November 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 809

ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยนายสำมิตร สกุลวิระ ประธานสายสินเชื่อธุรกิจ ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) กับธนาคารออมสิน ตลอดจนสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวม 20 แห่ง ผ่าน VDO Conference โดยการลงนามในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังระหว่างสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ โดยมีธนาคารออมสินเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งเงื่อนไขของสินเชื่อซอฟต์โลนนี้ กำหนดวงเงินกู้รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารได้ถึงวันที่ 30 ธ.ค.63 ทั้งนี้ พิธีลงนามฯ จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

 

 อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร KKP เปิดเผยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2561 มียอดการเติบโตของสินเชื่อที่ 10.2% ส่งผลให้ภาพรวมผลประกอบการออกมาดีเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ โดยมีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 3,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% จากงวดเดียวกันของปี 2560 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของกลุ่มธุรกิจฯ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งสายช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า และการยกระดับกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งทำให้ธนาคารวิเคราะห์จำแนกกลุ่มลูกค้า (Segmentation) ได้โดยละเอียด และสามารถลดสินเชื่อกลุ่มที่ไม่มีคุณภาพ และขยายสินเชื่อกลุ่มที่ให้ผลกำไรเหมาะสมและมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อ KK SME นอกจากนั้น ยังได้รับแรงสนับสนุนในด้านต้นทุนการเงินจากผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อการลงทุน KKPSS (KK Phatra Smart Settlement) ที่ให้ดอกเบี้ยสูงเหมือนเงินฝากประจำสำหรับลูกค้า Wealth Management ของ บล. ภัทรโดยเฉพาะ ซึ่งนับเป็นการระดมเงินฝากจำนวนมากให้กับธนาคารโดยไม่ต้องใช้ต้นทุนในด้านสาขาและบุคลากรเพิ่มเติม ทั้งนี้ หลังเปิดตัวเพียงเมื่อต้นปี 2561 ปัจจุบันมียอดกว่า 2 หมื่นล้านบาท

 ชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ ให้รายละเอียดผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ของธนาคารเกียรตินาคิน และบริษัทย่อยว่า กลุ่มธุรกิจฯ มีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 3,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% จากงวดเดียวกันของปี 2560 เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) (ทุนภัทร) และบริษัทย่อย ได้แก่ บล.ภัทร และ บลจ.ภัทร จำนวน 824 ล้านบาท  มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ  5,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9%จากงวดเดียวกันของปีก่อน  ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ อยู่ที่ 2,206 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.7%  และรายได้อื่น 1,160 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 8,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากงวดเดียวกันของปี 2560 ครึ่งปีแรกสินเชื่อโดยรวมขยายตัวที่ 10.2% โดยสินเชื่อมีการขยายตัวในทุกประเภท รวมถึงสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องที่ 2.8 % จากสิ้นปี 2560 ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมยังคงปรับลดลง ณ สิ้นไตรมาส 2/2561 อยู่ที่ 4.5% ลดลงเมื่อเทียบกับ 5.0% ณ สิ้นปี 2560  ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งรวมกำไรถึงสิ้นปี 2560 อยู่ที่ 16.27% โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ12.72% แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 2/2561 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะเท่ากับ 17.35% และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 13.80%

  อภินันท์กล่าวเพิ่มเติมถึงทิศทางธุรกิจในครึ่งปีหลังว่า กลุ่มธุรกิจฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนา Business Model ใน 3 ธุรกิจหลัก เพื่อกระจายโครงสร้างรายได้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1. ด้านธุรกิจสินเชื่อยังคงมุ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าที่เลือกแล้วว่ามีอัตราผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted return) ที่เหมาะสม หรือสามารถนำไปสู่รายได้ด้านอื่นแก่กลุ่มธุรกิจฯ  อาทิ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อลอมบาร์ด สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับลูกค้าขนาดใหญ่หรือบริษัทจดทะเบียน 2. ด้านธุรกิจ Wealth Management จะมุ่งเติบโตทั้งในด้านสินทรัพย์ของลูกค้า และสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มสัดส่วนการให้บริการของกลุ่มธุรกิจฯ ในกระเป๋าของลูกค้า (share of wallet) โดยขยายผลผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนอย่าง บัญชี KKPSS, หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Note), Shark-Fin Note, Daily Range Accrual Note (DRAN), Fund Linked Note ซึ่งจะเป็นทั้งฐานเงินฝากและค่าธรรมเนียมของธนาคารต่อไป ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากมีลูกค้า Wealth Management จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ สนใจโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจฯ จึงจะเปิดตัวบริการการลงทุนในต่างประเทศ (Offshore Investment) โดยร่วมกับ Investment Bank และ Asset Management ของต่างประเทศ ประมาณ 10 แห่ง ที่ผ่านการกลั่นกรองโดยทีมวิจัยลูกค้าบุคคล (CIO Office) และนำเสนอต่อลูกค้าแต่ละรายโดยทีมที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Consultant) และทีมที่ปรึกษาวางแผนการลงทุน (Investment Advisor) พร้อมกันนั้น ยังยกระดับสาขาธนาคารให้เป็น Financial Hub หรือศูนย์บริการทางการเงินครบวงจรที่สามารถให้บริการในด้านการลงทุนให้กับลูกค้า โดยปัจจุบันมี 3 สาขา  คือ เซ็นทรัลเวิลด์ ทองหล่อ และเยาวราช  3. ด้านธุรกิจสินเชื่อบรรษัท ธุรกิจตลาดการเงิน และธุรกิจวานิชธนกิจ ของกลุ่มธุรกิจฯ ยังเติบโตก้าวกระโดดจากการผสานความร่วมมือและบูรณาการอย่างเป็นผลระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนจากสินเชื่อที่เติบโตกว่า 60% และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรายได้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน

 

สำมิตร สกุลวิระ ประธานสายสินเชื่อธุรกิจธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยผลงานของสายสินเชื่อธุรกิจเมื่อปีที่ผ่านมาว่า  สามารถทำวงเงินสินเชื่ออนุมัติใหม่ได้สูงที่สุดเท่าที่เคยทำมา จากการที่ธนาคารเริ่มขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่เพิ่มเติมจากอุตสาหกรรมที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษได้แก่ สินเชื่อกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายกลางรายเล็ก และสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (สินเชื่อธุรกิจอพาร์ตเม้นต์และโรงแรม สินเชื่อธุรกิจขนส่ง สินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้าง) 

 สำหรับปี 2561 จากทิศทางเศรษฐกิจและความต้องการของลูกค้า ธนาคารจะเดินหน้าด้วยแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.  เจาะกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในทุกเซกเมนต์ ส่วนกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีมุ่งขยายธุรกิจไปยังลูกค้ากลุ่มเดิม 2. เป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ด้วยประสบการณ์ยาวนานของทีมงาน 3. ขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มที่มีความมั่งคั่งสูง (high net worth) ในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยมุ่งให้บริการทางการเงินแก่กลุ่มคนดังกล่าวที่ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจและเจ้าของกิจการให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน และ 4.  ชูแพลตฟอร์มการเป็น Financial Solution Expert โดยพัฒนาบุคลากร ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ครอบคลุมความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า ตลอดจนนำเสนอเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการและสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ โดยปี 2561 สายสินเชื่อธุรกิจวางเป้าหมายสินเชื่ออนุมัติใหม่ที่ประมาณ 33,500 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดสินเชื่อของสายสินเชื่อธุรกิจขยายตัวราว 5% คิดว่าการให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมุ่งเน้นความสำเร็จของลูกค้าเป็นสำคัญ จะส่งผลให้การทำงานบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้

 ทั้งนี้ในปี 2560  สินเชื่อธุรกิจ มียอดสินเชื่อรวม 44,283 ล้านบาท ขยายตัวที่ 7% จากสิ้นปี 2559 แบ่งเป็น สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 21,276 ล้านบาท สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (สินเชื่อธุรกิจอพาร์ตเม้นต์และโรงแรม สินเชื่อธุรกิจขนส่ง สินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้าง) 23,007 ล้านบาท

            อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประกอบไปด้วย ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (บล.ภัทร) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (บลจ.ภัทร) ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา สามารถดำเนินงานได้ตามแผนธุรกิจที่วางไว้

           ธุรกิจสินเชื่อ Credit House) ที่สินเชื่อรวมของธนาคารขยายตัวได้ดี (ครึ่งปีแรกโต 4.1% จากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 5%) เป็นผลจากการเติบโตของสินเชื่อบรรษัทที่เกิดจากการผสานความร่วมมือของสายสินเชื่อบรรษัทกับสายงานวานิชธนกิจของ บล.ภัทร ตลอดจนการทำงานอย่างเข้มข้นของเครือข่ายสาขาและสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า เพื่อรุกตลาดสินเชื่อรายย่อย ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ KK SME รถคูณ 3

           ทางด้านธุรกิจตลาดทุน โดยเฉพาะในส่วนของ Private Bank ภายใต้ธุรกิจไพรเวทเวลธ์สำหรับผู้ลงทุนไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การให้คำแนะนำ (Asset under Advice: AuA) อยู่ที่ 403,000 ล้านบาท (ไม่รวมเงินฝาก) โดยมียอดเงินลงทุนใหม่กว่า 22,000 ล้านบาท และล่าสุด บล.ภัทร ได้เปิดบริการใหม่ คือ Global Investment Service (GIS) ซึ่งเป็นการให้บริการลงทุนต่างประเทศสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไร้ข้อจำกัดด้านพรมแดน

           โดยแผนครึ่งปีหลัง 2560 ของ KKP อภินันท์แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ประกอบด้วย

           ด้านสินเชื่อ จะพยายามกระจายสินเชื่อเพิ่มขึ้น ทั้งสินเชื่อองค์กร สินเชื่อเช่าซื้อ โดยจะมีช่องทางที่หลากหลายในการให้บริการ เช่นเทเลเซลล์ ออนไลน์ ไดเร็กมาร์เก็ต โดยในช่องทางออนไลน์ยังรอเรื่องกฎหมายเพื่อทำให้ครอบคลุมครบวงจรต่อไป

           ด้าน Private Banking บริหารการเงินให้กับลูกค้า เป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ ซึ่งยังมีช่องทางเติบโตได้อีก จากอัตราดอกเบี้ยที่ยังต่ำ ลูกค้าเงินฝากในประเทศมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดย KKP จะพยายามทำบริการให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับสากล พัฒนาผลิตภัฑณ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

           ด้าน Wholesale Investment Banking  ในส่วนของวานิชะนกิจจะสามารถเริ่มให้บริการอย่างครบวงจร สามารถรองรับการทำธุรกรรมสำคัญๆ ได้ครบทุกมิติมากขึ้น โดยจะต้องต่อยอดด้วยการเพิ่มการรับรู้ของลูกค้า ในส่วนธุรกิจนายหน้า มองไปที่กลุ่มลูกค้าสถาบันซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่สามารถสร้างรายได้ได้ดี โดยจะต้องรักษามาตรฐานของงานวิจัย และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

           อภินันท์สรุปว่า แผนงานครึ่งปีหลังของKKP เป็นการทำงานต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก แต่มีการปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการทำระบบและกระบวนการให้ทันสมัย โดย KKP อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบคอร์แบงก์กิ้งซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561

จากการเป็นเจ้าตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ธนาคารเกียรตินาคินได้เปลี่ยนกลยุทธ์ตัวเองให้มาเน้นการเข้าถึงลูกค้าในเชิงรุกและการขยายสินเชื่อสู่รายย่อยแบบครบวงจร เพื่อยกตัวเองให้ก้าวสู่การเป็นธนาคาร Credit House

 

ผ่านกลุ่มสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า (Alternative Distribution Channel หรือ ADC) กลุ่มสายงานใหม่ที่ตั้งขึ้นเมื่อกุมภาพันธ์ 2559

 

ADC ทำหน้าที่ให้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อแก่รายย่อย ทั้งสินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ KK SME รถคูณสาม 10 เดือนสำหรับการทำงานสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่กว่า 5,000 ล้านบาท โดยเหตุผลที่ทำให้สินเชื่อทั้งสามของธนาคารได้รับความสนใจ เพราะสินเชื่อบุคคล - ธนาคารใช้เวลาพิจารณาอนุมัติสินเชื่อภายในหนึ่งวัน และเป็นสินเชื่อที่ตรงกับความต้องของลูกค้า สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย - ทีมงานใหม่มีความสัมพันธ์กับโครงการบ้านทำให้ตลาดนี้ขยายได้มากขึ้น และสินเชื่อ KK SME รถคูณสาม - ธนาคารเป็นเจ้าแรกที่ให้บริการสินเชื่อดังกล่าว และเจ้าหน้าที่มีการเข้าถึงตัวลูกค้าโดยตรง รวมทั้งมีการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทำให้ได้รับการตอบรับดี นอกจากนี้ การที่ ADC ทำงานผ่านโครงสร้าง 4+1 ส่งผล  ADC ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว

 

ภัทรพงศ์ รักตะบุตร ประธานสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงสร้าง 4+1 ได้แก่ กลุ่มงานวางแผนและพัฒนาฐานลูกค้า กลุ่มงานบริหารประสิทธิภาพและผลงานของทีมขาย กลุ่มงานกำกับมาตรฐานงานขาย และกลุ่มงานพัฒนาบุคลากรและสนับสนุนงานขาย ส่วนอีกหนึ่งกลยุทธ์สุดท้าย คือ กลุ่มงานบริหารงานขาย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำตลาด 

 

“ในปี 2560 นี้เราจะเน้นกลุ่มงานบริหารงานขายให้รองรับแผนการขยายธุรกิจของธนาคารในปัจจุบัน โดยจะเพิ่มพื้นที่การให้บริการตามหัวเมืองที่มีศักยภาพ ซึ่งได้ทดลองไปแล้วที่จังหวัดเชียงใหม่ และจะสร้างทีมบริหารงานขายเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์-ช่องทางการทำตลาดใหม่ๆ พร้อมทั้งขยายกลุ่มนี้จาก 600 คนให้เป็น 1,000 คนเพื่อช่วยเสริมศักยภาพของการขยายธุรกิจรายย่อย ทำให้คาดในปี 2560  ADC จะขยายการปล่อยสินเชื่อจาก 5,000 ล้านบาทเป็น 10,000 ล้านบาท”

 

ส่วนแผนในอีก 3-4 ปีธนาคารจะปรับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อรายย่อยให้มีสัดส่วนที่เท่ากัน คือ 50 ต่อ 50 จากที่สิ้นปี 2559 สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์อยู่ที่ 70% สินเชื่อรายย่อยอยู่ที่ 30% เนื่องจากสินเชื่อรายย่อยมีมาร์จินดี ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เริ่มชะลอตัว เชื่อว่าการพัฒนาสายงาน ADC ตามแผนจะช่วยให้สินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นได้ตามเป้า ที่ผ่านมา ADC อนุมัติสินเชื่อบุคคลไปแล้ว 20% สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 40% สินเชื่อ KK SME3 30%

 

สำหรับสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ณ สิ้นปี 2559 มียอดรวมทั้งสิ้น 

 

176,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1. สินเชื่อรายย่อย 123,000 ล้านบาท (สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 113,000 ล้านบาท สินเชื่อบุคคล 4,000 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 3,500 

ล้านบาท และสินเชื่อ Micro SMEs 2,500 ล้านบาท) 2. สินเชื่อธุรกิจและอื่นๆ 53,000 ล้านบาท

 

คงต้องดูกันต่อว่าการทำงานของ ADC ตามโครงสร้าง 4+1 จะช่วยสร้างรายได้ให้กับธนาคารเกียรตินาคินตามเป้าหมายที่วางไว้หรือเปล่า และการเดินทางมาสายนี้ของธนาคารจะสร้างโอกาสในทางธุรกิจให้มากน้อยแค่ไหน เราคงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

 

X

Right Click

No right click