บริษัท เอส ซี ไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด (SCIeco) ผู้นำด้านการจัดการของเสียและกากอุตสาหกรรม และบริการการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ชวนทุกท่านมาเจาะลึกอนาคตแห่งการจัดการสิ่งแวดล้อม ในงาน Environmental and Waste Management Expo 2024 (EnwastExpo 2024) งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการของเสีย ภายใต้แนวคิด “Join the movement towards a better planet” หรือ “ร่วมขับเคลื่อนสู่โลก ที่ดีกว่า”
ห้ามพลาดกับ SCIeco ภายใต้ Green Circular ซึ่งครั้งนี้มาในคอนเซ็ปต์ “Waste to The Future” ด้วยโซลูชันด้านการจัดการ Waste เพื่อสร้างสรรค์โลกที่ดีขึ้น เพื่ออนาคตที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้แก่ Industrial Waste Management บริการรับจัดการของเสียและกากอุตสาหกรรม, Municipal Waste Management การจัดการ waste ภาคชุมชนมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทน RDF, Agricultural Waste Management แปลงวัสดุเหลือทิ้งภาคการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล, Environmental Service Solutions บริการตรวจวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม พร้อมดูแลครบวงจร พร้อมกันนี้ ทุกท่านยังจะได้สัมผัสการสาธิตแบบจำลองระบบตรวจวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม โดยมี Model ปล่องระบาย
อากาศที่แสดงผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ เพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพอากาศจากปล่องอุตสาหกรรม
บริษัท เจ.บี.พี. อินเตอร์เนชั่นแนล เพ็นท์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสีชั้นนำของประเทศไทย นำโดยนายจงกล รัชนกูล ประธานกรรมการบริหาร จัดงาน “JBP Sustainable Innovation Journey Together” เพื่อประกาศวิสัยทัศน์และทิศทางในการดำเนินธุรกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืน พร้อมฉลองครบรอบ 50 ปีของเจบีพี และประกาศความพร้อมรับช่วงต่อแบรนด์ CIC ซึ่งเจบีพีฯ จะเข้าดูแลบริหารจัดการต่อจาก บริษัท เครโดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
นายจงกล รัชนกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจ.บี.พี อินเตอร์เนชั่นแนล เพ็นท์ จำกัด ได้บอกเล่าเรื่องราวถึงการเดินทางอันยาวนานนับครึ่งศตวรรษของเจบีพี และขอบคุณพันธมิตรที่ร่วมเดินทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนไปกับเจบีพี พร้อมประกาศถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของงานคือ พิธีส่งมอบสิทธิ์ในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ซี.ไอ.ซี. โดย บริษัท เครโดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้แก่ เจบีพี ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการขยายธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป โดยนายสุชาติ เตียนโพธิทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เครโดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวสนับสนุนเจบีพีในการดูแลแบรนด์และลูกค้าของ CIC โดยมั่นใจว่าการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น และเชื่อมั่นว่าเจบีพีจะสามารถดูแลลูกค้าของแบรนด์ CIC พร้อมขยายแบรนด์ให้เติบโตไปบนเส้นทางที่ยั่งยืนพร้อมกับเจบีพี ได้อย่างมั่นคง
ด้าน นางสาวสรพรรณ รัชนกูล รองกรรมการผู้จัดการสายงานเวลบีอิ้ง บริษัท เจ.บี.พี อินเตอร์เนชั่นแนล เพ็นท์ จำกัด ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาแบรนด์ CIC หลังจากการรับช่วงในการดูแลต่อจากบริษัท เครโดฯ โดยเน้นการรักษามาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ พร้อมนำพา CIC เติบโตไปพร้อมกับเจบีพี และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกันต่อไปในอนาคต
นายศราวุฒิ รัชนกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ.บี.พี. อินเตอร์เนชั่นแนล เพ็นท์ จำกัด ได้กล่าวสรุปถึงวิสัยทัศน์และทิศทางการเติบโตของเจบีพีในอนาคต โดยเน้นย้ำว่าความสำเร็จที่ผ่านมาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการก้าวไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น เจบีพีจะเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมขยายความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเข้าใกล้เป้าหมาย Net Zero ไปอีกขั้น
ทั้งนี้งาน “JBP Sustainable Innovation Journey Together” ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ทั้งในด้านการขยายแบรนด์ การเติบโตทางธุรกิจ และการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรอย่างแข็งแกร่ง เพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ทรู ดิจิทัล พาร์ค ศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดย นายฐนสรณ์ ใจดี (กลาง) กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ดร.ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ (ซ้ายสุด) ผู้จัดการทั่วไป ร่วมกับ นิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส (ประเทศไทย) โดย นายสแตนลี เอิง ผู้อำนวยการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ที่ 2 จากขวา) จัดสัมมนาครั้งใหญ่แห่งปี "Decarbonize Thailand Symposium 2024 : Path to Net Zero Collaboration" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 รวมพลังเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ร่วมด้วย เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย โดย นายประดิษฐ์ มหาศักดิ์ศิริ (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจเกิดใหม่ และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย ดร.ปิยาภรณ์ ภาสกานนท์ (ขวาสุด) หัวหน้าสายงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร พร้อมด้วยหลากหลายพันธมิตรองค์กรชั้นนำจากทั้งในและต่างประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยี พร้อมเปิดเวทีให้สตาร์ทอัพร่วมโชว์เคสนวัตกรรม Climate Tech กระตุ้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดร.ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ ผู้จัดการทั่วไป ทรู ดิจิทัล พาร์ค กล่าวว่า จากความสำเร็จในการจัดงาน Decarbonize Thailand Symposium 2022 ซึ่งเป็นครั้งแรกเพื่อสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ได้มีบริษัทยักษ์ใหญ่สนใจร่วมงานเป็นอย่างมาก ทรู ดิจิทัล พาร์ค จึงเดินหน้านำศักยภาพระบบนิเวศครบวงจรสำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเทค สร้างคอมมูนิตี้เชื่อมโยงความร่วมมือในแก้ไขปัญหาดังกล่าว จัดงาน "Decarbonize Thailand Symposium 2024 : Path to Net Zero Collaboration" เป็นปีที่ 2 โดยเน้นการอัปเดตนวัตกรรมโซลูชันจากสตาร์ทอัพทั่วโลก นอกจากนี้ ยังผลักดันการเติบโตของสตาร์ทอัพ Climate Tech ผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดโครงการและกิจกรรมที่จะสร้างพลังเครือข่าย กระตุ้นให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยโฟกัส 4 กลุ่มนวัตกรรม Climate Tech ที่น่าจับตามอง ได้แก่ E-Mobility เช่น EV และระบบขนส่ง, Decarbonization เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบริหารจัดการคาร์บอน และคาร์บอนเครดิต, AgriTech เช่น ระบบบริหารจัดการน้ำ เชื้อเพลิงชีวภาพ และวัตถุดิบทางเลือก และ Energy เช่น การบริหารจัดการพลังงาน และพลังงานหมุนเวียน
ในงาน "Decarbonize Thailand Symposium 2024 : Path to Net Zero Collaboration" นอกจากการบรรยายพิเศษ อัปเดตเทรนด์โลกและสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตสภาพอากาศ จากเหล่าวิทยากรผู้เชี่ยวชาญแล้ว ยังมีหลากหลายองค์กรชั้นนำและสตาร์ทอัพ Climate Tech ร่วมพูดคุยถึงโอกาสและความท้าทายในการเดินทางสู่ Net Zero โดยในช่วงเสวนาหัวข้อ “Decarbonization 101 Deep Dive: Exploring Cutting-Edge Strategies for a Sustainable Future” ผู้แทนจาก เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์และนวัตกรรมโมบิลิตี้แห่งอนาคต ได้กล่าวถึงการเลือกวัสดุในขั้นตอนการผลิต ว่า ไม่ได้มองที่ต้นทุนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วย ส่วนภาคการผลิตก็ต้องปล่อยคาร์บอนให้ต่ำที่สุดหรือเป็นศูนย์ เมื่อนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาประกอบเป็นรถยนต์ก็ต้องช่วยลดคาร์บอนได้ รวมถึงการพัฒนาด้านอีวี หรือ เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cells) ด้วย ด้านผู้แทนจาก เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้เผยถึงอีกด้านของโอกาสว่า ยุคนี้ผู้ที่ปรับตัวได้ก่อนก็สามารถเป็นผู้กำหนดสร้างกฎเกณฑ์ข้อตกลงได้ก่อน เช่น ราคาคาร์บอนเครดิต โดยภาคธุรกิจต้องปรับตัว นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานร่วมกันกับพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อีกทั้งความยั่งยืนยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของคนรุ่นใหม่ในการเลือกทำงาน เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ยั่งยืนที่จะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพที่มาพร้อมโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เสมอ สำหรับประเด็นด้านความเสี่ยงขององค์กรและประชาชนทั่วไป เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ไทยแลนด์ ให้มุมมองถึงปัญหาที่ทุกคนเจอโดยไม่รู้ตัว คือ ภาษีคาร์บอน ผ่านการซื้อรถยนต์ ค่าไฟ และอาหารการกิน เป็นต้น เดลต้าได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2015 ด้วยการประกาศคำมั่นสัญญาผ่านธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง พร้อมใช้พลังงานสีเขียวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น ส่วนองค์กรสตาร์ทอัพ ALTOTECH GLOBAL เผยว่า ในการตั้งเป้าลดการใช้พลังงาน การนำข้อมูลมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น ระบบอาคาร ที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ของอาคารที่ใช้ข้อมูลร่วมกัน ก็เป็นอีกโอกาสที่อยากพัฒนาให้เกิดขึ้น ด้าน ALTERVIM เผยถึงมุมของสตาร์ทอัพ คือ มักจะมุ่งสร้างเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาระดับประเทศ แต่หลังจากได้ร่วมงานกับคอร์ปอเรต ทำให้เห็นว่าความร่วมมือที่แท้จริงจะต้องช่วยขับเคลื่อนเอสเอ็มอีต่างๆ ซึ่งเป็นหน่วยเล็กๆ ด้วย มิติเหล่านี้ไม่ได้มองแค่ตัวเลขทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องส่งผลต่อการจ้างงาน สังคม และประเทศชาติ ได้ด้วย
นายบุญรอด เยาวพฤกษ์ กรรมการบริษัท เดอะ ครีเอจี้ จำกัด องค์กรที่ปรึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยประเทศไทยและโลกไปสู่ Net Zero Economy รวมถึงได้ก่อตั้ง Climate Academy เผยว่า แนวโน้มอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมมายาวนานทุกปีๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยเหลือ Carbon Budget อยู่ 380,000 ล้านตัน ก่อนที่อุณหภูมิจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จนเกิดแคมเปญ Net Zero ทั่วโลกต่างๆ ขึ้นตั้งแต่สนธิสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) จนถึงปัจจุบันคือ ความตกลงปารีส (Paris Agreement) และยังให้มุมมองเรื่อง Climate Change ว่าอันดับแรกผู้คนต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงที่ตัวเองแต่พฤติกรรมบุคคลนั้นเปลี่ยนได้ยาก อาจจะต้องมีบทลงโทษหากทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้ 2 กลไก ได้แก่ 1. ETS Immigration Trading Screen สำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่กำหนดโควต้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งหากปล่อยเกินต้องไปหาโควต้าจากที่อื่น และ 2. การเก็บภาษีคาร์บอน ที่จะสามารถช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในอนาคตได้
ทั้งนี้ นายบุญรอด ได้ให้มุมมองในการทำ Net Zero Economy ว่า การทำธุรกิจหากเข้าใจแลนด์สเคปจะได้เปรียบมากกว่า โดยมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ เทคโนโลยีไหนกำลังมา ทรัพยากรที่ถูกใช้มากที่สุดคืออะไร โดยในปัจจุบันอันดับแรก ได้แก่ น้ำ และรองลงมาคือ คอนกรีต จะมีวัสดุไหนมาทดแทนได้หรือไม่ หรือแม้แต่ไฟฟ้าทั้งหมดหากมีจุดกำเนิดมาจากพลังงานสะอาดจะต้องทำอย่างไร เป็นต้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น จากการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า และการทำลายสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ หรือที่เรียกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการสูญเสียสมดุลของระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต รวมถึงการก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากมนุษย์ยังไม่เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตรวมถึงการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อนาคตอันน่าเศร้าของโลกคงหนีไม่พ้น ในขณะเดียวกัน คาดการณ์ว่าโอกาสในการลงทุนเพื่อความยั่งยืนด้วยเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 จะเกิดขึ้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันและเตรียมรับโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง และลอมบาร์ด โอเดียร์ ในฐานะสถาบันการเงินและผู้ให้คำแนะนำการลงทุนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงมือทำ เพื่อพาประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero จัดงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้หัวข้อ RETHINK SUSTAINABILITY : A CALL TO ACTION FOR THAILAND พร้อมความร่วมมือจากตัวแทนองค์กรใน 4 อุตสาหกรรมของไทย ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาหารและการเกษตร ปิโตรเคมี และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงหน่วยงานระดับโลกอย่าง Systemiq และ The Alliance to End Plastic Waste ที่มาร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ตลอดจนบทบาทและแนวทางปฏิบัติ เพื่อหารือร่วมกันในการขับเคลื่อนให้เกิดการลงมือทำ เพื่อปฏิวัติเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจใหม่อย่าง CLIC® คือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Lean) ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Inclusive) และเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (Clean) พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนี้ด้วย
สร้างอนาคตที่ยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
(Building Through a Sustainable Future in Tourism and Service Industry)
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้มหาศาล และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมากขึ้น กระแสของการท่องเที่ยวและการเดินทางอย่างยั่งยืนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนในเรื่องหลักๆ ที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินท์ส่วนเกินได้ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศทางทะเล และการปรับปรุงระบบทำความร้อนและเย็นในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้ ความสำคัญของการลงมือทำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึง มี 3 แกนหลัก ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Protect Environment) และ การรักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของสังคมให้ยั่งยืน (Save Social) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่อยู่บนบรรทัดฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปปรับใช้ โดยเริ่มมีบริษัทผู้ให้บริการด้านการจองที่พัก (Online Travel Agency: OTAs) ยักษ์ใหญ่บางเจ้า เริ่มจำแนกประเภทที่พักหรือบริการการเข้าพักแบบยั่งยืน ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั้งรายเล็ก และใหญ่ต้องปรับตัว ในประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีการริเริ่มจัดโครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่มาตรฐาน การท่องเที่ยวยั่งยืน โดยการให้มาตรฐานดาวแห่งความยั่งยืน กับผู้ประกอบการ มากกว่า 10 ประเภทกิจการ ภายใต้ STGs (Sustainable Tourism Goals) หรือ STAR : (Sustainable Tourism Acceleration Rating) ที่ครอบคลุมทั้ง 17 เป้าหมายที่สะท้อนความยั่งยืน ซึ่งถอดมาจาก SDGs ของ UNWTO ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า 555 แห่ง โดยผู้ประกอบการประเภทโรงแรมที่พักเข้าร่วมมากที่สุด โดยภาครัฐจะผลักดันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของการส่งเสริมเพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
อาหารแห่งอนาคต บริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน
(New Food System that Feed the World and Nourish the Planet)
ปัจจุบันทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีจำนวนประชากรเพิ่มราว 1 หมื่นล้านคน นำไปสู่ความต้องการด้านอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 60-100 ฉะนั้นการปรับรูปแบบการผลิตอาหารโดยใช้แนวทางการเกษตรยั่งยืน อย่าง Regenerative Agriculture ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นแหล่งช่วยกักเก็บคาร์บอน ยังช่วยเพิ่มผลผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง กำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net zero เช่น เริ่มมีการพัฒนานวัตกรรมโดยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษ (Paper Tray) ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูและเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลาสติกได้ถึง 80% ในขณะที่ยังคงรักษาความสด ความสะอาดของผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจากพึช (Plant-based protein) ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์มาก ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษทางน้ำ และลดการใช้พื้นที่ อีกทั้งมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานมากขึ้นซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนในธุรกิจอาหารที่พร้อมปรับตัวและพัฒนาสู่ความยั่งยืน ตั้งแต่เรื่องของกระบวนการผลิต การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ อร่อย ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุสมผล
พลาสติกหมุนเวียน: อุตสาหกรรมเคมีแห่งอนาคต
(Plastic Circularity: Chemistry Shaping the Future)
ปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุดของทุกประเทศรวมถึงในประเทศไทยซึ่งเกิดจากการจัดการที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหานี้ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มองหาคือการลงทุนในธุรกิจที่ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาเป็นแกนหลักในการจัดการช่วยให้พลาสติกถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น เน้นหลักการ 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากการจัดการขยะและออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การลงทุนในพลาสติกชีวภาพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องที่ช่วยในการผลิตพลาสติกให้มีคุณภาพดีขึ้น ใช้ได้นานขึ้น รวมถึงการนำขวดพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแสวงหาโอกาส ลงทุนในเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้สามารถกักเก็บไว้ได้ใต้ดิน และนำออกมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
อนาคตพลังงานทางเลือกของประเทศไทยกับโอกาสในการลงทุนด้านพลังงาน
(Carbon Opportunities and Future Electrification)
ปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 70 มาจากภาคขนส่งและพลังงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและภาวะโลกเดือด ดังนั้น หากธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานดังกล่าวมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจะมีส่วนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมาก รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระดับโลกได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่งอย่างชัดเจน ในระดับการขนส่งสาธารณะก็ได้มีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้สำหรับรถบัส เรือโดยสาร รวมไปถึงรถไฟ นอกจากนี้ ในระดับบุคคลทั้งต่างประเทศและประเทศไทยได้เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์น้ำมัน มาเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เท่าตัว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทั่วโลกต่างมีเป้าหมายดำเนินการร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนต่อยอดในธุรกิจพลังงานทางเลือกของนักลงทุน
กลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน
(Investment-led Sustainability)
KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน เล็งเห็นว่านักลงทุนเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน จึงต้องการให้นักลงทุน ผู้ที่สนใจการลงทุน เตรียมพร้อมรับมือกับโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเกิดเม็ดเงินการลงทุนด้านความยั่งยืนมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2573 ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero นักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนการรับรู้ (Awareness) เป็นการลงมือทำ (Action) เน้นลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว (Solution Providers) หรือกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และ/หรือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเป้าหมายเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero (Transition Candidates) ทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนได้ KBank Private Banking เชื่อมั่นในบทบาทของการลงทุน ว่าสามารถยกระดับองค์ความรู้และความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การลงทุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทุกภาคส่วนได้จริง
งานเสวนา “RETHINK SUSTAINABILITY: A Call to Action for Thailand" เป็นงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด และลอมบาร์ด โอเดียร์ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแห่งความยั่งยืนในอนาคต สามารถติดตามรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ www.youtube.com/@KBankPrivateBanking
บ้านปู เน็กซ์ ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยเทรนด์สำคัญที่สะท้อนว่าองค์กรทั่วโลกต่างมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้าน Net-Zero อย่างจริงจังมากขึ้นโดยใช้นวัตกรรมพลังงานสะอาดเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน ตั้งเป้าจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงเกินแก้ไขหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส โดยเทรนด์ดังกล่าวยังสอดรับกับบทสรุปของการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่เน้นย้ำบทบาทของภาคเอกชนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงชูความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงานสะอาดอีกด้วย
การขับเคลื่อน Net-Zero ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเมื่อองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมาก ต่างวางเป้าหมายในด้านดังกล่าวไว้อย่างเข้มข้น โดยรายงานของ Net-Zero Tracker หน่วยงานอิสระที่ติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกระบุว่า 1,475 องค์กรจากกว่า 4,000 รายทั่วโลกกำหนดเป้าหมาย Net-Zero เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ โดยธุรกิจต่างๆ จากหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีชีวภาพ เภสัชกรรม อาหารและเครื่องดื่ม เกษตรกรรม การโรงแรม ภาคการผลิต วัสดุอุปกรณ์ ค้าปลีก คมนาคมขนส่ง และพลังงาน ต่างเห็นความจำเป็นเร่งด่วนของการรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยดำเนินกลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้งการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาใช้วางเป้าหมายขององค์กร การชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิต รวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีและการบริหารการดำเนินงานที่ยั่งยืน
สำหรับประเทศไทย ทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างชาติจากแต่ละอุตสาหกรรมกำลังดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนภายใต้เป้าหมายที่จะสร้างเสริมโลกที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้นและมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อย่างเช่นนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง, บีทาเก้น, โครงการมิกซ์ยูสซัมเมอร์ ลาซาล, โรงเรียนนานาชาติรักบี้, ตลาดสามย่าน, เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท, เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์, เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์, เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย), ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และ ล็อกซเล่ย์ เป็นตัวอย่างองค์กรและแบรนด์ชั้นนำที่หันมาขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการลดการปล่อย CO2 ปริมาณมหาศาลต่อปี
ท่ามกลางความตื่นตัวด้านความยั่งยืนที่เติบโตขึ้นทั่วโลก บ้านปู เน็กซ์ เชื่อว่านวัตกรรมพลังงานสะอาด อาทิ แหล่งพลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน ระบบบริหารจัดการพลังงาน ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์คาร์บอน มีความจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายด้าน Net-Zero เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านี้มีบทบาทในการลดการปล่อยคาร์บอน จึงช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานหมุนเวียน และนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนในท้ายที่สุด โดยภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมอนาคตที่ดียิ่งขึ้นให้กับทุกคน บ้านปู เน็กซ์ เดินหน้าพัฒนาโซลูชันพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรม และได้ช่วยให้คู่ค้าลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ 4 แสนตัน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ประมาณ 29 ล้านต้นถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนสังคมไร้คาร์บอนพร้อมทั้งสนับสนุนประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน พ.ศ. 2608
บ้านปู เน็กซ์ มุ่งมั่นเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน Net-Zero ให้กับองค์กรทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงเดินหน้าขับเคลื่อน 5 ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจแบตเตอรี่ ธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ และธุรกิจพัฒนาเมืองอัจฉริยะและจัดการพลังงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก นอกจากนี้ บ้านปู เน็กซ์ ยังมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการเป็นพันธมิตรกับองค์กรด้านเทคโนโลยีและพลังงานสะอาดที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศธุรกิจโดยรวมอีกด้วย