December 22, 2024

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานกาชาด ประจำปี 2567 โดย นายสมยศ ธนพิรุณธร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) นำคณะผู้บริหารเข้าเฝ้ารับพระราชทานเกียรติบัตรผู้ให้การสนับสนุนการจัดงาน พร้อมร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ณ พลับพลาพิธีหน้าห้องสมุดประชาชน สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567  

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ตระหนักถึงภารกิจสำคัญของสภากาชาดไทยในการดำเนินภารกิจบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข บำบัดโรคแก่ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนและสร้างสังคมที่เปี่ยมสุข ดังนั้นเอ็นทีในฐานะผู้ให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศที่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมีความภูมิใจที่ได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมและนำรายได้จากการออกร้านสมทบทุนโดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทยมาโดยตลอด

สำหรับร้านกาชาดเอ็นทีในปีนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โดยนำเสนอแนวคิด “น้ำพระทัย ใต้ร่วมพระบารมี สู่เอ็นทีจิตอาสา เพื่อสังคม”  ที่ออกแบบตกแต่งภายนอกอาคารให้มีความสวยงามด้วยโทนสีเหลืองโดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พื้นที่ภายในร้านจัดแบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่

โซนเฉลิมพระเกียรติ “น้ำพระทัย ใต้ร่มพระบารมี” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 10 และร่วมถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 โดยนำเสนอข้อมูลโครงการที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญและพระราชทานน้ำพระทัยสู่ปวงชนชาวไทยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อาทิ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์และด้านบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ 

โซน “เอ็นทีจิตอาสา สร้างสุขแก่ปวงประชา ด้วยน้ำพระทัย ใต้ร่มพระบารมี” จัดแสดงนิทรรศการโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร อาทิ โครงการ “ถุงน้ำใจเอ็นที” ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ โครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club กิจกรรมเอ็นทีทำมากกว่าที่เห็น...เป็นมากกว่าหน้าที่ 

โซน “เอ็นที Co-Working Space and Business Structure” นำเสนอการจำลองพื้นที่ทำงานเพื่อตอบสนองและรองรับไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความยืดหยุ่นและสามารถทำงานได้ในรูปแบบ Work from Anywhere

โซน “เล่าขานผ่านภาพ ด้วยน้ำพระทัย ใต้ร่มพระบารมี” พื้นที่สำหรับถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

โซน “เอ็นทีส่งสุข สนุกอย่างมีสันทนาการ” ร่วมสนุกกับเกม “ลุ้นปั๊บ รับโชค” กับคูปองชิงโชคใบละ 20 บาท 

แวะเยี่ยมชมและร่วมกิจกรรมลุ้นโชคเพื่อสมทบทุนสภากาชาดไทยร่วมกับร้านกาชาด NT ได้ที่บูธเลขที่ 6.12 บริเวณประตูทางเข้า 1 สวนลุมพินี กรุงเทพฯ ได้ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2567 เวลา 22.00 น.

NT ขานรับนโยบายชาติ เร่งจัดทำระบบ Cell Broadcast Center (CBC) พัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้พร้อมตอบโจทย์ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของคนในประเทศ

ภาครัฐโดยนโยบายของ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ให้ความสำคัญในการจัดตั้งและพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Broadcast Service: CBS) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่เกิดเหตุได้รับทราบข้อมูลอย่างทันท่วงทีผ่านช่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งภาพรวมของ CBS ประกอบด้วยระบบ Cell Broadcast Center (CBC) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (AWN TUC และ NT) ในการจัดทำพัฒนาระบบ CBC ให้ทำงานร่วมกับระบบ Cell Broadcast Entity (CBE) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ทำหน้าที่ในการกำหนดเนื้อหาข้อความเตือนภัยและวิธีปฏิบัติในการบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังประชาชนในพื้นที่ภัยพิบัติ

ในส่วนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดฯ กล่าวว่า กระทรวงฯ บูรณาการร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานของระบบ CBE ประกอบไปด้วย ระบบคลาวด์ และระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่าง CBE กับ CBC ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่าง CBE กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแจ้งเตือน อาทิ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และกรมชลประทาน เป็นต้น ตามแผนภาพรวมคาดว่าระบบ CBS ดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT โดย ดร.ณัฏฐวิทย์ สุฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า NT จึงได้เร่งดำเนินการระบบ CBC เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งข้อความเตือนภัยฉุกเฉินให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการลดความสูญเสียของประชาชนในภาพรวม และให้การจัดทำระบบ CBC อยู่ในกรอบเวลาตามแผนภาพรวม

โดยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 NT ได้เข้าร่วมในการทดสอบระบบการแจ้งเตือนภัยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ กสทช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น ณ ศาลากลาง จังหวัดภูเก็ต ในลักษณะเสมือนจริง แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบของ Government Domain โดยกระทรวงดีอี และ ปภ. และรูปแบบ Network Domain โดย กสทช. ซึ่งการทดสอบดังกล่าวได้ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย และด้วยศักยภาพของระบบที่สามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินและเตือนภัยแก่ประชาชนได้อย่างทันท่วงทีนี้เอง ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสู่ประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ NT มีความตั้งใจและมีความพร้อมที่จะนำบริการด้านดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่มาสนับสนุนโครงการระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันของทั้งภาครัฐและเอกชนในการช่วยกันดูแลประชาชนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเป็นรูปธรรมที่เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในภาพรวมอันเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต”

NT จับมือ ไทยคม เอชพีจี เดินหน้าโครงการท่าเทียบเรืออัจฉริยะ และระบบติดตามขอความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทางทะเลผ่านดาวเทียม มุ่งเป้าสร้างต้นแบบท่าเทียบเรืออัจฉริยะแบบฟูลฟังก์ชัน เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวทางน้ำเทียบเท่ามาตรฐานสากล

NT หนุนองค์กรยุคใหม่ใช้งานเอไอง่ายสะดวกรวดเร็วและประหยัดผ่านแพลตฟอร์ม “NT AI Connect” เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้วยจุดเด่นด้านภาษา หวังดันทัพกลุ่มบริการดิจิทัลของ NT ตอบสนองลูกค้าก้าวสู่โลกดิจิทัลได้ครอบคลุมมากขึ้น  

พ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า NT ได้เปิดให้บริการแพลตฟอร์มโมเดลปัญญาประดิษฐ์NT AI Connect” ช่วยให้องค์กรสามารถใช้งานเอไอได้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่ต้องพัฒนาเองทั้งหมด โดย NT AI Connect ให้บริการโมเดลเอไอที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบแอปพลิเคชันเอไอสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน เช่น Vacalog แอปพลิเคชันบันทึกเสียง แปลงเสียงเป็นตัวหนังสือ พร้อมกับสามารถแยกเสียงผู้พูดได้อัตโนมัติ เหมาะสำหรับการบันทึกการประชุม หรือการถอดเสียงพูดต่าง ๆ รวมทั้งบริการในรูปแบบโมเดลเอไอกึ่งสำเร็จรูป (Pre-trained AI Models) ที่สามารถเรียกใช้งานได้ผ่าน API เช่น ระบบ OCR (Optical Character Recognition) รองรับการแปลงไฟล์รูปภาพเอกสารเป็นตัวหนังสือภาษาไทย และระบบ Speech to Text รองรับการแปลงไฟล์เสียงเป็นตัวหนังสือ เป็นต้น

NT AI Connect จะช่วยให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย 

บริการ NT AI Connect” เป็นความร่วมมือระหว่าง NT กับบริษัท วิสัย เอไอ จำกัด ผู้นำด้านการพัฒนา AI Model จากงานวิจัยด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ทันสมัย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวติดตั้งบนระบบคลาวด์ที่ได้มาตรฐานสากลของ NT และใช้ GPU ในการประมวลผลข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพสูงกว่าระบบคลาวด์ทั่วไปที่ประมวลผลโดยใช้ CPU จึงเหมาะกับการใช้งานด้าน AI และ Machine Learning ซึ่งต้องการการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในเวลารวดเร็ว   

แพลตฟอร์ม NT AI Connect ยังให้บริการโมเดลเอไอซึ่งถูกเทรนให้เข้าใจภาษาไทยได้เหมือนมนุษย์ด้วยเทคโนโลยี Natural Language Processing (NLP) รองรับการประมวลผลข้อมูลได้หลายรูปแบบทั้งข้อความ เสียง และภาพ สามารถนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในขั้นตอนการทำงานที่ต้องมีเรื่องภาษาเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแพลตฟอร์ม NT AI Connect สามารถให้บริการร่วมกับบริการ NT BIG DATA เพื่อประมวลผลฐานข้อมูลขนาดใหญ่แบบอัตโนมัติ และนำเสนอผลลัพธ์หรือจัดทำเป็นเอกสารตามรูปแบบที่กำหนดได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ

“ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ เล็งเห็นความสำคัญและเริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอในกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงาน และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้ลูกค้า แต่อาจยังขาดแคลนบุคลากรและทรัพยากรในการพัฒนาโมเดลเอไอ การใช้แพลตฟอร์มเอไออย่าง NT AI Connect จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถเริ่มต้นใช้งาน AI ได้อย่างสะดวกและเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ การเปิดบริการ NT AI Connect เป็นการเสริมทัพภาพรวมของกลุ่มดิจิทัลของ NT เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรยุคใหม่และรองรับลูกค้าของ NT ก้าวสู่โลกดิจิทัลได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น”  พ.อ.สรรพชัยย์ กล่าว

ดร.วงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานดิจิทัล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนา Towards Integrated Digital Platforms for Trade Digitalization ณ ห้อง UN Conference Centre องค์การสหประชาชาติ โดยได้กล่าวถึงบทบาทของ NT ในการทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในฐานะองค์กรผู้ให้บริการระบบ National Single Window  (NSW Operator) ของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา NT มีเป้าหมายพัฒนาระบบ NSW ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบ one stop service ของประเทศที่ได้มาตรฐาน  รองรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกของประเทศ รวมถึงธุรกรรมอื่น ๆ ที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ในปัจจุบัน NSW ของ NT ถือเป็นระบบงานที่มีประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยได้ผ่านการประเมินด้านความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO 27001 (Information Security Management System) มาตรฐานด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO/IEC 27701 (Privacy Information Management System) และได้รับการรับรองการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจตามมาตรฐาน ISO 22301 (Business Continuity Management) จากสถาบันมาตรฐานอังกฤษ หรือ BSI จึงทำให้เชื่อมั่นได้ว่า NT พร้อมเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับองค์กรทุกภาคส่วน ที่สามารถให้บริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วแบบวันสต็อปเซอร์วิส คล่องตัว พร้อมตอบโจทย์ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทุกรูปแบบ

Page 1 of 10
X

Right Click

No right click