September 21, 2024

กรุงเทพฯ (13 กันยายน 2567) - ไบแนนซ์ ทีเอช บาย กัลฟ์ ไบแนนซ์ (BINANCE TH by Gulf Binance) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ไบแนนซ์ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทภายในเครือของไบแนนซ์ แพลตฟอร์มที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด พาส่องเทรนด์โลกสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ในหัวข้อ ‘คว้าโอกาสในโลกบิทคอยน์ ไปทางไหน’ ในงาน The Secret Sauce Summit 2024 มุ่งเจาะลึก 3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์ ทั้งในกลุ่มนักลงทุนระดับย่อยและนักลงทุนสถาบัน พร้อมเผยเทคนิคการเลือกแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์

1. การยอมรับการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล

เทรนด์การลงทุนในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ กระเป๋า หรือนาฬิกา แต่ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกหันมานิยมลงทุนใน ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ โดยเฉพาะ บิทคอยน์ มากยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านมูลค่าตลาดของบิทคอยน์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับสูงสุด

(All Time High - ATH) ที่ 73,750 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบิทคอยน์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา รวมถึงยังเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดติด 10 อันดับแรกของโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2555 สมัยบารัก โอบามา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าบิทคอยน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกๆ 4 ปี ช่วงเวลาเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนใหม่ ซึ่งสำหรับการเลือกตั้งในปีนี้เอง ยังคงต้องจับตาดูอีกครั้งว่าแนวโน้มมูลค่าของบิทคอยน์จะเป็นอย่างไรต่อไป

กราฟแสดงมูลค่าของบิทคอยน์ (ดอลลาร์สหรัฐ) ระหว่างปี 2554 ถึง กลางไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โดย ChartsBTC

2. สินทรัพย์ดิจิทัลกับการใช้งานในชีวิตจริง

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด แสดงเส้นทางการใช้งานบิทคอยน์ในชีวิตจริงนับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา

บิทคอยน์ ถูกใช้งานจริงครั้งแรกในวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 เพื่อใช้ซื้อพิซซ่า ซึ่งทำให้ทุกวันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปี ได้ถูกเรียกว่าเป็น ‘Bitcoin Pizza Day’ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าเราสามารถนำบิทคอยน์มาซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหลังจากนั้นปรากฎการณ์การยอมรับบิทคอยน์ได้มีให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดตัว Bitcoin ATM เครื่องแรกต่อสาธารณะ ในปี 2556 ณ ร้านกาแฟในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา รวมถึงการที่หลากหลายแบรนด์ชั้นนำยอมรับให้ซื้อสินค้าด้วยบิทคอยน์ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Dell และ PayPal รวมถึงแบรนด์หรู อย่าง Hublot เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2564 เอลซัลวาดอร์ ยังถือเป็นประเทศแรกที่ยอมรับบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ (Legal Tender) และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

ล่าสุดในปี 2567 บิทคอยน์ยังคงเดินหน้าสู่การยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เห็นได้ชัดจากที่หลายประเทศ เริ่มเล็งเห็นบิทคอยน์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ยกตัวอย่างเช่น

· ฮ่องกง เป็นประเทศที่ทางรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันให้เป็นประเทศ ‘ศูนย์กลางคริปโตเคอร์เรนซีแห่งเอเชีย’ เชื่อมต่อระหว่างโลกเกมเข้ากับบิทคอยน์ พร้อมชูให้เป็นหนึ่งในนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

· รัสเซีย ประกาศทดลองใช้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อประยุกต์ใช้ในระบบการเงินของประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

· สหภาพยุโรป เริ่มยอมรับการใช้บิทคอยน์ภายในประเทศสมาชิกทั้ง 28 ประเทศ โดยมีผลบังคับใช้กฎระเบียบ MiCA (Markets in Crypto-Assets Regulation) เพื่อรับประกันเสถียรภาพทางการเงินในกลุ่มประเทศสมาชิกทั้งในแง่ของการเป็นเจ้าของ การซื้อขาย และการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล

3. การมาถึงของ Spot Bitcoin ETFs สู่การยอมรับของนักลงทุนสถาบัน

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด เผยให้เห็นรายชื่อกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่สนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล

นับตั้งแต่การเปิดตัว Spot Bitcoin ETFs เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน Spot Bitcoin ETFs ได้มีมูลค่าการทำธุรกรรมมากถึง 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้ตอนนี้ การลงทุนในบิทคอยน์ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น แต่ได้มีผู้เล่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันสนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อาทิ Morgan Stanley JPMorgan Chase & Co CitiBank Goldman Sachs และ Wells Fargo เป็นต้น

เริ่มต้นลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบไหน ใช่ที่สุด

ในประเทศไทย มีแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลมากมายให้เลือกลงทุน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนในแพลตฟอร์มใด ผู้ลงทุนจึงควรต้องศึกษารายละเอียดและฟีเจอร์ที่ให้บริการอย่างรอบคอบ แพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในประเทศ ให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และรองรับการใช้งานให้แก่ผู้ใช้งานคนไทยโดยเฉพาะ โดยผู้ใช้สามารถมีอิสระในการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยการดำเนินงานที่รวดเร็ว สะดวก ค่าธรรมเนียมต่ำ อีกทั้ง ผู้เริ่มต้นลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหม่ยังสามารถทำความเข้าใจ และใช้งานแพลตฟอร์มได้โดยง่าย ที่สำคัญแพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ยังรองรับการลงทุนของคนทุกกลุ่มทั้งนักลงทุนนิติบุคคล และนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย เพื่อมอบประสบการณ์ด้านการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแบบครบวงจร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่มุ่งหวังส่งเสริมความเท่าเทียมทางการเงินให้แก่ทุกคน

โก โฮลเซลล์ (GO Wholesale) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการส่งออกชิลี หรือ โปรชิลี จัดงาน “Chile’s Taste Journey” ชวนสัมผัสวัตถุดิบคุณภาพดี ส่งตรงจากชิลี พร้อมจัดโปรโมชั่นพิเศษตลอดเดือนกันยายน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันชาติประเทศชิลี โดยมี นายปาตริซิโอ พาวเวลล์ เอกอัครทูตชิลี ประจำประเทศไทย และคณะ ให้เกียรติร่วมงาน และเยี่ยมชมสินค้าภายในสาขา โก โฮลเซลล์ ศรีนครินทร์

 นายริคาร์โด้ โบอารอตโต้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจเซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ ประเทศไทย ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า โก โฮลเซลล์ นำเข้าวัตถุดิบคุณภาพขึ้นชื่อจากทั่วโลก เพื่อส่งตรงให้ลูกค้าผู้ประกอบการ นำไปต่อยอดในธุรกิจอาหาร โดยประเทศชิลี ถือว่ามีวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมเป็นที่ยอมรับและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในกลุ่มผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ทั้งในด้านราคาและคุณภาพสินค้า ไม่ว่าจะเป็น อาหารทะเล โดยเฉพาะ ปลาแซลมอน หอยแมลงภู่ชิลี ปูยักษ์ อาหารแช่แข็งรวมไปถึงไวน์ และเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองวันชาติชิลี ทาง โก โฮลเซลล์ จึงได้จัดงาน “Chile’s Taste Journey” สัมผัสสินค้าคุณภาพดี ส่งตรงจากชิลีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 5 – 30 กันยายนนี้ ณ โก โฮลเซลล์ ทุกสาขาทั่วประเทศ

“สินค้าจากประเทศชิลี ตอบโจทย์ลูกค้าผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่องคุณภาพสินค้า ความปลอดภัย ที่มาพร้อมกับความคุ้มค่า และมีสินค้าป้อนความต้องการอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง โก โฮลเซลล์ เข้าใจความต้องการของลูกค้าผู้ประกอบการ จึงได้ร่วมกับซัพพลายเออร์ในการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ ตรงกับการใช้งานในแต่ละประเภททำให้สินค้าจากชิลีของที่นี่มีความหลากหลาย สะดวกต่อการนำไปใช้งาน”

สำหรับสินค้าไฮไลท์ของงานนี้ จะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก ปลาแซลมอน ที่ประเทศชิลีได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกปลาแซลมอนเป็นอันดับสองของโลก ซึ่ง โก โฮลเซลล์ ได้นำปลาแซลมอนสด 2 สายพันธุ์ มาเปิดตัวเป็นครั้งแรก ทั้ง แอตแลนติกแซลมอน (Atlantic Salmon) เนื้อแน่น สีส้มนวล ก้างน้อย มีไขมันแทรกกำลังพอดี และ โคโฮแซลมอน (Coho Salmon) ที่ชิลีได้ชื่อว่าเป็นแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะหนังสีเงิน มีเนื้อสีแดงสด มีฤดูกาลจำหน่ายเฉพาะเดือนกันยายน - กุมภาพันธ์ ถือเป็นโอกาสพิเศษที่ลูกค้า โก โฮลเซลล์จะได้สัมผัส นอกจากนี้ยังมี หอยแมลงภู่ชิลีที่ขึ้นชื่อ ทั้งแบบมีฝา และแบบเนื้อล้วนๆ มีลักษณะเนื้ออวบ แน่น และหวาน ปูยักษ์ ไวน์ และอื่นๆ ซึ่งจะมีโปรโมชั่นพิเศษสุด ตลอดทั้งเดือนกันยายน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันชาติของประเทศชิลีในเดือนนี้ด้วย

“โก โฮลเซลล์ หวังว่าสินค้าจากประเทศชิลีจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับลูกค้าผู้ประกอบการและผู้บริโภค ทั้งในส่วนของสินค้าที่นำมาจัดโปรโมชั่นในงานนี้ รวมถึงในอนาคตที่เรามีแผนนำสินค้ารายการใหม่ๆ เข้ามาเสริมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าผู้ประกอบการได้หลากหลายมากขึ้นด้วย” นายริคาร์โด้ กล่าวปิดท้าย

ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมการส่งออกชิลี หรือ โปรชิลี เผยว่า การนำเข้าวัตถุดิบจากชิลีของประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า โดยอยู่ที่ 375 ล้านดอลลาร์ในปี 2566 โดยเฉพาะ อาหารทะเล ผลไม้ (สด แช่แข็ง และแห้ง) และไวน์ มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในประเทศไทย ซึ่งชิลีได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารชั้นเยี่ยมที่มีความปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ คำนึงถึงความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้าสำคัญของโลกอย่าง ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หอยแมลงภู่ และปลาเฮก รวมถึง ไวน์ ที่ได้ชื่อว่าชิลีส่งออกเป็นเป็นอันดับสี่ของโลก

ร่วมพิสูจน์ความสดกันได้ที่ โก โฮลเซลล์ ทั้ง 8 สาขา ศรีนครินทร์ เชียงใหม่ อมตะชลบุรี พัทยาใต้ พระราม 2 รังสิต รามคำแหง ราไวย์ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 กันยายนนี้

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดมูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยในปี 2567 จะมีมูลค่าราว 7.5 หมื่นล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 12.4% จากปี 2566 ด้วยแรงหนุนของการต่อยอดรูปแบบการเลี้ยงดูในมิติของ Pet Humanization เข้าสู่ Petriarchy และ Pet Celebrity ที่หนุนบทบาทให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

จากเทรนด์การดูแลสัตว์เลี้ยงของคนในยุคปัจจุบันมีรูปแบบการดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัว (Pet Humanization) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มผู้ดูแลเดิมที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลสัตว์เลี้ยงของตนเอง และ กลุ่มเจ้าของสัตว์เลี้ยงมือใหม่ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์เลี้ยงต่อตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทาง ttb analytics ได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัว โดยเจ้าของจะมีภาระค่าใช้จ่ายเฉลี่ยราว 41,100 บาทต่อตัวต่อปี ซึ่งสูงกว่าการเลี้ยงดูแบบปล่อยอิสระที่จะมีค่าใช้จ่ายเพียงราว 7,745 บาทต่อตัวต่อปี โดยมีค่าใช้จ่ายจากอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง ค่าดูแล รวมถึงอาหารที่น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี เทรนด์การดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัว (Pet Humanization) ในบางกลุ่มเจ้าของอาจมีวิวัฒนาการสู่การเลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัวแบบตามใจ หรืออาจเรียกว่า “ทาสหมา-ทาสแมว” (Petriarchy) ซึ่งบนบริบทการเลี้ยงดูที่ตามใจ โดยสัตว์เลี้ยงเป็นผู้รับที่ไม่สามารถปฏิเสธของที่เจ้าของเลือกซื้อให้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเจ้าของเลือกที่จะซื้อของให้สัตว์เลี้ยงเพื่อตอบสนองความพอใจส่วนตน ย่อมส่งผลให้การจับจ่ายในส่วนของอุปกรณ์ และค่าดูแล มีทิศทางเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง

อย่างไรก็ตาม นอกจากกระแสของ Pet Humanization และ Petriarchy แล้วในสังคมยุคปัจจุบัน สัตว์เลี้ยงบางตัวอาจพัฒนาบทบาทจากลักษณะนิสัยส่วนตัวที่สามารถยกระดับจาก “สมาชิกในครอบครัวปกติ” เป็น “สมาชิกในครอบครัวที่สามารถสร้างรายได้” ผ่านรูปแบบลักษณะเฉพาะของสัตว์เลี้ยงที่สามารถดึงดูดความสนใจจากคนในสังคมวงกว้าง หรือ Pet Celebrity และถูกพัฒนาเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีผู้ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย (Petfluencer) เมื่อมีการนำเสนอนิสัยหรือลักษณะเฉพาะของสัตว์เลี้ยงนั้นผ่านการเล่าเรื่องหรือการสร้าง Content โดยเจ้าของผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งการที่กลุ่มสัตว์เลี้ยงที่ถูกยกระดับเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีผู้ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย (Petfluencer) ที่สามารถสร้างรายได้ผ่าน Content ต่าง ๆ ที่เจ้าของได้สรรสร้างเพื่อนำเสนอให้กลุ่มผู้ติดตาม ทำให้นอกจากรายจ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์และค่าดูแลสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งแล้ว ยังมีความถี่ในการจับจ่ายที่สูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มที่เลี้ยงในลักษณะเสมือนสมาชิกในครอบครัว (Pet Humanization) แบบทั่ว ๆ ไป ซึ่งจากบริบทการเลี้ยงสัตว์ที่มีแนวโน้มเข้าสู่ “การเลี้ยงแบบครอบครัว-ที่ตามใจ-และสร้างรายได้” ส่งผลให้มูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยทาง ttb analytics ประเมินมูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงในไทยปี 2567 คาดมีมูลค่าแตะ 7.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 12.4 % เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า บนค่าเฉลี่ยการเติบโตของมูลค่าตลาดย้อนหลัง 5 ปี (CAGR) ที่ 17.5% โดยรูปแบบการเติบโตของตลาดสัตว์เลี้ยงในไทยแบ่งออกเป็นดังนี้

 

1. กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง และ บริการรักษาสัตว์ เป็นกลุ่มที่ได้รับการเติบโตจากกระแสรูปแบบการดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัว (Pet Humanization) ที่มากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเจ้าของตระหนักถึงสัตว์เลี้ยงเป็นประหนึ่งเหมือนสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้รูปแบบการดูแลสัตว์เลี้ยงเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น กลุ่มอาหารที่เริ่มมีการใช้อาหารเฉพาะเพิ่มมากขึ้นจากคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม รวมถึงการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาในอนาคตที่การให้อาหารที่ไม่เหมาะสมส่งผลต่อสุขภาพสัตว์เลี้ยงในระยะยาว รวมถึงอาหารสัตว์ในปัจจุบันก็มีหลายรูปแบบ ซึ่งส่วนมากกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ในรูปแบบนี้มักใช้อาหารเกรดพรีเมี่ยมที่มีราคาสูง เช่น อาหารเปียก รวมถึงในผู้เลี้ยงบางกลุ่มก็เลือกใช้อาหารดิบที่ไม่ผ่านความร้อน (BARF) ที่มีราคาสูง ส่งผลให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในปี 2567 ขยายตัวโดยมีมูลค่าแตะ 4.46 หมื่นล้านบาท บนค่าเฉลี่ยการเติบโตของมูลค่าตลาดย้อนหลัง 5 ปี (CAGR) ที่ 17.0% สอดคล้องกับบริการรักษาสัตว์ที่มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจากความตระหนักในการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง และต้องรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงที่ประหนึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้มูลค่าบริการรักษาสัตว์เติบโตต่อเนื่องที่ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (CAGR) ที่ 21.7% ด้วยมูลค่า 6.64 พันล้านบาท ในปี 2567

2. กลุ่มอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและบริการดูแลสัตว์เลี้ยง เป็นกลุ่มที่นอกจากได้รับแรงหนุนของกระแสการดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัวแล้ว (Pet Humanization) มูลค่าของอุตสาหกรรมยังมีการเร่งตัวในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจากกระแสการเลี้ยงเสมือนคนในครอบครัวแบบตามใจ (Petriarchy) และ สมาชิกในครอบครัวที่สามารถสร้างรายได้ (Petfluencer) ที่ส่งผลให้มีความถี่ในการเข้ารับบริการดูแลและความถี่ในการจัดหาอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเพิ่มในอัตราเร่ง ส่งผลให้มูลค่าตลาดอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและบริการดูแลสัตว์เลี้ยงมีค่าการเติบโตเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (CAGR) ที่ 17.3% และ 16.7% โดยคาดว่ามีมูลค่า 2.29 หมื่นล้านบาท และ 0.66 พันล้านบาท ตามลำดับ บนแนวโน้มที่ยังรักษาการเติบโตในอัตราเร่งได้

กล่าวโดยสรุป กระแสการดูแลสัตว์เลี้ยงในปัจจุบันแบบการดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัว (Pet Humanization) เป็นกระแสที่เพิ่มความนิยมส่งผลให้การดูแลสัตว์เลี้ยงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผลให้เจ้าของมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นทั้งในมิติของอาหารที่ต้องเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสุขภาพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนของอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริการดูแลย่อมสูงขึ้นในอัตราเร่ง เมื่อเจ้าของมีการเลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัวแบบตามใจ หรืออาจเรียกว่า “ทาสหมา-ทาสแมว” (Petriarchy) หรือเมื่อสัตว์เลี้ยงมีนิสัยเฉพาะตัวที่ยกระดับเป็น Pet Celebrity และมากกว่าไปนั้น นอกจากมูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงในไทยที่ขยายตัวจากเทรนด์การเลี้ยงที่เปลี่ยนไปดังกล่าว รูปแบบการเลี้ยงนี้ยังส่งผลทางอ้อมไปยังธุรกิจและบริการที่สามารถรองรับมูลค่าที่ขยายตัวนี้ได้ เช่น กลุ่มโรงแรมที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง ธุรกิจรับฝึกสัตว์เลี้ยงให้กลายเป็น Petfluencer รวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับบริการรักษาสัตว์ที่อาจมีการขยายขอบเขตบริการ Veterinary Telemedicine หรือ Virtual Vet ที่อาจเข้ามาตอบโจทย์กรณีเจ็บป่วยเล็กน้อยที่เจ้าของอาจไม่สะดวกเดินทางพาสัตว์เลี้ยงเข้ารับการรักษา เป็นต้น

แนวโน้มและการพัฒนาของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของไทยว่า อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่ใน First S-Curve หรือ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพและมีความสำคัญกับประเทศไทย เพราะเชื่อมโยงกับหลายภาคส่วน ซึ่งล่าสุดประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมาอยู่อันดับที่ 12 ของผู้ส่งออกอาหารของโลก

ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป รายงานว่า ปี 2566 ให้ข้อมูลว่า 10 เดือนแรกปี 2566 ไทยมีการส่งออกสินค้าอาหารมูลค่า 1.31 ล้านล้านบาท เติบโต 3.2% ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกสินค้าเกษตรอาหาร 6.6 แสนล้านบาท เติบโต 9.5% ส่วนของสถานการณ์การส่งออกของอาหารอนาคตใน Future Food มีมูลค่าราว 1 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.2% ของอาหารทั้งหมด   นางสาวกชสร โตเจริญธนาผล  รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทสไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2024 เผย

 

ส่วนปี 2567 น่าจะยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ส.อ.ท.,หอการค้าไทย และสถาบันอาหาร คาดจะส่งออกได้ 1.65 ล้านล้านบาท สำหรับกลุ่มสินค้าอาหารที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี ได้แก่ กลุ่มผลไม้แช่เย็น-แช่แข็ง กลุ่มไก่สดแช่เย็น-แช่แข็ง กลุ่มอาหารทะเล ทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่แข็งและสินค้าที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เช่น อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ อาหารเฉพาะทาง อาหารฮาลาล และอาหารแปรรูปคุณภาพสูง โดยปัจจัยสำคัญมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากประเทศคู่ค้าหลักที่ทยอยฟื้นตัว ประเทศเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การท่องเที่ยวในประเทศขยายตัวได้ดี การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องและนโยบายของรัฐที่ออกมาตรการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากปัจจัยหนุนดังกล่าว ผู้ประกอบการไทยยังได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถในการผลิตสูงและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สินค้าอาหารของไทยมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ผนวกกับความได้เปรียด้านการมีแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติดีถูกปากคนทั่วโลกง่าย โดยหากมองจากการเติบโตของงาน ProPak Asia ที่เป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับเอเชีย ซึ่งในการจัดงาน ProPak Asia 2024 ปีนี้ คาดว่าจะมีมูลค่าการค้าและเจรจาธุรกิจในงาน 4 วัน สูงถึง 4,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 12% ส่วนผู้เข้าร่วมงานเป็นนักธุรกิจและผู้ประกอบการไทย 80% และต่างประเทศ 20% ดังนั้นการเติบโตของานฯ เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการอาหารของไทยมีการตื่นตัว พัฒนาและลงทุนด้านกระบวนการผลิตตลอดเวลา ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหารของไทยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว  

ส่วนแนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมนั้น ยังมุ่งเน้นการสร้างสมดุลของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อเป็นแนวทางให้การพัฒนาของทุกภาคส่วนเดินไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี การพัฒนาสู่ยุคการผลิตดิจิตอลและปัญญาประดิษฐ์ (Digitalization and AI) การเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกัน (Interconnectivity and Collaboration) ที่ช่วยให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งการอนุรักษ์พลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การบริหารจัดการ การประมวลผลข้อมูล เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ สามารถวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเชื่อมโยงระบบการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ธุรกิจปรับตัวได้ดี ในช่วงที่ระบบการผลิตกำลังเปลี่ยนแปลง สร้างผลเชิงบวกต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต แปรรูป บรรจุภัณฑ์ ต้องมีการออกแบบและการเลือกใช้วัตถุดิบที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายง่าย การเลือกใช้วัสดุ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบัดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป เพื่อไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon)  

นอกจากการพัฒนาที่เน้นความยั่งยืนจะส่งผลดีต่อการผลิตแล้ว ยังช่วยสร้างแต้มต่อด้านการค้าในสนามนานาชาติมากขึ้นด้วย เนื่องจากปัจจุบันอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น อาทิ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรปที่เป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิตสินค้าของไทย หันมาลดการปล่อยคาร์บอนลง หรือ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) นโยบายสร้างความมั่นคงด้านอาหารของจีน (Food security policy) ลดการนำเข้าและพึ่งพาการผลิตภายในประเทศมากขึ้น หรือแม้แต่ ESG เช่น เรื่องการทำประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable fishing) และการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม (Fair labor practices) อีกด้วย 

ดังนั้นหัวใจของงาน ProPak Asia 2024 นอกจากจะเป็นงานแสดงของเทคโนโลยีกระบวนการแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บ และการขนส่ง ครบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำระดับเอเชีย ที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการทุกระดับ ทุกขนาด ยังจัดขึ้นภายใต้แนวคิด การยกระดับความสำเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนด้วย แนวคิด นวัตกรรม และการลงทุน (Sustainably Empowering Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment) เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบัดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการจะได้พบนวัตกรรมต่างๆ เทคโนโลยีการผลิต แปรรูปเพื่อไปถึง Net Zero Carbon การเลือกใช้วัสดุออกแบบบรรจุภัณฑ์และอื่นๆ ไปต่อยอดลงทุนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน 

ภายในงานมีการจัดแสดงแบ่งเป็น 8 โซนหลัก ได้แก่ 1) Processing Tech Asia  เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปอาหาร และวัตถุดิบ 2) PackagingTech Asia เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และกระบวนการบรรจุภัณฑ์ 3) DrinkTech Asia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม 4) PharmaTech Asia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยา 5) Lab&Test Asia เทคโนโลยีการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานของอาหาร และบรรจุภัณฑ์ 6) Packaging Solution Asia เทคโนโลยีเพื่อการผลิตบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป 7) Coding, Marking & Labelling Asia เทคโนโลยีเพื่อการเขียนรหัส, ติดป้าย, และปักหมายเลขบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ 8) Coldchain, Logistics, Warehousing & Factory Asia เทคโนโลยีเพื่อการขนส่ง จัดเก็บสินค้า และเทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการผลิต มีผู้เข้าร่วมจัดแสดงกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 45 ประเทศทั่วโลก และมีพาวิเลี่ยนจาก 14 กลุ่มประเทศประกอบด้วย ออสเตเรีย บาวาเรีย ฝรั่งเศส  อิตาลี  สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ แลไต้หวัน ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเทคโนโลยี และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศนั้นๆ ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาร่วมจัดแสดงในงานฯ  ส่วนไฮไลท์ที่พลาดไม่ได้ในปีนี้คือ  

  • ProPak Gourmet ร่วมค้นหาวิธีการยืดระยะเวลาความสดเพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์  สัตว์ปีกและอาหารทะเล 
  • I-Stage เวทีที่รวบรวม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการลงทุนสำหรับโซลูชั่นทางธุรกิจในระบบห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และธุรกิจ FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) สินค้าอุปโภค บริโภค พบกับเซเลป กูรู ในวงการที่จะมาแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการ SME (Small and Medium-sized Enterprises) ได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ยั่งยืนในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ และปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเกี่ยวกับการลงทุนและการขยายกลุ่มธุรกิจ 
  • Future Food Corner สัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีการผลิตและบรรจุภัณฑ์ 
  • Lab & Test Teather ค้นพบข้อกำหนดด้านความปลอดภัย เทคโนโลยีตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานในการแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม ยา สินค้าอุโภคบริโภคและบรรจุภัณฑ์สินค้าล่าสุด 

ด้วยเหตุนี้งาน ProPak Asia 2024 จึงเป็นงานแสดงสินค้าสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาการผลิตและแปรรูปอาหาร และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสร้างรายได้และมูลค้าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ พร้อมช่วยส่งเสริมการเดินทางของนักธุรกิจและผู้ประกอบการจากต่างประเทศในการเข้ามาท่องเที่ยวเชิงธุรกิจซึ่งมีมูลค่าสูงแก่ประเทศไทยด้วย 

ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงาน ProPak Asia 2024 สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com

 

 

โฉมหน้าระบบนิเวศการชำระของเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระด้วยเงินสดเป็นระบบดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และความสามารถของผู้บริโภคในการจ่ายและรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง

ความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งให้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มการสมัครสมาชิก การค้าออนไลน์และโซเชียลคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินแบบ on-demand

ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2567 นี้ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงยังจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการชำระเงินในระบบดิจิทัลต่อไปเพราะทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่างมองหาวิธีการชำระและรับชำระที่รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และไร้รอยต่อ ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเราคาดหวังว่าโซลูชันใหม่ ๆ จะถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น”

 1. การชำระไม่ใช่แค่เรื่องของวิธีการ แต่สำคัญที่เมื่อไร

เมื่อผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการชำระแบบดิจิทัล ความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงแค่หาโซลูชันที่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่สำคัญที่การนำเสนอโซลูชันนั้น ๆ ให้กับลูกค้าต้องเกิดขึ้นในเวลาที่ใช่

สิ่งนี้เป็นเสน่ห์ของการเงินแบบฝังตัว (embedded finance) คือการผสานบริการด้านการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอขายประกันแก่ผู้ซื้อที่จุดชำระเงิน ขณะที่บริการ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระเป็นงวดได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ หรือแอปชอปปิง

คล้ายคลึงกับเรื่องราวของดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรชำระเงินต่าง ๆ ง่ายดายขึ้นผ่านการชำระแบบดิจิทัล และโซลูชัน Mobile-as-a-Service (MaaS) ที่ผนวกการชำระเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผน จองตั๋ว และจ่ายค่าโดยสารการเดินทางได้ในที่เดียว

โอกาสในลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นในการชำระแบบ B2B โดยวีซ่าและบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่าง BCG พบว่า ภายในปี 2568 การเงินแบบฝังตัวจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า 242 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่ผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB)

 

2. โฉมหน้าการชำระเงินแบบ B2B จะถูกปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

อีกไม่นานจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมโลกธุรกิจเมื่อคลื่นลูกใหม่ของผู้นำเจน Z และมิลเลนเนียลก้าวขึ้นมามีบทบาท พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และความคาดหวังของพวกเขานั่นเองที่ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน B2B ให้มีโฉมหน้าและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั่น

มีสองพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างแรกคือการทำงานร่วมกัน ระบบที่ต่างกันจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อได้มากน้อยเพียงใด มันจำเป็นต้องมีนักพัฒนา ธุรกิจ และภาครัฐ มาร่วมมือกันและใช้งานการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ APIs แบบเปิดที่สามารถรองรับวิธีการชำระแบบต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มเดียว เช่นเดียวกับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่อีกไม่นานจะสามารถชำระเงินอย่างไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์ม SAP ด้วยบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการชำระเงินหรือออกจากระบบอีกต่อไป

พลังอย่างที่สอง คือ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันการชำระเงินแบบ B2B ที่สามารถทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเพราะ รวบรวมบริการต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อาทิ การชำระเงิน การกู้ยืม และการจัดการใบแจ้งหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานด้านการเงินที่สำคัญให้จบได้ในอินเตอร์เฟซเดียว

 3. ความเสี่ยงมีให้เห็นบ่อยขึ้น แต่จับพิรุธได้ยากขึ้น

การชำระเงินแบบดิจิทัลที่เติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Generative AI ที่สร้างขึ้นบนโมเดลภาษาขนาดใหญ่เริ่มเลียนแบบการตอบสนองที่เหมือนมนุษย์ได้เนียนขึ้น และมิจฉาชีพสามารถใช้ความสามารถของมันไปสร้างอีเมลหลอกลวง และข้อความหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยการใช้ภาษาที่ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับพิรุธได้ยากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงระบุตัวตน การยึดครองบัญชี และรูปแบบการโกงแบบ “ได้คืบจะเอาศอก” ที่นักต้มตุ๋นมักใช้ล่อเหยื่อด้วยการจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักเพื่อซื้อใจเหยื่อ นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

ปัจจุบันวิธีการฉ้อโกงใหม่ ๆ มีหลายร้อยเล่มเกวียน ทำให้วิธีการเดิม ๆ ในการตรวจจับและป้องกันนั้นไม่เพียงพอ ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เร่งเครื่องเพื่อตามกลโกงเหล่านี้ให้ทัน เทคโนโลยี Machine learning (ML) และ โซลูชัน AI อย่าง Visa’s Advanced Authorisation (ViAA) ของวีซ่า สามารถขจัดความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกรรมได้โดยการตรวจจับความผิดปกติและภัยคุกคามอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ไม่มีทรัพยากรในการจัดการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง

ข่าวดีอีกเรื่องคือการยอมรับการชำระด้วยบัตรเวอร์ชวล (virtual card) ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้งานได้เหมือนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงินทั่ว ๆ ไปในกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ใช้หมายเลขบัตรแบบใช้ครั้งเดียวและจํากัดเวลาในการชำระเงินแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งที่ทำให้บัตรเวอร์ชวลแตกต่างจากบัตรทั่วไปคือมันมาพร้อมกับ Dynamic CVV2 (dCVV2)

บนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระแบบมาตรฐานทั่วไปจะมีตัวเลข CVV2 จำนวน 3 หลักพิมพ์ลงบนด้านหลังของบัตร หากตัวเลขดังกล่าวถูกมิจฉาชีพล่วงรู้ ก็จะสามารถใช้บัตรและนำเลขกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำธุรกรรมที่ฉ้อโกงได้ แต่ด้วย Dynamic CVV2 ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยระหว่างการชำระเงินออนไลน์ผู้ถือบัตรจะกรอกเลข Dynamic CVV2 (dCVV2) ปัจจุบัน แล้วหลังจากนั้นระบบ VisaNet จะทำการตรวจสอบรหัสด้วยฟังก์ชันการตรวจสอบสิทธิ์ dCVV2 Authenticate เพื่อยืนยันตัวตน โดยเทคโนโลยี dCVV2 นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำของบัตรที่ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการโจรกรรมและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องก้บการฉ้อโกงต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 

4. ธุรกิจ SMB มองไปยังอนาคต แต่ต้องการตัวช่วยสู่ความสำเร็จ

ในปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ในเอเชียแปซิฟิกจะยังประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้สร้างการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแบบเท่าเทียม ที่เจ้าของธุรกิจรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่ และธุรกิจ SMB เหล่านี้ในภาคอื่น ๆ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีที่ฉลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้นมาใช้งานด้วยเช่นกัน

หมายความว่า SMB จะช่างเลือกมากขึ้นในการยอมรับโซลูชันการชำระเงินในปี 2567 นี้ พวกเขาต้องการการชำระเงินแบบดิจิทัลที่สะดวก เชื่อถือได้ และไร้รอยต่อ ควบคู่ไปกับการขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศเติบโตขึ้น ส่งผลให้ SMB จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้นเป็นอันดับแรก

“โซลูชันการชำระเงินที่ใช้งานได้จริงและเหมาะกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ คือ บัตรเวอร์ชวล ซึ่งบัตรเวอร์ชวลเพื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องผลิต ถือเป็นความคุ้มทุนเพราะผู้ประกอบการสามารถขอบัตรเวอร์ชวลได้มากตามที่ต้องการ และลูกจ้างไม่จำเป็นต้องรอให้บัตรพลาสติกจัดส่งมาให้ บัตรเวอร์ชวลยังสามารถตั้งค่าได้อย่างรวดเร็วและกำหนดวงเงินได้ตามต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับธุรกิจ SME เพราะการชำระเงินไม่

จำเป็นต้องรวมที่ศูนย์กลางและลูกจ้างสามารถทำการชำระได้อย่างอิสระ ขณะที่บริษัทยังคงควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย” ปุณณมาศ กล่าวเสริม

นอกจากนี้เรายังจะเห็นธุรกิจ SMB หันไปหาแหล่งเงินทุนที่คล่องตัวและยืดหยุ่นกันมากขึ้น เช่น บัตรที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการชำระเงินยังคงขับเคลื่อนต่อไปในเอเชียแปซิฟิก สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือระบบนิเวศการชำระจะต้องอยู่ต้นแถว เพราะความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศทางการเงินเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาภูมิทัศน์ของเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click