บมจ.ทิพยประกันชีวิต นำโดย คุณนพพร บุญลาโภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จับมือธนาคารออมสิน และบมจ.ทิพยประกันภัย ร่วมจัดการประชุมสัมมนาไตรภาคี ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรมฮอลิเดย์อิน วานา นาวา หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจัดขึ้น ด้วยแนวคิด We are Together : Drive Success with Highest Performance Delivered เพื่อหารือแลกเปลี่ยนมุมมองและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการด้านการประกันภัยและการประกันชีวิตที่ตอบโจทย์ร่วมกัน โดยมีผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 3องค์กร เข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองในบรรยากาศเป็นกันเอง
ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทิพยประกันภัย ผนึกพลังต่อยอดกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ให้ความรู้อบรมหลักสูตรวิทยาศาสตร์ข้อมูล “Data Science” ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ให้กับพนักงาน ตลอดหลักสูตรระยะเวลา 11 เดือน และนำเสนอโครงการต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดในการให้บริการ ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นและมีความล้ำสมัยมากที่สุด
โดยได้รับเกียรติ รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการอบรม พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณต้น ตัณฑ์สุทธิวงศ์ คุณวิชัย ลิขิตชัยวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทิพยประกันภัย ผศ.ดร.ธีรเดช เจียรสุขสกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผศ.ดร.วิบูลย์ศักดิ์ วัฒายุ หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ ร่วมพิธี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บมจ.ทิพยประกันภัย และ บมจ. สยามราชธานี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย สังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ” สร้างทักษะที่ดีในการขับรถยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ ช่วยลดไร้อุบัติเหตุและความสูญเสียบนท้องถนน เพื่อสังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ พร้อมมอบสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับผู้ผ่านการอบรมในโครงการ โดยมีนายสุรพล พลอยสุข รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้เกียรติมาเป็นสักขีพยาน ในพิธี
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP ได้ร่วมกับพันธมิตรบริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จัดทำโครงการ "ขับขี่ปลอดภัย สังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ" ด้วยการจัดทำหลักสูตรการอบรมพิเศษ Professional Training และ Defensive Driving ขึ้นมาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยเบื้องต้นจะจัดอบรมให้กับ กลุ่มลูกค้าที่เป็นหน่วยงานหรือองค์กร
ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่กว่า 90% มาจาก “ผู้ขับขี่” และอุบัติเหตุได้นำมาซึ่งความสูญเสีย ตลอดจนสร้างผลกระทบแก่ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเองและคนรอบข้าง ทิพยประกันภัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้มีแนวคิดร่วมกับพันธมิตร”สยามราชธานี” จัดทำโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย สังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ” เป็นครั้งแรกของประเทศไทย
การอบรมหลักสูตรดังกล่าวเป็นการเพิ่มความรู้ให้กับผู้ที่เข้าอบรม ซึ่งทิพยประกันภัยจะให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ลูกค้าในเรื่องการประกันภัยรถยนต์ ที่ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้รู้ถึงเงื่อนไขความคุ้มครอง ควบคู่ไปกับการให้ความรู้พัฒนาและสร้างทักษะในการขับรถยนต์อย่างปลอดภัย เสริมสร้างให้ผู้ขับขี่บนท้องถนน มีความตระหนักถึงการขับรถยนต์อย่างถูกวิธีและปลอดภัย มีเป้าหมายหลัก เพื่อส่งเสริมให้สังคมมองเห็นประโยชน์ของการขับขี่ปลอดภัย และลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้มอบสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับผู้ที่ผ่านอบรมจากบริษัทสยามราชธานี ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป โดยมอบส่วนลดประกันภัยรถยนต์สุดพิเศษ, บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชม, ผ่อนชำระ 0% 10 เดือน สำหรับเบี้ยประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป (บัตรเครดิตที่ร่วมรายการกับบริษัท) เนื่องจากเราเห็นว่าคนกลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการขับขี่และมีทักษะความรู้เรื่องการขับขี่รถยนต์ที่ดี
นายเวทย์ นุชเจริญ ประธานกรรมการ บริษัทสยามราชธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีความร่วมมือกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทประกันภัยชั้นนำของคนไทย ที่มีภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในฐานะที่สยามราชธานี ดำเนินธุรกิจในการจ้างเหมาแรงงาน โดยจัดหาพนักงานขับรถยนต์ไปให้บริการกับพนักงานและผู้บริหารของบริษัทชั้นนำทั่วประเทศมานานกว่า 40 ปี โดยแต่ละปีเราได้จัดส่งพนักงานขับรถไปดูแลลูกค้ามากกว่า 3,000 คน หรือ 400-500 บริษัทดังนั้นการขับขี่ปลอดภัย จึงถือเป็นหัวใจหลักในการบริการที่บริษัทให้ความสำคัญสูงสุด
ความร่วมมือในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการที่บริษัททิพยประกันภัย ได้เห็นความสำคัญของการสร้างผู้ขับขี่ปลอดภัยที่มีคุณภาพและมีความเป็นมืออาชีพออกสู่ท้องถนน ให้สังคมอุ่นใจ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจและความมุ่งมั่นของสยามราชธานี
โดยบริษัทสยามราชธานี ในฐานะผู้นำในธุรกิจ ที่มีประสบการณ์ยาวนาน และมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ จึงได้มีการพัฒนาและสร้างหลักสูตร "การฝึกอบรม ผู้ขับขี่รถยนต์ปลอดภัยมืออาชีพ" เพื่อสร้างมาตรฐาน เพื่อยกระดับการขับขี่เชิงป้องกัน และสร้างมาตรฐานอาชีพผู้ขับขี่รถยนต์ในระดับสากล โดยการนำเทคโนโลยี VR Training มาเพิ่มทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลผู้อบรมด้วย
จากการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เห็นถึงศักยภาพของบริษัทขณะเดียวกันก็ต้องการพัฒนาทักษะและเพิ่มศักยภาพของผู้ที่มีอาชีพขับขี่รถยนต์ ให้มีมาตรฐานและมีความเป็นมืออาชีพจึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตร "การฝึกอบรมเพื่อยกระดับฝีมือและมาตรฐานผู้ขับขี่รถยนต์ปลอดภัยมืออาชีพระดับ 1" เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหลักสูตรนี้ ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ใช้เป็นหลักสูตรกลางในการฝึกอบรมให้แก่แรงงานที่เป็นผู้ขับขี่รถยนต์อาชีพได้ทั่วประเทศ
ความร่วมมือกับ ทิพยประกันภัย จัดทำโครงการ "ขับขี่ปลอดภัย สังคมอุ่นใจ ไร้อุบัติเหตุ" ในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จขึ้นอีกขั้น ในการต่อยอดและร่วมรณรงค์สร้างสังคมไร้อุบัติเหตุ ที่นอกจากจะร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนหลักสูตรในการสร้างผู้ขับขี่ปลอดภัยที่มีคุณภาพและมีความเป็นมืออาชีพของสยามราชธานีแล้ว ยังจะมีการต่อยอดหลักสูตรโดยเพิ่มทักษะ และให้ความรู้ด้านประกันภัยให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ด้วย รวมทั้งจะช่วยสร้างให้สังคมอุ่นใจและสิ่งแวดล้อมบนท้องถนนที่ดีขึ้น เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุที่สร้างความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยได้อย่างมหาศาล นายเวทย์ กล่าว
บมจ.ทิพยประกันภัย ปลื้มผลงานไตรมาส 1 ปี 62 กำไรสุทธิรวมเฉียด 520 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 10.67% ขณะที่เบี้ยประกันภัยรับรวม 4,882.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.76% ด้านเอ็มดี “ดร.สมพร สืบถวิลกุล” ประกาศกลยุทธ์เชิงรุกบูรณาการระบบดิจิทัลครบวงจร จับมือธุรกิจกับพันธมิตรบุกตลาดขยายฐานลูกค้าองค์กรและรายย่อย
ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาสแรก สิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2562 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนว่า บริษัทมีผลการดำเนินงานขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถทำกำไรสุทธิได้สูงถึง 519.91 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.87 บาท หรือกำไรสุทธิขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10.67% จากไตรมาสแรกปีก่อนกำไรสุทธิ 469.77 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.78 บาท
สำหรับไตรมาส 1/2562 ทิพยประกันภัย มีเบี้ยประกันภัยรับรวมจำนวนทั้งสิ้น 4,882.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 4,368.33 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 513.83 ล้านบาท หรือ 11.76%
ทั้งนี้ เบี้ยประกันภัยรับรวมที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย เบี้ยประกันอัคคีภัย 371.51 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 116.58 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 870.57 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด 3,523.50 ล้านบาท
ด้านฐานะการดำเนินงานของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 มีสินทรัพย์รวมที่ 42,490.75 ล้านบาท หนี้สินรวม 34,123.67 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 8,367.08 ล้านบาท
ดร.สมพร กล่าวว่า ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 62 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทั้งในแง่ของความสามารถการทำกำไร และเบี้ยประกันภัยรับรวม ที่เพิ่มขึ้นกว่า 10% ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของเบี้ยประกันภัยรับรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยทั้งระบบที่คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 - 6% เนื่องจากบริษัทฯ ได้ปรับแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
สำหรับแผนการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 นั้น ดร.สมพร กล่าวว่าบริษัทฯ จะยังคงสานต่อนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมการให้บริการอย่างทั่วถึงตลอด Insurance Value Chain ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการให้บริการสินไหมทดแทน และบริการหลังการขาย เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากที่สุด
พร้อมกันนี้ บริษัทยังดำเนินกลยุทธ์ในเชิงรุกด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าทั้งกลุ่มองค์กรและรายย่อยเพิ่มขึ้น โดยล่าสุด ทิพยประกันภัยได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท PVI Insurance Corporation ซึ่งเป็นบริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำของประเทศเวียดนาม เพื่อขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอีกด้วย
ในการสนทนากันเรื่องความก้าวหน้าของประเทศไทยทางออกของประเทศ ประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกหยิบขึ้นมาพูดคุยในวงกาแฟ
คือเราไม่สามารถนำงานวิจัยของสถาบันศึกษาในประเทศที่มีอยู่มาใช้ทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างจริงจังหลายคนเรียกเรื่องนี้ว่า การนำงานวิจัยที่อยู่บนหิ้งในสถาบันอุดมศึกษาไปสู่ห้าง คือทำออกเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่สาธารณะ เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่แม้แต่ในวงการผู้กำหนดนโยบายก็ต้องมีแผนงานรองรับ ทั้งการสนับสนุนเชิงนโยบาย การสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบต่างๆ แต่เราก็ยังเห็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากมันสมองของนักวิจัยไทยผสานกับความสามารถของนักธุรกิจในตลาดไม่มากเท่าที่อยากจะได้เห็น
ที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีการออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตนวัตกรที่สามารถนำนวัตกรรมผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยแปรสภาพกลายเป็นสินค้าและบริการในวงกว้างในชื่อ หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน ผู้อำนวยการหลักสูตร และทีมผู้บริหารหลักสูตรประกอบด้วย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ ผศ.ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.กวิน อัศวานันท์ มาร่วมกันให้สัมภาษณ์กับ MBA เกี่ยวกับหลักสูตรนี้ว่า
หลักสูตรนี้กำลังจะก้าวขึ้นปีที่ 12 และมีผู้จบจากหลักสูตรไปแล้วเกือบ 500 คน มีการเรียนการสอน 2 ระดับคือปริญญาโทและปริญญาเอก รับสมัครระดับละ 30 คน โดยสิ่งที่น่าสนใจคือจำนวนนิสิตปริญญาเอกของหลักสูตรนี้มีมากที่สุดในจุฬาฯ แสดงให้เห็นความสนใจของผู้เรียนที่เลือกเรียนในหลักสูตรนี้ โดยมีทั้งผู้บริหาร เจ้าของกิจการ อาจารย์และนักวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ส่งมาเรียนเพื่อกลับไปขับเคลื่อนนวัตกรรมของแต่ละองค์กร
คณะผู้บริหารหลักสูตรให้ข้อมูลว่า จุฬาฯ มีงานวิจัยและองค์ความรู้ที่สะสมไว้อยู่มากมาย รวมถึงทีมงานวิจัยและนักวิชาการที่จุฬาฯ มีจำนวนมาก ตัวหลักสูตรวางตำแหน่งให้นิสิตเป็นแกนกลางเชื่อมโยงงานวิจัยและองค์ความรู้ต่างๆ กับภายนอก ซึ่งหมายถึงภาคอุตสาหกรรมและแหล่งทุน เพื่อพัฒนานวัตกรรมสร้างประโยชน์ในวงกว้าง ผู้เรียนผ่านหลักสูตรนี้จึงสามารถประสานงานได้ทั้งผู้ประกอบการ นักวิจัย และมีความสามารถค้นหางานวิจัยที่มีศักยภาพไปทำเป็นธุรกิจได้
รูปแบบการเปิดรับที่มีอยู่ 3 แนวทาง คือ 1. ให้อาจารย์สามารถประกาศรับนิสิตได้ เพื่อมาช่วยทำโครงการพัฒนางานวิจัยออกสู่ตลาด 2. เป็นโจทย์จากฝั่งผู้ประกอบการ และทางจุฬาฯ ตั้งทีมอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตขึ้นมาช่วยทำโครงการนั้น และ 3. นิสิตมีโครงการของตัวเองก็สามารถเข้ามาเรียนและใช้ประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญในจุฬาเพื่อทำโครงการต่างๆ ได้
การเรียนการสอนของหลักสูตรนี้มีความแตกต่างจากหลักสูตรทั่วไป เนื่องจากเป็นหลักสูตรของบัณฑิตวิทยาลัย จึงสามารถเปิดกว้างให้เลือกอาจารย์จากคณะใดก็ได้มาช่วยเป็นทีมที่ปรึกษาให้กับนิสิต โดยนิสิตจะได้เรียนรู้กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม จัดเป็นระบบที่เปิดกว้างไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนมาจากสาขาใดก็สามารถเข้ามาเรียนได้
สิ่งสำคัญที่นิสิตที่มาเรียนกับหลักสูตรนี้ต้องทำคือการพัฒนานวัตกรรมอย่างน้อย 1 โครงการ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ บริการ Business Model กระบวนการทำธุรกิจใหม่ๆ และสามารถคิดแผนธุรกิจของโครงการเหล่านั้นให้เกิดขึ้นจริงได้ในระดับปริญญาโท ส่วนระดับปริญญาเอกจะต้องพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และวางตลาดนวัตกรรมหนึ่งอย่าง
ผู้บริหารหลักสูตรระบุว่า ทุกคนต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมา และต้องทำให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อสังคม คือต้องการให้นิสิตทุกคนต้องมี 3 P Prototype จด IP (Intellectual Property) และมี Business Plan
ทีมบริหารหลักสูตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากำลังอยู่ระหว่างการเตรียมปรับปรุงหลักสูตรให้มีความกระชับมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะทำเป็นหลักสูตร Double Degree ร่วมกับสาขาวิชาอื่น โดยอาจจะเริ่มกันภายในจุฬาฯ ก่อนและมีการพูดคุยกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อผลิตนักวิชาชีพที่เป็นนวัตกรให้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ในโอกาสครบรอบ 12 ปี ทางหลักสูตรยังได้เตรียมจัดงานประชุมเชิงวิชาการนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองด้านนวัตกรรมในช่วงต้นปี 2562 ที่กำลังจะมาถึง และยังมีการจัดหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้กับทางหลักสูตรได้เป็นระยะ
หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม เป็นหนึ่งในการตอบโจทย์การนำงานวิจัยของสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ออกมาใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวงการวิชาการและแวดวงธุรกิจไปพร้อมกัน โดยมีนิสิตของหลักสูตรเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้เทคโนโลยีจากสถาบันการศึกษากับภาคธุรกิจและสาธารณะ เป็นการใช้ประโยชน์จากความพร้อมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้และงานวิจัยสะสมอยู่จำนวนมากเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป
ทีมบริหารหลักสูตรนี้ จัดได้ว่ามีชื่อชั้นในวงการสร้างนวัตกรรมของประเทศ อย่างเช่น ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน ผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมนิสิตปริญญาโทและเอกสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ก็ได้รับรางวัล Grand Prize จากผลงาน “เฟรชทูจอย” (Fresh2Joy) เทคโนโลยียืดอายุผลไม้ผิวบาง ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ Seoul International Invention Fair 2017 ที่ประเทศเกาหลี และยังได้รับรางวัลอื่นๆ อีกหลายรางวัล
ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวยการหลักสูตรฯ กำกับดูแลด้านวิจัยและนวัตกรรม และอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลนวัตกรรมมากมาย มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ กว่า 100 เรื่อง เป็นผู้พัฒนานวัตกรรมซิลเวอร์ นาโน และคิดค้นจุฬาสมาร์ตเลนส์ ชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟนที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาในการวิจัยที่ต้องถ่ายภาพที่มีการขยายสูงพอสมควร แต่ไม่สูงมากจนถึงกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป
ผศ.ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการหลักสูตรฯ กำกับดูแลด้านวิชาการ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นผู้สอนรายวิชาหลัก Product Planning and Development (PPD) เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Innovation) และมีผลงานออกแบบเก้าอี้ย้ายตัวสำหรับผู้ป่วย
ดร.กวิน อัศวานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการหลักสูตรฯ และกำกับดูแลด้านกิจกรรมนิสิตและอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ศิษย์เก่าปริญญาเอกหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง Startups และการระดมเงินทุนโดยสามารถระดมทุนจำนวน 13,000,000 บาท (400,000 USD) จากนักลงทุน บริษัท Startups ได้รับการคัดเลือกจากองค์กร e27 ให้เป็น 1 ใน 10 บริษัท Startups ที่น่าสนใจที่สุดในเอเชีย ปี 2013
นวัตกรรมจาก CUTIPตัวอย่างของนวัตกรรมที่เกิดจากหลักสูตรนี้และกลายเป็นบริการที่เราสามารถสัมผัสได้ที่น่าสนใจ เช่น “นวัตกรรมต้นแบบของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการสำหรับบริการสินไหมทดแทนธุรกิจประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทย” ที่เป็นผลงานของนิสิตปริญญาเอก ดร.ชูพรรณ โกวานิชย์ ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ จนค้นพบกระบวนการย่อยที่สำคัญมากที่สุดที่ลูกค้ามีประสบการณ์ในการรับบริการ คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วแจ้ง Call Center และเป็นที่มาของนวัตกรรมบริการในชื่อ CLAIM DI ที่ลดเวลาให้บริการ 73 เปอร์เซ็นต์ ประหยัดค่าใช้จ่าย 90 เปอร์เซ็นต์ และป้องกันการแจ้งความเสียหายไม่ตรงความเป็นจริงได้ เป็นตัวอย่างของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยเชิงลึกออกสู่ตลาด สามารถสร้างนวัตกรรมการบริการ และกระบวนการการให้บริการใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการประกันภัยรถยนต์ ช่วยเสริมองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการต่อยอดงานวิจัยในประเทศไทยที่ต้องการคือ การบริหารจัดการที่ดีนำงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่เกิดจากหลักสูตรนี้ยังมีอีกหลากหลายเช่น ผลงาน Goldjic Wise เป็นนวัตกรรมที่นำส่งสาร โคจิก แอซิด ผ่านผิวหนังด้วยอนุภาคนาโนทองคำที่ออกแบบเฉพาะ คิดค้นโดยกลุ่มวิจัย ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน และคณะ นวัตกรรมนี้จะทำให้สาระสำคัญต่างๆ ซึมเข้าสู่ผิวได้ง่ายขึ้น และกำลังมีการผลิตออกวางจำหน่ายในไม่นานนี้ นวัตกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตข้าว : เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ เป็นงานวิจัยที่ศึกษา ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องหยอดเมล็ดข้าวงอกลงแปลงนาอย่างเป็นระเบียบ ควบคุมปริมาณเมล็ดข้าวและระยะห่างในการหยอดโดยกลไกที่ไม่ซับซ้อนและราคาไม่สูง ช่วยลดต้นทุนกว่าการปักดำประมาณ 1,000 บาทต่อไร่ ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการหว่านเหลือไร่ละ 10-15 กิโลกรัมจากค่าเฉลี่ย 30 กิโลกรัม |