November 08, 2024

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) ร่วมกับชมรมนักลงทุนเน้นคุณค่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Value Investors Club : CUVI) จัดกิจกรรม CUVI x KAsset Investment Boot Camp เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการลงทุน และการจัดพอร์ตการลงทุน โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก บลจ.กสิกรไทย มาแบ่งปันความรู้ และแชร์ประสบการณ์ รวมถึงให้น้องๆ จัดทำและนำเสนอแผนการจัดพอร์ตกันอย่างเข้มข้น ตลอดหลักสูตร 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และนายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ อาคาร K+ Building เมื่อเร็วๆ นี้

บลจ.กสิกรไทย แต่งตั้ง “วิน พรหมแพทย์” เป็นประธานกรรมการบริหารคนใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. เป็นต้นไป เดินหน้าสานต่อแนวคิด Top of Mind Investment House ครองใจผู้ลงทุนไทย พร้อมต่อยอดความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก J.P. Morgan Asset Management มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการคัดเลือกและจัดสรรสินทรัพย์ทั่วโลก และพันธมิตรที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน Lombard Odier มุ่งเน้นการกำหนดยุทธศาสตร์การลงทุนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ มองผู้นำในทุกยุคล้วนวางรากฐานที่ดีในมิติที่แตกต่างกัน และเชื่อว่าตนจะนำพา บลจ.กสิกรไทย เติบโตได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) แต่งตั้ง “วิน พรหมแพทย์” ขึ้นแท่นประธานกรรมการบริหารคนใหม่ โดยกำหนดให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ นายวินตั้งเป้าให้ บลจ.กสิกรไทย ครองใจผู้ลงทุนไทย พร้อมต่อยอดความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพาร์ทเนอร์ระดับโลก J.P. Morgan Asset Management ที่มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการคัดเลือกและจัดสรรสินทรัพย์ทั่วโลก และกับอีก 1 พันธมิตรที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน Lombard Odier ที่มุ่งเน้นการกำหนดยุทธศาสตร์ในการวางโครงสร้างการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเติมเต็มศักยภาพการบริหารจัดการกองทุน และยกระดับมาตรฐานการทำงานในทุกมิติ

นายวิน มีประสบการณ์การทำงานด้านการลงทุนทางการเงินมากว่า 22 ปี โดยบทบาทการบริหารเงินและการลงทุนได้เริ่มที่สำนักงานประกันสังคม นายวินเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของกองทุนประกันสังคมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกองหนึ่งในประเทศไทยในเวลานั้น ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่สูงถึง 1.3 ล้านล้านบาท จากนั้นนายวินมีโอกาสเข้าสู่ธุรกิจจัดการกองทุน ได้สั่งสมประสบการณ์ทั้งการลงทุนสินทรัพย์ทางการเงินในประเทศ และการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินต่างประเทศ นอกจากนี้ นายวินยังมีประสบการณ์ด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้ากลุ่มไฮเน็ตเวิร์ธ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนบทบาทจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานทำให้นายวินมีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารพอร์ตการลงทุน และเป็นผู้ที่มีทักษะรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารการลงทุน การบริหารการตลาดและการขาย และการบริหารลูกค้า รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน

“ผมภูมิใจที่ได้เข้ามาร่วมงานกับ บลจ.กสิกรไทย ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นทีมจัดการกองทุนมืออาชีพ และเป็นผู้นำระดับ Top 3 ทั้งในธุรกิจกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผมตั้งใจจะใช้ประสบการณ์กว่า 22 ปี เดินหน้าสานต่อแนวคิด Top of Mind Investment House เพื่อให้ผู้ลงทุนไทยได้มีเงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ใน Core Portfolio ที่มีการกระจายลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก และเป็นพอร์ตที่มีความผันผวนน้อย แต่ช่วยต่อยอดความมั่งคั่งได้ในระยะยาว รวมทั้งการคำนึงถึงการลงทุนอย่างยั่งยืนด้วย โดยผู้ลงทุนจะได้รับคำแนะนำการลงทุนและการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทั้งจากทีมงานของ บลจ. กสิกรไทย และจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง J.P. Morgan Asset Management และ Lombard Odier ซึ่งแน่นอนว่า ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและตลาดทุนในปัจจุบันอาจจะทำให้เกิดความกังวล แต่ผมและทีมงาน บลจ.กสิกรไทย มุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้างผู้ลงทุนเพื่อให้ท่านบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งใจไว้” นายวินกล่าว

นายวินกล่าวทิ้งท้ายว่า ผู้นำของ บลจ.กสิกรไทย ในแต่ละยุคล้วนวางรากฐานไว้ไห้เป็นอย่างดีในมิติที่แตกต่างกัน และเชื่อว่าการต่อยอดจากสิ่งที่เป็นจุดแข็งของ บลจ.กสิกรไทย บวกกับกลยุทธ์ใหม่ในยุคของ “วิน พรหมแพทย์” จะนำพาให้ บลจ.กสิกรไทย เติบโตได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

บลจ.กสิกรไทย มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) อยู่ที่ 1.60 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจกองทุนรวม 1.12 ล้านล้านบาท ธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2.37 แสนล้านบาท และธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล 2.40 แสนล้านบาท โดยยังครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมกองทุนรวม (ที่มา: AIMC ณ ก.ค. 67) อีกทั้งยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากหลายสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ อาทิ รางวัลแบรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ของไทย ในหมวดกองทุนรวม จาก Marketeer No.1 Brand Thailand 2024, รางวัล Most Prominent Fund House in Bond Market (7 ปีซ้อน) จาก ThaiBMA Best Bond Awards 2023, รางวัล Best Fund House (7 ปีซ้อน) จาก Best of the Best Awards 2024 และรางวัล Excellence in Innovation จาก Fund Selector Asia Awards 2024 เป็นต้น ทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องการันตีได้ถึงความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนของ บลจ.กสิกรไทย จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ลงทุนไทยและสถาบันการลงทุนชั้นนำทั่วโลก

ปี 2567 นับเป็นปีแห่งการเลือกตั้งที่สำคัญอย่างมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการเลือกตั้งใหญ่เกิดขึ้นหลายประเทศในทุกภูมิภาคทั่วโลก ทั้งที่ผ่านไปแล้วอย่าง รัสเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อังกฤษ และที่ต้อง จับตาอย่างมากคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง ย่อมส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจและกระทบต่อภูมิทัศน์การลงทุนทั่วโลกอย่างแน่นอน

ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ กับจุดเปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจโลก

การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ถือเป็นการเลือกตั้งที่น่าจับตามองมากที่สุดด้วยหลายเหตุผลไม่ว่าจะเป็น อิทธิพลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายจากผู้นำคนใหม่ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งความไม่แน่นอนทางการเมืองนี้สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงและอาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น ในด้านของเศรษฐกิจที่นโยบายของสองผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน โดย โดนัลด์ ทรัมป์ เน้นนโยบายการลดภาษี การลดข้อบังคับทางธุรกิจ และเการเจรจาทางการค้าที่ยุติธรรมและเป็นมิตรต่อธุรกิจ ซึ่งนโยบายเหล่านี้อาจนำไปสู่การเติบโตของภาคธุรกิจในประเทศและการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น ในขณะที่ ความตึงเครียดทางการค้ากับประเทศอื่นอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนระหว่างประเทศ ในขณะที่ คามาลา แฮร์ริส มีนโยบายไม่แตกต่างจาก ประธานาธิบดี โจ ไบเดน มากนัก โดยยังคงเน้นนโยบายการลงทุนในพลังงานสะอาด การเพิ่มภาษีคนรวย และการเสริมสร้างระบบสวัสดิการสังคม โดยนโยบายเหล่านี้อาจนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจสร้างความไม่แน่นอนและความผันผวนในตลาดการลงทุน

ทิศทางการลงทุนก่อน-หลังเลือกตั้ง

เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงภาพรวมการลงทุนในตลาดช่วงระหว่างก่อนและหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ผ่านมา จะพบว่าตลาดหุ้นผันผวนสูงทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง แต่การฟื้นตัวของตลาดหลังการเลือกตั้งมักเป็นไปในทิศทางที่ดี เนื่องจากมีปัจจัยจากนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน เช่น การเลือกตั้งในปี 2559 ที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นตอบสนองในทางบวกช่วงหลังการเลือกตั้ง ตรงกันข้ามกับช่วงก่อนการเลือกตั้งที่ตลาดมีความผันผวนสูง และการเลือกตั้งในปี 2563 ที่โจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นต่างมีความผันผวนทั้งก่อน และหลังการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน และสำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ คาดการณ์ว่าภาพรวมการลงทุนของตลาดจะอยู่ในทิศทางบวก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อได้ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศ ยังคงแข็งแกร่ง แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงแรก แต่หลังจากสถานการณ์เงินเฟ้ออ่อนตัวดีขึ้น พร้อมทั้งถ้อยแถลงจากประธาน FED ล่าสุดมีการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้ โดยที่ตลาดคาดการณ์ว่า FED มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้

นอกจากนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น หลังจากที่มีการเปลี่ยนผู้ท้าชิงจากฝั่งเดโมแครต ส่งผลให้การแข่งขันของทั้งสองพรรคกลับมาสูสีกัน และยากที่จะคาดเดาว่าใครจะมาเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ทำให้เกิดความผันผวนสูงกว่าเมื่อเทียบกับในอดีต ดังนั้น การกระจายการลงทุนและจัดการด้านความเสี่ยงถือเป็นหลักสำคัญในสภาวะตลาดเช่นในปัจจุบัน

กระจายการลงทุนตามหลักการ Risk-Based Asset Allocation คือทางออกในการรับมือกับความผันผวน ALL ROADS Series โอกาสรับผลตอบแทนที่มั่นคง จำกัดผลกระทบแม้ในสถานการณ์ไม่แน่นอน

ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและคาดการณ์ได้ยากจากสถานการณ์เช่นนี้ KBank Private Banking แนะนำให้นักลงทุนจัดสรรเงินลงทุนตามหลักการ Risk-Based Asset Allocation โดย แบ่งเงินลงทุน 50-70% ของพอร์ตลงทุนในกองทุน ALL ROADS Series ไม่ว่าจะเป็น K-ALLRD-UI-A(A),  K-ALLGR-UI-A(A) และ K-ALLEN-UI-A(A) ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก ช่วยให้พอร์ตการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนพร้อมทั้งจำกัดความเสียหายในทุกสภาวะตลาด และยังมาพร้อมกลไกอัจฉริยะที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สมดุลโดยอัตโนมัติ ในสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน อาทิ ในช่วงตลาดปกติเพิ่มอัตราทดเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ขณะเดียวกันในช่วงตลาดผันผวน ลดสัดส่วนการลงทุน ถือครองเงินสดมากขึ้นเพื่อลดความเสียหาย ที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ กองทุนสามารถจัดการกับความเสียหายให้อยู่ในกรอบที่กำหนด สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในสภาพตลาดที่หลากหลาย โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมากองทุนหลัก LO FUNDS - ALL ROADS Series ในต่างประเทศสร้างผลตอบแทนและควบคุมความผันผวนได้ดีสมํ่าเสมอ และสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ ถ้าลงทุนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป

นอกเหนือจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่นักลงทุนต้องติดตาม ยังมีสิ่งอื่นที่นักลงทุนต้องจับตาเพิ่มเติม ไม่ว่าเป็น ความกังวลต่อเรื่อง Recession ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือยังเป็น Soft Landing ตามที่เคยคาดไว้ การลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่จะลดครั้งละ 0.25% ในเดือนกันยายน พฤศจิกายน และธันวาคมในปีนี้ โดยคาดว่าดอกเบี้ยจะลดลงไปอยู่ที่ 3.75% และคงอยู่ในระดับสูง (Higher for longer) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะจบลง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงได้ในทุกสถานการณ์  

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v


คำเตือน

กองทุน ALL ROADS Series ประกอบด้วย กองทุน K-ALLRD-UI-A(A),  K-ALLGR-UI-A(A) และ K-ALLEN-UI-A(A) (เป็นกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ

  1. ระดับความเสี่ยงกองทุน : ระดับ 8+ / ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน : การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน
  2. โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า/เงื่อนไขผลตอบแทน/ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  3. ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
  4. สนใจลงทุน และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทที่จัดการและผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

 

กระทบการส่งต่อทรัพย์สินครั้งใหญ่ ชูบริการใหม่ Family Business Transformation ปฏิรูปธุรกิจครอบครัวให้เป็นระบบ สร้างความเติบโต และอยู่รอดอย่างมั่นคงยั่งยืน

จากสถิติผลตอบแทนย้อนหลังในช่วง 3-10 ปี พบว่าหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ให้ผลตอบแทนเหนือกว่าหุ้นในตลาด (Public Market) ที่ 5-9% อีกทั้งท่ามกลางสภาพตลาดทุนที่ยังผันผวน การลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) กำลังเป็นที่พูดถึงว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจให้พอร์ตการลงทุนได้ ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น เรื่องระยะเวลาที่นักลงทุนจะถูกล็อคเงินลงทุน (Lock-up Period) ทำให้ต้องถือครองสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นเวลาหลายปี ไม่สามารถซื้อขายได้ตามต้องการ แต่ในปัจจุบัน มีกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดกึ่งสภาพคล่อง หรือ Semi Liquid Private Asset Funds ที่มาช่วยลดข้อจำกัดเรื่องสภาพคล่อง ซึ่งนักลงทุนสามารถถอนเงินลงทุนบางส่วนได้ในช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงผลตอบแทนสูงจากสินทรัพย์นอกตลาดได้โดยไม่ติดปัญหาเรื่องสภาพคล่อง

กลยุทธ์จัดพอร์ตลงทุนสินทรัพย์นอกตลาดแบบ Core & Satellite

KBank Private Banking มุ่งพัฒนาและหาโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนำเสนอกลยุทธ์จัดพอร์ตลงทุนสินทรัพย์นอกตลาดในรูปแบบ Core & Satellite เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด กระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ต โดยนักลงทุนสามารถวางแผนการจัดพอร์ตตามสไตล์ที่ต้องการได้ โดยมีกองทุนให้เลือกหลากหลาย โดยในสัดส่วนหลักจะแนะนำให้ลงทุนในกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดกึ่งสภาพคล่อง (Semi Liquid Private Asset Funds) ที่มาพร้อมเงื่อนไขการลงทุนที่น่าสนใจ อาทิ ลดข้อจำกัดเรื่องสภาพคล่องด้วยระยะเวลาล็อคเงินลงทุนระหว่าง 12-18 เดือน สามารถเข้าลงทุนได้ตั้งแต่วันแรก ไม่ต้องนำเงินลงทุนไปพักคอยก่อน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้นักลงทุนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ทุกเดือน ขายได้ทุกไตรมาส โดย KBank Private Banking ได้จับมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้จัดการกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดระดับโลก อย่าง EQT Nexus ที่ระดมทุนหุ้นนอกตลาดได้เป็นอันดับ 3 ของโลกและ Apollo ที่มียอดการปล่อยสินเชื่อนอกตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลก ส่วนในสัดส่วนเสริม นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนหุ้นนอกตลาด ที่บริหารกองทุนโดยหลากหลายผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการกองทุนโดยเน้นคัดสรรธุรกิจที่มีการเติบโตตามเมกะเทรนด์ และกระจายการลงทุนในบริษัทนอกตลาดทั่วโลก กลยุทธ์การจัดพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์นอกตลาดนับเป็นอีกพัฒนาการที่สำคัญของ KBank Private Banking ที่ได้นำเสนอให้กับลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน

2 กองทุนสินทรัพย์นอกตลาดกึ่งสภาพคล่องที่น่าจับตา

KBank Private Banking นำเสนอสองกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดกึ่งสภาพคล่อง ได้แก่ กองทุนเปิดเค โกลบอลไพรเวทอิควิตี้ (K-GPEQ-UI) ที่บริหารงานโดย EQT Nexus ผู้จัดการกองทุนหุ้นนอกตลาดระดับโลกจากสวีเดนที่เน้นลงทุนในธุรกิจนอกตลาดที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลก เช่น การดูแลสุขภาพและเทคโนโลยี นักลงทุนสามารถเริ่มลงทุนครั้งแรกที่จำนวนเงินขั้นต่ำ 500,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มได้ทุกเดือน และขายคืนหน่วยลงทุนได้เป็นรายไตรมาส โดยมีระยะเวลาการล็อคเงินลงทุนเพียง 18 เดือน

นอกจากการลงทุนในหุ้นนนอกตลาดแล้ว แล้วยังมีการลงทุนในรูปแบบของสินเชื่อนอกตลาดซึ่งเป็นการปล่อยกู้โดยตรงให้กับบริษัทเอกชน โดย KBank Private Banking ร่วมกับ Apollo นำเสนอกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไพรเวท เครดิต โซลูชั่น (MPCREDIT-U1) ที่เน้นลงทุนในบริษัทที่มีความสามารถในการชำระหนี้สูง นักลงทุนสามารถเริ่มต้นขั้นต่ำที่ 500,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนได้ทุกเดือน ขายคืนหน่วยลงทุนได้เป็นรายไตรมาส ด้วยระยะเวลาการล็อคเงินลงทุนเพียง 12 เดือน

การลงทุนในกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดกึ่งสภาพคล่องของ KBank Private Banking ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงสามารถเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากและมีสภาพคล่องยิ่งขึ้น ทั้งนี้ KBank Private Banking มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับความต้องการของนักลงทุน เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีและสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในปัจจุบัน  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ KBank Private Banker ที่ดูแลท่าน หรือโทร 02-8888811 หรือ ข้อมูลเพิ่มเติมบริการของ KBank Private Banking ที่ https://kbank.co/3NrNbw9


หมายเหตุ:

  • กองทุน K-GPEQ-UI สามารถขายหน่วยลงทุนได้รายไตรมาส เมื่อถือครองหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นระยะเวลามากกว่า 18 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่บริษัทจัดการทำรายการขายหน่วยลงทุนนั้น
  • กองทุน MPCREDIT-UI สามารถขายหน่วยลงทุนได้รายไตรมาส หลังจากระยะเวลาการล็อกเงินลงทุน 12 เดือน มิเช่นนั้น จะมีค่าปรับ 2%
  • กองทุนรวมที่เสนอขายสําหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น
  • กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และขอคำแนะนำเพิ่มเติม ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือ ได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
Page 1 of 5
X

Right Click

No right click