November 22, 2024

งาน Meta Marketing Summit ประจำปี Meta นำเสนอนวัตกรรมด้านการตลาดล่าสุดสำหรับธุรกิจไทย ผู้ประกอบการและนักการตลาดและตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการเสริมพลังให้กับธุรกิจไทยด้วยโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่จะเข้ามาพลิกโฉมการทำธุรกิจและสร้างการเติบโตพร้อมยกระดับพลังเศรษฐกิจไทยบนเวทีโลก 

ลงทุนเพื่ออนาคต: ประสิทธิภาพที่ขับเคลื่อนด้วย AI กับ Meta Advantage 

การลงทุนด้าน AI ของ Meta กำลังปฏิวัติวิธีการที่ธุรกิจเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานประจำวันกว่า 3.27 พันล้านคนบนแพลตฟอร์มปัจจุบัน Meta ลงทุนไปแล้ว 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ทั่วทั้งบริษัท โดย 81% ของการลงทุนนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงแอปพลิเคชันหลัก ซึ่งรวมถึง Facebook, Instagram และ Messenger ตลอดจนบริการอื่นๆ สำหรับผู้ใช้งาน ครีเอเตอร์ และธุรกิจต่างๆ 

 

ในงานประจำปีด้านการตลาดของ Meta ได้โชว์เคสชุดโซลูชัน AI ล่าสุดสำหรับภาคธุรกิจ นำโดย Meta Advantage+ ชุดเครื่องมือด้านการตลาดที่ครอบคลุม ออกแบบมาเพื่อเสริมพลังให้กับธุรกิจทุกขนาด ด้วยโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ปรับแต่งเฉพาะ เช่น Advantage+ Shopping Campaigns หรือ Advantage Apps+ Campaigns บริการนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโฆษณาพร้อมทั้งสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนด้านโฆษณา (ROAS) ที่สูงขึ้น โดยนำระบบ AI เข้ามาใช้ตั้งแต่การระบุกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงการปรับปรุงกระบวนการเชิงกลยุทธ์ การวางตำแหน่งโฆษณา และการทำความเข้าใจเส้นทางของผู้บริโภค Meta Advantage ช่วยเสริมพลังให้กับธุรกิจด้วยการปรับปรุงที่วัดผลได้ 

ประสิทธิภาพจากการใช้งาน Meta Advantage+ สร้างผลลัพธ์ที่โดดเด่นให้กับธุรกิจ: Advantage+ Shopping Campaigns ช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการใช้จ่ายด้านโฆษณา (ROAS) ถึง 32% และสำหรับโซลูชัน Advantage+ app campaigns ผลศึกษาชี้ว่าช่วยลดต้นทุนต่อการดำเนินการ (cost per action) ลงกว่า 9% นอกจากนั้น ยังพบว่าทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ใช้จ่ายใน Advantage+ Shopping Campaigns สามารถสร้างรายได้เฉลี่ย 4.52 ดอลลาร์สหรัฐกลับคืนมาให้กับธุรกิจ หรือคิดเป็นสัดส่วนของ ROAS ที่เพิ่มขึ้นกว่า 22% ในช่วงปีที่ผ่านมา 

 

Generative AI: ยุคใหม่แห่งความคิดสร้างสรรค์ในการโฆษณา 

การสร้างชิ้นงานโฆษณา (creative) นับเป็นกลยุทธ์สำคัญยิ่ง ในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและมีส่วนในการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ซื้อ (conversion) Meta ได้เปิดตัวการอัปเดตที่น่าสนใจหลายอย่างสำหรับชุดบริการและเครื่องมือ Advantage+ Creative ซึ่งรวมถึง Meta Gen AI ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการเวลา ทรัพยากร และประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยเครื่องมือ Meta Gen AI นักสร้างสรรค์สามารถออกแบบเนื้อหาโฆษณาที่หลากหลายได้อย่างง่ายดายและสร้างรูปแบบโฆษณาที่แตกต่างกันให้เหมาะสมกับความชอบของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด  

 

Meta Gen AI: ประโยชน์ที่ธุรกิจไทยจะได้รับ 

  • การสร้างภาพแบบเต็มรูปแบบ (Full image generation) ที่ผู้ใช้สามารถอัปโหลดผลงานต้นฉบับของตนเอง และ AI จะช่วยสร้างภาพที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ เช่น การเปลี่ยนพื้นหลังหรือการแสดงมุมมองใหม่ๆ 
  • การสร้างข้อความ (Text generation) ที่ผู้ใช้สามารถสร้างตัวเลือกหัวข้อเรื่องและข้อความหลักได้ในทันที 
  • การขยายภาพ (Image expansion) ที่ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพที่มีขนาดใดก็ได้ และ AI จะช่วยขยายภาพให้พอดีกับรูปแบบแนวตั้ง เช่น 9:16 ซึ่งเหมาะสําหรับ Stories และ Reels บนอุปกรณ์มือถือ 

คุณแพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ประจำ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า "ด้วยรูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์แบบอัตโนมัติและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ธุรกิจสามารถสร้างเนื้อหาคอนเทนต์ที่หลากหลายได้ง่ายขึ้น ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและเพิ่มอัตราการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ซื้อ จึงช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากร ทำให้ Meta เป็นโซลูชันที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือสร้างสรรค์อันทรงพลังและโซลูชันที่สร้างผลลัพธ์ได้จริง" 

"เครื่องมือและนวัตกรรมเพื่อการค้นพบ (discovery engine) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของเราได้พลิกโฉมวิธีที่ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างผลลัพธ์ที่แท้จริง เครื่องมือด้าน AI ของ Meta ตั้งแต่แชทบอท AI ที่สามารถฝึกฝนได้สำหรับการส่งข้อความทางธุรกิจ ไปจนถึงผู้ช่วยเสมือนฟรีที่สามารถถามคำถามเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคโนโลยีที่ให้บริการผ่านชุดเครื่องมือ Meta Advantage+ ของเรา มุ่งสร้างการเชื่อมต่อเชิงลึกและมีความหมายมากขึ้นผ่านการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" คุณแพรกล่าวเสริม 

 

Meta Llama 3.1: ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติและเศรษฐกิจซอฟต์พาวเวอร์ของไทย 

Meta Llama 3.1 (ลาม่า) เวอร์ชันล่าสุดของ AI แบบโอเพ่นซอร์สของ Meta มีทิศทางที่จะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากโมเดลประมวลผลด้วยภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model) ล่าสุดเพิ่มการรองรับภาษาไทย มอบความยืดหยุ่น การควบคุม และความสามารถที่ไม่มีใครเทียบได้ให้กับนักพัฒนาในประเทศไทย 

ดร. ราฟาเอล แฟรงเคิล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะของ Meta ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงแผนการของ Meta สำหรับ Llama 3.1 ในประเทศไทยว่า "Llama 3.1 เวอร์ชันล่าสุดของเรากำลังยกระดับมาตรฐานใหม่สำหรับโมเดล AI ที่เปิดให้ใช้งานได้อย่างอิสระ ซึ่งทั้งหมดนี้รองรับภาษาไทยแล้ว การเปิดให้โมเดลของเราเป็นโอเพ่นซอร์สทำให้นักพัฒนาทั่วทุกมุมโลก รวมถึงในประเทศไทย สามารถพัฒนานวัตกรรมและแอปพลิเคชันได้อีกมากมาย ซึ่งพิสูจน์ได้จากตั้งแต่การเปิดตัว Llama รุ่นแรกเมื่อปีที่แล้ว มียอดดาวน์โหลดกว่า 300 ล้านครั้ง และมีโมเดลถูกพัฒนาต่อยอดมากว่า 20,000 โมเดล เราเชื่อว่า AI มีศักยภาพมากกว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่อื่นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ รวมถึงเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ช่วยปลดล็อกความก้าวหน้าสำหรับธุรกิจและชุมชนทั่วโลกและในประเทศไทย" 

 

เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกของ Meta Llama ให้มากยิ่งขึ้น Meta ได้จัดแคมเปญและโครงการต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนนักพัฒนาและชุมชนผู้ใช้ Llama ประกอบด้วยโครงการให้ความรู้ด้าน AI สำหรับธุรกิจท้องถิ่น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ในการเพิ่มประสิทธิภาพและขยายธุรกิจ, เงินทุนสนับสนุนเพื่อสร้างประโยชน์สู่สังคม มูลค่าสูงสุด 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, การแข่งขันสำหรับนักพัฒนา Llama ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยผู้เข้าร่วมมีโอกาสชิงเงินทุนสนับสนุนพิเศษมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำโครงการที่ใช้ AI เพื่อสังคมไปสู่การใช้งานจริง

ความร่วมมือในประเทศไทยของ Meta: ผลักดันการท่องเที่ยวและการค้าข้ามพรมแดน 

นอกเหนือจากการนำเสนอโซลูชัน AI ที่ล้ำสมัยแล้ว Meta ยังมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนวาระแห่งชาติของไทยเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจซอฟต์พาวเวอร์ (Economic Soft Power) ของประเทศ ด้วยเหตุนี้ Meta จึงได้จับมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อเสริมพลังให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนของการทำความเข้าใจเส้นทางความสนใจของผู้บริโภค นอกจากนี้ Meta ยังประกาศเปิดตัว "คู่มือการท่องเที่ยว" (Travel Playbook) ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจะมอบข้อมูลเชิงลึกและกลยุทธ์ที่ธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดคู่มือท่องเที่ยวได้จากช่องบรอดแคสสำหรับธุรกิจ “Meta Thailand for Business” ของเพจ Meta Thailand ที่ https://m.me/j/Abb33bI6aY9FYiBx/ หรือผ่านทางเพจพันธมิตรได้ที่นี่  

นอกเหนือจากความร่วมมือในภาคการท่องเที่ยวแล้ว Meta ยังร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ของไทยในการปลดล็อกการค้าข้ามพรมแดนให้กับธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการเจาะตลาดใหม่ๆ และสร้างการเติบโตได้มากกว่าการดำเนินธุรกิจเฉพาะในตลาดภายในประเทศถึงสองเท่า เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ Meta จะเปิดอบรมหลักสูตรการตลาดด้วย AI สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เพื่อสอนแนวปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตไปสู่ตลาดนอกประเทศ  

ดร. ราฟาเอล เสริมว่า "ประเทศไทยเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการปลดล็อกโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโตผ่านเทคโนโลยี ด้วยการมอบเครื่องมือและข้อมูลเชิงลึกด้าน AI ที่ล้ำสมัยให้กับธุรกิจไทย เราไม่เพียงแต่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นกำลังสำคัญให้พวกเขาสามารถแบ่งปันวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ในระดับโลกอีกด้วย"  

Meta อัปเดทหลากหลายฟีเจอร์ใหม่บน Messenger ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้การสนทนาและการเชื่อมต่อของผู้คนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกเป็นไปอย่างราบรื่นและช่วยเติมเต็มอรรถรสยิ่งขึ้น

ส่งรูปภาพที่มีความละเอียดสูงผ่านแชท

เริ่มแล้ว สายแชทบน Messenger สามารถส่งรูปภาพที่มีความคมชัดมากขึ้นผ่านทางแชทได้แล้ว เพียงเลือกรูปภาพจากปุ่มตัวเลือกในช่องแชท จากนั้นเปิดใช้งานการส่งรูปภาพในรูปแบบความละเอียดสูงด้วยการกดปุ่ม HD ก่อนกดส่ง และยังสามารถเลือกส่งรูปภาพละเอียดสูงได้หลายภาพพร้อมกันอีกด้วย

 

สร้างอัลบั้มไว้แชร์รูปภาพกับเพื่อนๆ

ผู้ใช้สามารถสร้างอัลบั้มภาพหรือวิดีโอได้จากในกลุ่มแชทโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นภาพความประทับใจจากทริปการเดินทางช่วงสงกรานต์ในช่วงปีที่ผ่านมา หรือโมเมนต์ฉลองวันเกิดของคนในครอบครัว ก็สามารถเก็บช่วงเวลาเหล่านี้ไว้ในอัลบั้มในกลุ่มแชทได้โดยตรง เพื่อความสะดวกในการแชร์ จัดระเบียบ และเก็บภาพเหล่านี้ไว้เป็นความทรงจำ

ผู้ใช้สร้างอัลบั้มใหม่ในกลุ่มแชท ได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนดังนี้

· เลือกภาพต่าง ๆ จากเมนูส่งรูปภาพที่อยู่ด้านข้างของช่องส่งข้อความ

· เมื่อกด 'สร้างอัลบั้ม' (Create album) ก็จะมีอัลบั้มไว้เก็บรูปภาพและวิดีโอต่าง ๆ ได้ทันที

· หรือกดค้างที่รูปภาพที่มีอยู่แล้วในแชท แล้วกด 'สร้างอัลบั้ม'

· นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถเพิ่มภาพลงในอัลบั้มที่มีอยู่แล้วได้ง่าย ๆ โดยกดไปที่ 'เพิ่มไปยังอัลบั้ม’ (Add to album)

และยังสามารถเปลี่ยนชื่ออัลบั้มได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนดังนี้

· กดไปที่อัลบั้มที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ

· กดที่ไอคอนสามจุดเพื่อเปิดเมนู

· กดเลือก 'แก้ไขชื่อ' (Edit name)

· เปลี่ยนและยืนยันชื่ออัลบั้มใหม่

ทุกคนที่อยู่ในกลุ่มแชทจะสามารถดู เพิ่ม ลบ และดาวน์โหลดรูปภาพและวิดีโอจากอัลบั้มที่ถูกแชร์ได้ และเมื่อไรก็ตามที่ต้องการค้นหาอัลบั้มที่สร้างไว้ ผู้ใช้สามารถกดไปที่ชื่อกลุ่มแชทและเลือกที่เมนู 'สื่อ' (Media) ได้ทันที

 

เพิ่มเพื่อนใหม่ผ่าน QR code

ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ชื่อหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อเพิ่มเพื่อนใน Messenger อีกต่อไป เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้นด้วยฟีเจอร์ใหม่ในการเพิ่มเพื่อนผ่านการสแกน QR code ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งจากการสแกน QR code โดยตรง รวมถึงการแชร์ QR code ผ่านลิงก์

ผู้ใช้สามารถให้อีกฝ่ายเพิ่มเป็นเพื่อนทาง Messenger ได้ง่าย ๆ โดยไปที่การตั้งค่าและกดเลือกไอคอน QR code ด้านบน จากนั้นให้เพื่อนสแกน QR code ด้วยกล้องถ่ายภาพบนมือถือ หรือส่งลิงก์ให้อีกฝ่ายโดยการกด 'แบ่งปัน' (Share)

ส่งไฟล์ที่มีขนาดใหญ่สูงสุด 100MB ได้จากมือถือโดยตรง

ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอีเมลในการส่งไฟล์ขนาดใหญ่อีกต่อไป ขณะใช้งาน Messenger ผู้ใช้สามารถเลือกปุ่มเครื่องหมายบวก ‘+’ และเลือกไฟล์ที่มีขนาดสูงสุด 100MB เพื่อแชร์ระหว่างการสนทนาผ่านการแชท โดยฟีเจอร์ดังกล่าวสามารถรองรับไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Word, PDF, Excel, และ ZIP

 

Meta ยังคงเดินหน้าพัฒนา Messenger อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ Messenger เป็นแพลตฟอร์มที่มอบพื้นที่ในการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคล การสนทนาที่เป็นส่วนตัว และการเชื่อมต่อที่ไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนฝูงและครอบครัว หรือชุมชนออนไลน์ในวงกว้างขึ้น โดยเราหวังว่าผู้ใช้จะได้เพลิดเพลินไปกับการใช้งานฟีเจอร์ใหม่ ๆ เหล่านี้ และอย่าลืมติดตามอัปเดทเพิ่มเติมที่กำลังจะมาถึงในเร็ว ๆ นี้ผ่านทาง Meta Thailand Facebook Page https://www.facebook.com/MetaTH

ในเดือนตุลาคม 2564 Facebook ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Meta และประกาศว่าบริษัทจะมุ่งพัฒนาเมตาเวิร์ส

*หากเรามองย้อนกลับไปในช่วงเวลานับตั้งแต่การประกาศของ Meta เราจะเจอคำถามบางอย่างที่น่าสนใจ เกิดอะไรขึ้นกับเมตาเวิร์สในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมา และเมตาเวิร์สเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและแบรนด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร?

*หลายคนอาจสังเกตได้ว่าการพูดคุยเกี่ยวกับเมตาเวิร์สนั้นเริ่มเงียบหายไปอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ช่วงที่เมตาเวิร์สมีความนิยมสูงสุดในเดือนตุลาคม 2564 ข้อมูลจาก Google Trends ช่วยยืนยันถึงความเปลี่ยนแปลงนี้

*นอกจากการตลาดเชิงรุก และพาดหัวข่าวที่รายงานเกี่ยวกับเงินจำนวนมหาศาลที่ได้จากการซื้อขายศิลปะดิจิทัลที่ไม่มีใครเข้าใจ สิ่งที่ทำให้เมตาเวิร์สสามารถดึงดูดความสนใจได้จากผู้คนมากมายในช่วงแรก คือการที่เราคิดว่าเทคโนโลยีได้พัฒนามาจนถึงจุดทีการใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริงนั้นเป็นไปได้

*โควิด-19 ยังช่วยเร่งให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ โดยมีตัวบ่งชี้เช่นความนิยมและการพัฒนาของวงการเกม และการที่ดิจิทัลเริ่มมีความสำคัญในการทำงาน การเรียน การออกเดต และการช้อปปิ้ง และความก้าวหน้าของเหรียญดิจิทัล เครื่องเล่น VR และความเร็วอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น เริ่มช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของการใช้ชีวิตแบบดิจิทัล

*แต่น่าเสียดายที่เมตาเวิร์สไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้ และไม่สามารถทำตามคำสัญญาถึงบทบาทในชีวิตแบบดิจิทัลที่ยังเป็นสิ่งใหม่และท้าทายอยู่

เมตาเวิร์สคืออะไร

เมตาเวิร์สได้รับคำนิยามว่าเป็นส่วนขยายดิจิทัลของโลกแห่งความจริง เป็นส่วนหนึ่งของโลกอินเทอร์เน็ตในอนาคต

เมตาเวิร์สคือพื้นที่เสมือนที่ผู้ใช้สามารถตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้คนอื่น ๆ ซึ่งเป็นการจำลองการมีปฏิสัมพันธ์ในโลกแห่งความจริงมาไว้ในโลกออนไลน์

หากเราลองมองถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โลกอินเทอร์เน็ตในอนาคตอาจเป็นโลกแบบไร้หน้าจอ ชีวิตของทุกคนจะเชื่อมต่อ ดำดิ่ง และซ้อนทับกับโลกดิจิทัล ผ่านการใช้เทคโนโลยี AR และ VR ลองนึกถึงการพิมพ์คีย์บอร์ดบนอากาศที่มีแต่คุณเท่านั้นที่มองเห็นผ่านสมาร์ตคอนแทคเลนส์ แทนที่จะเป็นผู้ไลฟ์สตรีมคอนเสิร์ต ก็สามารถเข้าไปร่วมสัมผัสบรรยากาศจริงพร้อมผู้ชมคนอื่น ๆ ในรูปแบบดิจิทัล หากเราพูดถึงการดำดิ่งสู่ดิจิทัล ลองนึกถึงการอยู่ในโลกเสมือนในมุมมองบุคคลที่หนึ่ง หันไปทางซ้าย คุณจะเห็นอวาตาร์ของเพื่อนของคุณกำลังหาตั๋ว NFT ในกระเป๋ากางเกงของเขา เมื่อมองไปทางขวา คุณจะเห็นว่ามีคลับเสมือนจริงเปิดใหม่ที่มาแทนที่พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่เคยเป็นที่โปรดของคุณมาก่อน

ทำไมเมตาเวิร์สถึงยังไม่เหมาะกับแบรนด์ - ในตอนนี้ ?

เท่าที่ผ่านมา ‘เมตาเวิร์ส’ ส่วนใหญ่ที่แบรนด์นำเสนอนั้นไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นเมตาเวิร์สได้เต็มปากเต็มคำ ฟีเจอร์เหล่านี้ได้ออกแบบมาให้ใช้งานผ่านเบราว์เซอร์หรือสมาร์ตโฟน และมีรูปแบบการใช้งานที่จำกัด อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความพยายามที่น่าชื่นชมในการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและยังช่วยนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเมตาเวิร์สไปยังผู้คนในวงกว้างอีกด้วย

แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมตาเวิร์ส (ตามคำนิยามที่ให้ไว้) นั้นไม่มีอยู่จริง แต่มีผู้คนเพียงจำนวนน้อยมากที่เข้าถึงการใช้งาน หากต้องการดึงดูดผู้ใช้เพิ่มขึ้นและกลายเป็นวิธีหลักที่ผู้คนใช้โต้ตอบกับโลกดิจิทัล เมตาเวิร์สต้องได้รับการพัฒนาให้เข้าถึงง่ายและน่าสนใจกว่าเดิมอย่างมาก

การพัฒนาอย่างแรกคือการปรับปรุงประสบการณ์เสมือนจริงให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน เครื่องเล่น VR ยังมีราคาสูง และมันเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สอย่างแท้จริง และรู้สึกถึงการมีตัวตนของตนเองเมื่อตอบโต้กับพื้นที่เสมือน ถึงแม้ราคาอาจไม่เป็นอุปสรรคสำหรับบางคน แต่เราจะเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สไปทำไมในเมื่อมันไม่มีความน่าอยู่เลย

การควบคุม VR ยังไม่ใช่สิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย และการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้เนื่องจากการตอบสนองของการเคลื่อนไหวและรูปภาพที่ไม่เท่ากัน ผู้ใช้ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้เรื่องเมตาเวิร์สมาก่อนอาจพบว่าตนได้เข้าไปอยู่ในโลกว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรให้ทำ หรือไม่มีผู้ใช้คนอื่นให้คุยด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับตัวละครในวิดีโอเกมในปัจจุบัน อวาตาร์ใน Horizon ของ Meta หรือใน VRChat ยังเป็นบล็อก ๆ และไม่ชัดเจน แม้จะมีการถกเถียงว่าอวาตาร์เหล่านี้ไม่ต้องการความสมจริงขั้นสูงเพื่อดึงดูดผู้ใช้ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าความลื่นไหลและการแสดงออกนั้นต้องการการปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม เรา สามารถแก้ไขข้อบกพร่องทางเทคโนโลยีได้ ยิ่งมีการทุ่มเงินทุนจำนวนเป็นพัน ๆ ล้าน และใช้บุคลากรทางเทคโนโลยีที่เก่งที่สุดในการพัฒนาเมตาเวิร์ส อุปกรณ์จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และประสบการณ์เสมือนจริงจะได้รับการพัฒนาไปอีกหลายระดับ แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี ผู้พัฒนาเกมอาจจะเป็นผู้ที่พัฒนาเมตาเวิร์สเพื่อมอบประสบการณ์ที่สมจริงมากกว่าเดิมให้กับผู้ใช้ ด้วยการเพิ่มความเป็นไปได้ของสิ่งที่สามารถทำได้ และการนำประสบการณ์ดิจิทัลมารวมเข้ากับตัวละครที่คุ้นเคยและกลไกต่าง ๆ ของโลก

เกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นจำนวนมาก (MMO – Massive Multiplayer Online) ที่โด่งดังในปัจจุบัน เช่น Fortnite และ Roblox ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้เยอะกว่ามาก หากเทียบกับเมตาเวิร์ส น่าจะเป็นผู้ที่นำเสนอประสบการณ์ VR (ซึ่ง Fortnite ได้เผยให้เรารู้บ้างแล้ว) แต่ก็จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถมอบประสบการณ์ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้เล่นขนาดใหญ่ที่มีเสียงที่ดังและมีอำนาจในการชักจูงสูง

ความน่าตื่นเต้นของเมตาเวิร์ส เพียงพอสำหรับผู้บริโภคหรือไม่?

ในการเพิ่มการมีส่วนร่วม เมตาเวิร์สจำเป็นต้องเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น โดยตามความจริงนั้น มนุษย์ไม่สามารถกินอาหารในเมตาเวิร์ส (แม้ว่าจะสามารถจำลองประสบการณ์ทางสังคมของการดินเนอร์ได้) และคอนเสิร์ตที่จัดขึ้นในโลกแห่งความจริงจะมีพลังมากกว่าเสมอ ถึงแม้ผู้บริโภคจะสามารถลองชุดแบบดิจิทัลได้ แต่ทำไมพวกเขาต้องทำแบบนั้น ในเมื่อพวกเขาสามารถเดินทางไปร้านเสื้อจริง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้

หากว่ากันตามทฤษฎี เมตาเวิร์สสามารถแทนที่โลกแห่งความจริงได้ และจะเกิดการใช้งานที่เป็นประโยชน์ เช่น การทดสอบเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ การฝึกอาชีพ การวางผังเมือง การจำลองผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการรับการบำบัดหรือการรักษาทางการแพทย์

ตามทฤษฎีแล้ว เมตาเวิร์สเป็นพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัด และแบรนด์ที่กำลังมองหาโอกาสกับเมตาเวิร์สควรนำความเป็นไปได้เหล่านี้มาใช้ การสร้างเรื่องราว จินตนาการ ประวัติศาสตร์ หรือการสร้างอนาคต รวมถึงการปรับเปลี่ยนกฎแห่งฟิสิกส์ หรือการให้ผู้ใช้ได้ท่องโลกในร่างของแมว สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง แต่เมตาเวิร์สสามารถทำให้กลายเป็นจริงได้

อย่างไรก็ตาม หากโลกของเราไม่ได้เป็นโลกที่ใช้ชีวิตไม่ได้แบบที่มนุษย์ต้องอยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา จะมีผู้ที่ตื่นเต้นกับการได้สัมผัสกับสถานที่ที่มีอยู่แล้วในโลกความเป็นจริง ในเวอร์ชันดิจิทัลมากเพียงใด

ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นผู้ใช้หลักของเมตาเวิร์สหรือไม่?

ข้อมูลจากงานวิจัยผู้บริโภคทั่วโลกของ มินเทล ชี้ว่าผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 2 ใน 3 คน (64%) บอกว่าพวกเขาสนใจลองทำสิ่งที่พวกเขาไม่กล้าทำในโลกจริงในโลกเมตาเวิร์ส นอกจากนี้ หากเทียบกับค่ากลางของผู้บริโภคทั่วโลก (45%) ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเมตาเวิร์สมากกว่า โดย 62% บอกว่าพวกเขาเคยได้ยินเกี่ยวกับเมตาเวิร์สและมีความรู้เกี่ยวกับเมตาเวิร์สเล็กน้อยเป็นอย่างต่ำ

งานวิจัยผู้บริโภคทั่วโลกของ มินเทล ยังแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ใช้ NFT จำนวนมากที่สุดในโลก (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NFT ได้ในพอดคาสต์ของมินเทล Episode นี้) ผู้บริโภคในประเทศฟิลิปปินส์ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ต่อวัน ในการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กในปี 2564 และ 90% ของผู้บริโภคในประเทศอินโดนีเซียที่มีสมาร์ตโฟนเคยเล่นเกมบนสมาร์ตโฟนในช่วง 3 เดือน ก่อนเดือนสิงหาคม 2565

ปัจจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภคในการใช้งานเมตาเวิร์ส หากเมตาเวิร์สเข้าถึงง่ายและมีความน่าสนใจต่อพวกเขา ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายคนมีความสนใจในแพลตฟอร์มดิจิทัล เทคโนโลยี และโอกาสต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะโลกดิจิทัลในปัจจุบันนั้นมีความสนุก ตื่นเต้น และเต็มไปด้วยความเป็นไปได้มากมาย ภูมิภาคนี้มีความสนใจในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการเรียนรู้ทักษะเทคโนโลยี เพราะทั้งผู้คน สตาร์ตอัป และประเทศต่าง ๆ กำลังเตรียมตัวเพื่อความสำเร็จในโลกดิจิทัลแห่งอนาคต นักพัฒนา นักออกแบบ นักสร้างสรรค์ และนักคิดหลายคนกำลังร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อทดลองเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเสมือนจริงและการพัฒนาอื่น ๆ ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการใช้งานเมตาเวิร์สได้แก่ สกุลเงินท้องถิ่นที่ไม่มีเสถียรภาพ (หรืออ่อนค่า) และการที่ผู้คนบางกลุ่มในสังคมไม่สามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ

หากแบรนด์ยังไม่แน่ใจว่าจะรับบทบาทใดในโลกเมตาเวิร์ส หรือไม่แน่ใจว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ แบรนด์สามารถคลายความกังวลได้เพราะเมตาเวิร์สยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา และช่วงเวลานี้ยังมีโอกาสอีกมากมายให้แบรนด์ทดลอง แบรนด์สามารถใช้เกม ความบันเทิง และวัฒนธรรมประชานิยม (ป็อปคัลเจอร์) เพื่อทำความเข้าใจองค์ประกอบต่าง ๆ ดึงดูดผู้บริโภคและสร้างความตื่นเต้นให้กับพวกเขา และใช้ความรู้ใหม่ ๆ เหล่านี้ในการวางแผนงานทั้งขนาดเล็กและใหญ่สำหรับการใช้งานเมตาเวิร์ส

บทความ   Joey  Khong

 

ถาม: Facebook รวยขึ้นมาได้ด้วยการขายอะไรกันแน่?

ตอบ: เขาขายข้อมูลส่วนตัวของพวกเรานี่แหล่ะ …จบข่าว...

X

Right Click

No right click