January 22, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM หนึ่งในบริษัทพลังงานเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ที่โดดเด่นในด้านการผลิตไฟฟ้าอุตสาหกรรมและไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 20 โครงการ และโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งในประเทศและต่างประเทศอีก 35 โครงการ เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ครั้งที่ 1/2566 คาดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 5 ปีแรกคงที่ 5.75% - 5.95% ต่อปี (โดยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนให้ทราบอีกครั้ง) กำหนดชำระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ โดยผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิเลื่อนการชำระดอกเบี้ยพร้อมกับสะสมดอกเบี้ยจ่ายไปชำระในวันใดก็ได้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ โดยไม่จำกัดระยะเวลาและจำนวนครั้งตามดุลยพินิจของผู้ออกหุ้นกู้แต่เพียงผู้เดียว อัตราดอกเบี้ยจะปรับทุกๆ 5 ปี อ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ราคาเสนอขายอยู่ที่หน่วยละ 1,000 บาท คาดว่าจะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2566 ผ่าน 6 สถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย และ บล.เกียรตินาคินภัทร

โดย BGRIM ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ อยู่ที่ระดับ “A” แนวโน้ม “คงที่” และอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ที่เสนอขายในครั้งนี้อยู่ที่ระดับ “BBB+” โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคง ศักยภาพ และความแข็งแกร่งของบริษัทฯ

สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้เป็นเงินลงทุนโครงการ จำนวน 2,000-4,000 ล้านบาท และใช้ชำระคืนหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ จำนวน 1,000-2,000 ล้านบาท และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ จำนวน 2,000-3,000 ล้านบาท ภายในปี 2567

ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ประกาศยุทธศาสตร์ GreenLeap ที่พลิกโฉมการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่อง ก้าวสู่การเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก และผู้นำด้านการพัฒนา ด้านพลังงานที่ยั่งยืนและปลอดภัย โดยยังคงยึดมั่นบนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี ภายใต้

 

โครงการ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” หรือ DTS พื้นที่สร้างนวัตกรรมเชื่อมต่อสตาร์ทอัพกับอุตสาหกรรมไทย เพื่อร่วมขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการลดคาร์บอน ซึ่งเป็นความร่วมมือของบริษัททรู ดิจิทัล พาร์ค จำกัด ศูนย์กลาง Tech และสตาร์ทอัพ ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และนิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส  องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาดระดับโลก พร้อมด้วยพันธมิตรชั้นนำจากภาคเอกชน  ได้แก่ บมจ. บี.กริม เพาเวอร์, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บมจ.ไออาร์พีซี, บมจ. ปตท., และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา   ได้มีการประกาศผลการคัดเลือกสตาร์ทอัพที่ผ่านเข้ารอบจำนวน 8 ทีม ซึ่งมีทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ โดยจะเป็นโอกาสสำคัญในการจับคู่และร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทชั้นนำของไทย พร้อมได้รับการบ่มเพาะจากผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของประเทศอย่างเข้มข้นตลอด 3 เดือน เพื่อร่วมพัฒนาโซลูชั่นนวัตกรรมลดคาร์บอนที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม และเร่งขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) สร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและพลังงานของประเทศไทย  

บี.กริม ร่วมกับ WWF-ประเทศไทย และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เสริมทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จำนวน 39 คน ด้วยการฝึกอบรมการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol) หลักสูตรเทคนิคการลาดตระเวน ภายใต้ “โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.นครสวรรค์ และ จ.กำแพงเพชร”

บี.กริม ซึ่งเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 140 ปี ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่า และพร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งต่อให้กับคนรุ่นหลังต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทฯได้ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์เสือโคร่ง เพราะในศตวรรษที่ผ่านมา จำนวนประชากรเสือโคร่งในผืนป่ารอบโลกลดลงอย่างน่าใจหาย บี.กริม จึงได้ให้การสนับสนุนโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ร่วมกับ WWF-ประเทศไทย โดยเน้นการสร้างเสริมประสิทธิภาพและเทคนิคการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ให้กับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าติดต่อกันเป็นระยะมากว่า 4 ปีแล้ว

โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในผืนป่าของไทย เพราะการมีเสือโคร่งในผืนป่า คือ ดัชนีชี้วัดที่บอกได้ว่าผืนป่าของประเทศไทยนั้นอุดมสมบูรณ์และน่าภูมิใจเพียงใด ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนต้องเผชิญกับผู้กระทำความผิดที่มาพร้อมวิธีการแปลกใหม่และทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การสนับสนุนด้านการฝึกอบรมเทคนิคลาดตระเวนเชิงคุณภาพให้กับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าถือเป็นการเสริมสร้างทักษะ ช่วยให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ทั้งด้านความเข้มแข็ง ระเบียบวินัย สมรรถนะทางด้านร่างกายและจิตใจ เทคนิคการป้องกันตัว การใช้ทัศนสัญญาณในการสื่อสาร การจับกุมผู้กระทำผิด ตลอดจนการใช้และดูแลรักษาอาวุธอย่างถูกวิธี โดยมุ่งหวังให้เจ้าหน้าที่นำความรู้และเทคนิคที่ได้ไปใช้ในงานด้านการป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจนำไปถ่ายทอดให้กับเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ในหน่วยงานต่อไป

นอกจากนั้น ยังได้มอบอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานลาดตระเวนภาคสนามให้กับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าทั้งสองอุทยาน ฯ ด้วย เช่น เป้สนาม เปลมุ้ง ฟลายชีท ถุงกรองน้ำ เครื่องระบุทางภูมิศาสตร์ (GPS) แบตเตอรี่ กล้องถ่ายรูป แก๊สกระป๋อง เป็นต้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่จำเป็นระยะยาว คือการจัดการฝึกอบรมให้มีความต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าทุกคนได้รับการฝึกฝนอย่างทั่วถึง ตลอดจนจัดหายุทโธปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีขวัญกำลังใจในการทำงานและสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

“บี.กริม เห็นว่า ปัจจุบันประชากรเสือโคร่งในประเทศไทย ลดลงกว่าร้อยละ 97 มีสาเหตุหลักมาจากการถูกล่าเพื่อความเชื่อและนำอวัยวะใช้ทำยา รวมถึงสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือโคร่งก็ถูกล่าเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของผืนป่า เราเห็นใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานลาดตระเวนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ จึงอยากช่วยให้เขามีทักษะในการทำงานอย่างถูกต้องและปลอดภัย จึงให้การสนับสนุนโครงการนี้”

ทางด้าน ดร.รุ้งนภา พูลจำปา ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF-ประเทศไทย) กล่าวว่า เสือโคร่งเป็นสัตว์ผู้ล่าที่คอยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ หากป่าใดมีเสือโคร่งแสดงว่าป่านั้นมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่อยู่สูงสุดบนห่วงโซ่อาหาร หากเสือโคร่งอยู่ได้ สัตว์ชนิดอื่น ๆ ก็อยู่ได้ การอนุรักษ์เสือโคร่งจึงเปรียบได้กับการอนุรักษ์สัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ และอนุรักษ์ระบบนิเวศไปด้วยพร้อม ๆ กัน ปัจจุบัน ประชากรเสือโคร่งมีจำนวนลดลงจากในอดีต เหลือประมาณ 3,890 ตัว จาก 13 ประเทศทั่วโลก

“ประเทศไทย มีประชากรเสือโคร่งอยู่ประมาณ 150 - 200 ตัว การนำเทคนิคลาดตระเวนเชิงคุณภาพมาอบรมแก่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า โดยช่วยให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความมั่นใจในการการปฏิบัติงานซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งสุดท้ายจะสามารถช่วยในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดต่อทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่งซึ่งถือป็นสัตว์ที่ถูกคุกคามและมีประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง” ดร.รุ้งนภา กล่าว

X

Right Click

No right click