บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ยกระดับบริการ Fixed Line (โทรศัพท์บ้าน) ในรูปแบบ Digital Voice ภายใต้แนวคิด “Any Device Anytime Anywhere @ The Same Price” เสนอ Solution ที่น่าสนใจยิ่งและมีประโยชน์เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคมให้กับหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชน

พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เอ็นที กับ ไมโครซอฟท์ ได้ร่วมกันทำกรอบข้อตกลง (MOU) ในการ Co-create Products & Services เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการโทรศัพท์ประจำที่ ให้มีความเป็น Smart Product โดยสามารถเชื่อม ต่อเข้ากับ Digital Connected Workplace Platform ตอบสนองความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน  ได้ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ที่มีการใช้งานโทรศัพท์พื้นฐานกันอยู่แล้ว โดยใช้ชื่อบริการว่า “NT Digital Teams Phone” ที่สามารถใช้งานเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานเดิมร่วมกับ Microsoft Teams Phone ได้จากทุก พื้นที่ทั่วไทย รวมถึงในต่างประเทศ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วโลก

   

นางชนิกานต์ โปรณานันท์ รองกรรมการผู้จัดการธุรกิจภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การร่วมมือกันในครั้งนี้ NT Digital Teams Phone เป็นผลผลิตส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาและต่อยอดบริการโทรศัพท์ประจำที่ให้ก้าวไปสู่ยุคดิจิตอล อย่างเต็มรูปแบบ ผ่าน Application Microsoft Teams ในการนำบริการโทรศัพท์ประจำที่ของ NT มาต่อยอด พัฒนาการให้บริการ ให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้งาน IT ในยุคดิจิทัล เพื่อรองรับ การทำงานแบบ Hybrid Work ที่สมบูรณ์แบบ ให้ทุกธุรกิจได้สัมผัสประสบการณ์การสื่อสาร แบบ All-in-one communication”

บริการ “NT Digital Teams Phone” จะทำงานผ่านบริการ Microsoft Teams ที่มีให้บริการอยู่โดย เสริมประสิทธิภาพการใช้ Voice ผ่าน โทรศัพท์ประจำที่ ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองลูกค้าในการสื่อสารออนไลน์ การส่งข้อมูลออนไลน์ การประชุม ออนไลน์ได้ แม้แต่การติดต่อกันผ่านโทรศัพท์ ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น บริการนี้จะช่วยให้การติดต่องาน หรือการประชุมสะดวกราบรื่นตลอดเวลา โดยไม่ต้องแจ้งเลขหมายใหม่หรือ ใช้เลขหมายมือถือส่วนตัว ในการติดต่อ ทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถควบคุมภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบโทรคมนาคมภายในองค์กรได้เป็น อย่างดี นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นอื่นๆ อีกมากมายที่เป็น Feature ของบริการที่สามารถ ทำได้อย่างหลากหลาย และมากกว่าตู้สาขาปกติทั่วไป เปรียบเสมือนเป็นการ Upgrade บริการโทรศัพท์บ้านหรือ Fixed Line ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น ในขณะที่ลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างชัดเจน

พันเอกสรรพชัยย์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เอ็นที มีภารกิจสำคัญในการให้บริการที่ทันสมัยมีคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มศักยภาพขององค์กรในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่ต้องก้าวเป็น Digital Government ในอนาคต โดยบริการ NT Digital Teams Phone ตั้งเป้าหมายกลุ่มลูกค้าในระยะแรก จะเป็นกลุ่มลูกค้าธุรกิจ SMEs Corporate , ราชการ และรัฐวิสาหกิจ  ที่มีการใช้โทรศัพท์ ประจำที่ทุกระบบผ่านตู้สาขา PBX ซึ่งอาจมีสาขาอยู่ในคนละพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มลูกค้าที่ได้มี การใช้งาน License Microsoft Office 365 อยู่แล้ว โดยคาดการว่าจะมีองค์กรต่างๆ สนใจใช้บริการ ไม่น้อยกว่า 20% ของฐานลูกค้าในปัจจุบัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ภายในไตรมาสที่สี่ของปีนี้

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ (IAAI) จัดประกวดแนวคิดนวัตกรรมและความเป็นไปได้ทางธุรกิจด้านเศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ ระดับอุดมศึกษา “SpaceQuest 2024 : Launching Thailand Space Innovation & Business” เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอวกาศ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ (New Space Economy) ของประเทศไทย ชิงทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 300,000 บาท

นายสรพงษ์ ศิริพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานดาวเทียมและโครงข่าย บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยเกี่ยวกับโครงการประกวดแนวคิดนวัตกรรม “SpaceQuest 2024 : Launching Thailand Space Innovation & Business” ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีแรกในหัวข้อ “เศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ (New Space Economy) ของประเทศไทย”  โดยโครงการดังกล่าวมุ่งส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้าร่วมสร้างสรรค์แนวคิดนวัตกรรมที่เปิดกว้างในแง่ของเทคโนโลยีอวกาศ โดยไม่ได้มีแค่เรื่องดาวเทียมสื่อสารและยานอวกาศเหมือนในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายมิติเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีการท่องเที่ยวอวกาศ เทคโนโลยีสำหรับการค้นพบทรัพยากรใหม่ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจอวกาศ เป็นต้น โดยมีรางวัลเป็นทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท

“NT ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียม และมุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้แก่ นิสิต นักศึกษา เยาวชน ซึ่งถือว่าเป็นอนาคตของชาติอย่างต่อเนื่องตลอดมา   โดยการจัดโครงการในครั้งนี้ทีมที่ได้รับการคัดเลือกผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย จะได้รับเงินสนับสนุนการผลิตผลงานทีมละ 15,000 บาท พร้อมสิทธิ์ในการเข้าร่วมกิจกรรม Workshop with Mentor ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและด้านธุรกิจจะมาให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างใกล้ชิด ทั้งประสบการณ์ความรู้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้น้องๆ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในอนาคตต่อไป”

นิสิต นักศึกษาที่สนใจสามารถสมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มกราคม 2567 ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 และประกาศผลการประกวดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ส่งผลงานและดูรายละเอียดได้ที่ https://spacequest2024.space/ สอบถามเพิ่มเติม Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ โทร. 02 326 4290 (คุณธนะชิต)

นายศิรศักดิ์ จันเทรมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด หรือ EnCo และ พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT  ร่วมลงนามใน บันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือเพื่อให้บริการระบบสื่อสารโทรคมนาคมและบริการอื่น ๆ ภายในอาคาร EnCo Terminal หรือ EnTer  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอาคาร EnTer ให้กลายเป็นอาคารต้นแบบโดยการเพิ่มประสิทธิภาพระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของไลฟ์สไตล์การทำงานคนทำงานรุ่นใหม่ โดยพิธีลงนามดังกล่าวได้ถูกจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 9 (Theater) ชั้น 8 อาคาร 3 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) สำนักงานแจ้งวัฒนะ

นายศิรศักดิ์ จันเทรมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) กล่าวว่า EnCo เป็นบริษัทพัฒนา และบริหารจัดการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจร ซึ่งดำเนินธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจได้แก่ 1.ธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Property Management) 2.ธุรกิจบริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลาง (Facility Management) และ 3.ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development) และเมื่อปลายปี 2566 ที่ผ่านมา EnCo ได้เข้าดำเนินการปรับปรุงอาคารศูนย์ฝึกอบรมหลักสี่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อเป็น EnCo Terminal  หรือ EnTer เพื่อพัฒนาเป็นอาคารสำนักงานล้ำสมัยที่ตอบโจทย์การทำงานของธุรกิจนวัตกรรมกลุ่ม New S-curve ทั้งด้านธุรกิจ Life science  ธุรกิจ EV หรือ Future-Tech  Startup ต่าง ๆ และในส่วนของการจับมือร่วมกับ เอ็นที (NT) ในครั้งนี้นั้น EnCo มีความมั่นใจว่า ด้วยศักยภาพ องค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญ ตลอดจนทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยของ NT จะช่วยยกระดับอาคาร EnCo Terminal หรือ EnTer ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานที่พร้อมไปด้วยนวัตกรรมสำนักงานที่ทันสมัยซึ่งจะสามารถรองรับไลฟ์สไตล์การทำงานในยุคดิจิตอลได้อย่างสมบูรณ์แบบ”

พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT กล่าวว่า “ความร่วมมือกับบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. นั้น เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะช่วยยกระดับ และเพิ่มศักยภาพในการบริการระบบสื่อสารโทรคมนาคมและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในอาคาร EnCo Terminal หรือ EnTer ให้มีศักยภาพรองรับการใช้งานเทคโนโลยีสื่อสารแก่ลูกค้าและผู้เช่าพื้นที่สำนักงาน โดยมุ่งตอบสนองความต้องการอันเป็นการยกระดับไลฟ์สไตล์การทำงานในโลกอนาคต โดยระบบเทคโนโลยีสื่อสารที่ NT จะนำไปติดตั้งและให้บริการ อาทิ  ระบบโทรคมนาคมทางสาย IP Phone, SIP Trunk, Cloud PBX, NT Mobile (4G/5G) เป็นต้น  ยิ่งไปกว่านั้นยังจะนำบริการประเภทดิจิทัลอื่น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นบริการกล้องวงจรปิด CCTV, บริการ E-Logistic  รวมไปถึงระบบเคเบิลใยแก้ว, ระบบท่อร้อยสาย, ระบบเสาโทรคมนาคม เพื่อเป็นเครื่องมือให้สามารถมุ่งเน้นการพัฒนา Application ต่อยอดและการให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมลงนามความร่วมมือในโครงการศึกษาและพัฒนาการให้บริการดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล สำหรับพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ (เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล : EECd) โดยจะร่วมกันศึกษาเทคโนโลยี ระบบสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงวิธีการดำเนินงานและรูปแบบการให้บริการด้านระบบโครงข่ายโทรคมนาคม ตลอดจนระบบเทคโนโลยี Digital Solution ที่เหมาะสมเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ EECd โดยมุ่งหวังที่จะร่วมกันพัฒนาระบบสาธารณูปโภค รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ให้สามารถให้บริการในพื้นที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เป็น เจ้าภาพจัดการประชุม Pan Asian e-Commerce Alliance Meeting หรือ PAA ครั้งที่ 68 ระหว่างวันที่ 20 - 22 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์พอย ราชดำริ กรุงเทพฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขับเคลื่อนความร่วมมือกลุ่มพันธมิตรผู้ให้บริการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในระดับภูมิภาคเอเชียและประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ในการร่วมพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับโลจิสติกส์ในการนำเข้า - ส่งออก ระดับโลกที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสมาชิก ตลอดจนร่วมกันกำหนดมาตรฐานสำหรับการเชื่อมโยงระหว่างประเทศและเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ

ดร. วงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานดิจิทัล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า “ตลอดระยะเวลาของการเป็นสมาชิกกลุ่มพันธมิตร ร่วมพัฒนาการทำธุรกรรมทางการค้า Cross Border Paperless Trade  ในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเมื่อต้นปี 2566 NT ได้เปิดให้บริการระบบ National Single Window “NSW” เชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ เพื่อให้บริการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ สำหรับการนำเข้า - ส่งออก และโลจิสติกส์ เต็มรูปแบบ โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งระบบ NSW ที่ NT ให้บริการนั้นมีประสิทธิภาพสูง สามารถรองรับรูปแบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ได้เพิ่มขึ้น อาทิ ใบขนสินค้าอาเซียน ACDD (ASEAN Customs Declaration Document) และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอาเซียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ATIGA e-Form D โดย NT มีความตั้งใจที่จะให้บริการและพัฒนาการให้บริการ NSW อย่างต่อเนื่องเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องได้มีช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ปลอดภัย เกิดการบูรณาการการใช้ข้อมูล สามารถติดตามผลในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานนำเข้า-ส่งออก และการอนุมัติต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (e-Tracking) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศและพร้อมต่อยอดด้วยการนำแพลตฟอร์มนี้มาส่งเสริมให้สมาชิก PAA สามารถบรรลุเป้าหมายการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ”

ในการประชุม PAA ครั้งที่ 68 ที่ NT เป็นเจ้าภาพนั้น มีผู้เข้าร่วมประชุมจากตัวแทนสมาชิกต่าง ๆ จาก 20 เขตเศรษฐกิจ รวมทั้งตัวแทนจากเวียดนามและเซี่ยงไฮ้ ที่เข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ และในโอกาสที่ NT เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ PAA ได้เชิญผู้แทนจากสมาคมธนาคารไทยร่วมประชุมในนาม ASEAN Digital Trade Connect เพื่อหารือกรอบความร่วมมือระหว่าง PAA กับ ASEAN Digital Trade Connect ในการส่งเสริมการอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศด้วย

PAA ได้ข้อสรุปร่วมกันจากการประชุมครั้งนี้ ในการสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศในรูปแบบภาคเอกชนกับภาคเอกชน (B2B) โดยผู้แทนบริษัท InterCommerce จากฟิลิปปินส์ ได้หารือร่วมกับ NT ในการพัฒนาการให้บริการรับส่งใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto) ให้สามารถเชื่อมโยงผ่านระบบ NSW และแพลตฟอร์มทางการค้าแบบ B2B ได้ด้วย และได้ขยายขอบเขตการให้บริการเพื่อสนับสนุนการให้บริการ e-Phyto กับภาคเอกชน เช่นเดียวกับที่ NT ได้เริ่มดำเนินการร่วมกับบริษัท TradeWaltz จากญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค่าระหว่างประเทศในรูปแบบ B2B

ทั้งนี้ข้อมูล PAA เพิ่มเติมได้ที่ www.PAA.net

Page 2 of 9
X

Right Click

No right click