×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

 จากผลการจัดอันดับความยั่งยืนของบริษัทชั้นนำทั่วโลกประจำปี 2566 ของ S&P Global ในดัชนี DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) หรือดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของดาวโจนส์นั้น บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก (DJSI WORLD) และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (DJSI Emerging Markets) และยังได้คะแนนสูงสุดด้านมิติสังคมในกลุ่มการบริการทางการแพทย์

ดัชนี DJSI นี้ เน้นการประเมินความยั่งยืนของธุรกิจใน 3 ด้าน ได้แก่ การรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลสังคม และการกำกับดูแลบนหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นหลักดำเนินธุรกิจที่ BDMS ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพื่อส่งมอบบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษาโดยไม่เลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ ตามกลยุทธ์ขององค์กรที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง (BDMS Innovative Healthcare) การบริการแพทย์ทางไกล เพื่อสุขภาพใจ (BeDee Tele Mental Health) และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (BDMS Green Healthcare) เป็นต้น

กลยุทธ์ BDMS Innovative Healthcare ที่นับเป็นความสำเร็จด้านนวัตกรรมที่น่าภาคภูมิใจนั้น ได้แก่ การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ หรือ Direct Anterior Approach Hip Replacement (DAA) วิธีใหม่นี้ช่วยลดระยะเวลาฟื้นตัวของผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ 50 ทำให้ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้เข้ารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ เพื่อต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว BDMS ยังจัดตั้งโครงการอบรมเทคนิคนวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ โดยร่วมกับ มหาวิทยาลัยการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีแพทย์ที่ผ่านการอบรมแล้วกว่า 180 ราย ใน 170 โรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้นี้ไปสู่เวทีวิชาการในระดับนานาชาติ ทั้งในรูปแบบของบทความวิชาการ การอบรมแพทย์เฉพาะทาง ตลอดจนถ่ายทอดสดการผ่าตัด (Live surgery) ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำในต่างประเทศ เพื่อตอกย้ำถึงความสามารถในการรักษาพยาบาลของประเทศไทย อันสอดคล้องกับนโยบาย ของชาติในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง การรักษาพยาบาลของโลก ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติแล้วมากกว่า 750 ราย

สำหรับนวัตกรรมการบริการการแพทย์ทางไกล BDMS ได้พัฒนา BeDee Tele Mental Health เพื่อดูแลสุขภาพใจ โดยร่วมกับมูลนิธิเวชดุสิต ฯ ขยายโอกาสในการดูแลสุขภาพให้กับพนักงานในเครือ ฯ และ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการสุขภาพ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมบริการการแพทย์ในอนาคต โดยมุ่งหวังสร้างบุคลากรที่มีพลังกาย และพลังใจที่เข้มแข็ง เพื่อสามารถส่งมอบบริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ผู้รับบริการได้อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมการแพทย์เพื่อสังคม

และในส่วนของ BDMS Green Healthcare นั้น เป็นการตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการดําเนินงานสุทธิให้เป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 (BDMS Net Zero 2050) นอกจากนี้ โครงการ BDMS Green Healthcare ยังเน้นการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งของโรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ ฯ ทั้งการจัดการขยะครบวงจรทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ รวมถึงขยะที่ถูกนำไปรีไซเคิล การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม พร้อมทำงานร่วมกับชุมชน และประชาคมรอบข้างด้วยความรับผิดชอบ ปัจจุบัน มีโรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ ฯ ที่ผ่านการประเมินเกณฑ์ BDMS Green Healthcare แล้วกว่า 20 หน่วยงาน

ในปัจจุบัน กว่าร้อยละ 50 ของโรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ ฯ สามารถลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้กว่า 50,000 ต้น จากความสำเร็จนี้ BDMS จึงตั้งเป้าหมายการประเมิน BDMS Green healthcare และขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้พลังงาน ทางเลือกในพื้นที่โรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ ฯ ให้ครบ 100% พร้อมตั้งเป้าหมายเพิ่มปริมาณขยะทั่วไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้มากกว่าร้อยละ 26 ภายในปี 2026

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนเป็นผลมาจากความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนที่พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน BDMS มีพันธกิจสำคัญคือ “ผู้นำบริการด้านสุขภาพที่ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีบนวิถีแห่งความยั่งยืน” ซึ่งสอดคล้องกับหลักการดำเนินธุรกิจยั่งยืนตามแนวทาง ESG ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล อีกทั้งมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์อย่างมีคุณค่าแก่ผู้ใช้บริการด้วยความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม โดยลดความเลื่อมล้ำการเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพได้ด้วยมาตรฐานที่ทัดเทียมระดับสากลตามเจตนารมย์

รายงานดัชนีการใช้คลาวระดับองค์กรของนูทานิคซ์เผยให้เห็นว่า องค์กรในอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุขและการแพทย์มีแผนใช้ไฮบริดคลาวด์เพิ่มขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการด้านความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย และเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามกฎระเบียบ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ครั้งแรกในประเทศไทยและในเอเซียแปซิฟิค โดย มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB)

X

Right Click

No right click