เนื่องในโอกาสวันแพทย์สากล วันที่ 7 ตุลาคม มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ ในเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส ได้เผยเคล็ดลับเพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น
การส่งเสริม Work-life balance
ในสาขาที่มีความต้องการสูง เช่น การแพทย์ปฐมภูมิ (Primary care) มักจะมีตารางเวลาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้แพทย์สามารถจัดการทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงานได้ง่ายขึ้น “การแพทย์ปฐมภูมิมีความโดดเด่นในเรื่องความยืดหยุ่น” ดร. ลินดา กิร์กิส ศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ปฐมภูมิในรัฐนิวเจอร์ซีย์ กล่าว “ปัจจุบัน แพทย์หลายคนเน้นให้บริการผู้ป่วยนอกเพื่อลดการทำงานช่วงดึกในโรงพยาบาล โดยแต่ละทางเลือก ทั้งการทำงานส่วนตัวหรือภายใต้ระบบโรงพยาบาล มีทั้งข้อดีและความท้าทายที่แตกต่างกัน”
Work-life balance สามารถทำได้ในสาขาวิชาเฉพาะทางอื่น ๆ นอกเหนือจากการแพทย์ปฐมภูมิ แม้ว่าอาจต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ความเชี่ยวชาญด้านหัตถการมักต้องใช้เวลาทำงานหลายชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ในช่วงเช้า ทำให้แพทย์ในสาขานี้ต้องจัดตารางเวลาอย่างรอบคอบเพื่อแบ่งเวลาสำหรับการทำงานและการพักผ่อนที่บ้าน
เคล็ดลับในการป้องกันภาวะหมดไฟ (burnout)
“กินอาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ และอย่าละเลยเวลาสำหรับเพื่อนและครอบครัวเกินความจำเป็น” ดร. เดวิด โธมัส ศิษย์เก่าของ SGU และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อในการปลูกถ่ายและมะเร็งที่ Moffitt Cancer Center แนะนำ “การหาสมดุลคือกุญแจสำคัญในการยกระดับการทำงานของคุณ”
"แพทย์ที่มี Work-life balance มักมีสุขภาพที่ดี โดยสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก SGU ความสมดุลนี้เริ่มต้นตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย ซึ่ง ดร. อิเฟอาทู เอ็กวาตูศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ กล่าวว่า ความสามารถในการจัดการความรับผิดชอบที่หลากหลายอย่างเกิดจากประสบการณ์ที่ SGU “การบริหารจัดการเวลาของผมอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผมประสบความสำเร็จทั้งในโรงเรียนแพทย์และกิจกรรมนอกหลักสูตร’
ดร. นันดิธา กูรูวายะห์ ศิษย์เก่าของ SGU และเป็นแพทย์ประจำบ้านขั้นต้น เน้นย้ำถึงความสำคัญของการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าและการดูแลตนเอง ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “เรายังคงต้องรักษาสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตกับการทำงานต่อไป และสิ่งสำคัญคือแผนการที่ดีรวมกับการจัดสรรเวลาในการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดการหมดไฟ
สิ่งที่แนะนำคนอื่นไว้ ตัวเองก็ต้องทำได้
ตัวแพทย์เองอาจต้องทำตามคำแนะนำของตนเองที่เคยให้ไว้กับผู้ป่วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ได้รับรู้ถึงผลกระทบจากความเครียดและการหมดไฟดีกว่าบุคคลอื่น ดังนั้นหากแพทย์ใส่ใจเรื่องความสุขทางร่างกายและจิตใจของตนเอง จะสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ป่วยได้
ดร. การิมา กุปตะ ศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา กล่าวว่า “สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการให้ความสำคัญและดูแลสภาพจิตใจ เพื่อไม่เกิดภาวะหมดไฟ”
การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวในอาชีพแพทย์อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่ก็สามารถเป็นไปได้ นักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเริ่มเรียนไม่ควรท้อแท้เมื่อเผชิญกับอุปสรรคนี้ ซึ่งตัวอย่างที่ดีคือบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จที่สามารถมี Work-life balance ได้ในฐานะแพทย์