November 22, 2024

ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO) มจธ. ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) ขอเชิญท่านร่วมอบรมหลักสูตร Mini MBA in AI for Business Leaders รุ่น 1 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐาน AI และจริยธรรม หลักสูตรที่จะบูรณาการการใช้ AI ในการวางแผน ดำเนินการ และวัดผลการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ การใช้ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่งผลต่อการยกระดับองค์กรให้ทันสมัยและตอบโจทย์ผู้รับบริการในปัจจุบันมากขึ้น อีกทั้งมีกิจกรรมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม

อบรม Online ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี

อบรม Onsite ทุกวันเสาร์ ณ โรงแรม S31 ถ.สุขุมวิท 

อบรม 7 สัปดาห์ (Hybrid Course)

วันอังคารที่ 5, 12, 19, 26 พ.ย. และวันอังคารที่ 3 ธ.ค. 67 เวลา 18.00 - 20.00 น.

วันพฤหัสบดีที่ 7, 14, 21, 28 พ.ย. และวันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค. 67 เวลา 18.00 - 20.00 น.
วันเสาร์ที่ 2, 9, 16, 23, 30 พ.ย. และวันเสาร์ที่ 14, 21 ธ.ค. 67 เวลา 9.00 - 16.00 น.

และวันเสาร์ที่ 21 ธ.ค. 67 เวลา 17.00 - 21.00 น. พบกับกิจกรรม Networking Dinner

สมัครภายในวันที่ 20 ต.ค. 2567 ราคาพิเศษ เพียงท่านละ 79,000 บาท จากราคาปกติ 89,000 บาท

สมัครได้แล้ววันนี้ ที่ https://steco.kmutt.ac.th/course/mini-mba-in-ai-for-business-leaders-1 

(หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วท่านจะได้รับอีเมลยืนยันการลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมภายใน 1-2 วันทำการ)

สิ่งที่ท่านจะได้รับเมื่อมาอบรมกับ STECO

- ประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT)

- เครือข่ายธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI

- การศึกษาดูงานการประยุกต์ใช้ AI ในองค์กรพร้อมการบรรยายพิเศษโดยผู้บริหารระดับสูง

- สมัครอบรมในนามหน่วยงานสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้ 200%


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 064-749-9629, 02-470-9644 คุณกวิตา 

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดงาน Thailand Competitiveness Forum 2024 ณ Auditorium อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับ ทิศทางเศรษฐกิจไทย 2025 การยกระดับอุตสาหกรรมไทย เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน อีกทั้งกิจกรรมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ สร้างโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวต้อนรับพร้อมให้มหาวิทยาลัยเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงองค์ความรู้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่อไป จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อำนวยการศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO) มจธ. บรรยายหัวข้อ “การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix” ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้เกิดการยกระดับทักษะบุคคล ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันองค์กร และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไป

จากนั้นเป็นการเสวนา “เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย” โดยมี รวีรัตน์ สัจจวโรดม ประธานบริหาร สายงานการเงินและกลยุทธ์ บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) วริทธิ์ กฤตผล Commercial Director บริษัท Rayong Engineering & Plant Service Co., Ltd. หรือ REPCO Nex Industrial Solutions ในเครือ SCG และวิศรุต เอื้ออานันท์ Chief Digital Mar Tech Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ดำเนินการเสวนาโดย ดร.รังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย พร้อมขัอคิดสำหรับองค์กรที่ต้องการเริ่มต้นสร้างหรือประยุกต์ใช้นวัตกรรมในองค์กร

ภายในงานได้รับเกียรติจาก  ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมกับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย” วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ โดยจะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และจัดการกับความท้าทายต่างๆ ที่ส่งผลกระทบสำคัญต่อประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากร ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยสถาบันการจัดการนานาชาติ หรือ IMD ประจำปี 2566 ในอันดับที่ 30 จากเดิมอยู่ในอันดับที่ 33 ซึ่งในปี 2567 นี้พบว่าข้อจำกัดของภาคธุรกิจไทย อยู่ที่ความสามารถด้านผลิตภาพ ดังนั้น ความท้าทายของภาคธุรกิจไทย คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มมูลค่าและผลิตภาพในสินค้าหรือบริการ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและทักษะที่จำเป็นให้สามารถปฏิบัติงานได้เท่าทันเทคโนโลยีและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตภายใต้สภาวะการแข่งขันในปัจจุบันนับเป็นความโชคดีที่ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง ตลอดจนมีรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเข้มข้น

นอกจากนั้น สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจกับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย” ซึ่งเป็นการฉายภาพให้ผู้ร่วมงานได้เข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย และแนวโน้มการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของประเทย ปิดท้ายด้วย เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ตอบโจทย์ในเรื่องของความยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

 

พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยในการถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ในงานนี้เต็มไปด้วยเหล่า Speakers คุณภาพที่มีประสบการณ์และมุมมองทางด้านธุรกิจในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่สนใจในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

การพูดคุยหัวข้อสำคัญ

  1. ทิศทางเศรษฐกิจ 2025 กับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  2. ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  3. เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  4. การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี

เวลา 12.00 – 17.00 น.

ลงทะเบียนร่วมงานฟรี ได้ที่

https://forms.gle/rfuNdNVWjCis2uLMA 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Facebook : ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 064-749-9629 , 02-470-9643 คุณดลฤทัย

E mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ Talent Candidates และผู้ผ่านการคัดเลือก TAT Talent 2566 ณ ห้องสมุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

โดยได้รับเกียรติจากคุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและรางวัลสำหรับคนเก่งขององค์กร (Talent) พร้อมด้วยรองผู้ว่าและคณะผู้บริหาร ททท. ร่วมแสดงความยินดี

 

ในการนี้ ผศ.ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้จัดการโครงการบริหารคนเก่ง ททท. ปีงบประมาณ 2566 และ ดร.สุขยืน เทพทอง ที่ปรึกษาโครงการ เข้าร่วมพิธีด้วย โดยโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2565 ในการนำ Talent Candidates เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สอดคล้องกับแผนวิสาหกิจขององค์กรใน 3 หลักสูตร ได้แก่ ภาวะผู้นำ การประเมินและบริหารผลงาน และการจัดการนวัตกรรม

 

โดยมีการพัฒนาและติดตามผลโครงการตามตัวชี้วัด OKRs ภายใต้การให้คำแนะนำของผู้บริหาร คณะกรรมการคัดเลือกคนเก่ง และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจาก มจธ. ประกอบด้วย ผศ.ดร.พรรษา เอกพรประสิทธิ์, ผศ.ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์, ดร.ดั้นดุสิต โปราณานนท์, ดร.รังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์, ดร.สุขยืน เทพทอง และดร.สุกฤตา ปรีชาว่อง ตลอดระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click