November 07, 2024

7 สิงหาคม 2566 เป็นวันดีอีกวันหนึ่งของ Warren Buffet


Berkshire Hathaway เพิ่งรายงานผลกำไรของไตรมาส 2 ปีนี้ ว่าสูงถึง 3.6 หมึ่นล้านเหรียญฯ ถือเป็นกิจการที่ทำกำไรสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่งผลให้ราคาหุ้นขึ้นสูงสุดเท่าที่เคยเป็นมา (All Time High)

ขณะที่ผมเขียนต้นฉบับนี้ ราคาหุ้น BRKA ขึ้นไปปิดที่ 550,446.06 เหรียญฯ คือราวๆ 19.5 ล้านบาทต่อหุ้น

ถือว่าเป็นข่าวดีมากสำหรับผู้ถือหุ้น BRKA ในรอบสิบกว่าปีมานี้ ซึ่ง Buffet ช่วยให้พวกเขากลายเป็นมหาเศรษฐีกันถ้วนหน้า

 ตัวเขาเอง นอกจากจะมีตำแหน่งอภิมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยในระดับ Top 10 ของโลกแล้ว ยังเป็นดัง “พระเจ้า” ของแวดวงนักลงทุน นักเล่นหุ้น ทั่วโลก ที่ล้วนแต่เงี่ยหูฟังคำแนะนำของเขา

ที่ผ่านมา เขาได้แบ่งปันความรู้และวิธีคิดตลอดจนกลยุทธ์การลงทุนที่เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของเขาเสมอมา

ดูเผินๆ คำแนะนำเหล่านั้น ก็ราวกับเป็น common sense พื้นๆ

ใช่แล้ว เรื่องพื้นๆ นี่แหล่ะ ที่จะช่วยเตือนสติเรา ให้คำนึงถึงรากฐานที่ต้องแน่นเสียก่อนจะต่อยอดไปไหน

 

เช่นแนวคิดเรื่อง “Wide Moat” ที่เขาชอบพูดเสมอๆ

เข้าใจว่า Buffet เริ่มเสนอแนวคิดนี้ตั้งแต่ก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง ในคราวการประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire เมื่อปี 2538 ที่เขาเปรียบเทียบกิจการที่เขาชอบเข้าไปซื้อหุ้นว่า เหมือนกับปราสาทที่มีป้อมปราการสูงและมั่นคง ล้อมรอบไปด้วยคูน้ำคันดินที่กว้างขวาง ลึก และแข็งแรง ยากแก่การโจมตีของข้าศึก
อีกทั้งยังต้องบริหารจัดการโดยอัศวินหรือเจ้าของปราสาทที่เก่งกล้าสามารถและซื่อสัตย์สุจริต

ตีความได้ว่า กิจการที่เขาชอบที่จะเข้าไปลงทุนนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มั่นคง และมีขีดความสามารถเชิงแข่งขัน (Competitive Advantage) ที่เหนือกว่าคู่แข่ง ยากแก่การเอาชนะได้


ไม่ว่าขีดความสามารถนั้น จะเป็นต้นทุนที่ต่ำจนคู่แข่งในอุตสาหกรรมไม่สามารถเลียนแบบได้ หรือกิจการเหล่านั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีขวากหนามสูง (High Entry Barrier) ยากแก่การที่คนนอกจะเข้ามาแข่งขันได้โดยง่าย หรือกิจการนั้นอาจครอบครองแบรนด์ชั้นนำที่มีคุณค่าในสายตาลูกค้า และลูกค้ามีความจงรักภักดีอย่างยิ่ง

 

 

นั่นคือเหตุผลเบื้องลึกที่พอร์ตของ Berkshire Hathaway ต้องถือครองหุ้นอย่าง Amazon.com (AMZN), Apple (AAPL), Visa (V), และ Coca-Cola (KO)

Amazon.com เพราะสามารถทำต้นทุนต่ำ ในขณะที่มีสินค้าครอบคลุมหลากหลายอย่างมากมายมหาศาล เป็น One-stop Destination สำหรับผู้บริโภค ยากต่อการลอกเลียน

Apple เพราะเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีสาวกมากมายทั่วโลก และผลิตสินค้าทุกชนิดออกมาขาย ล้วนเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง

Visa เพราะเป็นกิจการที่คนรู้จักดีทั่วโลก แบรนด์ไม่เสีย และทะลุทะลวงสู่ตลาดใหม่ๆ เสมอ

Coca-Cola เพราะเป็นกิจการเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก มีคนรู้จักแบรนด์ Coca-Cola ทั่วโลก ตั้งแต่เด็กจนถึงคนแก่ล้วนรู้จักดี

ที่สำคัญ กิจการเหล่านี้ล้วนบริหารโดยอัศวินหรือนักบริหารที่ (อย่างน้อย) เขาคิดว่าเป็นกลุ่มที่สามารถ และเห็นแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน (แม้หลายครั้ง คนเหล่านี้จะทำให้เขาต้องปวดหัว และต้องลงมาแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ก็ตาม)

 

 

แน่นอนว่าแนวคิดอันนี้ เป็นแนวคิดที่ทรงพลัง

ทว่า ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก และเป็นพลังพื้นฐานเบื้องหลังความสำเร็จที่แท้จริงของ Berkshire Hathaway ซึ่งบัพเฟตยึดถือมาตลอดในการสร้างพอร์ตของเขา

นั่นคือแนวคิดที่ว่า “คุณต้องพร้อมเสมอที่จะลงทุนเมื่อโลกทั้งโลกกำลังหยุด”

เขากล่าวไว้ในปาฐกถาเมื่อปี 2556 ณ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ว่า


“Berkshire ต้องถือเงินสดจำนวน 2 หมึ่นล้าน ไว้ในมือเสมอ ฟังดูเหมือนบ้า เพราะธุรกิจไม่จำเป็นต้องทิ้งเงินไว้เฉยๆ แยะขนาดนั้น แต่วันหนึ่งในอนาคต อาจจะเป็น 100 ปีข้างหน้าที่โลกหยุดอีกครั้ง ถึงตอนนั้นเราก็พร้อมเสมอ มันต้องมีวิกฤติเกิดขึ้น อาจเป็นพรุ่งนี้ แต่ไม่ว่าจะเมื่อไหร่ เราจำเป็นต้องมีเงินในกระเป๋า เพราะถึงตอนนั้น เงินสดจะเปรียบเหมือนอ็อกซิเจน (ที่เราต้องใช้หายใจ ถ้าขาดมันเราก็ต้องตาย)”


ใช่ “Cash at that time is like Oxygen”


แต่ในความเป็นจริง โลกเรามักจะเจอวิกฤติเสมอ ไม่ต้องรอถึง 100 ปีหรอก


จากวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 มาสู่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 และวิกฤติโควิดที่เพิ่งผ่านพ้นไป


มันพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าคนที่มีเงินสดในมือจำนวนมากนั้น สามารถเลือก “ช้อนซื้อ” สินทรัพย์ดีๆ ได้ในราคาถูกมากๆ อย่างยากที่จะหาได้ในเวลาปกติ


และเมื่อตลาดเริ่มเปลี่ยนเป็นขาขึ้น พวกเขาก็จะทำกำไรได้อย่างมหาศาล


นั่นคือบทเรียนที่เราเรียนรู้จากความสำเร็จของ Warren Buffet

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

29/09/2566

นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ถ่ายภาพร่วมกับนางภรณี ช็อมบร็อง ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริหารบัญชีลูกค้า อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประเทศไทย (Amazon Global Selling Thailand) ในพิธีเปิดการอบรมโครงการ “ติดปีกสินค้าไทย ขายออนไลน์ข้ามพรมแดนกับ Amazon” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับอเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประเทศไทย และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม-18 กรกฎาคม 2566 ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยให้มีความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจสู่ตลาดการค้าออนไลน์อย่างมั่นใจ ผ่านการฝึกอบรม จับคู่ทางธุรกิจ ให้คำปรึกษาด้านการเงิน แนะนำเครื่องมือบริหารความเสี่ยง และ Workshop การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน (Cross Border E-commerce: CBEC) ไปยังตลาดสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงเครือข่ายลูกค้าของ Amazon.com กว่า 300 ล้านคนทั่วโลก ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร (กลาง) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พบปะหารือกับนางเจมี่ เบรนแนน (ที่ 3 จากซ้าย) หัวหน้าอเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง (Amazon Global Selling) ประจำประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทย ผ่านการอบรมให้ความรู้ การให้คำปรึกษาแนะนำ การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อยกระดับธุรกิจ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นค้าขายออนไลน์ระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพบน  Amazon.com แพลตฟอร์มระดับโลก ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดร.ปราโมทย์  วิบูลย์กิจโชติ  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการขายและการตลาด 1  บริษัท ทิพยประกันภัย  จำกัด (มหาชน)

มูลค่าการส่งออกประจำปีของอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจขายสินค้าให้กับลูกค้าผู้บริโภคโดยตรง (Business-to-Consumer: B2C) ของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 1.102 แสนล้านบาทในปี 2564

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click