เอาใจคอกีฬาระดับโลก โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 ไว้เอนจอยทุกการช้อปปิ้ง มั่นใจกระตุ้นยอดการใช้จ่ายช่วงซัมเมอร์

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ร่วมกับ วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก จัดแคมเปญ “โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 กับกรุงศรี โดย วีซ่า” ชวนลูกค้าบัตร Krungsri Boarding Card และบัตรกรุงศรี เดบิต ร่วมลุ้นเปิดประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ครั้งหนึ่งในชีวิตบินลัดฟ้าถึงประเทศฝรั่งเศส ชมมหกรรมกีฬานานาชาติโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 พร้อมแพ็กเกจท่องเที่ยวสุดฟิน และรางวัลอื่น รวมมูลค่ากว่า 2.9 ล้านบาท เพียงสมัครหรือใช้จ่ายผ่านบัตรตามเงื่อนไขที่กำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 กรกฎาคม 2567 พิเศษ! สำหรับลูกค้าที่สมัครบัตร Krungsri Boarding Card ในช่วงเวลาดังกล่าวจะได้รับบัตรลาย โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 (Limited Edition) เพื่อต้อนรับและเฉลิมฉลองไปกับมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ โดยวีซ่า

นางสาวดมิศา พิศิษฐวานิช ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านผลิตภัณฑ์และการตลาดลูกค้ารายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “นอกจากความมุ่งมั่นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกการใช้ชีวิตแล้ว กรุงศรีอยากเห็นลูกค้าของเราทุกคนมีชีวิตที่ง่าย และมีความหมายในทุกวัน โดยโอลิมปิก เกมส์ถือเป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่ามกลางความสนใจจากผู้คนทั่วโลก และครั้งนี้จะจัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมืองแห่งศิลปะและไอเดียสร้างสรรค์ที่หลายคนอยากไปสัมผัส เราจึงได้ร่วมมือกับ วีซ่า จัดแคมเปญสุดพิเศษนี้ขึ้นเพื่อมอบความสุขและประสบการณ์ ‘ครั้งหนึ่งในชีวิต’ ให้กับลูกค้าของเรา พร้อมเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยวเพื่อเก็บเกี่ยวความทรงจำที่ดีกลับมาอีกด้วย และเพื่อเป็นการต้อนรับพร้อมสร้างบรรยากาศความคึกคักให้กับมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมนี้ กรุงศรีได้ออกบัตร Krungsri Boarding Card ลายใหม่ โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 ซึ่งเป็น Limited Edition ออกแบบขึ้นมาพิเศษเฉพาะช่วงเวลานี้เท่านั้น ให้แฟนกีฬาชาวไทยหรือนักสะสมได้เก็บเป็นที่ระลึก ร่วมบันทึกอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของโลกด้านกีฬา”

นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะพันธมิตรด้านบริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก และผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 เรารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมกับกรุงศรี จัดแคมเปญสุดยิ่งใหญ่ในครั้งนี้เพื่อมอบสิทธิพิเศษที่เหนือระดับให้กับลูกค้าผู้ถือบัตรวีซ่า เรามุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการนำเสนอโซลูชันการชำระเงิน ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเชื่อมโยงทุกคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายเท่านั้น เรายังภูมิใจที่ได้ให้การสนับสนุนนักกีฬา และแฟนกีฬา ผ่านการแข่งขันปารีสโอลิมปิก 2024 ซึ่งมีชื่อเสียงทั่วโลก โดยหวังว่าการเป็นผู้สนับสนุนมหกรรมกีฬาโอลิมปิกของเราจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก และช่วยให้ผู้บริโภคชาวไทยได้ใกล้ชิดกับกีฬาโอลิมปิกมากยิ่งขึ้น”

แคมเปญ “โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 กับกรุงศรี โดย วีซ่า” มอบสิทธิพิเศษสำหรับผู้สมัครหรือใช้จ่ายผ่านบัตร Krungsri Boarding Card และบัตรกรุงศรี เดบิต ทุกประเภท ร่วมลุ้นรับรางวัลใหญ่ 22 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 2.9 ล้านบาท ประกอบไปด้วย

  • รางวัลที่หนึ่ง แพ็กเกจทริปชมกีฬาโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 พร้อมตั๋วเครื่องบิน และที่พัก 5 วัน 4 คืน จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 2 ท่าน มูลค่ารางวัลละ 1,116,549.50 รวมมูลค่า 2,233,099 บาท สำหรับลูกค้าที่สมัครหรือทำรายการระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2567 – 30 เมษายน 2567
  • รางวัลที่สอง โทรศัพท์มือถือ Samsung Galaxy Z Flip5 256 GB จำนวน 20 รางวัล มูลค่ารางวัลละ 37,900 บาท รวมมูลค่า 758,000 บาท สำหรับลูกค้าที่สมัครหรือทำรายการระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2567 – 31 กรกฎาคม 2567

ผู้สนใจสามารถรับสิทธิ์ลุ้นโชคได้ง่ายๆ โดยสำหรับลูกค้าใหม่ เพียงสมัครบัตร Krungsri Boarding Card หรือบัตรกรุงศรี เดบิต ทุกประเภท ผ่าน KMA krungsri app หรือ ผ่านสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา รับ 5 สิทธิ์เพื่อลุ้นชิงโชค สำหรับลูกค้าปัจจุบัน เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร Krungsri Boarding Card หรือบัตรกรุงศรี เดบิต ทุกประเภท ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือที่ร้านค้าผ่านเครื่องรับบัตร 700 บาทขึ้นไปต่อใบเสร็จ รับ 1 สิทธิ์เพื่อลุ้นชิงโชค

โฉมหน้าระบบนิเวศการชำระของเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระด้วยเงินสดเป็นระบบดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และความสามารถของผู้บริโภคในการจ่ายและรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง

ความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งให้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มการสมัครสมาชิก การค้าออนไลน์และโซเชียลคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินแบบ on-demand

ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2567 นี้ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงยังจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการชำระเงินในระบบดิจิทัลต่อไปเพราะทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่างมองหาวิธีการชำระและรับชำระที่รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และไร้รอยต่อ ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเราคาดหวังว่าโซลูชันใหม่ ๆ จะถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น”

  1. การชำระไม่ใช่แค่เรื่องของวิธีการ แต่สำคัญที่เมื่อไร

เมื่อผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการชำระแบบดิจิทัล ความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงแค่หาโซลูชันที่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่สำคัญที่การนำเสนอโซลูชันนั้น ๆ ให้กับลูกค้าต้องเกิดขึ้นในเวลาที่ใช่

สิ่งนี้เป็นเสน่ห์ของการเงินแบบฝังตัว (embedded finance) คือการผสานบริการด้านการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอขายประกันแก่ผู้ซื้อที่จุดชำระเงิน ขณะที่บริการ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระเป็นงวดได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ หรือแอปชอปปิง

คล้ายคลึงกับเรื่องราวของดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรชำระเงินต่าง ๆ ง่ายดายขึ้นผ่านการชำระแบบดิจิทัล และโซลูชัน Mobile-as-a-Service (MaaS) ที่ผนวกการชำระเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผน จองตั๋ว และจ่ายค่าโดยสารการเดินทางได้ในที่เดียว

โอกาสในลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นในการชำระแบบ B2B โดยวีซ่าและบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่าง BCG พบว่า ภายในปี 2568 การเงินแบบฝังตัวจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า 242 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่ผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB)

  1. โฉมหน้าการชำระเงินแบบ B2B จะถูกปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

อีกไม่นานจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมโลกธุรกิจเมื่อคลื่นลูกใหม่ของผู้นำเจน Z และมิลเลนเนียลก้าวขึ้นมามีบทบาท พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และความคาดหวังของพวกเขานั่นเองที่ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน B2B ให้มีโฉมหน้าและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั่น

มีสองพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างแรกคือการทำงานร่วมกัน ระบบที่ต่างกันจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อได้มากน้อยเพียงใด มันจำเป็นต้องมีนักพัฒนา ธุรกิจ และภาครัฐ มาร่วมมือกันและใช้งานการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ APIs แบบเปิดที่สามารถรองรับวิธีการชำระแบบต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มเดียว เช่นเดียวกับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่อีกไม่นานจะสามารถชำระเงินอย่างไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์ม SAP ด้วยบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการชำระเงินหรือออกจากระบบอีกต่อไป

พลังอย่างที่สอง คือ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันการชำระเงินแบบ B2B ที่สามารถทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเพราะ รวบรวมบริการต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อาทิ การชำระเงิน การกู้ยืม และการจัดการใบแจ้งหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานด้านการเงินที่สำคัญให้จบได้ในอินเตอร์เฟซเดียว

  1. ความเสี่ยงมีให้เห็นบ่อยขึ้น แต่จับพิรุธได้ยากขึ้น

การชำระเงินแบบดิจิทัลที่เติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Generative AI ที่สร้างขึ้นบนโมเดลภาษาขนาดใหญ่เริ่มเลียนแบบการตอบสนองที่เหมือนมนุษย์ได้เนียนขึ้น และมิจฉาชีพสามารถใช้ความสามารถของมันไปสร้างอีเมลหลอกลวง และข้อความหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยการใช้ภาษาที่ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับพิรุธได้ยากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงระบุตัวตน การยึดครองบัญชี และรูปแบบการโกงแบบ “ได้คืบจะเอาศอก” ที่นักต้มตุ๋นมักใช้ล่อเหยื่อด้วยการจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักเพื่อซื้อใจเหยื่อ นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

ปัจจุบันวิธีการฉ้อโกงใหม่ ๆ มีหลายร้อยเล่มเกวียน ทำให้วิธีการเดิม ๆ ในการตรวจจับและป้องกันนั้นไม่เพียงพอ ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เร่งเครื่องเพื่อตามกลโกงเหล่านี้ให้ทัน เทคโนโลยี Machine learning (ML) และ โซลูชัน AI อย่าง Visa’s Advanced Authorisation (ViAA) ของวีซ่า สามารถขจัดความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกรรมได้โดยการตรวจจับความผิดปกติและภัยคุกคามอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ไม่มีทรัพยากรในการจัดการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง

ข่าวดีอีกเรื่องคือการยอมรับการชำระด้วยบัตรเวอร์ชวล (virtual card) ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้งานได้เหมือนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงินทั่ว ๆ ไปในกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ใช้หมายเลขบัตรแบบใช้ครั้งเดียวและจํากัดเวลาในการชำระเงินแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งที่ทำให้บัตรเวอร์ชวลแตกต่างจากบัตรทั่วไปคือมันมาพร้อมกับ Dynamic CVV2 (dCVV2)

บนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระแบบมาตรฐานทั่วไปจะมีตัวเลข CVV2 จำนวน 3 หลักพิมพ์ลงบนด้านหลังของบัตร หากตัวเลขดังกล่าวถูกมิจฉาชีพล่วงรู้ ก็จะสามารถใช้บัตรและนำเลขกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำธุรกรรมที่ฉ้อโกงได้ แต่ด้วย Dynamic CVV2 ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยระหว่างการชำระเงินออนไลน์ผู้ถือบัตรจะกรอกเลข Dynamic CVV2 (dCVV2) ปัจจุบัน แล้วหลังจากนั้นระบบ VisaNet จะทำการตรวจสอบรหัสด้วยฟังก์ชันการตรวจสอบสิทธิ์ dCVV2 Authenticate เพื่อยืนยันตัวตน โดยเทคโนโลยี dCVV2 นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำของบัตรที่ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการโจรกรรมและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องก้บการฉ้อโกงต่าง ๆ ได้อีกด้วย

  1. ธุรกิจ SMB มองไปยังอนาคต แต่ต้องการตัวช่วยสู่ความสำเร็จ

ในปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ในเอเชียแปซิฟิกจะยังประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้สร้างการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแบบเท่าเทียม ที่เจ้าของธุรกิจรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่ และธุรกิจ SMB เหล่านี้ในภาคอื่น ๆ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีที่ฉลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้นมาใช้งานด้วยเช่นกัน

หมายความว่า SMB จะช่างเลือกมากขึ้นในการยอมรับโซลูชันการชำระเงินในปี 2567 นี้ พวกเขาต้องการการชำระเงินแบบดิจิทัลที่สะดวก เชื่อถือได้ และไร้รอยต่อ ควบคู่ไปกับการขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศเติบโตขึ้น ส่งผลให้ SMB จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้นเป็นอันดับแรก

“โซลูชันการชำระเงินที่ใช้งานได้จริงและเหมาะกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ คือ บัตรเวอร์ชวล ซึ่งบัตรเวอร์ชวลเพื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องผลิต ถือเป็นความคุ้มทุนเพราะผู้ประกอบการสามารถขอบัตรเวอร์ชวลได้มากตามที่ต้องการ และลูกจ้างไม่จำเป็นต้องรอให้บัตรพลาสติกจัดส่งมาให้ บัตรเวอร์ชวลยังสามารถตั้งค่าได้อย่างรวดเร็วและกำหนดวงเงินได้ตามต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับธุรกิจ SME เพราะการชำระเงินไม่จำเป็นต้องรวมที่ศูนย์กลางและลูกจ้างสามารถทำการชำระได้อย่างอิสระ ขณะที่บริษัทยังคงควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย” ปุณณมาศ กล่าวเสริม

นอกจากนี้เรายังจะเห็นธุรกิจ SMB หันไปหาแหล่งเงินทุนที่คล่องตัวและยืดหยุ่นกันมากขึ้น เช่น บัตรที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการชำระเงินยังคงขับเคลื่อนต่อไปในเอเชียแปซิฟิก สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือระบบนิเวศการชำระจะต้องอยู่ต้นแถว เพราะความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศทางการเงินเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาภูมิทัศน์ของเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน

โฉมหน้าระบบนิเวศการชำระของเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระด้วยเงินสดเป็นระบบดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และความสามารถของผู้บริโภคในการจ่ายและรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง

ความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งให้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มการสมัครสมาชิก การค้าออนไลน์และโซเชียลคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินแบบ on-demand

ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2567 นี้ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงยังจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการชำระเงินในระบบดิจิทัลต่อไปเพราะทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่างมองหาวิธีการชำระและรับชำระที่รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และไร้รอยต่อ ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเราคาดหวังว่าโซลูชันใหม่ ๆ จะถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น”

 1. การชำระไม่ใช่แค่เรื่องของวิธีการ แต่สำคัญที่เมื่อไร

เมื่อผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการชำระแบบดิจิทัล ความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงแค่หาโซลูชันที่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่สำคัญที่การนำเสนอโซลูชันนั้น ๆ ให้กับลูกค้าต้องเกิดขึ้นในเวลาที่ใช่

สิ่งนี้เป็นเสน่ห์ของการเงินแบบฝังตัว (embedded finance) คือการผสานบริการด้านการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอขายประกันแก่ผู้ซื้อที่จุดชำระเงิน ขณะที่บริการ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระเป็นงวดได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ หรือแอปชอปปิง

คล้ายคลึงกับเรื่องราวของดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรชำระเงินต่าง ๆ ง่ายดายขึ้นผ่านการชำระแบบดิจิทัล และโซลูชัน Mobile-as-a-Service (MaaS) ที่ผนวกการชำระเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผน จองตั๋ว และจ่ายค่าโดยสารการเดินทางได้ในที่เดียว

โอกาสในลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นในการชำระแบบ B2B โดยวีซ่าและบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่าง BCG พบว่า ภายในปี 2568 การเงินแบบฝังตัวจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า 242 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่ผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB)

 

2. โฉมหน้าการชำระเงินแบบ B2B จะถูกปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

อีกไม่นานจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมโลกธุรกิจเมื่อคลื่นลูกใหม่ของผู้นำเจน Z และมิลเลนเนียลก้าวขึ้นมามีบทบาท พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และความคาดหวังของพวกเขานั่นเองที่ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน B2B ให้มีโฉมหน้าและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั่น

มีสองพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างแรกคือการทำงานร่วมกัน ระบบที่ต่างกันจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อได้มากน้อยเพียงใด มันจำเป็นต้องมีนักพัฒนา ธุรกิจ และภาครัฐ มาร่วมมือกันและใช้งานการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ APIs แบบเปิดที่สามารถรองรับวิธีการชำระแบบต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มเดียว เช่นเดียวกับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่อีกไม่นานจะสามารถชำระเงินอย่างไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์ม SAP ด้วยบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการชำระเงินหรือออกจากระบบอีกต่อไป

พลังอย่างที่สอง คือ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันการชำระเงินแบบ B2B ที่สามารถทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเพราะ รวบรวมบริการต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อาทิ การชำระเงิน การกู้ยืม และการจัดการใบแจ้งหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานด้านการเงินที่สำคัญให้จบได้ในอินเตอร์เฟซเดียว

 3. ความเสี่ยงมีให้เห็นบ่อยขึ้น แต่จับพิรุธได้ยากขึ้น

การชำระเงินแบบดิจิทัลที่เติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Generative AI ที่สร้างขึ้นบนโมเดลภาษาขนาดใหญ่เริ่มเลียนแบบการตอบสนองที่เหมือนมนุษย์ได้เนียนขึ้น และมิจฉาชีพสามารถใช้ความสามารถของมันไปสร้างอีเมลหลอกลวง และข้อความหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยการใช้ภาษาที่ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับพิรุธได้ยากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงระบุตัวตน การยึดครองบัญชี และรูปแบบการโกงแบบ “ได้คืบจะเอาศอก” ที่นักต้มตุ๋นมักใช้ล่อเหยื่อด้วยการจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักเพื่อซื้อใจเหยื่อ นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

ปัจจุบันวิธีการฉ้อโกงใหม่ ๆ มีหลายร้อยเล่มเกวียน ทำให้วิธีการเดิม ๆ ในการตรวจจับและป้องกันนั้นไม่เพียงพอ ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เร่งเครื่องเพื่อตามกลโกงเหล่านี้ให้ทัน เทคโนโลยี Machine learning (ML) และ โซลูชัน AI อย่าง Visa’s Advanced Authorisation (ViAA) ของวีซ่า สามารถขจัดความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกรรมได้โดยการตรวจจับความผิดปกติและภัยคุกคามอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ไม่มีทรัพยากรในการจัดการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง

ข่าวดีอีกเรื่องคือการยอมรับการชำระด้วยบัตรเวอร์ชวล (virtual card) ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้งานได้เหมือนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงินทั่ว ๆ ไปในกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ใช้หมายเลขบัตรแบบใช้ครั้งเดียวและจํากัดเวลาในการชำระเงินแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งที่ทำให้บัตรเวอร์ชวลแตกต่างจากบัตรทั่วไปคือมันมาพร้อมกับ Dynamic CVV2 (dCVV2)

บนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระแบบมาตรฐานทั่วไปจะมีตัวเลข CVV2 จำนวน 3 หลักพิมพ์ลงบนด้านหลังของบัตร หากตัวเลขดังกล่าวถูกมิจฉาชีพล่วงรู้ ก็จะสามารถใช้บัตรและนำเลขกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำธุรกรรมที่ฉ้อโกงได้ แต่ด้วย Dynamic CVV2 ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยระหว่างการชำระเงินออนไลน์ผู้ถือบัตรจะกรอกเลข Dynamic CVV2 (dCVV2) ปัจจุบัน แล้วหลังจากนั้นระบบ VisaNet จะทำการตรวจสอบรหัสด้วยฟังก์ชันการตรวจสอบสิทธิ์ dCVV2 Authenticate เพื่อยืนยันตัวตน โดยเทคโนโลยี dCVV2 นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำของบัตรที่ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการโจรกรรมและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องก้บการฉ้อโกงต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 

4. ธุรกิจ SMB มองไปยังอนาคต แต่ต้องการตัวช่วยสู่ความสำเร็จ

ในปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ในเอเชียแปซิฟิกจะยังประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้สร้างการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแบบเท่าเทียม ที่เจ้าของธุรกิจรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่ และธุรกิจ SMB เหล่านี้ในภาคอื่น ๆ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีที่ฉลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้นมาใช้งานด้วยเช่นกัน

หมายความว่า SMB จะช่างเลือกมากขึ้นในการยอมรับโซลูชันการชำระเงินในปี 2567 นี้ พวกเขาต้องการการชำระเงินแบบดิจิทัลที่สะดวก เชื่อถือได้ และไร้รอยต่อ ควบคู่ไปกับการขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศเติบโตขึ้น ส่งผลให้ SMB จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้นเป็นอันดับแรก

“โซลูชันการชำระเงินที่ใช้งานได้จริงและเหมาะกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ คือ บัตรเวอร์ชวล ซึ่งบัตรเวอร์ชวลเพื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องผลิต ถือเป็นความคุ้มทุนเพราะผู้ประกอบการสามารถขอบัตรเวอร์ชวลได้มากตามที่ต้องการ และลูกจ้างไม่จำเป็นต้องรอให้บัตรพลาสติกจัดส่งมาให้ บัตรเวอร์ชวลยังสามารถตั้งค่าได้อย่างรวดเร็วและกำหนดวงเงินได้ตามต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับธุรกิจ SME เพราะการชำระเงินไม่

จำเป็นต้องรวมที่ศูนย์กลางและลูกจ้างสามารถทำการชำระได้อย่างอิสระ ขณะที่บริษัทยังคงควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย” ปุณณมาศ กล่าวเสริม

นอกจากนี้เรายังจะเห็นธุรกิจ SMB หันไปหาแหล่งเงินทุนที่คล่องตัวและยืดหยุ่นกันมากขึ้น เช่น บัตรที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการชำระเงินยังคงขับเคลื่อนต่อไปในเอเชียแปซิฟิก สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือระบบนิเวศการชำระจะต้องอยู่ต้นแถว เพราะความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศทางการเงินเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาภูมิทัศน์ของเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน

วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศปรับเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสองท่าน

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click