September 21, 2024

หากกล่าวว่า “ไฟฟ้า” คือโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนชีวิต เมือง อุตสาหกรรม และการสัญจรบนท้องถนน “สายไฟฟ้า” ก็เปรียบเสมือน “กระดูกสันหลัง” ที่ค้ำยันให้โครงสร้างพื้นฐานทั้งบนดิน ใต้ดิน ในน้ำ ในบ้าน ในอาคาร ในโรงงานขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนไปได้อย่างมั่นคงในทุกสภาพแวดล้อม สายไฟเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด ถือเป็นหนึ่งในบริษัทคนไทยที่มีบทบาทขับเคลื่อน “กระดูกสันหลัง” ของโครงสร้างพื้นฐานมายาวนาน ตั้งแต่เจเนอเรชันที่ 1 ภายใต้บังเหียนของ “สมพงศ์ นครศรี” จนมาถึงเจเนอเรชันที่ 3 ที่มี “พงศภัค นครศรี” เข้ามาช่วยบริหาร ล่าสุด บางกอกเคเบิ้ล จัดงานฉลองใหญ่ครบรอบ 60 ปี ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้บริหารระดับสูงในแวดวงพลังงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าร่วมงานกว่า 1,200 คน ภายในงานมีนิทรรศการโชว์บทบาทของสายไฟในการพัฒนาเมือง พร้อมทั้งมีการประกาศเป้าหมายใหม่ในการร่วมเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทยสู่โลกแห่งอนาคต

 

นายพงศภัค นครศรี กรรมการบริหาร บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) ผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิลชั้นนำของประเทศไทย กล่าวว่า บางกอกเคเบิ้ล ถือเป็นบริษัทคนไทยรายแรกที่บุกเบิกและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ยุคเปลี่ยนผ่านจากการใช้ไฟฟ้าแบบ 110 โวลต์ เป็น 220 โวลต์ และเดินหน้าพัฒนาสายไฟฟ้าของบริษัทเรื่อยมาตลอด 6 ทศวรรษ เพื่อมีส่วนร่วมใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสายไฟฟ้าให้เป็นเสมือนเส้นเลือดที่ส่งพลังงานไปยังพื้นที่ต่างๆ เชื่อมโยงประเทศ ภูมิภาค ชุมชน และสังคมเมือง รวมถึงเชื่อมโยงมนุษย์กับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เส้นทางคมนาคม สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนให้สอดคล้องกับทิศทางพัฒนาการของโลก

2.การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย เดินหน้าส่งมอบสายไฟฟ้าคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด สำหรับใช้ทั้งในครัวเรือนและในระดับประเทศ เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียที่เกิดจากอัคคีภัยและอุบัติเหตุทางไฟฟ้า พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบทางไฟฟ้า (Lab) ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทยเป็นของตัวเอง เดินหน้าพัฒนาโรงงานผลิตสายไฟสู่ Smart Factory และ 3.การเสริมสร้างภูมิทัศน์ของเมืองมหานคร ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) พัฒนา “ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับเมืองมหานคร” ร่วมเปลี่ยนกรุงเทพฯ และเมืองหลักต่างๆ ในประเทศไทยให้เป็น “มหานครไร้สาย” ด้วยการนำสายไฟลงดิน พัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองให้ทันสมัยและยั่งยืน

“เราพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้ง 3 ด้าน เรายังมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมสีเขียว ด้วยสายไฟฟ้าที่รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทดแทน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไปจนถึงสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger เราจะไม่หยุดเพียงแค่การส่งผ่านพลังงาน แต่จะมุ่งมั่นสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่พลังงานสะอาด เริ่มจากการตั้งเป้าให้องค์กรของเราเป็นองค์กร Net Zero ภายในปี ค.ศ.2045 โดยจะมี Big Move ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเร็วๆ นี้” นายพงศภัค ระบุ

 

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวว่า สายไฟฟ้า นับเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการปรับเปลี่ยนทิศทางพลังงานของประเทศให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม รวมถึงการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาป มาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีสายไฟฟ้าคุณภาพสูง ประสิทธิภาพยอดเยี่ยม เพื่ออัปเกรดสายไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ ให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านที่จะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ฉบับใหม่ ยังคงต้องสอดคล้องกับการนำพาประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ให้ได้ภายในปี ค.ศ.2050 และ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2065 เรายังมีหลายเรื่องที่ต้องเดินหน้า ทั้งการพัฒนา Smart Grid ควบคู่กับการแก้ปัญหาอื่นๆ ด้านพลังงาน เรามองว่า บางกอกเคเบิ้ล ในฐานะบริษัทสายไฟของคนไทย ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน จะเป็นหนึ่งในองค์กรสำคัญที่มีส่วนช่วยเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน” นายพีระพันธุ์ กล่าว

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ต่างให้ความสำคัญกับการลดอุบัติเหตุภายในโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์ (Zero Accident) สายไฟฟ้าที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการออกแบบอย่างเหมาะสมให้รองรับต่อทุกสภาพแวดล้อม ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โรงงานต่างๆ สามารถลดอุบัติเหตุทางไฟฟ้า และลดความเสียหายต่อเครื่องจักร ตลอดจนทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลในโรงงาน สายไฟฟ้า จะยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในการช่วยนำพาองค์กรธุรกิจและองค์กรในภาคอุตสาหกรรม เปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางความยั่งยืน

“วันนี้ ภาคธุรกิจจำนวนมาก ต่างทยอยประกาศทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2050 ซึ่งเร็วกว่าทิศทางของประเทศ นั่นหมายความว่า องค์กรเอง ก็ต้องทยอยเปลี่ยนผ่านมาใช้พลังงานสะอาด และลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เราเชื่อมั่นว่า บางกอกเคเบิ้ล จะเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เส้นทาง Net Zero ได้อย่างแข็งแกร่ง” นายเกรียงไกร กล่าว

สำหรับ บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) เป็นผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิลชั้นนำของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ.2507 ให้บริการครอบคลุม 7 กลุ่มการใช้งาน ได้แก่ 1.ระบบผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า (Transmission) 2.ระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า (Distribution) 3.ระบบไฟฟ้าภายในบ้านพักและอาคาร (Construction and Building) 4.ระบบขนส่งและคมนาคม (Transportation and Mobility) 5.ระบบไฟฟ้าในโรงงาน และภาคอุตสาหกรรม (Industrial) 6.พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) และ 7.ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ (Automotive) เพื่อสร้างความปลอดภัยและขับเคลื่อนเมืองสู่อนาคต ปัจจุบัน มีลูกค้าโครงการขนาดใหญ่ของทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากที่ใช้สายไฟฟ้าของบางกอกเคเบิ้ล อาทิ โครงการวัน แบงค็อก (One Bangkok) สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 โครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์

ร่วมผลักดันหยุดวงจรบูลลี่ พร้อมสร้างความเข้าใจ ลดปัญหาบูลลี่ในรั้วโรงเรียนผ่านโครงการ “เท่ได้..ต้องไม่บูลลี่”

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผลักดันหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง (STEM²) “ถ้าพรุ่งนี้…ไม่มีไฟฟ้า” แก่นักเรียนชั้น ม.ต้น ในโรงเรียนหลายร้อยแห่ง หวังให้เด็กรุ่นใหม่ เข้าใจสถานการณ์ปัญหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย

ที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) จัดการประกวดผลงานนักเรียน การพูดเชิงสร้างสรรค์ ElectricTalk ในหัวข้อ “เราจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร” ซึ่งกิจกรรมพูดเชิงสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง ถ้าพรุ่งนี้…ไม่มีไฟฟ้า มีนักเรียนส่งผลงานทั้งหมด 18 ผลงาน คณะกรรมการได้คัดเลือกผลงาน 6 ทีมเข้ารอบตัดสิน ได้แก่ทีมจากโรงเรียนน้ำพองศึกษา จ.ขอนแก่น / โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จ.ชลบุรี / โรงเรียนพานพิทยาคม จ.เชียงราย / โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ จ.ลำพูน / โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา จ.อุบลราชธานี และโรงเรียนปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ โดยโรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนี้ ได้แก่ ทีม SMTE309 จาก โรงเรียนปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ สมาชิกในทีมประกอบด้วย ด.ญ.ธนพร บุดดา,ด.ญ.นิราภรณ์ บุตรดี,ด.ญ.ปาณิศา ระยับศรี และ นางสาวภาวินี สุระ เป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีคุณครูนงเยาว์ หงส์โสภา คุณครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในวิชาพลังงานทดแทน เป็นที่ปรึกษาของเด็ก ๆ ซึ่งคุณครูเผยความรู้สึกว่า เด็ก ๆ ทุกคนมีความตั้งใจมาก รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ความพยายามและความทุ่มเทของเด็ก ๆ ทำให้ชนะเลิศในวันนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยา ดาสา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มศว กล่าวว่า “หลักสูตรสะเต็มกำลังสอง เรื่อง “ถ้าพรุ่งนี้…ไม่มีไฟฟ้า” เป็นการเรียนรู้บูรณาการมาตรฐานและตัวชี้วัดของ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้นมัธยมตอนต้น มุ่งส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนในการบูรณาการความรู้และข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้มาออกแบบแผนการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศเพื่อให้มีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคง ราคาเหมาะสม ลดการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมและสามารถสื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์ภายใต้คำถามสำคัญ “เราจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้ให้ยั่งยืนได้อย่างไร” โดยในปีที่ผ่านมามีโรงเรียนลงทะเบียนใช้หลักสูตรมากกว่า 200 โรงเรียน”

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นลินา ประไพรักษ์สิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้กล่าวในการเปิดงานว่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรมทั้งด้านการเรียนรู้และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านการบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตรศึกษาที่เป็นเลิศ ซึ่งโครงการพัฒนาหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง เป็นหนึ่งในการนำเสนอความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ สู่การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทั้งด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติและเจตคติของผู้เรียน ผสานรวมกันจนเกิดเป็นสมรรถนะของผู้เรียน

นายฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ. กล่าวว่า “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มศว ได้เริ่มพัฒนาหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง เรื่อง “ถ้าพรุ่งนี้...ไม่มีไฟฟ้า” ตั้งแต่ 2559 และผลักดันมาอย่างต่อเนื่องเพราะเล็งเห็นว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์ ผู้เรียนที่ได้เรียนในหลักสูตรนี้จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งกิจกรรมการประกวดผลงานนักเรียนที่ดำเนินมาต่อเนื่องทุกปีนี้ สะท้อนผลลัพธ์ หลักสูตร STEM² อย่างน่าพอใจ นักเรียนสามารถตัดสินใจ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับไฟฟ้าทั้งในชีวิตประจำวันและแนวทางการจัดหาไฟฟ้าในอนาคตอย่างเพียงพอและลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามที่ กฟผ. ผลักดันเพื่อแก้วิกฤติพลังงานอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งเป็นมาตรการที่ความจำเป็นเร่งด่วนในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ”

นอกจากนี้ในงาน นายศิริวัฒน์ เจ็ดสี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมโรงไฟฟ้า ได้กล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่า นอกจากหลักสูตรสะเต็มกำลังสองแล้ว กฟผ. ยังมีโครงการอื่นด้านการศึกษาที่ส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทางเลือกและการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตไฟฟ้า เช่น ห้องเรียนสีเขียว ศูนย์การเรียนรู้ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็น 1 ใน 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ ที่ทำบันทึกความเข้าใจในโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านนวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มโอกาสในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒต่อไป ซึ่งเป็นมาตรการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) วันนี้ แจ้งว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมอีโค่วิน ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 29.7 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เสากังหันลมขนาด 3.3 เมกะวัตต์ จำนวน 9 ชุด ดำเนินงานโดยบริษัท อีโค่วิน เอ็นเนอร์จี้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งบริษัทฯ ร่วมถือหุ้น ร้อยละ 51 ได้เริ่มเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าเวียดนาม (Vietnam Electricity: EVN) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระยะเวลา 20 ปี โรงไฟฟ้าพลังงานลมอีโค่วินแห่งนี้ เป็นโครงการพลังงานลมติดตั้งบนบก (onshore wind farm) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากเมืองโฮจิมินห์ ประมาณ 180 กิโลเมตร ในประเทศเวียดนาม โดยก่อนหน้านี้ได้ทำการทดสอบเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Trial run) และทดสอบความน่าเชื่อถือของการเดินเครื่องเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง (Reliability test) ตามมาตรฐานของเวียดนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าพลังงานลมอีโค่วิน ถือเป็นโครงการพลังงานทดแทนแห่งที่สามของบริษัทฯ ในประเทศเวียดนามที่ผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำซองเกียง 2 และค๊อคซาน รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนถือหุ้นทั้งสามโครงการ 49.63 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้างอีก 2 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำซองเกียง 1 และโรงไฟฟ้าพลังงานลมเบ็นแจ รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 65.15 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้งสองโครงการมีกำหนดจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2567 และ ปี 2568 ตามลำดับ

เวียดนามถือเป็นประเทศเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ เนื่องจากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และยังมีการกำหนดแผนการพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไว้อย่างชัดเจน ทั้งพลังงานน้ำ พลังงานลมบนบก พลังงานลมนอกชายฝั่ง และพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งบริษัทฯ มองเห็นศักยภาพในการขยายการลงทุนต่อยอดธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศเวียดนามได้ โดยดำเนินการผ่านบริษัทฯ เอง หรือผ่านบริษัทร่วมทุน เน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี อินเวสเมนต์ (NEXIF RATCH Energy Investment : NREI) ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะขยายกำลังผลิตจากพลังงานทดแทนให้ได้ถึง 4,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2578” นางสาวชูศรี กล่าว

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีการลงทุนโครงการพลังงานทดแทน รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 2,933 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 27 ของกำลังผลิตรวม 10,807 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำลังการผลิตเดินเครื่องเชิงพาณิชย์สร้างรายได้แล้ว 1,566 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้างอีก 1,367 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ ประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นฐานธุรกิจหลักด้านพลังงานทดแทนของบริษัทฯ ด้วยกำลังการผลิตตามการถือหุ้นรวม 1,379.69 เมกะวัตต์ รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว 669.10 เมกะวัตต์ ประเทศฟิลิปปินส์ 549.83 เมกะวัตต์ ประเทศอินโดนีเซีย 123.05 เมกะวัตต์ ประเทศเวียดนาม 114.78 เมกะวัตต์ ประเทศไทย 94.76 เมกะวัตต์ และญี่ปุ่น 2.02 เมกะวัตต์

นิทรรศการผลงานศิลปะและการแสดงประจำปีของเด็กไฟ-ฟ้า เพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และค้นพบศักยภาพของตนเอง

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click