December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ   เปิดตัวรายงานยั่งยืน ประจำปี 2564 ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สู่ทศวรรษใหม่แห่งความยั่งยืน ด้วยการลงมือทำ  ขับเคลื่อนเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ก้าวสู่เป้าหมายองค์กรลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์  (Net-Zero Emissions)     

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดตัว ประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ Sustainability Disclosure Community (SDC)

หลักการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน ตามแนวคิดเรื่อง Sustainable Development ของน้ำนั้นมีมานานแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามาเพิ่มในปัจจุบัน คือการประดิษฐ์สร้าง Toolจำนวนมากผนวกเข้ามา ภายใต้แนวคิด IWRM (Integrated Water Resources Management) เป็น Tool ซึ่งในระยะแรกที่นำมาใช้กับทุกเรื่อง จากนั้นมีพัฒนาการ Integrated ซึ่งในความหมาย คือ การรวมทุกคน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

ความพร้อมในการรับมือกับบริบทของสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อป่าต้นน้ำของประเทศไทย ในวันนี้เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ทั้งศาสตร์ด้านวิศวกรรมน้ำ และTool (เครื่องมือ) ตลอดจนการบูรณาการเพื่อนำเทคโนโลยี IoT และBig Data มาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำให้เกิดความยั่งยืน

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง หลักการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเน้นในเรื่อง Sustainable Development ของน้ำนั้นมีมานานแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามาเพิ่มในปัจจุบัน คือ มีการประดิษฐ์Toolจำนวนมากขึ้นมาก โดยมี IWRM (Integrated Water Resources Management) เป็น Tool ซึ่งในระยะแรกที่นำมาใช้กับทุกเรื่อง จากนั้นมีพัฒนาการ Integrated ซึ่งในความหมาย คือ การรวมทุกคน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ “ต้นน้ำ” ก็คือ คนที่อาศัยอยู่ติดกับป่า ต้องไม่ทำลายป่า รักษาป่า “คนที่อยู่กลางน้ำ” คือ คนที่เพาะปลูก ถ้าน้ำไม่ถูกปล่อยมาก็จะมีปัญหากับกลางน้ำ และ “คนที่อยู่ปลายน้ำ” คือ คนที่อยู่ในเมือง ที่ต้องการน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค รวมในส่วนที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มักอยู่บริเวณพื้นที่ราบ ซึ่งต้องการน้ำที่เพียงพอ การมองจึงต้องรอบด้าน ให้มีการใช้น้ำให้เหมาะสม และเพียงพอทั้งต้น กลางและปลาย นั่นคือแนวทางในการมองก่อนจะไปสู่การบริหารจัดการ

ต่อมาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย มิติจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นแนวคิดที่เรียกว่า (WEF - WATER, ENERGY & FOOD) NEXUS หมายถึง “การเชื่อมต่อ” เพราะทั้ง 3 ส่วนคือ Water, Energy และ Food ไม่สามารถทำได้โดยอิสระ ต้องมีการเชื่อมต่อกัน เช่น การทำ Food ต้องใช้ Water และ Energy การสร้าง Energy ก็ต้องใช้ Water เป็นสิ่งพื้นฐานในการสร้างพลังงาน ตั้งแต่โรงงานไฟฟ้า เช่นการหล่อเย็น หรือ Water เองก็ต้องใช้ Energy มาประกอบ จึงสรุปได้ว่า การจัดการเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเดียวนั้นไม่ได้ตอบโจทย์ยุคสมัยอีกต่อไป ต้องมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่อง และต้องรักษาสมดุลทุกเรื่องไปพร้อมๆ กันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ในส่วนของความท้าทายของการนำ Tool ไปใช้ให้ได้ประโยชน์นั้น อยู่ที่การสื่อสารและศาสตร์ความรู้ในมิติอื่นด้วย ถึงแม้ในทางวิศวกรรมเรามีความเชี่ยวชาญชำนาญเรื่องในคอนเซปท์ IWRM แต่เราก็ต้องสามารถคุยกับคนอื่นให้ได้ในทุกมิติว่าใครจะเอาเราไปใช้ และเราจะเอาของใครมาใช้ เกิดการแลกเปลี่ยน (Exchange) ขยายตนเองออกไปนอกวง

ยกตัวอย่าง เรื่องจำเป็นที่เราต้องรู้เกี่ยวกับ Energy และ Food และวันนี้ ได้รู้เรื่อง Smart Farm ที่เป็น Combination ระหว่าง Food กับ Water เราอาจไม่มีความรู้เรื่องการปลูกพืช แต่ต้องรู้ว่าการจะปลูกพืชให้ดีนั้นต้องการน้ำเท่าไร เพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ขยายภาพออกก็จะสามารถนำหลักการนี้ไปเกี่ยวข้องกับอีกหลายเรื่อง เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบการจัดการน้ำในบ้าน ก็สามารถไปร่วมกับการจัดการ Energy เป็น Smart City และหากมีการจัดการข้อมูลที่ดี ยังสามารถเจาะไปถึงพฤติกรรมของคนได้ถึงการใช้น้ำที่แตกต่างกันอีกด้วย

จะเห็นได้ว่ากรอบเรื่องนี้สามารถคิดต่อขยายวงออกไปได้อีกมากมาย ซึ่งการ combine หลายๆ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นการโฟกัสไปที่การใช้งาน ว่าจะนำเรื่องน้ำไปใช้เพื่ออะไร เช่น เพื่อการเกษตร เรื่องของเมือง คล้ายๆ กับ IoT ที่ไม่จำกัดแค่เรื่อง Internet แต่เป็นอุปกรณ์ แอปพลิเคชันต่างๆ นานา ที่จะคิดขึ้นมาได้ เพียงแต่ใช้ internet เป็นเครื่องมือเท่านั้น ปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีต่อเนื่องที่เกิดขึ้นมาอีกมากมายในศาสตร์เรื่องนี้

ศาสตร์ของวิศวกรรมแหล่งน้ำในวันนี้

ผศ.ดร.อนุรักษ์ บอกว่าถ้าจะพูดเรื่อง “ศาสตร์ของวิศวกรรมน้ำ” ในวันนี้กับในอดีตไม่มีความแตกต่างกัน เพราะการจะทำอะไรต้องมีพื้นฐานของศาสตร์ที่ถูกต้องเป็นรากฐานก่อน ยิ่งในสังคมปัจจุบันยิ่งต้องการคนที่รู้จริง ที่เป็นมืออาชีพ จากความรู้พื้นฐานที่จากเดิม เราอาจจะต้องศึกษาในเชิงลึกลงไปให้มากที่สุด แต่ในวันนี้มองว่าเราต้องปรับตัว เพื่อให้ความรู้ตนเองถูกกระจายไปใช้กับเรื่องอื่นๆ ให้ได้กว้างที่สุด

ขณะเดียวกัน “น้ำ” ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต่างไป คือ สภาพสังคมและบริบท ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวไปใช้เทคโนโลยีอื่นๆ วิศวกรน้ำในอดีตอาจจะเน้นการทำเขื่อน แต่วันนี้คงต้องหันไปทำอย่างอื่นแทน เช่น ฝายขนาดเล็ก ซึ่งในความเป็นจริงนั้นก็คือเขื่อน เพราะเป็นสิ่งที่ใช้กันน้ำ สิ่งสำคัญที่ต้องเปลี่ยนและปรับตัวคือคำว่า Management คือต้องเปลี่ยนระบบตนเองให้เข้ากับสภาพการที่เปลี่ยนไป

คนที่เรียนเรื่องน้ำในอดีตจะถูกสอนให้มอง 4 อย่างคือ Space, Time, Quantity และ Quality (ที่ไหน, เมื่อไร, ปริมาณ และคุณภาพ) ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังต้องมอง 4 มิตินี้ แต่บริบทเปลี่ยนไป เมื่อเรานำคำว่า Management เข้ามาเกี่ยวจะมีหลายๆ ด้านเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เช่น Smart Farm ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ในฐานะของวิศวกร ต้องนำศาสตร์ไปตามให้ทันในมิติที่เรามีหลักการอยู่

การเตรียมตัวจัดการน้ำในอนาคต

ในประเด็นของความกังวลในเรื่อง Water Security ที่หมายถึงความมั่นคงทางน้ำ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความยั่งยืนของน้ำนั่นเอง

ทั้งนี้เราต้องมาหาว่าปัจจัยอะไร ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคง ซึ่งจะพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ 1. Water Productivity และ 2. Water Disaster

สำหรับ Water Productivity นั้นเป็นตัวตอบที่ชัดเจนอย่างหนึ่งว่า ใช้น้ำแล้วต้องแบ่ง ซึ่งการแบ่งจะใช้สัดส่วนใดเพื่อให้บาลานซ์กับทุกคน ให้เกิดความเท่าเทียมกัน การตัดสินจะต้องนำ Productivity มาขบคิดพิจารณา สถานการณ์ในวันนี้ประเทศเราใช้ Priority แรก คือ เพื่อการอุปโภคบริโภค และข้อที่ 2 คือ เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็สะท้อนไปที่ความมั่นคง และความยั่งยืน จากนั้นถัดมาจึงไปที่การเกษตร อุตสาหกรรม หรือการบริการก่อนหลัง

ที่ผ่านมามีผลการสำรวจด้านการจัดสรรน้ำ โดยใช้วิธีนำสภาพเศรษฐกิจมาวัดว่า 1 ลูกบาศก์เมตรของน้ำเพื่อการเกษตร ผลิตออกมาเป็นผลบวกทางจีดีพีได้ 4 บาท ในขณะที่อุตสาหกรรมได้ 300 กว่าบาท และการบริการได้ที่ 2,400 บาท อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถนำแกนนี้มายึดเป็นตัวตัดสินโดยหลักเสียทีเดียว แต่เป็นเพียงการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อสุดท้ายอาจนำมาซึ่งการสร้างข้อตกลง สำหรับการบริหารจัดการน้ำในอนาคต ถ้ามีการขาดน้ำ เช่นเดียวกับเรื่องไฟฟ้าที่กำลังมีประเด็นอยู่ในปัจจุบัน

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ยังเปิดเผยว่า ความยากของการบริหารจัดการน้ำ คือ การถูกควบคุมโดยธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งพื้นที่และเวลาและมีความไม่แน่นอนสูงมาก ยกตัวอย่างพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีน้ำมหาศาล แต่เราเอาน้ำจากภาคใต้มาใส่ให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประสบปัญหาด้านความแห้งแล้งไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดของพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลา สร้างปัญหาระหว่างดีมานต์กับซัพพลายที่ไม่ตรงกัน เพราะปริมาณน้ำยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะฝนตกในภาคใต้ของประเทศไทยคิดเป็น 85-90% ของทั้งปี แต่หน้าแล้งไม่มีฝนตกเลย

การขาดน้ำในหน้าแล้งจะหาซัพพลายได้ ต้องมีการสำรองน้ำตั้งแต่หน้าฝน สิ่งที่จะสำรองน้ำได้ในระดับบ้านเรือนก็คือโอ่ง ตุ่ม ระดับภูมิภาคก็คือเขื่อน ซึ่งทุกวันนี้มีกระแสต่อต้านทำให้การสร้างเขื่อนใหม่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อประเทศไทยหยุดสร้างเขื่อนหมายถึงตัวเลขซัพพลายหรือสำรองของน้ำหยุดเติบโต ในขณะที่ดีมานด์หรือความต้องการใช้น้ำกลับเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ วันนี้ที่ยังไม่มีใครสนใจเพราะวันนี้เป็นหน้าฝน พอมาพูดกันเมื่อหน้าแล้งก็จะสายเกินไป เรื่องของน้ำจึงเป็นเรื่องที่พูดและศึกษาควบคู่กันระหว่าง Space กับ Time เสมอ

สำหรับปัจจัยกระทบด้านความมั่นคงของน้ำในเรื่อง Water Disaster นั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ น้ำแล้ง กับ น้ำท่วม ซึ่งการจัดการนั่นแน่นอนว่าย่อมต่างกันโดยสิ้นเชิง

สำหรับการจัดการน้ำแล้ง ใช้ Tool คือ Productivity แต่การจัดการน้ำท่วมจะทำอย่างไร จะอยู่สู้หรือจะหนี จะเอาอะไรมาใช้ตัดสิน น้ำท่วมมาก หรือท่วมน้อย นั่นคือ ระดับของน้ำและท่วมนานเท่าไร

หากเรามองจากธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดจาก แม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมในภาคกลาง และแม้บางส่วนจะเกิดจากฝนที่ตกในพื้นที่ แต่บางส่วนก็เกิดจากสิ่งที่เราเรียกกันว่าน้ำหลากจากภาคเหนือลงมา นั่นคือด้านการจัดการน้ำจะทำอย่างไร

ในกรณีภาคใต้ ที่เป็นลักษณะน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood) เกิดจากฝนตกในปริมาณมากต่อเนื่อง วิธีการจัดการปัญหาสองแบบนี้ ต่างกันอย่างสิ้นเชิง น้ำท่วมฉับพลันจะสามารถเตือนล่วงหน้าได้เพียงแค่ 3 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุดคือ 1 วัน มีลักษณะมาเร็ว ไปเร็ว แต่ลักษณะนี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน

ในขณะที่น้ำท่วมในปี พใศ. 2554 จะเป็นน้ำหลากที่ค่อยๆ มา เห็นชัดแน่ๆ ว่าจะท่วม ความยากอยู่ที่ปริมาณน้ำที่มาก ระบายไม่ได้ น้ำขังนาน วิธีการจัดการจึงมีหลากหลายวิธีทั้งการใช้โครงสร้าง หรือไม่ใช้โครงสร้าง

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเรื่องน้ำ

ผศ.ดร.อนุรักษ์ บอกว่า ความคาดหวังที่เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็น IoT หรือ Big Data ปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถนำมาใช้ได้ในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ นั่นเพราะเรายังไม่มีการเก็บข้อมูลในระยะเวลาที่นานและต่อเนื่อง ตลอดจนครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากหน่วยงานที่เก็บข้อมูลยังไม่มีการบูรณาการอย่างชัดเจน ทั้งที่มีหน่วยงานที่ทำเกี่ยวกับเรื่องน้ำในประเทศไทยที่มีมากถึงกว่า 30 หน่วยงาน แต่ข้อมูลก็ไม่ครบถ้วน อาจเพราะมีความยากลำบากและต้องมีการลงทุนในการเก็บข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะเวลานาน

“น้ำเป็นหนึ่งใน Utility หลัก” ที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของรัฐ จึงต้องฝากความหวังไว้กับสทนช. หรือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หน่วยงานที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ที่เป็นของรัฐ และสังกัดภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการประสานงานกันระหว่างกระทรวงต่างๆ และสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือเรื่องกฎหมายที่ต้องมารองรับ เช่น พระราชบัญญัติน้ำ เพื่อให้มีอำนาจบังคับใช้ในการทำงาน จากนั้น คือ การลงทุนในงบประมาณทั้ง Operation และ Maintenance เพื่อการรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาล จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปสู่การเผยแพร่ให้กับประชาชน เพื่อความหวังในการรับมือกับการบริหารจัดการน้ำในอนาคตอย่างยั่งยืน 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

คนมีกิน...ก็เพราะมีผืนดินให้เพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีที่อยู่...ก็เพราะมีผืนดินให้ปลูกบ้าน สร้างอาคารพักอาศัย แต่เมื่อมีคนมากขึ้น ต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น พื้นที่ป่าหลายแห่งก็ถูกรุกล้ำ ป่าไม้ถูกแผ้วถางทำลาย ดินเสื่อมคุณภาพ สัตว์ป่าถูกล่า ถูกฆ่า บ้างเพื่อเป็นอาหารยังชีพ บ้างเพื่อความบันเทิงหรือเพื่อการกีฬา เพื่อทำเครื่องประดับ และส่วนหนึ่งก็ถูกส่งเป็นสินค้าออก

 

• มหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เปิดเผยงานวิจัยว่า ปี 2010-2012 ช้างแอฟริกา ถูกฆ่าเอางาไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัว 

• กระทรวงสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลแอฟริกาใต้ระบุว่า เฉพาะในปี 2014 เพียงปีเดียว มีแรดสายพันธุ์ต่างๆ ถูกล่าในเขตแดนของแอฟริกาใต้ไปถึง 1,215 ตัว ส่งผลให้ปี 2014 เป็นปีที่มีสถิติแรดถูกล่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของแอฟริกาใต้ โดยการถูกคุกคามอย่างหนักนี้เกิดจากขบวนการลักลอบล่าสัตว์ป่าที่ต้องการนำ “นอ” ไปสนองความต้องการของลูกค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังมีค่านิยมในการนำนอแรดไปประดับตกแต่งและเป็นส่วนผสมของยาบำรุงกำลังทางเพศ

• ในวันช้างโลกประจำปี 2558 มีข้อมูลว่า ปัจจุบันทั้งช้างแอฟริกาและช้างเอเชียกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก การสำรวจขององค์กรอนุรักษ์ช้าง (Save the Elephants) เมื่อปี 2557 พบว่ามีช้างแอฟริกาเหลืออยู่ประมาณ 400,000 ตัว แต่พวกมันกำลังถูกล่าอย่างหนักและหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ คาดว่าช้างแอฟริกาจะสูญพันธุ์ภายในปี 2568 หรือในอีก 10 ปี ขณะที่ช้างเอเชียมีประชากรเหลืออยู่เพียง 40,000 ตัว และได้รับการขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดยสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN)

• ช้างป่ายังถูกคุกคามเพื่อธุรกิจทางการค้า เช่น การลักลอบฆ่าช้างเพื่อเอางา เนื่องจากงาช้างมีราคาสูง หรือความเชื่อที่ว่าหากครอบครองงวงช้างจะทำให้มีศิริมงคล รวมถึงการลักลอบนำลูกช้างป่ามาเป็นช้างเลี้ยง ปัจจุบันช้างในประเทศไทยเหลือประมาณ 7,000-8,000 ตัว ในจำนวนนี้เป็นช้างป่าประมาณ 2,000-3,000 ตัว ที่เหลือเป็นช้างเลี้ยง

• ต้นปี 2559 ป่าไม้ที่อยู่บนภูดินแดง เทือกเขาภูพานน้อย บ้านโพนไฮ ต.หนองแคน อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ถูกขบวนการตัดไม้ลักลอบตัดต้นพะยูงขนาดใหญ่จำนวนมาก โดยเฉพาะต้นพะยูงขนาดใหญ่ที่มีอายุ 100-200 ปี 

• กลุ่มเกษตรกรกาแฟบริเวณ Central Aceh อินโดนีเซีย ได้รับผลกระทบจากอากาศที่อุ่นขึ้นซึ่งส่งผลให้มีการระบาดของศัตรูพืช เกษตรกรจึงเคลื่อนย้ายที่ทำกินไปเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตรเพื่อผลิตกาแฟอะราบิกาชื่อก้องโลก โดยเกษตรกรได้บุกรุกเข้าไปในพื้นที่คุ้มครอง หักร้างถางป่าพื้นที่เพื่อใช้ทำการเกษตร

 

 

 

โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (Biosphere) ซึ่งรวมระบบนิเวศหลากหลายระบบไว้ด้วยกัน ซึ่งหากจำแนกจากระบบนิเวศตามธรรมชาติ ก็จะมี ระบบนิเวศทางบก (Terrestrial Ecosystem) เช่น ป่าไม้ บึง ทุ่งหญ้าทะเลทราย ระบบนิเวศทางน้ำ (Aquatic Ecosystem) เช่น แม่น้ำลำคลอง ทะเล หนอง บึง มหาสมุทร ป่าครอบคลุม 30% ของพื้นผิวโลก และนอกเหนือจากการให้ความมั่นคงด้านอาหารและที่อยู่อาศัย ยังเป็นกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศ ด้วยผลจากการกระทำของมนุษย์ อย่างลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำไม้ไปขาย เพื่อเปิดพื้นที่ทำการเกษตร เป็นการทำลายระบบนิเวศและทำลายแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์ที่สำคัญ จากป่าที่อุดมสมบูรณ์ หลายแห่งก็กลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ความเสื่อมโทรมของที่ดินในขณะนี้ก็เกิดขึ้นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน เกิดภัยพิบัติ เกิดน้ำท่วม เกิดภัยแล้ง เพราะไม่มีป่าเข้ามาช่วยอุ้มน้ำเหมือนในอดีต การแปรสภาพผืนดินเป็นทะเลทรายก็เพิ่มขึ้นทุกปี หากพิจารณาตั้งแต่ปี 2000-2010 รวมจำนวนการสูญเสียที่ดินถึง 12 ล้านเฮกเตอร์ 

 

 

ในด้านสายพันธุ์สัตว์ จากสัตว์ที่เป็นที่รู้จัก 8,300 สายพันธุ์ มีจำนวน 8% ที่กำลังจะสูญพันธุ์ และอีก 22% เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ หลายประเทศจึงมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก อาทิ ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่กึ่งแห้งแล้ง และภูเขา แต่ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นความท้าทายที่สำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของผู้คนเป็นล้านๆ ในเมื่อเรายืนบนผืนดินเดียวกัน อยู่ร่วมกันบนโลกกลมๆ ที่นับวันจะยิ่งร้อนขึ้น แล้งขึ้น หนาวมากขึ้น สิ่งที่อยู่ใกล้ชิดเราอย่าง ระบบนิเวศทางบก (Terrestrial Ecosystems) จึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกคน ทุกชาติ ต้องใส่ใจ ปกป้อง ฟื้นฟู ดูแล และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ธรรมชาติยังคงอยู่ สิ่งมีชีวิตนานาชนิดดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้และไม่สูญพันธุ์ UN จึงประกาศขอความร่วมมือจากนานาชาติด้วยเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ว่า

• ภายในปี 2020 สร้างความมั่นใจให้ได้ว่ามีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของระบบนิเวศทางบก ระบบนิเวศของแหล่งน้ำจืดบนดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขา และพื้นที่แห้งแล้ง โดยบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ

• ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานด้านการจัดการป่าทุกประเภทอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อฟื้นฟูผืนป่าที่เสื่อมโทรม และร่วมมือร่วมใจกันปลูกป่าเพื่อให้พื้นที่ป่าทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายในปี 2020

• ต่อจากนี้ไปจนถึงปี 2030 จะเป็นช่วงเวลาแห่งการต่อสู้ไม่ให้พื้นที่ใดในโลกแปรสภาพเป็นทะเลทราย ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูผืนดิน ดิน รวมถึงฟื้นสภาพผืนดินที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนเป็นทะเลทราย และอุทกภัย ตลอดจนมุ่งมั่นที่จะพลิกฟื้นให้ทุกผืนดินทั่วโลกได้รับการพัฒนาให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป 

• ภายในปี 2030 ต้องทำให้เกิดการอนุรักษ์ระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพของภูเขา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

• ก่อนจะถึงปี 2020 จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและมุ่งมั่นที่จะป้องกันไม่ให้สภาพแวดล้อม แหล่งพักพิงตามธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย รวมถึงต้องพิทักษ์และป้องกันสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ให้สูญพันธุ์

• ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้แหล่งพันธุกรรมอย่างยุติธรรม รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงนานาชาติร่วมกัน

• ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อยุติการบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ การค้าสัตว์ป่า ปกป้องสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ทุกสายพันธุ์ และจัดการกับความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่าทุกชนิด

• ภายในปี 2020 ต้องมีมาตรการที่จะปรับใช้เพื่อป้องกันผลกระทบจากการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตทุกสายพันธุ์ที่แปลกปลอม ทั้งระบบนิเวศทางบกและในน้ำ รวมถึงควบคุมหรือกำจัดสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงที่จะกลายพันธุ์ด้วย

• รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าของระบบนิเวศ ความหลากหลายทางพันธุกรรม เข้ากับการกำหนดแผนพัฒนาประเทศชาติและท้องถิ่น และยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนของชาติ ให้ได้ภายในปี 2020

• ขับเคลื่อนและเพิ่มจำนวนแหล่งเงินทุนให้มีความหลากหลาย เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศและความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างยั่งยืน 

• ขับเคลื่อนให้เกิดการระดมทุนจากทุกแหล่งเข้าสู่การสร้างระบบการจัดการและดูแลผืนป่าอย่างยั่งยืน และทำให้เกิดสิ่งจูงใจที่ช่วยในการพัฒนาประเทศ ช่วยในการทำให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่เหมาะสม

• ส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนและช่วยเหลือในการต่อสู้กับการล่าสัตว์ป่าและการค้าสัตว์ป่าเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าหายาก รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นที่จะเข้าถึงโอกาสในการดำรงชีพได้อย่างสงบสุข โดยยังคงความสมบูรณ์ของผืนป่า ระบบนิเวศและความหลากหลายทางพันธุกรรมของโลกไว้ได้อย่างยั่งยืน

 

 

 

Case

ในปี 2558 มีแรดประมาณ 1,175 ตัว ถูกฆ่าเพื่อเอานอและเนื้อในแอฟริกาใต้ ลูกแรดขาวถูกทิ้งให้กำพร้า เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าจึงพาพวกมันไปอยู่ในสถาบันเลี้ยงแรด ภายในอุทยานสัตว์อุมโฟโลซี ในมณฑลควาซูลู-เนทัล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา เพื่อป้องกันการลักลอบล่าสัตว์ แอฟริกาใต้เริ่มใช้โดรนตามแหล่งอนุรักษ์สัตว์ป่าต่างๆ โดยองค์การต่อต้านลักลอบล่าสัตว์ของสหรัฐอเมริกา Air Shepherd Initiative ได้จัดส่งโดรนที่ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรลที่ติดกล้องตรวจจับเวลากลางคืนและกล้องตรวจจับความร้อน หรือที่เรียกว่า Thermal Camera เพื่อติดตามกลุ่มลักลอบล่าสัตว์จำพวกแรดและช้าง เมื่อไรที่โดรนพบกลุ่มลักลอบล่าสัตว์จะส่งสัญญาณถึงเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเพื่อสกัดจับก่อนที่สัตว์จะถูกล่า ซึ่งเจ้าหน้าที่หวังว่า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นจะช่วยชีวิตสัตว์โลกจากการถูกล่าได้อีกมาก

 

เคยได้ยินไหมว่า เสือโคร่งเป็นสัตว์ป่าที่อยู่บนยอดพิระมิดของห่วงโซ่อาหาร ป่าที่มีเสือโคร่ง จึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับประเทศไทย เสือโคร่ง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2546 ประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปี 2553 ไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมเสือโลกร่วมกับกลุ่มประเทศที่มีเสือในป่าธรรมชาติจำนวน 13 ประเทศทั่วโลก ซึ่งการประชุมดังกล่าวได้มีการให้สัตยาบันร่วมกันว่าภายในปี 2565 ทุกประเทศจะต้องทำให้ประชากรเสือโคร่งในป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวของปริมาณที่มีอยู่เดิม ซึ่งหมายถึงเพิ่ม 100-125 ตัว จากที่มี 200-250 ตัวในประเทศไทย

 

ไทยมีปัญหาเรื่องการบุกรุกทำลายป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง และคนล่าสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อของเสือซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มปริมาณเสือในป่าธรรมชาติ ในด้านป่าที่มีเสือโคร่งอาศัยอยู่มากที่สุด พบว่าอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยมีการพบประมาณ 70 ตัว แสดงให้เห็นว่า ป่าในพื้นที่ดังกล่าวยังอุดมสมบูรณ์อยู่เพราะมีเหยื่อให้เสือกินอย่างพอเพียง แต่ในพื้นที่อุทยานแห่งขาติเขาใหญ่ มีข่าวออกมาว่าอาจจะไม่เหลือเสือโคร่งในป่าแล้ว เนื่องจากไม่พบร่องรอยของเสือ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงเกิดความคิดว่าจะนำเสือโคร่งที่ห้วยขาแข้งไปปล่อยในเขาใหญ่เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ อย่างไรก็ตาม ยังต้องใคร่ครวญให้ถ้วนถี่ เนื่องจากเขาใหญ่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และการเพิ่มจำนวนเสือได้ ต้องดูแลที่อยู่และเหยื่อของเสือให้ดีและอุดมสมบูรณ์ไปพร้อมๆ กัน

 

 

อีกตัวอย่างในด้านการบุกรุกพื้นที่ป่า จากสถิติพบว่า ป่าน่านหายไปปีละ 50,000 ไร่ และ 5 ปีหลังสุดมีอัตราการสูญเสียป่าเร็วขึ้นปีละ 1-1.5 แสนไร่ เนื่องจากเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินจึงบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตัดไม้ ถางป่า เพื่อปลูกข้าวโพด บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งลงพื้นที่สำรวจป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ มองเรื่องนี้ว่า การคืนผืนป่าโดยการปลูกป่า ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกจุด เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่การปลูกป่า แต่อยู่ที่ไม่มีผืนป่าคืนมาให้ปลูกเนื่องจากป่าถูกถางเตียนไปแล้วอย่างน้อย 25% ทางแก้คือต้องหาพืชหรือหาวิชาชีพอื่นให้ชาวบ้านมีกินมีใช้ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็จะลดการบุกรุกพื้นที่ป่า ทั้งป่า สัตว์ป่า และชาวบ้านก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

 

เผยแพร่    นิตยสาร MBA ฉบับครบรอบ เดือนมีนาคม 2016

 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ 

 

บทความ CSV ตอนนี้ จะพาท่านไปรู้จัก การระบุโอกาสดำเนินการสู่แนวทางการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Shared Value Opportunity Identification (SVOI) โดยมีจุดมุ่งหมายในการค้นหาประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาดำเนินการสู่แนวทางการสร้างคุณค่าร่วม และริเริ่มกิจกรรมซึ่งมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดตามแนวทางการสร้างคุณค่าร่วม

 

การให้ความช่วยเหลือในบริบทของ CSR (Corporate Social Responsibility) ที่ผ่านมา มักเป็นการบริจาคเพื่อการกุศลในรูปของการให้เงินหรือวัตถุสิ่งของ ซึ่งถือเป็นจุดนำเข้าในกระบวนการทำงานร่วมกับชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมาย แต่ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานโดยอาศัยการให้เงินหรือวัตถุสิ่งของโดยลำพัง อาจเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภายนอกตลอดเวลา หรืออาจกลายเป็นความสัมพันธ์ในทางลบ หากการให้นั้นจำต้องยุติลงในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า

 

ความจำเป็นในการหาแนวทางการให้ความช่วยเหลือเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้น สำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการผลสัมฤทธิ์ที่เป็นความยั่งยืนจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการส่งมอบผลประโยชน์นั้น เพราะหากต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่าประโยชน์ที่ส่งมอบ คุณค่าสุทธิที่เกิดขึ้นจะติดลบ และสะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมายพลอยเสียโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นที่มีประสิทธิภาพกว่า

 

ทำให้การประยุกต์ใช้ความถนัดความเชี่ยวชาญของหน่วยงาน และการใช้โครงข่ายธุรกิจสนับสนุนการทำงานของชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมาย ในลักษณะที่ก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคม จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของ CSV ซึ่งสร้างให้เกิดเป็นความแตกต่างในการดำเนินงานเหนือองค์กรอื่น จนนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาวของกิจการ

วิธีการระบุโอกาสดำเนินการสู่แนวทางการสร้างคุณค่าร่วม (SVOI) ประกอบด้วยกระบวนการใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ทบทวนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือที่ดำเนินอยู่ หรือ Review Existing Investments 2. พัฒนาภูมิภาพของประเด็น หรือ Develop a Landscape of Issues 3. คัดกรองประเด็นที่มีศักยภาพต่อการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Screen Issues for Shared Value Potential และ 4. จัดลำดับความสำคัญในโอกาสดำเนินการสู่แนวทางการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Prioritize Shared Value Opportunities

 

กิจกรรมในขั้นตอนการทบทวนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือที่ดำเนินอยู่ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ผู้ที่ริเริ่มแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือในแต่ละความริเริ่ม (Initiatives) ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน การประเมินการดำเนินความริเริ่มที่สามารถรวบรวมข้อมูลได้ โดยพิจารณาจากคุณค่าทางธุรกิจและทางสังคมที่ได้รับ การประมวลและหารือถึงข้อค้นพบจากการประเมิน ร่วมกับคณะทำงานขององค์กร

 

กิจกรรมในขั้นตอนการพัฒนาภูมิภาพของประเด็น ประกอบด้วย การหารือกับผู้บริหารระดับสูงในประเด็นที่เป็นความสำคัญยิ่งยวดทางธุรกิจและเชื่อมโยงกับประเด็นทางสังคม การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นทางธุรกิจและประเด็นทางสังคมตามที่ได้รับข้อมูลจากการหารือกับผู้บริหารระดับสูง และการจัดทำรายการประเด็นที่มีศักยภาพต่อการสร้างคุณค่าร่วม

 

กิจกรรมในขั้นตอนการคัดกรองประเด็นที่มีศักยภาพต่อการสร้างคุณค่าร่วม ประกอบด้วย การนำรายการประเด็นที่ถูกระบุว่ามีศักยภาพต่อการสร้างคุณค่าร่วม มาพิจารณาโดยใช้เกณฑ์คัดกรองหลัก และการใช้เกณฑ์คัดกรองเสริมในการกลั่นกรองประเด็นเพิ่มเติม (ถ้าจำเป็น)

 

กิจกรรมในขั้นตอนการจัดลำดับความสำคัญในโอกาสดำเนินการสู่แนวทางการสร้างคุณค่าร่วม ประกอบด้วย การจัดทำเค้าโครงกิจกรรมซึ่งมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ พร้อมผลลัพธ์ทางธุรกิจและทางสังคมที่คาดว่าจะได้รับ และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกำหนดโอกาสดำเนินการสู่แนวทางการสร้างคุณค่าร่วมใน 2-3 กิจกรรม โดยสิ่งที่เป็นผลลัพธ์จากกระบวนการระบุโอกาสดำเนินการสู่แนวทางการสร้างคุณค่าร่วม คือ ประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาดำเนินการสู่แนวทางการสร้างคุณค่าร่วม และกิจกรรมซึ่งมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ตามแนวทางการสร้างคุณค่าร่วมธุรกิจที่ดำเนินการมาถึงขั้นนี้ จะทำให้ได้มาซึ่งการตราคุณค่าร่วม (Shared Value Proposition) ที่เป็นอัตลักษณ์ของกิจการ จากการประเมินโอกาสและความท้าทายทางธุรกิจ ประเด็นทางสังคมที่อยู่ในความสนใจขององค์กร และสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่สามารถนำมาใช้ และจะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นสำหรับการออกแบบความริเริ่มแห่งคุณค่าร่วม (Shared Value Initiatives) ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์การดำเนินงานทั้งในทางธุรกิจและในทางสังคมไปพร้อมกันในระยะถัดไป

 


เรื่อง : ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ  ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์

 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click