ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) นำเสนอโอกาสลงทุนในหุ้นคุณค่าทั่วโลก ภายใต้เป้าหมายเติบโตในระยะยาว เปิดเสนอขาย 2 กองทุนใหม่ ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – UNHEDGED (KKP GVALUE-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – HEDGED (KKP GVALUE-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Management) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund โดยกองทุนหลักมีเป้าหมายการลงทุนในบริษัทที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และแบ่งเป็นประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งและคาดว่าจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ธนาคารกลางสำคัญของโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และตัวเลขประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ของหุ้นโลกยังคงมีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าการปรับลดลง ทำให้การลงทุนในหุ้นโลกยังคงมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น Global Value ที่มีระดับ P/E 15.5 เท่าในปัจจุบัน ซึ่งยังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม (P/E 18.05 เท่า) และต่ำกว่าของหุ้น Global Growth (P/E 32.6 เท่า) ถึง 50% นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่ม Global Value มีหุ้นวัฎจักรที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในสัดส่วนที่มากกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม ทำให้การเพิ่มการลงทุนในหุ้น Global Value ในพอร์ตหุ้นโลกสามารถสร้างโอกาสเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้ ด้วยเหตุนี้ ทางบลจ.เกียรตินาคินภัทร จึงได้คัดเลือกกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ที่กองทุนหลักมีสไตล์การลงทุนแบบ Contrarian Value เน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เพื่อนำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนไทย

สำหรับ กองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 70 ในตราสารทุน โดยเฉพาะในตลาดที่พัฒนาแล้ว และอาจลงทุนในตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกองทุนหลักจะลงทุนในประมาณ 50 บริษัทหรือน้อยกว่า ที่ผู้จัดการกองทุนเชื่อว่ามีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

 กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP GVALUE-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

คำเตือน

· ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· กองทุน KKP GVALUE-H จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) เล็งเห็นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เปิดเสนอขาย 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – UNHEDGED (KKP EMXCN-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – HEDGED (KKP EMXCN-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Management) มุ่งหวังให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนี MSCI Emerging Markets ex China Index ที่ครอบคลุมการลงทุนในหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ยกเว้นประเทศจีน รวม 23 ประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุน และหาโอกาสการเติบโตจากหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยมีทั้งประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า ปีนี้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets (EM) มีความน่าสนใจในการลงทุนเนื่องจากการสิ้นสุดวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นและจะเริ่มกลับเป็นขาลงทำให้มีโอกาสที่กระแสเงินทุนจะไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EM) ที่มีประมาณการกำไรสุทธิในปีนี้เติบโต 16% สูงกว่าตลาดหุ้นโลกที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 7% โดยเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ในไต้หวันและเกาหลี ประกอบกับระดับมูลค่า P/E ของตลาด EM ที่ระดับ 11.1 เท่ายังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกและถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ทั้งนี้ บลจ.เกียรตินาคินภัทรมองว่า การลงทุนในตลาด EM ที่ไม่รวมจีน มีความน่าสนใจมากกว่าตลาด EM โดยรวม เนื่องจากปัจจัยกดดันการเติบโตเศรษฐกิจของจีนยังต้องใช้เวลาในการแก้ไขและผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนในหุ้นจีนโดยตรงมาก่อนนี้แล้ว จึงเห็นว่าการนำเสนอทางเลือกการลงทุนในตลาด EM ที่ไม่รวมจีนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยได้

สำหรับ กองทุน KKP EMXCN-UH และ KKP EMXCN-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก iShares MSCI Emerging Markets ex China ETF โดยกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลการดำเนินงานจากการลงทุนของดัชนี MSCI Emerging Markets ex China Index ที่ประกอบด้วยหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ไม่รวมประเทศจีน กองทุน KKP EMXCN-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP EMXCN-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP EMXCN-UH และ KKP EMXCN-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

 

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เดินหน้าแผน IPO เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมก้าวสู่การเป็นธนาคารชั้นนำที่มีคุณภาพ และเติบโตในกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน สนับสนุนสินเชื่อเพื่อคนไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “ธนาคารไทยเครดิต มุ่งมั่นสนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตทางธุรกิจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยบริการไมโครไฟแนนซ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของธนาคาร” โดยมีธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารฯ”) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจำนวนหุ้นที่คาดว่าจะเสนอขายทั้งหมด (รวมหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายโดยธนาคารฯ และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม) ไม่เกิน 347,029,122 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.2 ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการทำ IPO1 ซึ่งนับเป็นธนาคารพาณิชย์ที่เสนอขายหุ้น IPO ในรอบ 10 ปี โดยมี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในครั้งนี้

อย่างไรก็ดี ธนาคารฯ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มุ่งเน้นให้บริการสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (Nano and Micro Finance) และสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (Micro SME) แก่กลุ่มลูกค้าในประเทศไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้เท่าที่ควร ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ รวมทั้ง นำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยและลูกค้าบุคคล รวมไปถึงความมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบให้เข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ และสอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจของธนาคาร “Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ”

นายกนต์ธีร์ ประเสริฐวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งไฟลิ่งธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าธนาคารฯ จะเสนอขายและเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในหมวดกลุ่มธุรกิจการเงิน / ธนาคาร ตามแผน IPO

สำหรับ ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำเพื่อลูกค้ารายย่อย ด้วยประสบการณ์การให้บริการสินเชื่อเพื่อรายย่อยที่หลากหลายมากว่า 10 ปี ทำให้ธนาคารฯ มีความเข้าใจในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ประกอบกับการมีผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าหลากหลายขนาดและประเภทธุรกิจ รวมถึงการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่รัดกุม ทำให้เชื่อว่าธนาคารฯ อยู่ในจุดที่สามารถขยายพอร์ตสินเชื่อในการสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งของเงินให้สินเชื่อของธนาคารฯ ในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 33.0 ต่อปี และยังมีศักยภาพในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจสู่ตลาดที่มีขนาดใหญ่ แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินนี้ ด้วยรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์

นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังมีโครงสร้างต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากเครือข่ายสาขาที่มีต้นทุนการดำเนินงานต่ำ ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีสาขาทั้งสิ้น 527 แห่งทั่วประเทศไทย ประกอบไปด้วยสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อย สำนักงานนาโนเครดิต และสาขาที่ให้บริการเงินฝาก ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ในพื้นที่หรือใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้า รวมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล โดยบริษัท ไทยไมโคร ดิจิทัล โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารฯ ได้นำแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน “ไมโครเพย์” ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานที่ผ่านกระบวนการ KYC ถึง 384,460 ราย เป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารฯ สามารถรักษาอัตราส่วนค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่อรายได้รวม (Cost-to-Income Ratio) ไว้ได้ในระดับต่ำ หรือเท่ากับร้อยละ 36.0 ในงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566

 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานงวด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 – 2565) และ ณ งวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ มีจำนวนเท่ากับ 68,562.4 ล้านบาท 97,728.7 ล้านบาท 121,298.0 ล้านบาท และ 132,758.1 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยสะสมต่อปีระหว่าง 2563-2565 (Compound Annual Growth Rate: CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 33.0 ต่อปี

เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย (1) สินเชื่อสำหรับสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (2) สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (3) สินเชื่อบ้าน (4) สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล (5) สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ

นอกจากนี้ สำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,830.7 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ร้อยละ 30.9 ต่อปี

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click