรรมบางอย่างที่ต้องอาศัยการผลิตขึ้นมาใหม่ ศุภาลัยจึงได้ร่วมหารือ คิดค้นและพัฒนาร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจ เช่น SCG TOA DOS CPAC เป็นต้น เพื่อผลิตวัสดุที่ตอบโจทย์ลูกค้าของบริษัทฯ และยังสามารถนำไปจัดจำหน่ายให้กับคนทั่วไปได้อีกด้วย
  2. การเป็นบ้านประหยัดพลังงาน มีการออกแบบวางผังตัวบ้าน/ตัวอาคารให้อยู่ในแนวเหนือใต้เพื่อหลบแดดและรับลม เน้นการออกแบบช่องเปิดประตูหน้าต่างหลายทิศทางเพื่อการระบายอากาศที่ดี และมีการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยระบายความร้อน จนได้รางวัลการันตีด้านการออกแบบประหยัดพลังงานอีกทั้งเลือกใช้เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5 
  3. การออกแบบเพื่อคนทุกวัย(Universal Design)  โดยบริษัทฯ คำนึงถึงการออกแบบฟังก์ชันภายในบ้าน และการใช้งานต่างๆ เพื่อรองรับทุกเพศ ทุกวัยให้ได้รับความสะดวกสบาย ความปลอดภัยอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะฟังก์ชันเพื่อตอบโจทย์ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ออกแบบห้องนอนในชั้นล่าง พร้อมใช้วัสดุปูพื้นที่ช่วยลดการลื่นและการกระแทก ออกแบบบานประตูเลื่อน ไม่มีธรณีประตู ลดความต่างระดับ สำหรับกรณีการใช้รถเข็นได้สะดวกยิ่งขึ้น
  4. การปฏิวัติใช้พลังงานสะอาด นอกจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ และจุดติดตั้งEV Charger ให้กับลูกบ้านศุภาลัยกว่า 15,000 หลังทั่วประเทศแล้ว ศุภาลัยมีความมุ่งมั่น และจริงจังเพื่อพิชิตเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2030  และมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดย อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ สำนักงานใหญ่ ติดตั้งโซลาร์ เซลล์ 450 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 330,397 กิโลวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 198 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 1.5 ล้านบาทต่อปี และยังมีการติดตั้ง ณ สำนักงานขายทั่วประเทศ และสโมสรส่วนกลาง สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าส่วนกลางให้กับลูกบ้านได้อีกด้วย
  5. กิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากการสร้างโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า บริษัทฯ พร้อมสนับสนุนนโยบายระดับประเทศด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการให้ความสำคัญและส่งเสริมงานด้านความยั่งยืนในมิติการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วนขององค์กร อาทิ การปลูกต้นไม้บนที่ดินของบริษัทฯเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์,เปลี่ยนการใช้ปุ๋ยเคมี สู่ปุ๋ยอินทรีไบโอฯ,กิจกรรมร่วมแบ่งปันเสื้อผ้า และสิ่งของส่งต่อให้คนงานก่อสร้าง, สนับสนุนสินเชื่อ Green Loan

เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอสังหาฯ ที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เชิญชวนพันธมิตรธุรกิจด้านเทคโนโลยี ยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมผนึกความแข็งแกร่ง สร้างความเชื่อมั่นสู่การเป็น No.1 “บ้านติดโซลาร์” โดยเฟสแรกได้ดำเนินแผนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ลูกบ้านศุภาลัย ประเดิม 1,500 หลังทั่วประเทศ พร้อมดูแลระบบติดตั้ง บำรุงรักษา รวมถึงความรู้ความเข้าใจด้านการใช้งาน และร่วมกันผลักดันการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับลูกค้า ยังเป็นวิธีที่ช่วยไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดภาระให้แก่โลกโดยทุกคนสามารถทำได้และเข้าถึงได้ง่าย ๆ

นายโลแกน ยู ประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจดิจิทัลพาวเวอร์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เปิดเผยว่า “บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ผู้ออกแบบโซลูชันอุปกรณ์แปลงผันกำลังไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนระบบการจัดการและแสดงผลอัจฉริยะด้านดิจิทัลพาวเวอร์สำหรับทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน  หัวเว่ยจะดำเนินตามเป้าหมายเรื่องการส่งเสริมให้ทั้งภาคองค์กรและครัวเรือนในประเทศไทย ร่วมติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์รายสำคัญของเราในประเทศไทย โดยหัวเว่ยจะสนับสนุนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี รวมทั้งช่วยพัฒนาโมเดลธุรกิจและการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านโปรแกรม Smart Design 2.0 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยและภาคธุรกิจของ บมจ.ศุภาลัย โดยร่วมกับไอออน เอเนอร์ยี่ ในการสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อโปรโมทโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย” 

หัวเว่ย ศุภาลัย และไอออน เอนเนอร์ยี่ ต่างมีวิสัยทัศน์ตรงกันในการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนเพื่อรองรับเทรนด์โลกในอนาคต จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมมือกันศึกษาและพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง โดยทดแทนด้วยพลังงานสะอาดในโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ของศุภาลัย เพื่อใช้เป็นต้นแบบเรื่องการบริหารจัดการพลังงานที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การต่อยอดและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นในอนาคต ในขณะที่ไอออน เอเนอร์ยี่ จะเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการต่าง ๆ

โดยหัวเว่ย ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานดิจิทัลในระดับโลก และมีบริการรวมถึงโซลูชันต่าง ๆ ที่ได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ในตลาดมากกว่า 170 ประเทศ ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บพลังงาน การนำไปใช้งาน และความปลอดภัยในการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ หัวเว่ยส่งเสริมให้ทั้งภาคองค์กรและครัวเรือนร่วมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ตามเป้าหมายเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ และตามพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการ 'เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย' และ ‘การปลดปล่อยขุมพลังแห่งดิจิทัลเพื่ออนาคตที่ดีกว่า’

นายพงศภัค นครศรี กรรมการบริหาร บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ION ผู้นำธุรกิจจัดหาโซลูชั่นพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ จัดหา และติดตั้ง รวมถึงการดูแลบริการหลังการขายสำหรับภาคครัวเรือน อสังหาริมทรัพย์ และองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพื่อลุยภารกิจพิชิต Net Zero สู่อนาคตที่ยั่งยืน เทรนด์ติดตั้ง Solar Roof มีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัย (Residential) ด้วยเหตุผลภาระค่าไฟฟ้าที่กำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากความผันแปรของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและการซื้อไฟฟ้า ส่งผลให้ค่า FT มีการปรับตัวสูงขึ้น หากมีพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ก็จะทำให้ภาพรวมภาระค่าไฟฟ้าต่อเดือนยังคงอยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย การเลือกใช้งานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรร่วมมือกันผลักดันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทุกภาคส่วนของสังคมและสิ่งแวดล้อม

ไอออน ได้เล็งเห็นความสำคัญและร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ และภายใต้ความร่วมมือนี้ยังได้รับความไว้วางใจจากบริษัทระดับโลกอย่างบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานดิจิทัลมาร่วมออกแบบและติดตั้ง Solar Roof ให้กับบ้านในโครงการของศุภาลัย และเซ็ตมาตรฐานการติดตั้งด้วยอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ระดับ Tier 1 คู่กับ Huawei Inverter และ สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล (BCC) ที่ได้รับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยผู้ผลิตบริษัท Bangkok Cable เพื่อยกระดับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานบ้านศุภาลัยทั้งในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ

สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหา “บ้านประหยัดพลังงาน” หรือ “บ้านพร้อมโซลาร์”  เตรียมพบกับโครงการศุภาลัย ที่พร้อมเปิดขายในปีนี้ อาทิ โครงการบ้านเดี่ยว บ้านสามชั้น บ้านแฝด โฮมออฟฟิศ รวมถึงคอนโดมิเนียม* ทั่วประเทศ (โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด) ซึ่งจะมาพร้อมโปรโมชันหรือข้อเสนอพิเศษมากมาย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1720 หรือติดตามข้อมูลโครงการเปิดใหม่ในช่องทาง www.supalai.com และ Facebook: Supalai

Page 1 of 29
X

Right Click

No right click