Google Cloud ได้เผยผลสำรวจด้านความยั่งยืนระดับโลกที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยติด 1 ในตลาด 3 แห่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (ESG) เป็นอันดับ 1

โดยตลาดอีกสองแห่งคือสิงคโปร์และเยอรมนี แม้ว่าจะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานก็ตาม ทั้งนี้ผลสำรวจระดับโลกยังแสดงให้เห็นว่าได้มีการลดความสำคัญของความพยายามด้าน ESG ในประเทศต่างๆ จากอันดับ 1 ในปี 2022 มาเป็นอันดับ 3 ในปี 2023

ความยั่งยืนถือเป็นปัญหาหลักขององค์กร ได้แก่ ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและคุณภาพของอากาศ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เป็นต้น แบบสำรวจความยั่งยืนประจำปีครั้งที่ 2 ของ CXO ได้รับมอบหมายโดย Google Cloud และจัดทำโดย The Harris Poll มีการสำรวจผู้บริหารระดับสูงกว่า 1,476 คนจากตลาด 16 แห่ง ประกอบด้วยตลาด 4 แห่งในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย การสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น ส่งผลให้การทำงานหยุดชะงักและเกิดความล้มเหลวในการดำเนินงาน

ผลประกอบการทางการเงินและการปฎิบัติตามความรับผิดชอบด้าน ESG นั้นไม่ใช่สิ่งที่สูญเปล่า

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ในประเทศไทย (85%) ตระหนักดีว่าลูกค้ามีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและทำธุรกิจกับแบรนด์ที่ตระหนักถึงความยั่งยืน และ 84% เชื่อว่าการยืดเวลาออกไปหรือลดระดับความสำคัญของเป้าหมายด้านความยั่งยืนจะส่งผลเสียต่อมูลค่าขององค์กร อย่างไรก็ตาม 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าการดำเนินงานของผู้นำองค์กรไม่สอดคล้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอย่างเต็มที่ เงื่อนไขทางเศษฐกิจที่ไม่แน่นอนส่งผลให้ 76% ของผู้บริหารเหล่านี้เผชิญความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทในขณะที่ดำเนินธุรกิจด้วยงบประมาณที่น้อยลงกว่าเดิม

ผู้บริหารชี้ว่าการขาดการปรับแนวทางของผู้นำและภาวะเศรษฐกิจระดับมหภาค เป็นสาเหตุของการถดถอยในความพยายามด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยเหล่าผู้บริหารถูกกดดันในเรื่องการให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

เอพริล ศรีวิกรม์, ผู้อำนวยการ Google Cloud ประจำประเทศไทย กล่าว “ครื่องมืออัจฉริยะที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลอย่าง Active Assist ที่องค์กรสามารถใช้เพิ่มประสิทธิภาพในค่าใช้จ่ายด้าน IT, ปรับปรุงความปลอดภัย และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ในเวลาเดียวกัน โดยทาง Google Cloud นำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้ผู้บริหารธุรกิจเห็นว่าผลประกอบการทางการเงินและการปฏิบัติตามความรับผิดชอบด้าน ESG นั้นไม่สูญเปล่า ยิ่งไปกว่านั้นเกือบ 4 ใน 10 ของลูกค้าท้องถิ่นเผยว่าตนเต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีแนวคิดความยั่งยืน องค์กรสามารถปลูกฝังแนวคิดความยั่งยืนลงในการปฏิบัติการและรูปแบบธุรกิจ รวมถึงสามารถวัดมูลค่าและผลตอบแทนจากการลงทุนได้

 

เอาชนะการฟอกเขียว (Greenwashing) ขององค์กรด้วยข้อมูลและการประมาณอย่างแม่นยำ

การฟอกเขียว (Greenwashing) และการสร้างภาพว่ารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นปัญหาที่แพร่หลายในหมู่ผู้บริหารในประเทศไทย โดยเกือบ 7 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทย (69%) กล่าวว่าองค์กรของตนกล่าวเกินจริงหรือนำเสนออย่างไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืน ผู้บริหารส่วนใหญ่ (83%) เชื่อว่าการฟอกเขียวเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น (เช่น เมื่อบริษัทไม่สามารถวัดผลลัพธ์หรือความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะกล่าวเกินจริงถึงความพยายามด้านความยั่งยืนของตน) ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงเพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงวิธีการใช้ความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืน ที่จะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด และวัดความก้าวหน้าได้อย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ ผู้บริหารในประเทศไทยกว่า 63% มีโปรแกรมการวัดผลสำหรับความพยายามด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดจากตลาดทั้งหมดที่ได้สำรวจเมื่อเทียบกับผู้ร่วมแบบสำรวจทั่วโลกที่ 37% โดยผู้บริหารส่วนใหญ่ (67%) เทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก (47%) เชื่อว่าการเข้าถึงเครื่องมือวัดผลขั้นสูงจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาความพยายามด้านความยั่งยืนขององค์กรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการที่คล่องตัวและการสร้างความสามารถภายในองค์กร

นอกเหนือจากการวัดผลที่แม่นยำแล้ว องค์กรจำเป็นต้องทบทวนโครงสร้างและโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะที่มีอยู่ใหม่เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกเหนือจากการปรับแนวทางที่จำเป็นสำหรับกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่จะช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนขององค์กร ผู้บริหารในประเทศไทยยังต้องมีวิธีการที่คล่องตัวและการสร้างความสามารถภายใน ซึ่งอาจเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับความสำเร็จ โดยผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่า 9 ใน 10 ในประเทศไทย (96%) เชื่อว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดขึ้นได้หากบริษัทนำแนวทางการทำงานข้ามสายงานมาปรับใช้ แทนการมีทีมงานด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากมองหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง (61%) และเข้าถึงบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม (45%) เพื่อพัฒนาความพยายามด้านความยั่งยืนของบริษัท

“องค์กรต่างๆ สามารถระดมทีมบุคลากรที่มีความสามารถที่มีอยู่เพื่อออกแบบและดำเนินการริเริ่มด้านเทคโนโลยีและความยั่งยืน โดยนำทักษะอื่นๆ หรือทักษะข้ามสายงานที่พนักงานเหล่านี้มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์, การวิเคราะห์ข้อมูล, AI และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) เป็นต้น Google Cloud สนับสนุนความพยายามในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลภายในองค์กรผ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น Google Cloud Skills Boost นอกจากนี้ เรายังนำเสนอแลปเชิงปฏิบัติที่ช่วยให้ทีมวิศวกรทำความคุ้นเคยกับคุณลักษณะด้านความยั่งยืนที่ฝังอยู่ในเครื่องมือ Google Cloud ที่ใช้อยู่แล้ว รวมถึงหลักสูตรการฝึกอบรมที่ปรับให้เหมาะกับผู้เรียนซึ่งช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการทำความเข้าใจและจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืนที่องค์กรต้องเผชิญ” คุณเอพริล ศรีวิกรม์ กล่าว

 

เทคโนโลยี: หนทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Google Cloud สนับสนุนองค์กรในประเทศไทยด้วยการใช้งานระบบคลาวด์ที่สะอาดที่สุดในอุตสาหกรรม องค์กรต่างๆ เช่น ยิ้ม แพลตฟอร์ม (Yim Platform) ของ Central Retail, โรบินฮุ้ด (Purple Ventures: Robinhood) ของ SCBX Group และ EVme ของกลุ่มบริษัท ปตท. ได้เลือก Google Cloud เป็นผู้ให้บริการคลาวด์หลัก โดยช่วยให้องค์กรเหล่านั้นดำเนินการลดคาร์บอนของโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชันดิจิทัล และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนตามคำมั่นขององค์กรได้อย่างสูงสุด

ในปี 2017 ทาง Google เป็นบริษัทแห่งแรกที่มีการใช้ไฟฟ้าประจำปีด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% เมื่อเทียบกับขนาดขององค์กร และยังคงบรรลุเป้าหมายนี้ทุกปีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อย้ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและแอปพลิเคชันไปยัง Google Cloud องค์กรต่างๆ จะได้รับความเป็นกลางทางคาร์บอนของ Google และปรับปรุงโปรไฟล์ด้านความยั่งยืนในทันที

เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพอัจฉริยะและคุณลักษณะด้านความยั่งยืนที่ฝังอยู่ใน Google Cloud เพิ่มโอกาสให้องค์กรต่างๆ สามารถลดการปล่อยคาร์บอนในวงกว้างได้ง่ายขึ้น ดังนี้:

· Carbon Footprint จะแสดงภาพของการปล่อยก๊าซแบบครบวงจรในสโคป 1, 2 และ 3 ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Google Cloud ขององค์กร ซึ่งทำให้สามารถแยกย่อยข้อมูลตามโครงการ บริการ หรือภูมิภาค และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้และทำให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนมากขึ้น · Active Assist ใช้ AI เพื่อให้คำแนะนำแก่องค์กรในการทำความสะอาดสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ เพื่อทำการใช้จ่ายด้านไอทีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงปรับปรุงความปลอดภัยและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย · Google Earth Engine ใช้แคตตาล็อกภาพถ่ายดาวเทียมและชุดข้อมูลเชิงพื้นที่หลายเพตะไบต์ของ Google Cloud และการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมระดับโลก เพื่อแสดงข้อมูลเชิงลึกในเวลาที่เหมาะสม แม่นยำ มีความละเอียดสูง และ

เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่และระบบนิเวศของโลก ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นห่วงโซ่อุปทานของตนและเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่เกิดขึ้นได้

ดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลแบบสำรวจความยั่งยืนของ CXO หรือเยี่ยมชมบล็อกและเว็บไซต์ความยั่งยืนของ Google Cloud

ผสานเทคโนโลยีเข้ากับแพลตฟอร์ม ai.RETAIL ของ Accenture ส่วนหนึ่งของการขยายความร่วมมือเชิงกลยุทธ์

ในยุคปัจจุบันที่การชำระเงินแบบดิจิทัลเพื่อประสบการณ์ที่ราบรื่นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

 Google ประเทศไทย ประกาศเปิดโครงการ “Samart Skills” ภายใต้ธีม Grow with Google โดยจัดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะดิจิทัลพร้อมเข้าทำงาน  พร้อมช่วยจับคู่แรงงานกับความต้องการของตลาดแรงงานที่สูง ซึ่งโครงการนี้ Google ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสถาบันการศึกษาพันธมิตรชั้นนำในประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้ที่มองหางานในทุกสายอาชีพสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตร Google Career Certificates จนเป็นบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลพร้อมเข้าทำงานทันที

หลักสูตรแบ่งออกเป็น 6 สาขาอาชีพ ที่เป็นที่ต้องการขององค์กรในปัจจุบัน  โดยเป็นหลักสูตรที่ได้พัฒนาและจะได้รับการฝีกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ ของ Google เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานผ่านการลงมือปฏิบัติจริง โดยผู้สมัครเรียนไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อน และผู้เรียนสามารถจบหลักสูตรได้ภายในเวลา 3-6 เดือน พร้อมใบรับรองทักษะอาชีพ สำหรับนำไปใช้เพื่อสมัครงานในตำแหน่งระดับเริ่มต้นในสายงานดิจิทัล นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมโอกาสการจ้างงาน Google ได้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรผู้ว่าจ้างซึ่งประกอบด้วยบริษัทต่างๆ กว่า 30 รายที่ให้การยอมรับคุณวุฒิจากหลักสูตรเหล่านี้และสนใจว่าจ้างผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ “Samart Skills

เมื่อปีที่ผ่านมา รายงานของ AlphaBeta ระบุไว้ว่าการเปลี่ยนรูปแบบสู่ระบบดิจิทัลจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ถึง 2.5 ล้านล้านบาทต่อปี (7.95 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในปี 2573 ในขณะที่ 78% ของผู้นำธุรกิจไทยได้วาง กลยุทธ์ดิจิทัลให้เป็นกลยุทธ์หลักเพื่อการเติบโต รวมทั้ง จากรายงานของ World Economic Forum ปี 2563 แสดงให้เห็นว่ามีเพียง 55% ของแรงงานในไทยที่มีความรู้ด้านทักษะดิจิทัลสำหรับการทำงานในอนาคต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลของประเทศไทย

นายไมค์ จิตติวาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดด้านแบรนด์ของ Google ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ e-Conomy SEA Report ที่ Google จัดทำร่วมกับ Temasek และ Bain & Company ในปีที่ผ่านมา ระบุว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเข้าสู่ “ทศวรรษแห่งดิจิทัล” และเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สดใสมากที่สุด โดยคาดว่าในปี 2568 มูลค่าสินค้ารวมในเศรษฐกิจดิจิทัล (GMV) จะแตะที่ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยมีผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านคน โดยกว่า 67% ของผู้ใช้รายใหม่อาศัยอยู่นอกหัวเมืองหลัก ซึ่งโครงการ “Samart Skills” นี้ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากโครงการ Saphan Digital ที่ได้ฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปแล้วกว่า 100,000 ราย รวมทั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าคนไทยจะได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างเท่าเทียมและใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด”

นางศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย Country Marketing Manager, Google ประเทศไทย กล่าวว่า

วันนี้ Google ยินดีที่ได้ประกาศเปิดตัวโครงการ “Samart Skills” เพื่อให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแบบให้เปล่าแก่นักเรียนระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ ในโครงการ “Samart Skills” จำนวนทั้งสิ้น 22,000 ราย โดย Google จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันการอาชีวศึกษากว่า 100 แห่ง รวมทั้งพันธมิตรองค์กรธุรกิจชั้นนำจากภาคเอกชน ได้แก่ เอไอเอส และ ทรู คอร์ปอเรชั่น ในการมอบทุนการศึกษาจำนวนดังกล่าว ซึ่งหลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูล การสนับสนุนด้านไอที การจัดการโครงการ การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (UX) และ การตลาดดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ ได้รวบรวมไว้บน Coursera ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ชั้นนำ นอกจากนี้แล้ว เรายังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการนำหลักสูตรพื้นฐานการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) ของ Google (Google Cloud Computing Foundations) ไปให้นักศึกษาของตนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางเทคนิคในด้านการประมวลผลคลาวด์ โดยนักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตรนี้จะได้รับป้ายรับรองแบบดิจิทัล (skills badge) นับว่าโครงการนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยปลดล็อคการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมเพื่อตอกย้ำแนวคิด “Leave No Thai Behind” ของเราแล้ว ยังสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้เดินหน้าต่อไปอย่างมีเสถียรภาพอีกด้วย”

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้เล็งเห็นว่าเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในประเทศเรานั้นมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นนัยยะสำคัญ โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยในปีนี้สูงมากถึง 88% รวมทั้ง จากผลวิจัยของ Google, Temasek และ Bain & Company ได้ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลไทยมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านบาทในปี 2564 ซึ่งโตกว่าปีที่ผ่านมาถึง 51% และยังคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.9 ล้านล้านบาท ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว ส่งผลให้แรงงานที่มีทักษะดิจิทัลเป็นที่ต้องการอย่างมากเพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 ประเทศไทยจะต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลกว่า 1 ล้านคน ดังนั้น เราจำเป็นต้องรีบพัฒนาแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลชั้นสูงให้เร็วยิ่งขึ้น และวันนี้ ผมรู้สึกยินดีที่ได้ทำงานร่วมกับทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนอย่าง Google ประเทศไทย เพื่อช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางทักษะด้านดิจิทัล และสร้างเสริมโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการศึกษาเพื่อตอบโจทย์อาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด และผมขอขอบคุณ Google ประเทศไทย ที่ได้สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เหล่านิสิต นักศึกษา และคนไทย ในการเพิ่มความรู้และทักษะของตัวเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งยังช่วยจัดหาช่องทางให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่สำเร็จการอบรมแล้วสามารถหางานที่เหมาะสมกับพวกเขาได้อีกด้วย

นายศรัณย์ ผโลประการ หัวหน้าฝ่ายงานผลิตภัณฑ์โทรศัพท์เคลื่อนที่กลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่า “เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมทำงานกับ Google ในการเสริมทักษะดิจิทัลให้แก่คนไทย จากนโยบายของ AIS ในฐานะ Digital Service Provider ที่มุ่งนำดิจิทัลมาเสริมศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้ดิจิทัลของประชาชน คือ 1 ในหมุดหมายนั้น เราจึงขอยืนยันว่า จะร่วมทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้จากโครงการ Samart Skills ไปสู่ลูกค้า พนักงาน และคนไทย เพื่อเป็นอีกพลังในการสร้างทักษะดิจิทัลให้สัมฤทธิ์ผลอย่างดีที่สุด”

ดร. ธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “กลุ่มทรู มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Google ประเทศไทย ในโครงการ “Samart Skills” ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของกลุ่มทรูในการนำศักยภาพเทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัลครบวงจรสนับสนุนด้านการศึกษาของไทย เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้คนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยผู้สมัครรับทุนการศึกษาของโครงการ “Samart Skills” ผ่าน ทรู ดิจิทัล อคาเดมี จะได้รับโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม สัมมนา และโอกาสฝึกงานจริง รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพิ่มเติมจากกลุ่มทรู ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้คนไทยมีความรู้ความสามารถและมีทักษะดิจิทัลทัดเทียมกับนานาประเทศ และเป็นพลังสำคัญในขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยในยุค 4.0”

 

ติดตามรายละเอียดโครงการ  https://grow.google/intl/ALL_th/samart-skills/

 

Google ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และพันธมิตรจากองค์กรธุรกิจชั้นนำจากอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย จับมือประกาศความสำเร็จโครงการ “Saphan Digital” ที่ได้บรรลุตามเป้าหมายในการฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำนวนมากกว่า 100,000 ราย

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click