September 19, 2024

จับมือหน่วยงานกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ เนรมิตพื้นที่กว่า 65 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ป่าในเมือง ภายใต้โครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้นของผู้ว่าฯ กทม.

กรุงเทพฯ (18 พฤษภาคม 2566) – อากาศหนาว คือ ห้วงเวลาแห่งความสุขของคนไทยส่วนใหญ่ แต่รู้หรือไม่ยังมีคนบางกลุ่มในประเทศไทยที่อากาศหนาวมิได้หมายถึงห้วงเวลาแห่งความสุข แต่กลับเป็นความทุกข์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้ ในทุกๆ ปี ประเทศไทยของเรายังคงมีผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวจำนวนมาก และคนในพื้นที่ประสบภัยหนาวส่วนใหญ่ ไม่มีแม้เสื้อผ้าที่คอยมอบความอบอุ่นได้เพียงพอ

ยูนิโคล่ ตระหนักถึงความลำบากของผู้ที่ประสบภัยหนาวของประเทศไทย จึงมีความตั้งใจและตั้งเป้าหมายที่จะรวบรวมเสื้อกันหนาว จำนวน 50,000 ตัว ภายในปี 2566 เพื่อนำไปบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัยหนาวภายในประเทศ ผ่านโครงการ ‘RE.UNIQLO’ ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในการ RECYCLEและ REUSE เสื้อผ้าที่ใม่จำเป็นแล้ว โดยในปีนี้ เสื้อกันหนาวที่เราได้รับ จะถูกส่งต่อผ่านมูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิบ้านร่มไทร และ UNHCR เพื่อกระจายเสื้อกันหนาวไปให้ถึงมือผู้รับ ยูนิโคล่เชื่อในพลังแห่งเสื้อผ้าว่าสามารถสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้

ยูนิโคล่ จึงขอเชิญชวนคนไทยมาร่วมกันบริจาคเสื้อกันหนาว และเสื้อแขนยาวทุกชนิดที่ท่านอาจไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อร่วมกันส่งต่อเสื้อผ้าเหล่านี้ไปให้กับผู้ที่ยังขาดแคลนและมีความจำเป็นต้องใช้งาน เพื่อร่วมกันมอบความอบอุ่นให้แก่ผู้ที่ประสบภัยหนาว และป้องกันเหตุผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวที่จะมาถึงเพราะเสื้อกันหนาวเพียง 1 ตัวของคุณ อาจมีค่ามากสำหรับผู้ประสบภัยหนาวให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในโครงการ RE.UNIQLO นำเสื้อกันหนาวตัวเก่าของคุณ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใดก็ตาม ไปบริจาคที่กล่องรับบริจาคเสื้อผ้า ณ ร้านยูนิโคล่ทุกสาขาได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดูตำแหน่งสาขาได้ที่ https://map.uniqlo.com/th/th/ และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญ RE.UNIQLO ได้ที่ https://www.uniqlo.com/th/th/news/topics/2023042801/

บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) บริษัทรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของไทย พร้อมแล้วที่จะเสนอขายหุ้นกู้ 2 รุ่นให้กับผู้ลงทุนทั่วไป โดยเปิดจองซื้อในวันที่ 17 มกราคมเป็นวันแรก จนถึงวันที่ 19 มกราคม ผู้ลงทุนสามารถจองซื้อหุ้นกู้อายุ 1 ปี 7 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.85% ต่อปี และหุ้นกู้อายุ 3 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 4.95% ต่อปี ผ่านธนาคารกรุงไทย และธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เผยผู้ลงทุนให้ความสนใจตอบรับ ด้วยปัจจัยสนับสนุนทั้งอายุหุ้นกู้ ผลตอบแทน อัตราความน่าเชื่อถือของบริษัทฯที่ระดับ BBB และของหุ้นกู้ที่ BBB- ซึ่งเป็น “ระดับลงทุน” รวมถึงความมั่นคงของธุรกิจในฐานะบริษัทรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของไทย

นายเติมพงษ์ เหมาะสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มงานบัญชีและการเงิน บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ บริษัทรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ พร้อมแล้วสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่จะเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป ในวันที่ 17-19 มกราคม 2566 ผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โดยหุ้นกู้อายุ 1 ปี 7 เดือน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.85% ต่อปี และรุ่น 3 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 4.95% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน (เว้นแต่งวดดอกเบี้ยงวดสุดท้ายของรุ่นอายุ 1 ปี 7 เดือน ซึ่งจะมีระยะเวลา 4 เดือน) ซึ่งบริษัทฯ เชื่อว่า ยังคงได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา

สำหรับหุ้นกู้ชุดดังกล่าวได้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่ระดับ BBB- ซึ่งเป็น “ระดับลงทุน” (Investment grade) ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือองค์กรอยู่ที่ BBB แนวโน้ม “คงที่” (Stable) โดยอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ในการรับงานก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ และงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ (Backlog) จำนวนมากที่จะช่วยประกันรายได้ให้แก่บริษัทฯ ในช่วงหลายปีข้างหน้า โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 บริษัทฯ มีงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ (Backlog) มูลค่าประมาณ 63,271.01 ล้านบาท ซึ่งสามารถทยอยรับรู้รายได้จนถึงปี 2568 และมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) สัญญาที่ 4 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพุทธ - ดาวคะนอง รับรู้รายได้ถึงปี 2570 โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 บริษัทฯ ยังมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

กว่า 5,349 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2564 จำนวน 1,566 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯ มีสภาพคล่องเพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทฯ ได้

ทั้งนี้ ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของไทย ที่มุ่งเน้นงานสาธารณูปโภคขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในด้านบริหารการจัดการและการเลือกใช้เทคโนโลยีระดับสูงให้เหมาะสม และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างสะพานโครงสร้างเหล็กและสะพานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก งานก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ลอดใต้ทางแยก งานก่อสร้างทางพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กและแอลฟัลท์ติกคอนกรีต งานระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน ทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ รวมถึงงานในโครงการรับเหมาก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่มูลค่าโครงการสูง หรือเป็นโครงการที่ต้องอาศัยความชำนาญหรือเทคโนโลยีเฉพาะด้าน

ทางด้าน ธนาคารผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่ทำให้หุ้นกู้ UNIQ ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน มาจากอายุหุ้นกู้ที่มีระยะเวลาเหมาะสมตอบโจทย์ผู้ลงทุน ขณะที่ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน “ระดับลงทุน” รวมถึงผู้ลงทุนยังเห็นถึงโอกาสและศักยภาพการเติบโตของบริษัทฯ ในฐานะบริษัทผู้รับเหมาชั้นนำของไทยที่ได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ จนทำให้บริษัทฯ รักษาตลาดโครงการขนาดใหญ่ไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯมีรายได้ที่แน่นอนจากการรับงานจากหน่วยงานรัฐ สะท้อนถึงความมั่นคงของ UNIQ ในอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างได้เป็นอย่างดี นักลงทุนที่สนใจหุ้นกู้ UNIQ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th โดยจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท ผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร 0-2111-1111 หรือจองซื้อทางออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือ ผ่าน Money Connect by Krungthai (https://moneyconnect.krungthai.com/) และธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร.02-626-7777 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน แอป CIMB Thai Digital Banking

โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด (Fast Retailing)  แถลงวิสัยทัศน์ของ LifeWear = Sustainability ครั้งที่ 2 สำหรับสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ ณ. กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น  ภายใต้การดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ไลฟ์แวร์ (LifeWear) ที่ต้องการผลิตเสื้อผ้าด้วยความเรียบง่าย คุณภาพดี และใช้งานได้นาน ซึ่งเป็นปรัชญาต้นแบบในอุตสาหกรรมของบริษัทฯ เสมอมา พร้อมเผยถึงความคืบหน้าและความสำเร็จของเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา

โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด นำเสนอการพัฒนาไลฟ์แวร์ (LifeWear) ใหม่ล่าสุด รวมถึงสินค้าและบริการจากทางบริษัทฯ ยูกิฮิโระ นิตตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กล่าวถึงรายละเอียดความคืบหน้าเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การขยายการตรวจสอบแหล่งที่มา และการพัฒนาความโปร่งใส เซเรนา เพ็ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง และ ประธานฝ่ายดำเนินการและที่ปรึกษาทั่วไป บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (สหรัฐฯ) พูดถึงเรื่องการพัฒนาบุคคลากร ความหลากหลาย และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งในการทำงานของสำนักงานใหญ่ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง

โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงปีที่ผ่านมา เราก้าวไปข้างหน้าด้านความคิดริเริ่มต่างๆ ที่มีเป้าหมายในการให้ลูกค้าเข้าถึงไลฟ์แวร์ (LifeWear) ได้มากขึ้น รวมถึงนำกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยพัฒนาชีวิตของผู้คนและสังคมทั่วโลก จากเสียงตอบรับของลูกค้าทั่วโลก บริษัทฯ ได้เริ่มโปรเจกต์ใหม่ๆ เช่น การบริการซ่อมแซมเสื้อผ้าผ่าน RE.UNIQLO STUDIO ของเรา และเพื่อการก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น ด้วยการร่วมมือกับลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างๆ (NGOs) บริษัทฯ ยังดำเนินงานต่อไปเพื่อเพิ่มความคิดริเริ่มใหม่ๆ เพื่อทำให้ไลฟ์แวร์ (LifeWear) เป็นหลักสำคัญเพื่อชีวิตและสังคมที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน”

ความคืบหน้าของแผนการดำเนินงานต่อเป้าหมายของ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ในปี 2573

สินค้า 

· อัตราส่วนของวัสดุรีไซเคิล วัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ ที่ใช้ในกลุ่มบริษัทของฟาสต์ รีเทลลิ่งเพิ่มขึ้น 5% อย่างมั่นคง สำหรับสินค้าในปี 2565 เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 2573 ที่ตั้งเป้าให้มีสัดส่วน 50% รวมถึงอัตราส่วนการใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ได้จากการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นประมาณ 16% เทียบกับการใช้โพลีเอสเตอร์ทั้งหมด

· นับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2565 เสื้อฟลีซขนนุ่มของยูนิโคล่ปี 2565 ได้ทำจากเส้นใย โพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากขวดพลาสติก (PET)

· เดือนกันยายน ปี 2565 ที่ผ่านมา ยูนิโคล่เปิดตัว RE.UNIQLO STUDIO เป็นบริการใหม่จากยูนิโคล่ เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้สวมใส่ไอเทมไลฟ์แวร์ (LifeWear) ตัวโปรดได้ยาวนานขึ้น โดยริเริ่มที่สาขา รีเจนท์ สตรีท ในลอนดอนเป็นแห่งแรก นอกจากนี้ยังได้ขยายบริการนี้ไปในหลายประเทศอีกด้วย รวมถึงการเปิดทดลองบริการนี้ที่ญี่ปุ่น ณ.ร้านสาขาเซตะกายะ ชิโตเซได ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ยูนิโคล่ตั้งใจที่จะขยายบริการนี้ต่อไปทั้งในประเทศญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

· ที่ร้านสาขาและสำนักงาน

เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ ในการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 ร้านยูนิโคล่และสำนักงานในยุโรป อเมริกาเหนือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว 100%

· ระบบซัพพลายเชน

โรงงานคู่ค้าหลักผู้ผลิตสินค้าของยูนิโคล่ และ GU มากกว่า 90% ได้ยกระดับมาตรการการประหยัดพลังงาน ลดการใช้ถ่านหิน และเลือกใช้พลังงานหมุนเวียน แผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กำลังดำเนินไปอย่างมั่นคง ผ่านการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวกับโรงงานคู่ค้าของเรา

บรรลุเรื่องการติดตามจากแหล่งต้นทางและการเพิ่มความโปร่งใส

· ระบบเพื่อยืนยันการวางแผนซัพพลายเชนและติดตามผลของแต่ละสินค้าดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว การใช้งานการจัดการข้อมูลจากแหล่งต้นทาง ด้วยความร่วมมือกับโรงงงานคู่ค้าเริ่มต้นในคอลเลคชัน ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2565

· โปรแกรมการยืนยันแหล่งที่มาจากบุคคลที่สามเสร็จสมบูรณ์ และใช้งานจริงในช่วงเวลาเดียวกัน

· ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าที่จะใช้ Code of Conduct สำหรับพันธมิตรด้านการผลิตเส้นใยฝ้าย และสิ่งแวดล้อมของแรงงาน และการตรวจสอบทางบัญชี ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2566

· ความคิดริเริ่มดังกล่าวนี้ เริ่มจากสินค้าบางอย่างของยูนิโคล่ และวางแผนเพื่อเพิ่มให้ครอบคลุมสินค้าทุกประเภทของยูนิโคล่ และสินค้าอื่นๆ ในเครือของฟาสต์ รีเทลลิ่งในอนาคต

· ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ยังคงยกระดับความโปร่งใส่โดยการเพิ่มรายชื่อของพันธมิตรด้านการผลิตในขอบเขตที่กว้างขึ้น รวมถึงพิจารณาการเพิ่มรายชื่อเพื่อรวมแหล่งผู้ผลิตเส้นใยฝ้ายในอนาคตด้วย

การปรับวิธีการติดตามสภาพแวดล้อมของแรงงาน

· ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้นำโปรแกรม SLCP (Social and Labor Convergence Program) มาใช้ ซึ่งเป็นการระบบประเมินด้านอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำหรับโรงงานผลิต เพื่อประเมินความเสี่ยงและประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแรงงาน รวมถึงการพัฒนาปัญหาดังกล่าว โปรแกรมนี้จะเริ่มใช้ในทุกๆ โรงงานผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้าหลักๆ ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2566

· ขณะเดียวกัน ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้ใช้มาตรการ Zero- Tolerance ในการทำข้อตกลงใดๆ เพื่อพิจารณาถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพิ่มความแข็งแกร่งในการตรวจสอบความเสี่ยงของสภาพแวดล้อมของแรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ ก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงขึ้น

การขยายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลุกค้า

· ตั้งแต่ปี 2566 ยูนิโคล่จะเปิดเผยข้อมูลของซัพพลายเชนสำหรับแต่ละสินค้าในรูปแบบข้อความสั้นๆ บนออนไลน์สโตร์ และในระหว่างปี 2566 สินค้าแต่ละชิ้นจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ผลิต ส่วนประเทศต้นทางที่ผลิตเส้นใยจะถูกนำมาเผยแพร่ในลำดับต่อไป

· ยูนิโคล่จะเปิดเผยข้อมูลอันจำเป็นสำหรับลูกค้า เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกสินค้าของยูนิโคล่ ภายในปี 2568

· ยูนิโคล่ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการสร้างระบบยืนยันขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าคำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลสินค้ามีความถูกต้องเพื่อป้องกันความสับสน

การริเริ่มด้านกิจกรรมเพื่อสังคม

· ในปีงบประมาณ 2565 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สนับสนุนเงินจำนวน 8.8 พันล้านเยน ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ รวมถึงบริจาคเสื้อผ้าในจำนวน 6.98 ล้านชิ้น* เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้มีถึง 7.49 ล้านคนทั่วโลก

· ยูนิโคล่เปิดตัว PEACE FOR ALL โปรเจกต์เสื้อยืดการกุศลที่สื่อให้เห็นถึงความหวังของบริษัทในเรื่องของสันติภาพ ผลกำไรจากยอดขายของโปรเจกต์นี้ได้บริจาคและถูกจัดสรรไปยังองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), องค์การช่วยเหลือเด็กหรือ Save the Children และองค์การแพลน อินเตอร์เนชันแนล (Plan International) โดยช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2565 ยูนิโคล่บริจาคเงินจำนวนประมาณ 100.45 ล้านเยน ซึ่งกิจกรรมนี้ยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต

· ฟาสต์ รีเทลลิ่งจะเพิ่มกิจกรรมความช่วยเหลือสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น บริษัทกำลังเพิ่มการจ้างงานและการช่วยเหลือเพื่อตั้งรกรากสำหรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้ริเริ่มโปรเจกต์เพื่อช่วยเหลือด้านอิสรภาพของผู้หญิงพลัดถิ่นชาวโรฮิงญาที่ต้องการลี้ภัยไปยังบังกลาเทศ

· ทางบริษัทมีแผนในการขยายโปรแกรมการพัฒนาสำหรับคนรุ่นต่อไป (next-generation development program) ด้วยความร่วมมือจากโกลบอลแบรนด์แอมบาสเดอร์ของยูนิโคล่ โดยในวันที่ 19 พฤศจิกายน นี้ โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ จะมาเยือนประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประกาศยุติการเล่นเทนนิสอาชีพ เพื่อร่วมจัดคลาสเทนนิสสำหรับเยาวชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมนี้

· มูลนิธิฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing Foundation) จัดโปรเจกต์ฟื้นฟูผืนป่าในฟิลิปปินส์ ด้วยแผนการปลูกต้นไม้ประมาณ 200,000 ต้นใน 3 พื้นที่

*ยกเว้นเสื้อผ้าที่ได้จากการรับบริจาคที่ร้านสาขาและนำไปบริจาคให้กับผู้ลี้ภัยและผู้ที่ขาดแคลน

การยกระดับความหลากหลายและการรวมเป็นหนึ่ง

· ฟาสต์ รีเทลลิ่งตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้บริหารหญิงให้ถึง 50% ภายในปีงบประมาณ 2573 โดยในปลายเดือนสิงหาคม ปี 2565 อัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 43.7%

· ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายสำหรับการจ้างงานผู้พิการทั่วโลก และส่งเสริมความคิดริเริ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้

 

ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลกจากญี่ปุ่น ตระหนักถึงความสำคัญของเสื้อผ้าและพลังที่ซ่อนอยู่

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click