November 21, 2024

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัลการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 41) และรางวัลการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในวันนี้ (24 เมษายน 2567) ที่ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเฟ้นหาและอนุรักษ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศไทย ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดี และสร้างต้นแบบเกษตรกร ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมข่าวคุณภาพสูงเป็นหลัก และยังมีการเชื่อมโยงการตลาดให้เกษตรกรผู้ชนะการประกวดเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ ขยายช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน

นายภูมิธรรม กล่าวว่า ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทย เกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกร

กว่า 4.7 ล้านครัวเรือน และประชาชนในประเทศส่วนใหญ่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก สะท้อนถึงความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงเกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกรจำนวนมาก รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นถึงความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรไทยที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ดำเนินนโยบาย พัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมชาวนา ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

นายภูมิธรรมเน้นย้ำว่า ข้าวหอมมะลิถือเป็นข้าวในตลาดข้าวพรีเมียมที่มีชื่อเสียงด้วยอัตลักษณ์เฉพาะตัว  มีเม็ดยาวเรียวสวย สีมันวาว หุงแล้วมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสสัมผัสนิ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แม้ราคาจะสูงกว่าข้าวชนิดอื่นแต่ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การยกระดับเชิงนโยบายทั้งด้านการผลิตและการควบคุมคุณภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และให้ประเทศไทยยังคงไว้ซึ่งแหล่งผลิตและส่งออกข้าวหอมมะลิชั้นเลิศของโลก ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวสำคัญของโลก โดยในปี 2566 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้สูงถึง 8.76 ล้านตัน นับได้ว่าสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ากว่า 178,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 28 โดยข้าวหอมมะลิยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ดีแม้ราคาสูงกว่าคู่แข่ง โดยมีปริมาณส่งออกในปี 2566 อยู่ที่ 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 5.6 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน แคนาดา และฮ่องกง

“ตนเดือนเดินทางไปหลายประเทศได้รับความชื่นชมในข้าวไทย ไม่ว่าจะเป็นจีนในหลายมณฑล สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ ทุกคนต่างชื่นชมถึงแม้ราคาจะสูงกว่าที่อื่น แต่ยังสัมผัสได้ในความพิเศษของข้าวหอมมะลิไทย ”นายภูมิธรรมกล่าว

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทยวันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรายบุคคล และประเภทสถาบันเกษตรกร ในครั้งนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจาก 22 จังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่งตัวอย่างข้าวเข้าประกวดจำนวนรวม 967 ตัวอย่าง และได้นำตัวอย่างข้าวขาวของผู้ที่สมัครเข้าร่วมประกวดฯ ตรวจสอบคุณภาพข้าวทางวิชาการ ทั้งเคมีและกายภาพ ส่งให้คณะกรรมการตัดสินการประกวดทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศพิจารณาคัดเลือกจนได้ผู้ได้รับรางวัลรวมจำนวน 21 ราย แบ่งเป็น เกษตรกรรายบุคคล 18 ราย และสถาบันเกษตรกร 3 ราย เป็นโล่รางวัลเกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล รวมกว่า 625,000 บาท

โดยในวันนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มอบรางวัลแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงสี ผู้ผลิตข้าวสารคุณภาพ ผู้ชนะการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ.2566 รวม 11 รางวัล ในประเภทต่างๆ อาทิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมไทย และข้าวสารเหนียวเมล็ดยาว สำหรับรายชื่อผู้ชนะการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 ประกอบด้วย

ประเภทเกษตรกรรายบุคคล : ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ นายณรงค์  จันทรุ่ง จ.อุบลราชธานี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 นางจันทร์สมสบบง จ.พะเยา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 นายสุเรียนสังข์ลาย จ.สุรินทร์

ประเภทสถาบันเกษตรกร :  ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิสงเปลือย ม.5 ต.เมืองทอง จ.ร้อยเอ็ด

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. นครพนม จำกัด จ.นครพนม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ศูนย์ข้าวชุมชนข้าวปลอดสารพิษตำบลแม่อ้อ จ.เชียงราย

โดยภายในงานได้มีการ MOU ซื้อ-ขายข้าวเปลือกหอมมะลิล่วงหน้าในราคานำตลาด สูงกว่าราคาตลาด 500 บาท/ตัน จำนวน 6 คู่ กว่า 343.4 ตัน ด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้าวที่มีคุณภาพสูงมีตลาดรองรับ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กรมการค้าภายใน www.dit.go.th หรือ Line@ MR.DIT

ด้วยวาระแห่งการเฉลิมฉลองสู่การขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลก หรือคนไทยเชื้อสายจีน ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้”

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ร่วมกับบริษัท นูเรมเบิร์ก เมสเซ่ จำกัด ประเทศเยอรมนี ร่วมจัดพิธีเปิดงาน BIOFACH Southeast Asia 2019 และ Natural Expo Southeast Asia 2019 ครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ ระดมผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าธรรมชาติทั้งในประเทศและระดับสากล เข้าร่วมออกบูธแสดงและจำหน่ายสินค้ามากกว่า 300 ราย หรือกว่า 400 บูธ พร้อมร่วมประชุมและการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) โชว์ศักยภาพไทยผู้นำด้านการผลิต การค้า และการบริโภคสินค้าระดับสากล ภายใต้แนวคิดการจัดงาน “Organic Gateway to Southeast Asia” ระหว่าง 11 - 14 กรกฎาคมนี้ ณ ฮอลล์ 7 - 8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า งาน BIOFACH Southeast Asia 2019 และ Natural Expo Southeast Asia 2019 เป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์และสินค้าธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นเวทีแห่งการเจรจาธุรกิจระดับสากล โดยภายในงานได้รวมเหล่าเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการอินทรีย์ของไทยไว้มากที่สุด เสมือนเป็นตลาดการค้าเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียนครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือพันธมิตรระหว่างผู้นำด้านการจัดงานแฟร์ออร์แกนิคใหญ่ระดับโลก บริษัท นูเรมเบิร์ก เมสเซ่ จำกัด ประเทศเยอรมนี ภายใต้ความมุ่งหวังปลุกกระแสผู้บริโภคในปัจจุบันให้หันมาบริโภคสินค้าจากธรรมชาติและออร์แกนิคเพื่อสุขภาพที่ดี อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นรากฐานเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนเกษตรกรอินทรีย์ไทยให้มีรายได้เพิ่มรวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ งานในครั้งนี้ยังถือเป็นการยกระดับสินค้าอินทรีย์ให้ได้มาตรฐานสากล ขณะเดียวกันยังโชว์ศักยภาพความพร้อมของประเทศไทยทั้งทางด้านการเป็นผู้นำด้านการผลิต การค้า และการบริโภคสินค้าอินทรีย์ เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง และพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในอาเซียนอย่างครบวงจร

สำหรับการจัดแสดงสินค้าในปีนี้ มีจำนวนบูธทั้งสิ้นกว่า 400 บูธ ครอบคลุมสินค้าอินทรีย์ทุกกลุ่มเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย ทั้งอาหาร ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เส้นผม และเครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์เลี้ยง, ภาชนะและบรรจุภัณฑ์, สารสกัดสะเดากำจัดแมลงศัตรูพืช, ปุ๋ยอินทรีย์, สินค้าไบโอออร์แกนิคสำหรับใช้ในบ้านแทนสารเคมี รวมทั้งบริการอินทรีย์ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ร้านสปา และสถานที่ท่องเที่ยว โดยปีนี้ได้แบ่งบูธและการจัดพื้นที่ออกเป็น 6 โซน ได้แก่ 1) โซนสินค้าอินทรีย์มาตรฐานสากล 2) โซนสินค้าอินทรีย์มาตรฐานภายในประเทศ 3) โซนสินค้าธรรมชาติ 4) โซนร้านอาหารอินทรีย์ เช่น Lemon Farm, รังสิตฟาร์ม, อริยะ ออร์แกนิค คาเฟ่, กินดีเฮลตี้ปิ่นโต, เพาะรักฟู้ดโปรดักส์, บจก.ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบจก.คิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค (ไทยแลนด์) โดยมาพร้อมกับเมนูเด็ด ได้แก่ น้ำพริกเผาลูกหม่อน, บะหมี่ผักโมโรเฮยะปรุงสำเร็จ, ข้าวเหนียวอัญชันหมูหลุมทอด, ขนมจีบ ซาลาเปา ออร์แกนิค, ข้าวอบธัญพืช, รวมทั้งเมนูมังสวิรัติและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอีกเพียบ 5) โซนคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 10 หน่วยงาน และ 6) คูหาพิเศษ เช่น คูหามูลนิธิแก้วเกษตร, Organic Village ที่จำหน่ายสินค้าท้องถิ่นจากชุมชนหมู่บ้าน, กรมการค้าต่างประเทศ, ASEAN Pavilion, Sacict เป็นต้น

นายบุณยฤทธิ์ กล่าวต่อว่า “ในปีนี้มีสินค้านวัตกรรมที่น่าสนใจ อาทิ ผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ เช่น เส้นพาสต้า, สปาเก็ตตี้, น้ำนมข้าวยาคูออร์แกนิค, อาหารเสริมสำหรับเด็ก, น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำกะทิไขมันต่ำอินทรีย์, ซอสปรุงรสจากมะพร้าวอินทรีย์, เวชสำอางออร์แกนิคจาก สะเดาเพื่อรักษาอาการจากโรคผิวหนัง, ผลิตภัณฑ์ Superfood (ธัญพืชสกัด), Energy Gel (เจลให้พลังงานสกัดผลไม้ เช่น องุ่น, สตรอว์เบอร์รี), เครื่องสำอางออร์แกนิค และผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ภาชนะบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การสัมมนาทางวิชาการด้านการตลาดสินค้าอินทรีย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหัวใจสำคัญของงาน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเครือข่ายการค้า และให้ความรู้ที่ทันสมัยด้านเกษตรอินทรีย์แก่ผู้เข้าร่วมงาน โดยมีหัวข้อที่น่าใจ เช่น ความท้าทายของธุรกิจออร์แกนิคในประเทศไทย, สถานการณ์ด้านธุรกิจผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคเพื่อความงามและสุขภาพในประเทศไทย เป็นต้น จากเหล่ากูรูผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเกษตรอินทรีย์ทั้งไทยและต่างประเทศ อีกทั้งยังมีเวิร์คช้อปสร้างอาชีพเสริมรายได้ เช่น สาธิตการจัดทำมอสบอล (โคเคดามะ), จัดสวนขวด, กำยานออร์แกนิค, ลิปบาล์มออร์แกนิค, ยาย้อมผมสีผมออร์แกนิค, ถุงผ้ามัดย้อม เป็นต้น นอกจากนี้ เป็นอีกครั้งที่ภายในงานจัดให้มีวันเจรจาธุรกิจ (Trade day) สำหรับ  ผู้ที่สนใจธุรกิจออร์แกนิคอีกด้วย

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยังเปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดสินค้าออร์แกนิคโดยภาพรวมว่า “ปัจจุบันความนิยมในการบริโภคสินค้าออร์แกนิคจึงยิ่งแผ่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเทรนด์ของโลก ซึ่งจากแนวโน้มดังกล่าวทำให้ตลาดออร์แกนิคโลกมีมูลค่าสูงถึง 104,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวประมาณปีละ 20% ยุโรปและอเมริกาเหนือ ถือเป็นตลาดเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมกันร้อยละ 90 โดยแบ่งเป็น ตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าประมาณ 45,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (สัดส่วนร้อยละ 44) รองลงมาคือ ตลาดเยอรมนี มีมูลค่าประมาณ 10,040 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (สัดส่วนร้อยละ 10) นอกจากนี้ยังมีตลาดโซนอื่นๆ เช่น เอเชีย จีน และออสเตรเลีย ส่วนตลาดสำคัญในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยเฉพาะไทยมีมูลค่าตลาดภายในประเทศประมาณ 3,000 ล้านบาท และมูลค่าการส่งออกประมาณ 2.1 พันล้านบาท และมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% ต่อปี”

สำหรับพื้นที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยจากเดิม 357,091 ไร่ เพิ่มขึ้นมา 83% หรือคิดเป็น 0.652 ล้านไร่ ซึ่งมีพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์มากที่สุดเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มอาเซียน รองจากอินโดนิเชีย และฟิลิปปินส์

ด้านนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวเสริมว่า ด้วยเป้าหมายแห่งการผลักดันออร์แกนิคไทยสู่ประตูการค้าโลก และมุ่งหวังในการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในอาเซียน ทางกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้มีนโยบายจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดสินค้าอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2560 - 2564 โดยกำหนดยุทธศาสตร์สำคัญไว้ 4 ยุทธศาสตร์ อันได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน 2) ผลักดันมาตรฐานและระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ 3) พัฒนาและขยายตลาดสินค้าและบริการอินทรีย์ และ 4) พัฒนาสร้างมูลค่าสินค้าและบริการอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าอินทรีย์ไทยให้มากขึ้น ดังนั้นการร่วมมือกับทางบริษัท นูเรมเบิร์ก เมสเซ่ จำกัด ประเทศเยอรมนี จัดงาน BIOFACH Southeast Asia 2019 และ Natural Expo Southeast Asia 2019 งานแสดงและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์และสินค้าธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 จึงเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากแนวคิดการจัดงานในปี 2018 : Southeast Asia ; Home of Organic ที่ผ่านมา อีกทั้งไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ  และได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของประชากรโลก บวกกับความพร้อมด้านภูมิศาสตร์และการขนส่งที่ดี จึงมีความได้เปรียบสูงที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน ซึ่งด้วยองค์ประกอบดังกล่าวจะช่วยสร้างความแตกต่างทางด้านคุณภาพให้กับสินค้าออร์แกนิคของไทย และช่วยขยายตลาด ตลอดจนเพิ่มมูลค่าการส่งออกในทุกปีอย่างแน่นอน

ทั้งนี้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าตลอดระยะเวลา 4 วัน จะมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 50,000 คน อีกทั้งจะสามารถสร้างมูลค่าการจำหน่ายสินค้าได้ไม่ต่ำกว่า 72 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 97% ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมส่งเสริม ผลักดัน พร้อมร่วมเปิดโอกาสทางการค้าและการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปตลาดในภูมิภาคและทั่วโลก จึงขอเชิญชวนผู้สนใจสามารถร่วมชมงาน “BIOFACH Southeast Asia 2019 และ Natural Expo Southeast Asia 2019” ได้ในระหว่างวันที่ 11 - 14 ก.ค. 62 ณ ฮอลล์ 7 - 8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยวันเจรจาธุรกิจ B2B (Trade day) วันที่ 11 - 12 กรกฎาคม เวลา 10.00 - 12.30 น. และสำหรับผู้เข้าชมทั่วไป วันที่ 11 - 12 กรกฎาคม เวลา 12.30 - 20.00 น. วันที่ 13 กรกฎาคม เวลา 10.00 - 20 .00 น. และวันที่ 14 กรกฎาคม เวลา 10.00 - 19.00 น. สามารถติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ http://th.biofach-southeastasia.com หรือทาง Facebook Fanpage : Organic & Natural Expo หรือโทร.02-507-5723

X

Right Click

No right click