×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

เมกะเทรนด์สำคัญของโลกที่กำลังเกิดขึ้นและจะเติบโตทะลุทะลวงไปแทบทุกวงการคือการประยุกต์ใช้ AI ของธุรกิจอุตสาหกรรมและภาครัฐ


ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจไทยปี 2540 ใหม่ๆ ตอนนั้นอินเทอร์เน็ตเพิ่งเป็นที่รู้จักไม่นาน ผู้นำธุรกิจเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า “องค์กรของเราควรจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองดีหรือไม่?”

 

มันตอบยากในสมัยนั้น เพราะอินเทอร์เน็ตเพิ่งจะเริ่มต้น และคนยังประเมินความสำคัญของมันไม่ถูก ทว่า คำตอบที่ถูกคือ “ต้องมี”


ต่อมา ราวปี 2550 พวกเขาก็หันมาถามคำถามทำนองเดิมว่า “องค์กรของเราต้องเคลื่อนตัวเข้าไปใน Social Media ใช่หรือไม่?” คำตอบคือ “ใช่”


ปัจจุบันนี้ ธุรกิจส่วนมากใช้ Facebook, Instagram, TikTok, และ Linkedin เพื่อเข้าถึงและ engage ลูกค้า แม้กระทั่งองค์กรภาครัฐก็ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการปรับปรุงการให้บริการกับราษฎร และกิจการที่เป็นเจ้าของ Social Media เหล่านี้ก็กลายเป็นกิจการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก กลายเป็นกิจการยักษ์ใหญ่ของโลก สร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนในระยะแรกอย่างเกินคุ้มค่า

 

ณ ขณะนี้ คำถามแนวนี้กลับอีกครั้ง “องค์กรของเราต้องนำ AI มาประยุกต์ใช้ ใช่หรือไม่?” และคำตอบก็เหมือนเดิม คือ “ใช่” เพราะ AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มมาร์จิ้น และสร้างกำไรเพิ่ม ย่อมส่งผลต่อราคาหุ้นในที่สุด นั่นจึงเป็นโอกาสสำคัญของนักลงทุน ที่จะได้เข้าร่วมลงทุนกับเทรนด์นี้ตั้งแต่เนิ่นๆ AI จึงเป็น Investment Theme สำคัญที่ทีม MBA เราให้ความสำคัญ และจะนำเสนอบทวิเคราะห์ดีๆ เมื่อโอกาสมาถึง

 

ลำดับหุ้นที่จะได้ประโยชน์จาก AI

 

อันที่จริง เราได้ยินชื่อ AI หรือ Artificial Intelligence มานานแล้ว แต่มันยังเป็นเพียงแนวคิดแบบนามธรรม ไกลตัว และส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่ามันจะมีประโยชน์ต่อมนุษย์เรายังไงกันแน่ ทว่า หลังจาก Open AI เปิดตัว ChatGPT ทุกคนก็ถึงบางอ้อ มันทำให้เรารู้ว่า AI สามารถตอบคำถามเราได้ทุกคำตอบ ส่วนใหญ่เป็นคำตอบที่น่าพอใจ และมันยังเขียนโปรแกรมได้ ช่วยสร้างเว็บไซต์ได้ เขียนบทความง่ายๆ เขียนคำโฆษณา ดีไซด์โน่นนี่นั่น ช่วยวิเคราะห์งบการเงินและหุ้น หรือแม้กระทั่งแต่งบทกวี ที่สำคัญคือช่วยทำการบ้าให้นักเรียนนักศึกษาและเข้าสอบแทนแล้วทำคะแนนได้ดีมากอีกด้วย

 

 

เราพอจินตนาการได้แล้วว่า AI จะเป็นประโยชน์ต่อเรายังไง? เราสามารถให้มันช่วยเราตรงไหนได้บ้าง ที่สำคัญ คนธรรมดาอย่างเราก็ได้รู้แล้วว่าพวกเราสามารถเข้าถึง AI ได้ง่ายๆ โดยผ่านคอมพิวเตอร์แล็บท็อปหรือโทรศัพท์มือถือของเรา ไม่จำเพราะต้องเป็นกิจการใหญ่โตเท่านั้น

 

แล้วจู่ๆ ก็เกิดความเชื่อและพูดกันใหญ่โตกว้างขวางแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วว่า AI จะมาเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ เปลี่ยนวิถีชีวิตของเรา จนถึงขั้นจะเปลี่ยนโลกอย่างสำคัญ AI จะช่วยให้หุ่นยนต์ทำงานได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ และจะมาแทนอาชีพหลายอาชีพ เช่นนักแปล โอเปอเรเตอร์ เสมียน คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น AI จะช่วยให้ผู้ป่วยอัมพฤษกลับมาเคลื่อนไหวและสื่อสารได้อีกครั้ง AI จะช่วยให้รถยนต์ขับไปเองได้โดยอัตโนมัติ AI จะช่วยให้ยานอวกาศที่ลงจอดบนดาวอังคารสามารถทำการสำรวจดวงดาวได้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น AI จะช่วยให้นักการเมืองบางคนชนะเลือกตั้ง และจะช่วยให้บางคนแพ้หมดรูป AI จะช่วยให้มือจักรกลสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตให้กับเกษตรกรได้โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย หรือแม้กระทั่ง บรรดาแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะต้องหันมาใช้ AI ให้ช่วยคัดเลือกและโทรไปหาเป้าหมายได้มากขึ้นและแม่นยำขึ้นในแต่ละวัน ฯลฯ

 

 

AI กลายเป็นสิ่งฮ็อตฮิต! เพียง 5 วัน ChatGPT มี subscriber ถึงล้านคน และทะลุ 100 ล้านคนภายใน 2 เดือน หุ้นของกิจการที่เกี่ยวข้องกับ AI พุ่งขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ นับแต่ต้นปี เช่น Nvidia 199%, C3.ai 203%, Symbotic 290% เป็นต้น ยังไม่นับ Tesla, Amazon, Uber, Meta, Google, และ Microsoft

 

รูปแบบของการนำเอา AI ไปใช้กับธุรกิจ คงเดินตามกฎเกณฑ์ของ Technology Adoption ที่เคยเป็นมาในอดีตนั่นเอง คือเริ่มจากกิจการกลุ่มที่ผลิตฮาร์แวร์จะได้ประโยชน์ก่อน เช่น ไมโครโปรเซสเซอชิพ เซ็นเซอร์พิเศษ กล้อง CV หน่วยความจำ และส่วนประกอบที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วและแรงขึ้นเพื่อประมวลผลสำหรับซอฟท์แวร์ AI ฯลฯ แล้วค่อยเป็นกิจการซอฟท์แวร์ที่เป็นเจ้าของชุดข้อมูลจำนวนมาก เพื่อให้ AI ได้ฝึกฝนตนเอง แล้วสร้างซอฟท์แวร์ขายหรือให้เช่าผ่านบริการสมาชิก หรือใช้ AI ให้สร้างประสิทธิภาพกับบริการใหม่ของตน เช่น Microsoft, Uber, Tesla, Google, Meta, Adobe, Saleforce.com, Amazon.com ซึ่งราคาหุ้นของกิจการเหล่านี้ได้เขยิบขึ้นไปแล้วจากผลของ

 

AI ฉากต่อไปที่เรากำลังจะได้เห็นคือ AI จะเข้าไปสู่ธุรกิจทั่วไปแทบ “ทุกชนิด” และ “ทุกหนทุกแห่ง”

 

กิจการด้านบริการอาจจะ adopt เอา AI ไปใช้ได้ง่ายกว่าและใช้ก่อนกิจการด้านการผลิต แนวโน้มน่าจะเริ่มจากกิจการที่เกี่ยวข้องกับ การตลาดและการโฆษณา แล้วก็บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ต่อมาเป็นกิจการที่ปรึกษาธุรกิจ และโรงเรียนมหาวิทยาลัยหรือองค์กรที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน แล้วก็ถึงคราวอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่อย่างสถาบันการเงิน และเฮลท์แคร์ ฯลฯ (เพราะสถาบันการเงินและโรงพยาบาลหรือบริการสุขภาพทั้งหลาย ถูกควบคุมด้วยกฏระเบียบเข้มข้น จึงอาจจะทอดเวลาออกไปบ้าง เหมือนกับคราวที่พวกเขา Adopt บริการออนไลน์ต่างๆ หลังอุตสาหกรรมอื่นๆ ในรอบที่ผ่านมา) 

 

รอบหลังนี้คือของจริง !

 

ซอฟท์แวร์ AI สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานขององค์กรทุกประเภทและทั่วโลก PwC คำนวณว่า AI จะเป็นตัวเพิ่มให้ GDP ของโลกเพิ่มขึ้นอีก 15 ล้านล้านเหรียญฯ ในปี 2030  Arvind Krishna ผู้นำสูงสุดของ IBM ประเมินว่า AI จะมาแทนงานออฟฟิสถึง 30% ใน 5 ปีข้างหน้านี้ และ IBM กำลังนำ AI มาใช้กับงานทุกประเภทในองค์กร (adopt AI across the board) ซึ่งเขาเชื่อว่ามันจะช่วยให้ IBM ประหยัดได้ถึง 780 ล้านเหรียญฯ ต่อปี Procter & Gamble ก็ใช้ AI ให้ช่วยคิดสูตรและส่วนผสมของสบู่ เพื่อย่นระยะเวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สั้นลง

 

กิจการแบบเราท่านทั่วไปก็เช่นเดียวกัน สามารถนำ AI มาใช้ได้ โดยหวังว่ามันจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ แน่นอน ว่ามันจะช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น และมันจะทำงานให้เราได้ตลอดเวลาอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่จำเป็นต้องไปพัก ไปยืดเส้นยืดสาย ไปกินข้าว ฯลฯ ส่งผลให้ต้นทุนต่ำลง และสำคัญที่สุดคือ มันจะทำงานได้ถูกต้องแม่นยำกว่ามนุษย์

 โปรดติดตามบทวิเคราะห์เชิงเจาะลึกหุ้น AI จากเรา ในโอกาสต่อไป

 

 บทความ : ทักษ์ศิล  ฉัตรแก้ว / Editor MBA magazine

28/09/2023

 

 

นายณรงค์ศักดิ์  ปลอดมีชัย  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด  เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมจ่ายเงินปันผลพร้อมกัน 5 กองทุน  ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว ซีเล็คท์ (ชนิดจ่ายเเงินปั) (SCBLTSED) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เพิ่มผลมั่นคง(ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBPMO) ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศ ซึ่งจะจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยในวันที่ 18 ตุลาคม 2561 นอกจากนี้ยังมีกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล พร็อพเพอร์ตี้ (SCBGPROP) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นญี่ปุ่น (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBNK225D) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้น LOW VOLATILITY (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBLEQ) โดยจะจ่ายในวันที่ 22 ตุลาคม 2561 นี้  รวมมูลค่ากว่า 33 ล้านบาท

โดยกองทุน SCBLTSED จะจ่ายปันผลในอัตรา 0.1000 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2561 - วันที่ 30 กันยายน 2561 เป็นการจ่ายปันผลครั้งแรก นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561  ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนที่บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนหุ้นไทยที่มีประสบการณ์ยาวนาน มีกองทุนภายใต้การบริหารที่ได้รับการจัดอันดับมอร์นิ่งสตาร์ 5 ดาว และ 4 ดาว เน้นสร้างผลตอบแทนเหนือตลาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีข้อจำกัดการลงทุน  มีการใช้กลยุทธ์ที่ผสมผสานหลากหลายโมเดลการลงทุนให้เหมาะสมตามสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งในแต่ละโมเดลการลงทุนมีการคัดเลือกหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนมีความเชื่อมั่นว่ามีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนได้สูงที่สุด โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 5.26% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)

กองทุน SCBPMO จะจ่ายปันผลในอัตรา 0.6300 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 3.6200 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2541) มีนโยบายการลงทุนเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคต โดยมี net exposure ในตราสารดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 4.00%  (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)

สำหรับกองทุน SCBGPROP จะจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 ในอัตรา 0.2396 บาทต่อหน่วย มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ไปแล้ว 0.1556 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.0840 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 4 รวมจ่ายปันผล 0.4896 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559) โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 0.54%  (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF WORLD REAL ESTATE SECURITIES FUND ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งมีนโยบายเน้นบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนใน REIT ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ภายใต้การบริหารจัดการของ BlackRock Investment Management (UK) Limited  ทั้งนี้กองทุนหลักเน้นลงทุนใน REITs และหุ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้กองทุนมีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว โดยกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงแรม และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีการกระจายลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ มากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก

ส่วนกองทุน SCBNK225จะจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 ในอัตรา 0.3843 บาทต่อหน่วย มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 ไปแล้ว 0.3033 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.0810 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 8 รวมจ่ายปันผล 2.7713 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556) โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 15.81% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Nikkei 225 Exchange Traded Fund (กองทุนหลัก) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน บริหารงานโดย Nomura Asset Management Co.,Ltd. จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และลงทุนในสกุลเงินเยน (JPY) มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 และตราสารทุนที่กำลังจะมาเป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 ในสัดส่วนการลงทุนเดียวกับจำนวนหุ้นในดัชนีนิคเคอิ 225 (Nikkei 225 Index หรือ Nikkei Stock Average)

และกองสุดท้ายกองทุน SCBLEQ จะจ่ายในอัตรา 0.1736 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 - วันที่ 30 กันยายน 2561 นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 0.8338 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559)  โดยมีผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 8.41% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)  มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน  Low Volatility Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) I   สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บริหารโดย AllianceBernstein L.P  เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักลงทุนในตราสารทุนที่โดยพื้นฐานมีความผันผวนคาดการณ์และความเสี่ยงขาลงคาดการณ์ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดโดยรวม ซึ่งจัดการกองทุนจะคัดเลือกหลักทรัพย์เข้าพอร์ตการลงทุนโดยการใช้แบบจำลองเพื่อคำนวณค่าความเสี่ยงและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ รวมถึงใช้หลักการวิเคราะห์ และประสบการณ์ด้านการลงทุนที่ยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ประกอบไปด้วยหลักทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำที่สุด ในขณะที่มีคุณภาพด้านปัจจัยพื้นฐานดีที่สุด โดยจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในตลาดที่พัฒนาแล้วเป็นหลัก

สำหรับหลายคนการลงทุนเป็นเรื่องเข้าใจยาก ต้องอ่านข้อมูลที่ไม่เข้าใจมากมาย คิดว่ามีเงินไม่มากพอจึงไม่กล้าลงทุน ขณะที่บริการให้คำปรึกษาและแนะนำการลงทุนแบบครบวงจรก็มักจะให้บริการกับกลุ่มผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก การทำให้เรื่องการลงทุนเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไปจึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความสำคัญ

โดย ก.ล.ต. ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน เปิดโครงการ “5 ขั้นมั่นใจลงทุน” สร้างประสบการณ์ใหม่ของการแนะนำการลงทุนอย่างครบวงจร ผ่านบริการออกแบบการลงทุน 5 ขั้นตอน มุ่งให้ประชาชนได้รับการดูแลการลงทุนที่ครบวงจร ตอบโจทย์ความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

รพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปมักประสบปัญหาในการลงทุน เนื่องจากได้รับข้อมูลมากมาย แต่ไม่สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีอยู่หลากหลายได้ หรือได้รับคำแนะนำให้ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นรายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ผู้ขายได้รับค่าตอบแทนการขายสูงหรือต้องการเพิ่มยอดขาย รวมทั้งขาดผู้ติดตามดูแลการลงทุนให้หลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้ว จึงทำให้คนทั่วไปไม่สามารถใช้ตลาดทุนเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินได้

 “โครงการ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน” เกิดจากความตั้งใจของ ก.ล.ต. ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ประกอบกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินในปัจจุบัน มีส่วนสำคัญที่ทำให้การให้บริการดูแลการลงทุนที่ครบวงจรเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำ ตั้งแต่ (1) การสำรวจและทำความเข้าใจลูกค้า (2) การกำหนดแผนจัดสรรการลงทุน (asset allocation) (3) การแนะนำการลงทุนแบบองค์รวม (4) การติดตามและปรับปรุงการลงทุน และ (5) การรายงานภาพรวมการลงทุนของลูกค้า  จึงทำให้ผู้รับบริการมีความพร้อมในการจัดการบริหารทรัพย์สินของตนเองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน

 ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. แล้ว  26 ราย โดยมี 20 รายที่เปิดให้บริการแล้วและ อีก 6 รายอยู่ระหว่างทยอยเปิดดำเนินการ และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกตามลำดับ โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบจะสามารถให้บริการออกแบบการลงทุนทั้ง 5 ขั้นตอนได้ ภายใต้ขอบเขตธุรกิจที่ได้รับอนุญาตของตน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ๆ ที่สนใจสามารถยื่นขอรับความเห็นชอบต่อ ก.ล.ต. ได้ โดย ก.ล.ต. จะพิจารณาคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.5ขั้นมั่นใจลงทุน.com และเฟซบุ๊คเพจ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน  

รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ 26 ราย ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ออกแบบการลงทุนได้รับอนุญาตแล้ว ได้แก่

  1. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 7 ราย ได้แก่

  • บล. เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : KTBST
  • บล. กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) : KS
  • บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด : DBSV
  • บล. ธนชาต จำกัด (มหาชน) : TNS
  • บล. บัวหลวง จำกัด (มหาชน) : BLS
  • บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : Phillip
  • บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด : YUANTA
  1. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จำนวน 7 ราย ได้แก่

  • บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) : KTAM*
  • บลจ. กรุงศรี จำกัด : KSAM*
  • บลจ. กสิกรไทย จำกัด : KASSET
  • บลจ. ทหารไทย จำกัด : TMBAM
  • บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด : SCBAM
  • บลจ. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด : MPAM
  • บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด : UOBAM*
  1. กลุ่มธนาคารพาณิชย์ จำนวน 6 ราย ได้แก่

    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : BBL
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) : KTB*
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
    • ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ : Citibank*
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) : TMB*
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) : SCB
  2. กลุ่มบริษัทประกันชีวิต จำนวน 2 ราย ได้แก่

    • บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท เอไอเอ จำกัด
  1. กลุ่มฟินเทคสตาร์ทอัพ (4 ราย) ได้แก่

    • บลน. ฟินโนมีนา จำกัด : Finomena
    • บลป. เทรเชอริสต์ จำกัด : Treasurist*
    • บลน. โรโบเวลธ์ จำกัด : Robowealth
    • บลน. เว็ลธ์ เมจิก จำกัด : WealthMagik
หมายเหตุ : *ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ระหว่างจะทยอยเปิดให้บริการ

 

FLOYD อวดผลงานงวดครึ่งปีแรกของปี 2561 ออกมาสวย มีกำไรสุทธิ 30.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 141%  โกยรายได้จากการให้บริการ 185.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.09% จากการทยอยรับรู้รายได้งานคอนโดฯ และงานห้างสรรพสินค้าอย่างต่อเนื่อง “ทศพร จิตตวีระ” ประเมินแนวโน้มผลงานปี 2561 ฟื้นตัว เชื่อแนวโน้มผลงานครึ่งปีหลังเติบโตดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น สนับสนุนรายได้เติบโต 10-15% ตามเป้าหมาย จากการเร่งลงทุนงานโครงการภาครัฐ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสีต่างๆ ทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุน เผยบริษัทอยู่ระหว่างรอผลการประมูลงานภาคเอกชน 2-3 โครงการ มูลค่าราว 100-200 ล้านบาท จากปัจจุบันมีงานในมืออยู่ราว 450 ล้านบาท

นายทศพร จิตตวีระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟลอยด์ จำกัด (มหาชน) หรือ FLOYD ผู้ให้บริการรับเหมาติดตั้งงานระบบไฟฟ้า งานวิศวกรรมระบบสาธารณูปโภค และเครื่องกลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทฯในงวดครึ่งปีแรกของปี 2561  (1 ม.ค.- 30 มิ.ย.61) บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการ 185.34  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61.86 ล้านบาท คิดเป็น 50.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 123.48 ล้านบาท โดยรายได้จากการให้บริการของบริษัทฯมาจากการรับรู้รายได้งานอาคารสูง งานแนวราบซึ่งเป็นงานห้างสรรพสินค้า และงานปรับปรุงงานเพิ่มอื่นๆ ทำให้บริษัทฯทยอยรับรู้รายได้จากการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง   ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 30.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมา 17.66 ล้านบาท  คิดเป็น 141.50%  

“ผลงานในงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ออกเป็นที่น่าประทับใจ ทั้งรายได้และกำไร โดยกำไรสุทธิโตมากถึง 141.50% เช่นเดียวกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นกว่า  50.09%  จากภาพรวมศรษฐกิจ และการลงทุนในประเทศกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ FLOYD ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับเหมาติดตั้งงานวางระบบครบวงจร 
ที่ได้รับการยอมรับทั้งในเรื่องคุณภาพงานและการบริการที่รวดเร็ว ด้วยทีมงานวิศวกรที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในธุรกิจ  ทำให้กำไรขั้นต้นของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 57.81 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 29.01 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 99.28%” นายทศพร กล่าว

ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่จะเพิ่มลูกค้าใหม่ๆเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลังและในอนาคต บริษัทฯเน้นมองหาลูกค้าที่มีความมั่นคงทางการเงินและเป็นที่รู้จัก และเป็นลักษณะงานที่มีโอกาสทำซ้ำ ซึ่ง FLOYD มีความชำนาญ รวมทั้งการรุกตลาดด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)  ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุน ซึ่งจะทำให้ช่วงที่เหลือของปีนี้มีงานประมูลโครงการใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ทั้งงานโครงการโครงสร้างพื้นฐาน อาคารที่พักอาศัย และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดย FLOYD มีความพร้อมที่จะเข้าประมูลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะสมงานในมือ (Backlog) เข้ามาเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้ในช่วงที่เหลือของปีนี้

สำหรับการเข้าประมูลงานใหม่ๆ ในปีนี้ ในกลุ่มลูกค้าเก่ายังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนในกลุ่มลูกค้าใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการประมูล ปัจจุบันมี 2-3 โครงการ  ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับอาคารที่พักอาศัยและห้างสรรพสินค้าใหม่ มูลค่ารวมประมาณ 100-200 ล้านบาท ผลการประมูลคาดว่าจะทยอยทราบผลในช่วงที่เหลือของปีนี้ทั้งหมด

“ภาพรวมผลประกอบการทั้งปี 2561 มองว่าทิศทางอุตสาหกรรมในภาคเอกชนยังทรงตัวและยังไม่น่าเป็นห่วง แม้จะยังเติบโตไม่หวือหวามาก แต่คาดว่าจะฟื้นหลังจากมีการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์  โดยแนวโน้มรายได้ของบริษัทฯ ปีนี้ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้เติบโตราว 10-15% เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีนโยบายหลักที่จะใช้การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำข้อมูลในระบบคลาวด์มาช่วยในด้านต่างๆ การติดตามปัญหาหน้างาน เพื่อลดการสูญเสียทั้งเวลาและต้นทุน และเป็นการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย เพื่อนำไปพัฒนาโครงการใหม่” นายทศพร กล่าว

ทางด้านความคืบหน้าแผนการก่อสร้างสำนักงานและศูนย์อบรมพนักงาน มูลค่าการลงทุนราว 80 ล้านบาท ตามแผนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2562 ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปี ทั้งนี้ หากอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จและสามารถฝึกพนักงานจนถึงระดับชำนาญและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทำให้บริษัทฯสามารถรับงานได้มากขึ้น

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่ขายได้ช้า และขายได้น้อยมาก ทำให้การลงทุนพัฒนาหรือลงทุนซื้ออาจมีปัญหาได้ ในทีนี้ได้จัดอันดับไว้ 20 รายการ ดังนี้:

            อันดับที่ 1 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 99 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 30 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 0.500-1.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 0.770 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 27 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 32 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 39.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 26 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1014 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 23 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.541 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D2: สะพานใหม่ มีจำนวน 130 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 980 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 130 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.590 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 170 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 950 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 5 หน่วย ยังเหลืออีก 165 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K3: มหาชัย เศรษฐกิจ มีจำนวน 115 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 344 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 9.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H7: บางปู มีจำนวน 67 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 603 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 8 หน่วย ยังเหลืออีก 59 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 86 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 602 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 2 หน่วย ยังเหลืออีก 84 หน่วย หรือเหลืออีก 98% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 8.120 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D3: บางบัว มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 284 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 1 หน่วย ยังเหลืออีก 34 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.734 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 60 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 164 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.888 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 504 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1456 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 498 หน่วย หรือเหลืออีก 99% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.329 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N2: วงแหวนรอบนอก-คลองมหาสวัสดิ์ มีจำนวน 53 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 176 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 49 หน่วย หรือเหลืออีก 92% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.440 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N4: บางบัวทอง มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 213 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 33 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 25.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 34 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 850 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.292 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล M1: ตลิ่งชัน มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 159 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 24 หน่วย หรือเหลืออีก 80% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.500 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 44 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 66 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 41 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.604 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 253 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 406 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 15 หน่วย ยังเหลืออีก 238 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.970 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B4: ชินเขต ท่าทราย มีจำนวน 463 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 912 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 16 หน่วย ยังเหลืออีก 447 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.490 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 211 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 736 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 204 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 42.091 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 143 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 6019 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 139 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามบางโครงการในทำเล ประเภทบ้านและระดับดังกล่าว ก็อาจขายดีสวนกระแส ทั้งนี้เพราะมีการบริหารจัดการที่ดี ก็เป็นได้เช่นกัน ต้องศึกษาในรายละเอียดด้วย

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click