×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

ในการสนทนากันเรื่องความก้าวหน้าของประเทศไทยทางออกของประเทศ ประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกหยิบขึ้นมาพูดคุยในวงกาแฟ

คือเราไม่สามารถนำงานวิจัยของสถาบันศึกษาในประเทศที่มีอยู่มาใช้ทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างจริงจังหลายคนเรียกเรื่องนี้ว่า การนำงานวิจัยที่อยู่บนหิ้งในสถาบันอุดมศึกษาไปสู่ห้าง คือทำออกเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่สาธารณะ เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่แม้แต่ในวงการผู้กำหนดนโยบายก็ต้องมีแผนงานรองรับ ทั้งการสนับสนุนเชิงนโยบาย การสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบต่างๆ แต่เราก็ยังเห็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากมันสมองของนักวิจัยไทยผสานกับความสามารถของนักธุรกิจในตลาดไม่มากเท่าที่อยากจะได้เห็น

ที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีการออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตนวัตกรที่สามารถนำนวัตกรรมผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยแปรสภาพกลายเป็นสินค้าและบริการในวงกว้างในชื่อ หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม

ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน ผู้อำนวยการหลักสูตร และทีมผู้บริหารหลักสูตรประกอบด้วย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ ผศ.ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.กวิน อัศวานันท์ มาร่วมกันให้สัมภาษณ์กับ MBA เกี่ยวกับหลักสูตรนี้ว่า

หลักสูตรนี้กำลังจะก้าวขึ้นปีที่ 12 และมีผู้จบจากหลักสูตรไปแล้วเกือบ 500 คน มีการเรียนการสอน 2 ระดับคือปริญญาโทและปริญญาเอก รับสมัครระดับละ 30 คน โดยสิ่งที่น่าสนใจคือจำนวนนิสิตปริญญาเอกของหลักสูตรนี้มีมากที่สุดในจุฬาฯ แสดงให้เห็นความสนใจของผู้เรียนที่เลือกเรียนในหลักสูตรนี้ โดยมีทั้งผู้บริหาร เจ้าของกิจการ อาจารย์และนักวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ส่งมาเรียนเพื่อกลับไปขับเคลื่อนนวัตกรรมของแต่ละองค์กร

คณะผู้บริหารหลักสูตรให้ข้อมูลว่า จุฬาฯ มีงานวิจัยและองค์ความรู้ที่สะสมไว้อยู่มากมาย รวมถึงทีมงานวิจัยและนักวิชาการที่จุฬาฯ มีจำนวนมาก ตัวหลักสูตรวางตำแหน่งให้นิสิตเป็นแกนกลางเชื่อมโยงงานวิจัยและองค์ความรู้ต่างๆ กับภายนอก ซึ่งหมายถึงภาคอุตสาหกรรมและแหล่งทุน เพื่อพัฒนานวัตกรรมสร้างประโยชน์ในวงกว้าง ผู้เรียนผ่านหลักสูตรนี้จึงสามารถประสานงานได้ทั้งผู้ประกอบการ นักวิจัย และมีความสามารถค้นหางานวิจัยที่มีศักยภาพไปทำเป็นธุรกิจได้ 

รูปแบบการเปิดรับที่มีอยู่ 3 แนวทาง คือ 1. ให้อาจารย์สามารถประกาศรับนิสิตได้ เพื่อมาช่วยทำโครงการพัฒนางานวิจัยออกสู่ตลาด 2. เป็นโจทย์จากฝั่งผู้ประกอบการ และทางจุฬาฯ ตั้งทีมอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตขึ้นมาช่วยทำโครงการนั้น และ 3. นิสิตมีโครงการของตัวเองก็สามารถเข้ามาเรียนและใช้ประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญในจุฬาเพื่อทำโครงการต่างๆ ได้

การเรียนการสอนของหลักสูตรนี้มีความแตกต่างจากหลักสูตรทั่วไป เนื่องจากเป็นหลักสูตรของบัณฑิตวิทยาลัย จึงสามารถเปิดกว้างให้เลือกอาจารย์จากคณะใดก็ได้มาช่วยเป็นทีมที่ปรึกษาให้กับนิสิต โดยนิสิตจะได้เรียนรู้กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม จัดเป็นระบบที่เปิดกว้างไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนมาจากสาขาใดก็สามารถเข้ามาเรียนได้ 

 

สิ่งสำคัญที่นิสิตที่มาเรียนกับหลักสูตรนี้ต้องทำคือการพัฒนานวัตกรรมอย่างน้อย 1 โครงการ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ บริการ Business Model กระบวนการทำธุรกิจใหม่ๆ และสามารถคิดแผนธุรกิจของโครงการเหล่านั้นให้เกิดขึ้นจริงได้ในระดับปริญญาโท ส่วนระดับปริญญาเอกจะต้องพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และวางตลาดนวัตกรรมหนึ่งอย่าง

ผู้บริหารหลักสูตรระบุว่า ทุกคนต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมา และต้องทำให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อสังคม คือต้องการให้นิสิตทุกคนต้องมี 3 P Prototype จด IP (Intellectual Property) และมี Business Plan 

ทีมบริหารหลักสูตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากำลังอยู่ระหว่างการเตรียมปรับปรุงหลักสูตรให้มีความกระชับมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะทำเป็นหลักสูตร Double Degree ร่วมกับสาขาวิชาอื่น โดยอาจจะเริ่มกันภายในจุฬาฯ ก่อนและมีการพูดคุยกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อผลิตนักวิชาชีพที่เป็นนวัตกรให้เกิดขึ้น

นอกจากนี้ในโอกาสครบรอบ 12 ปี ทางหลักสูตรยังได้เตรียมจัดงานประชุมเชิงวิชาการนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองด้านนวัตกรรมในช่วงต้นปี 2562 ที่กำลังจะมาถึง และยังมีการจัดหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้กับทางหลักสูตรได้เป็นระยะ

หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม เป็นหนึ่งในการตอบโจทย์การนำงานวิจัยของสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ออกมาใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวงการวิชาการและแวดวงธุรกิจไปพร้อมกัน โดยมีนิสิตของหลักสูตรเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้เทคโนโลยีจากสถาบันการศึกษากับภาคธุรกิจและสาธารณะ เป็นการใช้ประโยชน์จากความพร้อมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้และงานวิจัยสะสมอยู่จำนวนมากเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป

ทีมบริหารนักพัฒนานวัตกรรม

ทีมบริหารหลักสูตรนี้ จัดได้ว่ามีชื่อชั้นในวงการสร้างนวัตกรรมของประเทศ อย่างเช่น ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน ผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมนิสิตปริญญาโทและเอกสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ก็ได้รับรางวัล Grand Prize จากผลงาน “เฟรชทูจอย” (Fresh2Joy) เทคโนโลยียืดอายุผลไม้ผิวบาง ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ Seoul International Invention Fair 2017 ที่ประเทศเกาหลี และยังได้รับรางวัลอื่นๆ อีกหลายรางวัล

ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวยการหลักสูตรฯ กำกับดูแลด้านวิจัยและนวัตกรรม และอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลนวัตกรรมมากมาย มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ กว่า 100 เรื่อง เป็นผู้พัฒนานวัตกรรมซิลเวอร์ นาโน และคิดค้นจุฬาสมาร์ตเลนส์ ชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟนที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาในการวิจัยที่ต้องถ่ายภาพที่มีการขยายสูงพอสมควร แต่ไม่สูงมากจนถึงกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป 

ผศ.ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการหลักสูตรฯ กำกับดูแลด้านวิชาการ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นผู้สอนรายวิชาหลัก Product Planning and Development (PPD) เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Innovation) และมีผลงานออกแบบเก้าอี้ย้ายตัวสำหรับผู้ป่วย

ดร.กวิน อัศวานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการหลักสูตรฯ และกำกับดูแลด้านกิจกรรมนิสิตและอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ศิษย์เก่าปริญญาเอกหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง Startups และการระดมเงินทุนโดยสามารถระดมทุนจำนวน 13,000,000 บาท (400,000 USD) จากนักลงทุน บริษัท Startups ได้รับการคัดเลือกจากองค์กร e27 ให้เป็น 1 ใน 10 บริษัท Startups ที่น่าสนใจที่สุดในเอเชีย ปี 2013

นวัตกรรมจาก CUTIP

ตัวอย่างของนวัตกรรมที่เกิดจากหลักสูตรนี้และกลายเป็นบริการที่เราสามารถสัมผัสได้ที่น่าสนใจ เช่น “นวัตกรรมต้นแบบของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการสำหรับบริการสินไหมทดแทนธุรกิจประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทย” ที่เป็นผลงานของนิสิตปริญญาเอก ดร.ชูพรรณ โกวานิชย์ ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ จนค้นพบกระบวนการย่อยที่สำคัญมากที่สุดที่ลูกค้ามีประสบการณ์ในการรับบริการ คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วแจ้ง Call Center และเป็นที่มาของนวัตกรรมบริการในชื่อ CLAIM DI ที่ลดเวลาให้บริการ 73 เปอร์เซ็นต์ ประหยัดค่าใช้จ่าย 90 เปอร์เซ็นต์ และป้องกันการแจ้งความเสียหายไม่ตรงความเป็นจริงได้ เป็นตัวอย่างของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยเชิงลึกออกสู่ตลาด สามารถสร้างนวัตกรรมการบริการ และกระบวนการการให้บริการใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการประกันภัยรถยนต์ ช่วยเสริมองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการต่อยอดงานวิจัยในประเทศไทยที่ต้องการคือ การบริหารจัดการที่ดีนำงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงยิ่งขึ้น

นวัตกรรมที่เกิดจากหลักสูตรนี้ยังมีอีกหลากหลายเช่น ผลงาน Goldjic Wise เป็นนวัตกรรมที่นำส่งสาร โคจิก แอซิด ผ่านผิวหนังด้วยอนุภาคนาโนทองคำที่ออกแบบเฉพาะ คิดค้นโดยกลุ่มวิจัย ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน และคณะ นวัตกรรมนี้จะทำให้สาระสำคัญต่างๆ ซึมเข้าสู่ผิวได้ง่ายขึ้น และกำลังมีการผลิตออกวางจำหน่ายในไม่นานนี้

นวัตกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตข้าว : เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ เป็นงานวิจัยที่ศึกษา ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องหยอดเมล็ดข้าวงอกลงแปลงนาอย่างเป็นระเบียบ ควบคุมปริมาณเมล็ดข้าวและระยะห่างในการหยอดโดยกลไกที่ไม่ซับซ้อนและราคาไม่สูง ช่วยลดต้นทุนกว่าการปักดำประมาณ 1,000 บาทต่อไร่ ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการหว่านเหลือไร่ละ 10-15 กิโลกรัมจากค่าเฉลี่ย 30 กิโลกรัม

 

 

สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ ทิพยประกันภัย รศ.จินตนา บุญบงการ กรรมการโครงการและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติเป็นประธานและร่วมงานในพิธีมอบวุฒิบัตรแก่ ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมผู้บริหารระดับสูง ทิพยประกันภัย ในโอกาสที่จบหลักสูตรโครงการอบรม MINI INSURANACE MBA โดยมี ดร.เปรมประชา ศุภสมุทร ให้เกียรติร่วมพิธี ณ โรมแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ

 

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน)  รับมอบใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 จาก United Kingdom Accreditation Service (UKAS) ซึ่งเป็นองค์กรตรวจรับรองมาตรฐานระดับโลกของประเทศอังกฤษ ภายใต้ขอบเขต “The provision of IT operation which support insurance service (E-policy and E-Claim) , core insurance processing system , financial and accounting system , data center , system and network management”  โดยทิพยประกันภัยเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกของไทย ที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 27001:2013 ทุกระบบด้าน IT สารสนเทศในองค์กร ในการดำเนินธุรกิจประกันภัย เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็น Digital Insurance อย่างเต็มรูปแบบ

 ดร.สมพรกล่าวว่า เนื่องจากบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าจากภัยคุกคามทาง  ไซเบอร์อย่างจริงจัง และยังสอดคล้องกับประกาศฉบับใหม่ของคปภ. เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560” เพื่อให้เห็นถึงความพร้อมในทุกๆด้านโดยเฉพาะด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อปี 2542 เราเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9002 ทุกระบบขององค์กร จวบจนปัจจุบันเรายังมุ่งพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของ ISO9001  โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงในธุรกิจประกันภัย และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่นอกเหนือจากลูกค้า อาทิเช่น ผู้ถือหุ้น คู่ค้า พันธมิตรต่างๆ

เป็นต้น เพื่อยกระดับความพึงพอใจต่อลูกค้า และสร้างโอกาสทางธุรกิจและความเชื่อมั่นต่อคู่ค้า, พันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เห็นว่า ทิพยประกันภัยยังคงรักษาระบบการบริหารงานและกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะสามารถให้บริการลูกค้าได้รับความพึงพอใจในทุกๆด้าน

 

ดร.สมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า  การที่บริษัทฯได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง 2 ระบบมาตรฐานสากลนี้  ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้องค์กร ในยุค Digital ที่คนส่วนใหญ่หันมาทำธุรกรรมผ่านทางโซเชียลมีเดีย มากขึ้น ทำให้เราต้องยิ่งพัฒนาในด้านการให้บริการเพื่อสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า กลุ่มธุรกิจ Start up หรือนวัตกรรมด้านการบริการต่างๆ  โดยสามารถยกระดับมาตรฐานของคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ผ่านระบบสารสนเทศหลักของธุรกิจที่มีความมั่นคง ปลอดภัยต่อความเสี่ยงหรือวิกฤตต่างๆได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

 "การนำระบบทั้งสองมาประยุกต์ใช้ในทุกรูปแบบจะสร้างความได้เปรียบทางด้านธุรกิจ ทั้งด้านคุณภาพการบริการ, การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของข้อมูล, สร้างโอกาสทางธุรกิจ, สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้–ทิพยประกันภัย ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน" ดร.สมพร กล่าวสรุป

 

ธนาคารออมสิน และ บมจ.ทิพยประกันภัย จัดโครงการ “ผนึกกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อย่างเร่งด่วน โดยส่งทีมลงพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัดพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร 

นายชาติชาย  พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า วันนี้ (2 สิงหาคม 2560) ตนนำผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ลงพื้นที่ประสบภัยจังหวัดสกลนคร พบความเสียหายค่อนข้างมาก จึงเร่งให้พนักงานสำรวจความเสียหายในส่วนที่สามารถบรรเทาในระยะเร่งด่วนก่อน แล้วค่อยลำดับไปตามมาตรการที่ธนาคารออมสินได้ประกาศไว้ ทั้งนี้ ธนาคารฯ ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนอีก 1 เรื่อง ด้วยการเปิดช่องทางการรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาเหตุอุทกภัย ชื่อบัญชี “ออมสินปันน้ำใจ ช่วยผู้ประสบภัย” เลขที่บัญชี 0-222-3333-4444 ธนาคารออมสินสำนักพหลโยธิน จึงขอเรียนเชิญร่วมกันช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน

“ความเสียหายที่วันนี้ผมได้ลงพื้นที่ ปรากฎว่า เฉพาะในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เบื้องต้นมีลูกค้าธนาคารออมสินได้รับความเสียหาย 4,800 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 1,700 ล้านบาท ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อห้องแถว สินเชื่อเคหะ สินเชื่อไทรทอง และสินเชื่อธนาคารประชาชน ส่วนพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ได้เร่งดำเนินการต่อไปแล้ว” นายชาติชาย กล่าว

สำหรับแนวทางบรรเทาความเดือดร้อน ธนาคารฯ ได้ประกาศก่อนหน้านี้คือ มาตรการบรรเทาภาระลูกค้าสินเชื่อของธนาคารออมสินเป็นกรณีเร่งด่วน ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท โดยสามารถยื่นความจำนงได้ที่ธนาคารออมสินสาขาที่ลูกค้ามีบัญชีเงินกู้หรือสาขาในพื้นที่ประสบภัย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2560

สำหรับรายะเอียดของมาตรการประกอบด้วย

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับลูกค้าสินเชื่อปัจจุบันของธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ โดยผ่อนปรนการชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ 3 ทางเลือก ได้แก่ 1.พักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี หรือ 2.พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยอีก 50% ไม่เกิน 3 ปี หรือ 3.พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน (สำหรับผู้ไม่มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือน) โดยหลังครบกำหนดแล้วยังไม่สามารถชำระหนี้ตามปกติได้ สามารถใช้ทางเลือกตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 เพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนและความเสียหายที่ได้รับแล้วแต่กรณี

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย ธนาคารฯ ให้สินเชื่อเพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยรายละไม่เกิน 500,000 บาท เป็นวงเงินเพื่อใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร ผ่อนชำระภายในเวลา 30 ปี โดย ธนาคารฯ ไม่คิดดอกเบี้ยในปีแรก หรือ 0% ต่อปี หลังจากนั้น ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.00 ต่อปี ปีที่ 4 เป็นต้นไป ร้อยละ MRR-0.75 ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน = 7.00%) ในส่วนของลูกค้าที่ประกันความเสียหายของหลักประกัน ธนาคารออมสินร่วมกับบริษัททิพยประกันภัยจะเร่งดำเนินการจ่ายเงินสินไหมให้ทันทีตามเกณฑ์ผ่อนผันสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ธนาคารให้สินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติกับลูกค้าสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเดิมของธนาคาร ในวงเงินกู้สูงสุด ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินกู้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเดิมทุกประเภท สูงสุดไม่เกินรายละ 5,000,000 บาท ผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี (60 งวด) ผ่อนผันให้ปลอดชำระเงินต้นได้ไม่เกิน 1 ปี โดยชำระดอกเบี้ยทุกเดือน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปีที่ 1 ร้อยละ 3.50 ต่อปี ในปีต่อไปคิดอัตรา MLR ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MLR ปัจจุบัน = 6.50%) โดยใช้หลักประกันเดิมตามสัญญากู้เงิน และสามารถใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเพิ่มเติมได้

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับประชาชนรายย่อย โดยให้กู้ตามความจำเป็น รายละไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลาชำระคืนภายใน 5 ปี ปลอดการชำระคืนเป็นเวลา 3 เดือน โดยปีที่ 1 คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อเดือน ปีที่ 2-5 ร้อยละ 0.85 ต่อเดือน (Flat Rate)

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทิพยประกันภัย กล่าวว่า ได้ส่งทีมหนุมานทิพยจิตอาสาและทีมงานจากสำนักงานสาขาในจังหวัดใกล้เคียงร่วมโดยกับธนาคารออมสิน ลงพื้นที่ช่วยเหลือเร่งด่วน จัดรถยก ช่วยเหลือประชาชนขนย้ายรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือประชาชนทั่วไป ก็สามารถขอความช่วยเหลือได้ฟรี รวมถึงการจัดถุงยังชีพ บรรจุเครื่องอุปโภค-บริโภค นำไปมอบให้กลับประชาชน เบื้องต้นได้นำไปมอบผ่านคลังจังหวัดสกลนคร และทางด้านสำนักงานใหญ่ได้จัดทีมคาราวาน เดินทางนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายเพิ่ม 

ในส่วนของลูกค้าที่ทำประกันเราผ่านธนาคารออมสิน เราได้จัดทีมสินไหมลงพื้นที่ ไปสำรวจยังบ้านของลูกค้าที่ได้รับผลประทบทันทีพร้อมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นทันทีโดยไม่ต้องรอให้ลูกค้าแจ้งเข้ามา สำหรับลูกค้าที่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 และได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมถึงเรือนไมล์ สามารถ   เคลมได้เต็มทุนประกัน ไม่ต้องรอน้ำลด เพียงแค่ถ่ายรูปแล้วส่งมาที่บริษัทฯ พร้อมจ่ายทันที ส่วนลูกค้าที่ทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยและขยายภัยน้ำท่วม เพียงแค่น้ำเข้าบ้านชดใช้เบื้องต้นก่อนทันที 5,000 บาท ท่วมเกิน 1 ฟุตจ่าย 10,000 บาท  ไม่ต้องรอน้ำลดเช่นกัน ซึ่งเมื่อน้ำลดแล้วบริษัทฯจะส่งทีมงานเข้าไปเพื่อสำรวจค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกครั้ง

ด้านมาตรการความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมต่อไปนั้น ทางธนาคารออมสินและทิพยประกันภัย มีความเป็นห่วง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการต่างๆ ที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงลูกค้ารายย่อยที่ทำประกันภัยไว้ทุกประเภท

ดังนั้นหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ บริษัทฯมีนโยบายให้ดำเนินการสำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วน เพื่อให้การจ่ายค่าสินไหมทดแทนสามารถดำเนินการได้ทันทีรวดเร็วและเป็นธรรม  เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เอาประกันภัยสามารถนำเงินไปฟื้นฟู กิจการและดำเนินธุรกิจต่อได้ในเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคแรงงาน และเศรษฐกิจโดยรวม  รวมถึงผู้เอาประกันประเภทอื่นทั้งที่อยู่อาศัย หรือรถยนต์ ที่จะนำไปปรับปรุงซ่อมแซม ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขเช่นเดิม

สำหรับประชาชนผู้ประสบภัยและต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้ง ผ่านสายด่วน  1736 กด 1 , Application TIP Flash Claim , Web App  E-Claim , สำนักงานสาขาในพื้นที่  และ ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ โทรศัพท์สอบถามศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115 หรือสามารถติดตามได้ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสินทุกช่องทาง ได้แก่ Website : www.gsb.or.th, Facebook : GSB Society, Official Line : GSB ธนาคารออมสิน

X

Right Click

No right click