Happy Pride Month 2024! เพราะความหลากหลายและความเท่าเทียมควรมีอยู่ในทุกพื้นที่ ไม่เลือกปฏิบัติ และอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน รวมไปถึง “สิทธิ” และ “สวัสดิการ” ที่ครอบคลุมไปถึงชาว LGBTQIAN+ ควรออกแบบให้เหมาะสมตรงกับการใช้ชีวิต ถ้าย้อนกลับไปในสมัยก่อน สิทธิที่พึงมีของพนักงานกลุ่มเพศทางเลือกอาจค่อนข้างจำกัด สวัสดิการส่วนใหญ่มักจะรองรับแค่สำหรับผู้ชายหรือผู้หญิงเท่านั้น เช่น การลาแต่งงาน เงินสนับสนุนสำหรับคู่แต่งงานหรือสวัสดิการคุ้มครองครอบครัวหรือคู่สมรส การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น หากทุกบริษัทมีความเข้าใจ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญกับเรื่องของความหลากหลายและเท่าเทียม ก็จะทำให้ทุกคนรู้สึกมีความสุข มีกำลังใจในการทำงาน พร้อมที่จะส่งมอบผลงานที่ดี เติบโตไปกับองค์กร และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ในวันนี้ขอพาทุกคนมารู้จักกับ FWD ประกันชีวิต องค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียมสำหรับพนักงานทุกคนในทุกด้าน พร้อมส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยอมรับในความแตกต่างของพนักงาน โดยยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัตินับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ผ่านการอบรมและให้ข้อมูลเพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านอายุ ภาษา วัฒนธรรม เพศ ศาสนา รสนิยมทางเพศ หรือความแตกต่างของร่างกาย ภายใต้แนวคิด Diversity, Equity และ Inclusion (DEI) โดยมีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้มีความเหมาะสมตามคุณค่าและความสามารถ ด้วยการให้สวัสดิการและสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานที่ครอบคลุมและหลากหลายตามความจำเป็น เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยทุกคนถือเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวหน้าไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งเริ่มตั้งแต่บริษัทได้ควบรวมในปี 2562 บริษัทมีสวัสดิการที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งสวัสดิการที่โดดเด่นและแตกต่างคือ การลาหยุดเพื่อทำศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศได้ 7 วัน และได้รับเงินสนับสนุนในการรักษาพยาบาลจากการผ่าตัดแปลงเพศสูงสุดถึง 100,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์ แผนความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมถึงครอบครัว ซึ่งหมายถึง คู่สมรส บุตร รวมถึงบุตรบุญธรรม พ่อแม่ และคู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกัน
และเพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่สร้างให้เกิดความเท่าเทียมอย่างยั่งยืนในสังคมคนทำงาน ในเดือนมิถุนายน Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียม FWD ประกันชีวิต ได้ประกาศนโยบายสวัสดิการเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนความรักของครอบครัวโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศเป็นตัวกำหนดบทบาทการเป็นพ่อและแม่ของแต่ละคน ได้แก่
นอกจาก FWD ประกันชีวิต จะส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ยอมรับในความแตกต่างของพนักงานแต่ละบุคคล ยึดถือแนวทางปฏิบัติอย่างเท่าเทียมแล้ว ยังพร้อมที่จะสนับสนุนและดูแลให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตในแบบที่ชอบได้โดยไม่ต้องกังวล เพราะเราเชื่อว่าความหลากหลายของพนักงาน คือ หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ
บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนเทศกาล Pride Month ครั้งแรกในเมืองหัวหิน กับงาน “BLUPORT RISE OF PRIDE 2024” เฉลิมฉลองเทศกาล Pride Month 2024 ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองหัวหิน และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการในเมืองหัวหินเพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศให้ได้รับการยอมรับในสังคมปัจจุบัน และเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวในระดับสากลอีกด้วย โดยนายณัฐพล คุณกรสิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และตัวแทนจากองค์กรอื่นๆ ร่วมเสวนาพูดคุยในหัวข้อเรื่องความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียมในสังคมของกลุ่ม LGBTQ+ ณ บริเวณลาน เอเทรี่ยม ชั้น G บลูพอร์ต หัวหิน
เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมเฉลิมฉลอง Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) เดินหน้าสนับสนุนความหลากหลาย จัดกิจกรรม "Pride & Love Seminar" เชิญคู่รักศิลปินชื่อดังร่วมแชร์มุมมองความเท่าเทียม พร้อมส่งต่อเรื่องราวความรัก กำลังใจให้กับทุกเพศวิถีให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ตอกย้ำการโอบรับความแตกต่าง และความหลากหลาย Diversity, Equity, and Inclusion คุณค่าที่เจนเนอราลี่ให้ความสำคัญเสมอมา
ภายในงานได้รับเกียรติจาก นางสาวสายฝน คงจิตต์งาม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและสนับสนุนองค์กร กลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมให้แนวคิดการดำเนินนโยบายและบริหารองค์กรบนความหลากหลาย พร้อมทั้งตอกย้ำแนวคิดขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับบุคลากร ความแตกต่าง และความเท่าเทียม (DEI) เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ โดยปราศจากอคติ และมีเป้าหมายเดียวกันคือเกิดความเคารพในตนเอง มีความสุขและมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ส่งต่อไปยังเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และสังคมนอกองค์กร
โดยกิจกรรมในเดือน Pride Month นั้นได้จัดอย่างต่อเนื่อง โดยได้เชิญแขกพิเศษคู่รักนักแสดงชื่อดังที่คบกับมายาวนานกว่า 17 ปี “พอร์ช - อภิวัฒน์ อภิวัฒน์เสรี” และ “อาม - สัพพัญญู ปนาทกุล” มาร่วมเล่าประสบการณ์และมุมมองต่อความหลากหลายทางเพศภายในสังคม พร้อมแชร์เรื่องราวความรัก อุปสรรคต่าง ๆ ที่เจอตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในฐานะคู่รัก LGBTQIA+ และฝากข้อคิดสำคัญในการใช้ชีวิตคู่ท่ามกลางความหลากหลายในสังคม เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ Gen Square เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ สำนักงานใหญ่ อาคารซีอาร์ซีทาวเวอร์
The Attraction เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนไทย เนื่องในเดือน Pride Month ผ่านแบบสำรวจออนไลน์ เสียงสะท้อนสมรสเท่าเทียม ประเทศไทยจะเท่าเทียมกี่โมง! พบประชาชนกว่า 99.3% เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เหตุผลหลักที่อยากสนับสนุน คือ สิทธิประโยชน์คู่สมรส และสิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส มองสังคมไทยยังให้การยอมรับ LGBTQIAN+ ในระดับปานกลาง ในขณะที่กว่า 45% คิดว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นผลงานของ “พรรคก้าวไกล” และส่วนใหญ่เชื่อว่าการที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่จะช่วยยกระดับประเทศไทยในสายตาทั่วโลกด้านความเปิดกว้างเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ
(ดิ แอทแทรคชั่น) ผู้ผลิตคอนเทนต์ เพื่อนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ในแง่มุมที่น่าสนใจผ่านการเล่าถึงมุมมองสำคัญทางด้านอาหาร วัฒนธรรม ความบันเทิง เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ จัดทำแบบสำรวจออนไลน์ เนื่องในเดือนแห่งความภาคภูมิใจ หรือ Pride Month ภายใต้หัวข้อ “เสียงสะท้อนสมรสเท่าเทียม ประเทศไทยจะเท่าเทียมกี่โมง!” โดยผลสำรวจจากผู้ติดตามเพจ The Attraction และประชาชนทั่วไปผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม
โดยในคำถามที่ว่า คิดว่าปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้างให้การยอมรับกลุ่ม LGBTQIAN+ ในระดับใด ประชาชนส่วนใหญ่ (48.8%) มองว่ายังเปิดกว้างในระดับ “ปานกลาง” ในขณะที่ 36.2% มองว่า “เปิดกว้างมาก” และมีเพียง 6.8% ที่คิดว่า “เสรีที่สุด” และเมื่อถามว่าตัวผู้ตอบแบบสอบถามเองให้การยอมรับความหลากหลายทางเพศมากน้อยแค่ไหน มีผู้ตอบว่า “ยอมรับมากที่สุด” มากถึงร้อยละ 60.8%
ในด้านความคิดเห็นต่อ พ.ร.บ. "สมรสเท่าเทียม” มีผู้เห็นด้วยมากกว่า 99.3% โดยเหตุผลหลักที่อยากสนับสนุน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม อันดับที่ 1 คือ สิทธิประโยชน์ "คู่สมรส" 77.6% อันดับที่ 2 คือ สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส 67.7% อันดับที่ 3 คือ สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย 60.8% และจากผลสำรวจส่วนใหญ่ยกให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นผลงานของ “พรรคก้าวไกล” ถึง 47.4% รองลงมาคือภาคประชน 26.3% และทุกภาคส่วนร่วมมือกัน 23.3% มีเพียง 1.9% ที่มองว่าเป็นผลงานของพรรคเพื่อไทย
นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามถึงการที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่จะช่วยส่งเสริมประเทศไทยในด้านใด ความคิดเห็นส่วนใหญ่คิดว่าจะช่วย ยกระดับประเทศไทยในสายตาทั่วโลก ด้านความเปิดกว้างเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ ถึง 77.5% อันดับที่ 2 คือ ผลักดันให้ไทยเป็นหมุดหมายสำคัญของกลุ่มคนเพศทางเลือกจากทั่วโลก ที่จะเข้ามาเพื่อปักหลักใช้ชีวิต 60.7% อันดับที่ 3 คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกับความหลากหลายทางเพศมีการเติบโต เช่น ภาพยนต์-ซีรี่ส์วาย ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว แต่งงาน ประกันชีวิต ฯลฯ 51.7%
และเมื่อสอบถามว่า “ถ้าคุณบอกรัฐบาลเรื่องสมรสเท่าเทียมได้ คุณอยากบอกอะไร” โดยเป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ พบว่าข้อความส่วนใหญ่อยากให้รัฐบาลช่วยผลักดันกฎหมายนี้ให้สำเร็จ เช่น ให้กฎหมายข้อนี้ผ่านเถอะมันจะทำให้ประเทศดีขึ้น, ให้ผ่านเถอะค่ะ ตอนนี้ประเทศไทยมี LGBTQIAN+ เป็น soft power ได้นะคะ, ถ้ารัฐบาลเห็นชอบในเรื่องสมรสเท่าเทียมและอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยไม่ต้องรอจะขอบพระคุณอย่างยิ่งและคุณจะเป็นรัฐบาลที่อยู่ในใจชาว LGBTQIAN+ ค่ะ, สิทธิของเรื่องสมรสเท่าเทียมเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนควรได้ตั้งแต่แรก, ประเทศไทยจะเท่าเทียมกี่โมง!
เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน ( call-out ) เรื่องสมรสเท่าเทียม อันดับที่ 1 คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 58% อันดับที่ 2 คือ เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ 55% อันดับที่ 3 คือ วู้ดดี้ - วุฒิธร มิลินทจินดา 28.5% ส่วนคำถาม LGBTQIAN+ในดวงใจ ส่วนใหญ่โหวตให้ เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ ถึง 67.3% รองลงมาได้แก่ แก๊งเทยเที่ยวไทย (ป๋อมแป๋ม - นิติ ชัยชิตาทร, ก๊อตจิ - ทัชชกร บุญลัภยานันท์, กอล์ฟ – กิติพัทธ์ ชลารักษ์ และเจนนี่ ปาหนัน - วัชระ สุขชุม) 41.2% และครูลูกกอล์ฟ - คณาธิป สุนทรรักษ์ 36.6% นักร้องชาวไทยขวัญใจชาว LGBTQIAN+ โหวตให้ แคทรียา อิงลิช ถึง 43.1% รองลงมาอ๊อฟ ปองศักดิ์ 40.7%, มิกซ์ เฉลิมศรี 39.6%, คริสติน่า อากีล่าร์ 37.5% ส่วนเพลงไหนใช่เลย พี่กะเทยชอบแดนซ์ อันดับที่ 1 คือ เพลงพูดอีกที – คริสติน่า อากีล่าร์ 61% อันดับที่ 2 คือ เพลง MUSIC LOVER – มาช่า วัฒนพานิช 56.9% อันดับที่ 3 คือ เพลง O.K. นะคะ - แคทรียา อิงลิช 48.3%
หากพูดถึงเมืองหลวงแห่งความเท่าเทียมทางเพศ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้รับเสียงโหวตถึง 54.3% รองลงมา ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา 42.8% กรุงเทพฯ ไทย 31.7% และ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย 29.6% ถ้าถามว่าในเมืองไทยมี หน่วยงานหรือองค์กรไหนที่ให้ความสำคัญในการผลักดันความเท่าเทียม ความหลากหลายทางเพศ อันดับ 1 คือ Central 56.5% ที่ให้พื้นที่ในการจัดงานอยู่เสมอ อันดับที่ 2 คือ TikTok 40.7% อันดับที่ 3 คือ สยามพิวรรธน์ 33.3% ทักษะความสามารถนี้ ที่ชาว LGBTQIAN+ "ทำถึง" กว่าใครๆ ก็คงหนีไม่พ้นความสามารถด้านการ ร้องเพลงลิปซิงก์ 63.5% รองลงมา คาบาเร่ต์โชว์ 58.9% และ การ Supporter วงการประกวดนางงาม 54.1%
เทศกาล Pride Month ถูกจัดขึ้นตลอดเดือนมิถุนายน ซึ่งปีนี้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนี้หลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน ส่วนที่กรุงเทพฯ ก็มีการจัดงาน Bangkok Pride Festival 2024 หรือ บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ภายใต้แนวคิด Celebration of Love เพื่อนับถอยหลังสู่การใช้ กฎหมายสมรสเท่าเทียมที่จะเกิดขึ้นก่อนสิ้นปี 2567 นี้ อีกทั้งมีการจัดงานในจังหวัดอื่นๆ อาทิ เชียงใหม่ ลำปาง ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา เป็นต้น เทศกาล Pride Month ถ้าได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ก็สามารถเป็น soft power ที่ดึงดูนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาในประเทศไทยอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
“The Attraction หวังว่าผลการสำรวจนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทยให้ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามแนวคิดของรัฐบาลที่ตั้งไว้ เพราะเชื่อว่าประเทศไทยมีต้นทุนที่ดี สามารถต่อยอดได้มากมาย สามารถเข้าไปดูข้อมูลผลสำรวจและติดตามคอนเทนต์เกี่ยวกับ Soft Power ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ theattraction.co หรือ ทาง Facebook : The Attraction https://theattraction.co/pride-month-poll