×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

มหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง-ลิเวอร์พูล (XJTLU) และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สร้างความร่วมมือเพื่อร่วมกันเปิดตัวศูนย์ด้านเภสัชวิทยาและการบำบัดที่เมืองซูโจว ประเทศจีน โดยมีการจัดอีเวนต์เปิดตัวแบบออนไลน์และออฟไลน์ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา บนเป้าหมายของความร่วมมือ เพื่อที่จะดึงดูดนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั้งสองประเทศ ร่วมกันส่งเสริมการทำวิจัยเกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคและพัฒนายาตัวใหม่สำหรับการรักษาโรคในปัจจุบัน

ในฐานะศูนย์กลางการวิจัยระดับโลกสำหรับการวิจัยแบบสหวิทยาการที่มีความทันสมัย ศูนย์ร่วมแห่งนี้จะมีการจัดทำแพลตฟอร์มที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ และการสร้างบุคลากรผู้มีความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการทางวิชาการร่วมกับพันธมิตรทางอุตสาหกรรมและการแพทย์ ในการวิจัยขั้นพื้นฐานและการวิจัยทางคลินิกด้านวิทยาศาสตร์เพื่อความปลอดภัยของยา เภสัชวิทยาภูมิคุ้มกัน การแพทย์แม่นยำ เภสัชกรรมระดับนาโน และวิทยาการกำกับดูแล

สมาชิกของศูนย์ร่วมแห่งนี้ประกอบด้วยนักวิจัยอาวุโสจากมหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง-ลิเวอร์พูล ภาควิชาเภสัชวิทยาและการบำบัดมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการวิจัยเภสัชวิทยาและพิษวิทยา นอกจากนี้ยังมีเหิงรุ่ย ฟาร์มาซูติคัล เซี่ยงไฮ้ (Hengrui Pharmaceutical Co., Ltd (Shanghai)) ยักษ์ใหญ่ด้านเภสัชกรรมในประเทศจีน และโรงพยาบาลจิตเวชซูโจวกวงจี้ (Suzhou Guangji Psychiatric Hospital)

กิจกรรมการวิจัยและพัฒนาของศูนย์ร่วมแห่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเมืองซูโจว ซึ่งมีบริษัทสตาร์ทอัพด้านชีวเภสัชภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงมากกว่า 400 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมไบโอเบย์ (BioBAY) และตั้งเป้าที่จะเป็น "ศูนย์กลางด้านเภสัชกรรมแห่งประเทศจีน" และเป็นประโยชน์ต่อเมืองลิเวอร์พูลด้วย

ดร.เหมิง เหว้ หลี่ (Meng Huee Lee) ผู้อำนวยการร่วมประจำศูนย์ร่วมฯ ในสังกัดมหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง-ลิเวอร์พูล กล่าวว่า "การผสมผสานความเชี่ยวชาญ ทักษะ สิ่งอำนวยความสะดวก และทรัพยากรระหว่างมหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง-ลิเวอร์พูล กับมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล จะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับทั้งสองมหาวิทยาลัยในการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภาคส่วนนี้ และส่งเสริมพื้นที่การวิจัยใหม่ ๆ"

ศูนย์ร่วมแห่งนี้จะใช้อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกล้ำสมัยในด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ชีววิทยาระดับโมเลกุล เคมี และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม พร้อมกับกิจกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล ภาคเอกชน และอุตสาหกรรมยา

นักศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง-ลิเวอร์พูล ซึ่งได้รับคำปรึกษาร่วมจากมหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง-ลิเวอร์พูล และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล จะได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ด้านการวิจัยและพัฒนาที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ชิดระหว่างศูนย์ร่วมฯ และบริษัทยาในท้องถิ่น จะช่วยสร้างนักวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมยาในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมั่นคง

ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ โกลด์ริง (Christopher Goldring) จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ผู้อำนวยการร่วมประจำศูนย์ร่วมฯ กล่าวว่า "ด้วยพันธมิตรของเราที่มหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง-ลิเวอร์พูล การสอนและการวิจัยของเราจะสร้างผู้นำด้านการวิจัยที่มีความสามารถ ตลอดจนสร้างความร่วมมือและการลงทุนระดับนานาชาติที่น่าตื่นเต้น"

 

 

ซิโนเปค เชลล์ ไชน่า เป่าอู่ และบีเอเอสเอฟ เตรียมสำรวจการพัฒนา CCUS แบบโอเพนซอร์ซ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางคาร์บอน

บริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล คอร์ปอเรชัน (China Petroleum & Chemical Corporation) (HKG: 0386) หรือซิโนเปค (Sinopec) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) แบบไม่มีผลผูกมัดกับเชลล์ (Shell) ไชน่า เป่าอู่ (China Baowu) และบีเอเอสเอฟ (BASF) เพื่อเปิดตัวโครงการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ขนาด 10 ล้านตันโครงการแรกในจีนตะวันออก โครงการแบบโอเพนซอร์ซนี้จะสนับสนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค ในการทำให้การดำเนินงานของตนปล่อยคาร์บอนน้อยลง และจัดตั้งซัพพลายเชนคาร์บอนต่ำ เพื่อรับหน้าที่นำการพัฒนา CCUS ในจีน และบรรลุเป้าหมาย “คาร์บอนคู่ขนาน” ของภูมิภาค

CCUS ซึ่งเป็นกรรมวิธีลดคาร์บอนด้วยการดักจับและทำให้ใช้ CO2 ที่ปล่อยจากภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีนัยสำคัญในสเกลใหญ่ และมีแนวโน้มที่จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน

โครงการนี้จะสำรวจความเป็นไปได้ในการขนส่ง CO2 ที่ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรมในตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำแยงซี (รวมถึงจากบริษัทเหล็กกล้า เคมี พลังงาน ซีเมนต์) ไปยังสถานีรับ CO2 จากนั้นขนส่ง CO2 ไปยังจุดจัดเก็บบนฝั่งหรือนอกฝั่งผ่านท่อส่งระยะสั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอโซลูชันการลดคาร์บอนที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสำหรับบริษัทอุตสาหกรรม ซึ่งซิโนเปค เชลล์ ไชน่า เป่าอู่ และบีเอเอสเอฟ ไม่เพียงแต่สนับสนุนการลดคาร์บอนของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และสร้างห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำเท่านั้น แต่ยังเร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หม่า หยงเชิง (Ma Yongsheng) ประธานบริษัทซิโนเปค กล่าวว่า “ซิโนเปคจะทำงานร่วมกับเชลล์ ไชน่า เป่าอู่ และบีเอเอสเอฟ เพื่อขยายการลดคาร์บอนในเชิงพาณิชย์ และส่งเสริมการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรม CCUS เต็มรูปแบบอย่างแข็งขัน ไม่เพียงแต่สนับสนุนการพัฒนาสีเขียวของจีนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั่วโลกด้วย ซิโนเปคจะยังคงมุ่งหวังที่จะร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันกับพันธมิตรระดับโลก บรรลุเป้าหมายการเปิดกว้างและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมุ่งปล่อยคาร์บอนถึงจุดสูงสุดก่อนที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน”

ซิโนเปคมีความมุ่งมั่นในการรับหน้าที่เป็นผู้นำ CCUS ระดับอุตสาหกรรมของจีน โดยในปี 2555 นั้น ซิโนเปคได้เปิดตัวโครงการ CCUS โรงไฟฟ้าถ่านหินโครงการแรกของจีนในบ่อน้ำมันเฉิงลี่ และในปี 2558 ก็ได้ร่วมมือกับบริษัท ซิโนเปค หนานจิง เคมิคอล อินดัสทรีส์ จำกัด (Sinopec Nanjing Chemical Industries Co., Ltd.) และซิโนเปค อีสต์ ไชน่า ออยล์ แอนด์ ก๊าซ คอมปะนี (Sinopec East China Oil and Gas Company) เพื่อบุกเบิกการใช้ประโยชน์จาก CO2 ในบริษัททั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ซิโนเปคดักจับ CO2 ได้ 1.52 ล้านตันในปี 2564 ทั้งยังได้เปิดตัวโครงการ CCUS ระดับเมกะตันโครงการแรกของจีนอย่างโครงการ CCUS บ่อน้ำมันฉีหลู่-เฉิงลี่ อย่างเป็นทางการในต้นปี 2565 ด้วย ดูข้อ.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0

มูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของซิโนเปค

สร้างนวัตกรรมอุทิศต่อสังคม : “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคพยาธิเส้นด้ายในคนแบบรวดเร็ว ช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต” ณ ห้องประชุมสารสิน ตึกสิริคุณากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดนวัตกรรม “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและชุดทดสอบโรคพยาธิเส้นด้ายแบบรวดเร็ว” ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ที่จะนำชุดทดสอบโรคฯ ดังกล่าวไปใช้ใน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจน นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นำไปใช้ประโยชน์

การคิดค้นครั้งนี้ มีที่มาจากในแต่ละปีโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นปัญหาคร่าชีวิตคนไทยโดยเฉพาะชาวอีสานอัตราสูงสุดของโลก มีประชากรอีสานที่เสียชีวิตจากมะเร็งท่อน้ำดี ปีละกว่าสองหมื่นคน จำนวนกว่า 6 ล้านคน ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จากการบริโภคอาหารโดยเฉพาะก้อยปลาที่มีระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ การติดพยาธิซ้ำหลายครั้งร่วมกับปัจจัยก่อมะเร็งอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของท่อน้ำดีจนเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ที่ผ่านมารัฐต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ในขั้นตอนการตรวจคัดกรองเพื่อติดตามหาผู้ติดเชื้อพยาธิ โดยการตรวจอุจจาระ ต้องใช้บุคลากรนักปรสิตที่น่าเชื่อถือและใช้เวลานานต้องการ และในรายที่ติดเชื้อเรื้อรังไม่สามารถตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระได้ นอกจากนี้การตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวน์ตับในบุคคลกลุ่มเสี่ยงก็มีค่าใช้จ่ายสูง

Image preview

 

ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับในคนนี้ ผลิตด้วยมาตรฐาน ISO 13485 ถือเป็น นวัตกรรมชุดทดสอบแบบรวดเร็วที่ทันสมัยชุดแรกของโลก ใช้วินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับทั้งชนิดโอพิสทอร์คิส วิเวอรินี่ ที่พบในคนไทย และชนิดคลอนอร์คิส ไซเนนสิส ที่พบในจีน เกาหลี และเวียดนาม ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “แลทเทอรัลโฟลว์” (Lateral flow) คล้ายชุดตรวจการตั้งครรภ์ ที่ใช้ตรวจหาแอนติบอดีในน้ำเลือด (ซีรั่ม) ของคน ซึ่งใช้งานง่าย สะดวก อ่านผลด้วยตาเปล่า ณ จุดทดสอบ ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง บุคลากรในห้องปฏิบัติการทั่วไปสามารถใช้ชุดทดสอบได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

การประชุมสุดยอด China (Chongqing)-Singapore Connectivity Initiative Financial Summit 2019 ได้จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมนานาชาติเยวี่ยไหล นครฉงชิ่ง

Page 3 of 3
X

Right Click

No right click