ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ Deloitte Global 2024 Gen Z and Millennial Survey – Thailand Perspective ซึ่งเป็นผลการศึกษาสะท้อนมุมมองของเจนซี และมิลเลนเนียลชาวไทย ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

ผลสำรวจ Global 2024 Gen Z and Millennial Survey จัดทำขึ้นโดยดีลอยท์ ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 13 ทำการสำรวจมุมมองแนวคิดเชิงลึกของคนในเจนซี และมิลเลนเนียล จำนวน 22,841 คนจาก 44 ประเทศทั่วโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะติดตามความเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิดและมุมมองต่าง ๆ ของกลุ่มเจนซีและมิลเลนเนียล ที่เป็นกำลังสำคัญในตลาดแรงงานทั่วโลก โดยมีคนไทยที่เข้าร่วมการตอบแบบสอบถามทั้งหมด 301 คน แบ่งเป็น เจนซี 201 คน และ มิลเลนเนียลชาวไทย จำนวน 100 คน ผลการสำรวจสะท้อนมุมมองเชิงลึกของคนไทยในทั้งสองเจเนอเรชั่นดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในปีเดียวกันของคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันทั่วโลก ดังต่อไปนี้

 

ด้านสุขภาพจิต และ ความกังวลหลัก

จากผลการสำรวจในปีนี้พบว่า เรื่องที่เจนซีมีกังวลมากที่สุดคือ ค่าครองชีพ (ร้อยละ 37) การว่างงาน (ร้อยละ 36) และ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความมั่งคั่ง (ร้อยละ 21) สำหรับปัจจัยที่มิลเลนเนียลมีความกังวล 3 อันดับแรกได้แก่ ค่าครองชีพ (ร้อยละ 37) การความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความมั่งคั่ง (ร้อยละ 26) และ ความไม่มั่นคงทางการเมือง/ความขัดแย้งระดับโลก (ร้อยละ 24) นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเจนซีในประเทศไทย ร้อยละ 42 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 60 รู้สึกดีถึงดีมากกับสภาพจิตใจโดยรวมของตนเองในปัจจุบัน เทียบกับปี 2566 โดยคนทั้งสองกลุ่ม ระบุว่ามีความเครียดน้อยลง ผู้ตอบแบบสอบถามเจนซีที่บอกว่ารู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา ลดลงจากร้อยละ 51 เหลือร้อยละ 40 และ มิลเลนเนียล ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 39 เหลือร้อยละ 38 เหตุผลที่สร้างความเครียดได้แก่ การเงินในอนาคต การเงินในชีวิตประจำวัน และ งาน

ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลกับสุขภาพจิตของคนไทย

ความคาดหวังของเจนซีและมิลเลนเนียลไทยต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินว่าจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้าลดลง เมื่อเทียบกับปี 2566 โดยความคาดหวังต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ของเจนซี ลดลงจากร้อยละ 27 เหลือร้อยละ 15 และ มิลเลนเนียล ลดลงจากร้อยละ 26 เหลือร้อยละ 22 ความคาดหวังต่อสถานการณ์การเงินของตัวเอง ของเจนซี ลดลงจากร้อยละ 37 เหลือ ร้อยละ 19 และ มิลเลนเนียล ลดลงจากร้อยละ 38 เหลือร้อยละ 33 และ ความคาดหวังต่อสถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจ/การเมืองของเจนซี ลดลงจากร้อยละ 27 เหลือร้อยละ 15 และมิลเลนเนียล ลดลงจากร้อยละ 24 เหลือร้อยละ 23

ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 42 ของ เจนซี และ ร้อยละ 45 ของมิลเลนเนียล เชื่อว่าองค์กรภาคธุรกิจสร้างผลกระทบเชิงบวกกับสังคม ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 49 และ 47 ตามลำดับ คนไทยรุ่นใหม่มีความคาดหวังว่าภาคธุรกิจควรมีบทบาทในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมองภาคธุรกิจควรสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของพนักงาน ให้ผลตอบแทนที่เท่าเทียมและโปร่งใส สนับสนุนด้านทุนการศึกษา และ สร้างความมั่นใจว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะไม่มาซ้ำเติมให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เจนซีและมิลเลนเนียลในประเทศไทย ร้อยละ 81 และ 92 ตามลำดับ ตอบว่ามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนกลุ่มเดียวกันทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ที่ร้อยละ 62 และ 59 ตามลำดับ เจนซี ร้อยละ 90 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 91 มองว่าภาครัฐและภาคธุรกิจควรมีบทบาทในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ทั้งนี้ ร้อยละ 92 ของเจนซี และ ร้อยละ 93 ของมิลเลนเนียล ยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยแนวปฏิบัติยอดนิยม ได้แก่ หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าแฟชั่นด่วน (Fast Fashion) ลดการเดินทาง ศึกษาข้อมูลด้านการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทก่อนการอุดหนุนสินค้าของบริษัทนั้นๆ ทานมังสะวิรัติ หรือ วีแกน (Vegan) และ เลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ปัจจัยด้านการทำงาน

คนรุ่นใหม่ไทยมีเป้าหมายในการทำงานที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกพนักงาน โดยร้อยละ 96 ของ เจนซีในประเทศไทย และ ร้อยละ 99 ของมิลเลนเนียล ตอบว่าการมีเป้าหมายในการทำงานค่อนข้างสำคัญหรือสำคัญมากต่อความพึงพอใจในงานและ ความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเจนซีและมิลเลนเนียลทั่วโลกที่ร้อยละ 86 และ ร้อยละ 89 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ร้อยละ 91 ของ เจนซีในประเทศไทย และ ร้อยละ 93 ของ มิลเลนเนียลในประเทศไทย บอกว่างานปัจจุบันทำให้ตนเองรู้สึกถึงความมุ่งหมาย (Purpose) ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ร้อยละ 55 ของ เจนซี และ ร้อยละ 60 ของ มิลเลนเนียลในประเทศไทย ปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมายที่ขัดต่อจริยธรรมและความเชื่อของตนเอง ร้อยละ 55 ของเจนซี และ ร้อยละ 57 ของมิลเลนเนียล ปฏิเสธที่จะร่วมงานกับองค์กรที่ขัดต่อจริยธรรมและความเชื่อของตนเอง โดยจะเลือกทำงานกับองค์กรที่ตอบโจทย์ในการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work/life Balance) มีโอกาสในการเรียนรู้ และ เป็นงานที่มีความหมาย

 ในภาพรวม เจนซีและมิลเลนเนียลในประเทศไทยเห็นว่านายจ้างมีความใส่ใจต่อพนักงาน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยเจนซี ร้อยละ 70 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 74 ตอบว่านายจ้างให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงาน เจนซี ร้อยละ 77 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 76 ตอบว่ารู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับผู้จัดการอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่น ๆ และ เจนซี ร้อยละ 73 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 68 บอกว่าหัวหน้างานรู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรเมื่อมีการพูดคุยสื่อสารเมื่อเกิดความเครียด ซึ่งคำตอบของเจนซีและมิลเลนเนียลคนไทยทั้งสองกลุ่ม สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ ร้อยละ 52 และร้อยละ 59 ตามลำดับ

ดีลอยท์ติดตามความเคลื่อนไหวของคนทั้งสองเจนเนอเรชั่นทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเราอยากทราบพัฒนาการทางความคิดและมุมมองของคนรุ่นใหม่ ที่จะช่วยให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ และ ความเข้าใจกันระหว่างคนในวัยต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น” อริยะ ฝึกฝน กรรมการบริหาร ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว

มานิตา ลิ่มสกุล ผู้จัดการอาวุโส ฝ่าย Human Capital ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าวว่า “อยากจะขอเน้นย้ำว่าเรื่องการมีสุขภาวะทางจิตที่ดี หรือ Mental Well-being เป็นเรื่องสำคัญมาก กลุ่มเจนซีและมิลเลนเนียล คือ แรงงานหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกในวันนี้ องค์กรที่มีความเข้าใจ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และ สามารถปรับเปลี่ยนวิธีในการดูแลคนรุ่นใหม่ได้อย่างถูกต้อง จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ”

ดร. โชดก ปัญญาวรานันท์ ผู้จัดการฝ่าย Clients & Market ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “ผลการสำรวจมีความน่าสนใจและสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของคนไทยที่มีความแตกต่างจากค่าเฉลี่ยโลกในในหลายแง่มุม ถ้ามองให้ละเอียดกว่านั้น จะเห็นถึงความแตกต่างกันของคนในแต่ละเจนอีกด้วย”

 ดีลอยท์ ประเทศไทย ผนึก SME D BANK และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านบริการจาก LiVE Platform จัดโครงการ ‘Incubation Program – Road to LiVE’ หลักสูตรเสริมแกร่งสำหรับ SMEs และ Startups เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ตลาดทุนและสร้างโอกาสในการเติบโต พร้อมโอกาสรับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) สูงสุด 50,000 บาท

นายวัลลภ วิไลวรวิทย์ Audit & Assurance Partner ดีลอยท์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับเกียรติร่วมเป็นที่ปรึกษาโครงการ Incubation Program - Road to LiVE หรือเส้นทางเตรียมความพร้อมสู่ตลาดทุน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D BANK) จัดขึ้นเพื่อเสริมความพร้อมที่สำคัญให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม (SMEs) และสตาร์ตอัพไทย (Startups) ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแผนจะเข้าระดมทุนผ่านตลาดทุน ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจ

ความร่วมมือครั้งนี้ ดีลอยท์ ได้ส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญร่วมให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางให้ SMEs และ Startups ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาเรียนรู้การสร้างเส้นทางธุรกิจ และสามารถเตรียมความพร้อมในการระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุนได้ตามวัตถุประสงค์ หลักสูตรดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2567 "ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ “Incubation Program - Road to LiVE” ได้เรียนรู้ 4 เรื่องสำคัญคือ การบ่มเพาะเส้นทางธุรกิจ (Incubation) เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง (Driving Change), การสำรวจและวางแผนระบบงาน (Explore) และการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อต่อยอดธุรกิจ (Aspiration) จากผู้เชี่ยวชาญ หลักสูตรการอบรมครอบคลุมตั้งแต่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจสู่ธุรกิจมหาชน การทำแผนธุรกิจ การกำหนดการควบคุมภายใน รวมถึงการดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนอีกด้วย” นายวัลลภ กล่าว

นายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D BANK) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า SME D Bank ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างดีลอยท์ มาอย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ให้เตรียมความพร้อมในการเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดทุน ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าเป็นสมาชิก DX by SME D Bank สามารถเข้าถึงห้องเรียนผู้ประกอบการออนไลน์ ซึ่งจะให้ความรู้โดย Exclusive Coach และได้รับสิทธิเข้าร่วมกิจกรรม “โอกาสธุรกิจสู่ Global Market” พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นอีกมากมาย นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้รับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการ จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทอีกด้วย นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ กล่าวว่า “ตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และ Startups เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ผ่านบริการจาก LiVE Platform แพลตฟอร์มที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจ พัฒนาธุรกิจให้เติบโต เตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุน และโครงการ Incubation Program – Road to LiVE เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ (LiVE Academy) โดยหวังว่าบริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้เรียนรู้กลไกการระดมทุน และการเตรียมพร้อมระบบงานที่สำคัญเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้ธุรกิจ และเข้าร่วมเป็นสมาชิกในฐานะบริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพในตลาดหลักทรัพย์ LiVEx – mai - SET ได้ต่อไป

 ดีลอยท์เผยรายงาน Asia Pacific Centre for Regulatory Strategy (ACRS), ‘Generative AI: Application and Regulation in Asia Pacificซึ่งเป็นผลสำรวจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Generative AI ในภาคบริการทางการเงิน (Financial Services) ทิศทางของกฎระเบียบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และให้คำแนะนำกับ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ในการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเรื่องนี้ ที่เป็นประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ACRS ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากดีลอยท์ทั้งหมด 12 คน ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านเทคโนโลยีและกฎหมายทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (AP) เพื่อทำความเข้าใจว่าเมื่อเทคโนโลยี Generative AI ("GenAI") ได้รับการพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น หน่วยงานที่กำหนดนโยบายและกำกับดูแลจะทบทวนกรอบการใช้งานของ AI ในปัจจุบัน เพื่อลดความเสี่ยงทางเทคโนโลยีใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจาก GenAI และสร้างความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวยังคงมีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของกลุ่มภาคบริการทางการเงินอยู่

จากความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เช่นการนำเทคโนโลยี GenAI มาใช้อย่างแพร่หลายผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Chat GPT ของ OpenAI และ Bard AI ของ Google ส่งผลให้ความเสี่ยงที่หน่วยงานที่กำกับดูแลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกระบุในหลักการกำกับดูแลทางกฎหมาย AI มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความแข็งแกร่ง ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลยังเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณา แต่ข้อกังวลเกี่ยวกับอคติและทรัพย์สินทางปัญญาส่งผลให้หน่วยงานที่กำกับดูแลจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์ของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีกับการรักษาความปลอดภัยของผู้บริโภค

อุตสาหกรรมการบริการทางการเงินกำลังเผชิญช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงและดิสรัปชั่นครั้งใหญ่ GenAI เข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวทางในการบริการ แต่เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ  ความสนใจและการตรวจสอบของหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่อง AI ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินต่างเผชิญกับความเสี่ยงใหม่ๆ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น อคติ การกำกับดูแล ความรับผิดชอบ และการปกป้องข้อมูลตลอดวงจรชีวิตของ AI รวมถึงความเสี่ยงทางกฎระเบียบและ ความเสี่ยงทางกลยุทธ์อีกด้วย รายงานล่าสุดของดีลอยท์ จึงมีข้อแนะนำให้บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับอนาคตและสร้างกรอบการกำกับดูแล AI เพื่อ ระบุ และจัดการกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว

รายงานฉบับนี้นำเสนอประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินควรเตรียมความพร้อมสำหรับกฎเกณฑ์ข้อบังคับของ GenAI ที่กำลังจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้
  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้นำแอพลิเคชัน AI มาใช้งานหรือกำลังพิจารณานำมาใช้งาน ควรเริ่มพัฒนากรอบการกำกับดูแล AI เพื่อสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบในอนาคตในเรื่องนี้ บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินควรต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่แอปพลิเคชัน GenAI สร้างขึ้น
  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินควรประเมินปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดความเปราะบางของลูกค้า เช่น วุฒิการศึกษา รายได้ หรืออายุ และสร้างความเชื่อมั่นว่าการนำแอปพลิเคชัน GenAI มาใช้ไม่ส่งผลให้เกิดอคติหรือการเลือกปฏิบัติต่อลูกค้าที่มีความเปราะบางนี้ อันเป็นผลจากการนำแอปพลิเคชัน GenAI มาใช้ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินควรระบุฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรวบรวม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า และสร้างความเชื่อมั่นว่าฝ่ายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการปกป้องข้อมูล
  • เนื่องจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์สำหรับการนำเข้าและส่งออกข้อมูลของ GenAI ยังไม่ชัดเจน บริษัทผู้ให้บริการทางการเงิน จึงควรตั้งสมมติฐานว่าข้อมูลหรือข้อคำถามใด ๆ ที่มีการนำเข้าในแอปพลิเคชัน GenAI อาจกลายเป็นข้อมูลสาธารณะได้ เป็นคำแนะนำสำหรับการสร้างขอบเขตในการกำกับดูแลเพื่อป้องกันการเปิดเผยทรัพย์สินทางปัญญาหรือการละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ตั้งใจ
  • บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินที่นำเอาแอปพลิเคชัน GenAI มาใช้หรือมีแผนที่จะนำมาใช้ ควรลงทุนในการจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถ และจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ให้กับพนักงาน รวมถึงคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง เพื่อเพิ่มความเข้าใจในความเสี่ยงที่สำคัญและความรับผิดชอบในการลดความเสี่ยงเหล่านั้น

อากิฮิโระ มัตสึยามะ Risk Advisory Leader ดีลอยท์ เอเชียแปซิฟิก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวว่า "แม้ว่ากฎระเบียบและกฎหมายด้าน AI จะยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการพัฒนาหรือการนำไปใช้ในเขตอำนาจในการตัดสินคดีส่วนใหญ่ แต่บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินก็จำเป็นต้องใช้แนวทางที่วัดผลโดย สร้างกรอบการกำกับดูแล AI ของตนเองโดยเร็วที่สุดและดำเนินการเพื่อทำความเข้าใจ ระบุ และจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI ภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลและผู้ออกกฎหมายเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการกระบวนการสร้างกณเกณฑ์และผลักดันฉันทามติเกี่ยวกับเส้นทางอนาคตของ AI”

Mr Wong Nai Seng Regulatory Strategy Leader ดีลอยท์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า เทคโนโลยี AI เช่น GenAI มีศักยภาพที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายในกลุ่มผู้ให้บริการทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวควรเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากภูมิทัศน์ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับโลกและภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทที่ให้บริการทางการเงินจึงควรระมัดระวังในการพิจารณานำเทคโนโลยี AI มาใช้ เพื่อพิจารณาว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI เหมาะสมกับความเสี่ยงที่มีอยู่และกรอบการบริหารความเสี่ยงโดยรวมอย่างไร 

 7 มีนาคม 2567

การศึกษาล่าสุดโดยบริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด (ดีลอยท์) ชี้ถึงโอกาสในการแก้ปัญหาหนี้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นชูมาตรการด้านภาษี และผ่อนปรนข้อจำกัดในการลงทุนเพื่อให้นักลงทุนสถาบันในกลุ่มใหม่ เช่น บริษัทประกันภัย และกองทุนประกันสังคม รวมถึงบริษัทบริหารกองทุน เช่น Private Equity Firms และ Hedge Funds เข้ามามีส่วมร่วมในการจัดการหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น

จากการศึกษา พบว่าประเทศไทยได้มีการพัฒนากลยุทธ์และแนวทางการบริหารหนี้เสียอย่างเคร่งครัด ในช่วง ปี พ.ศ. 2540 เพื่อรับมือกับเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางการเงิน อย่างไรก็ดี กลยุทธ์และความสามารถใหม่ ๆ ในการจัดการหนี้เสียไม่ได้มีการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา และวันนี้ประเทศไทยกําลังเผชิญกับปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นอีกครั้ง

 

ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “แนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในประเทศไทย จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาในต่างประเทศ ชี้ถึงการมีแนวทางการกำกับดูแลที่ชัดเจน และมีมาตรการทางธุรกิจที่จูงใจ อาทิ มาตรการทางภาษี เพื่อดึงดูดกลุ่มนักลงทุนสถาบันหรือผู้จัดการหนี้เสียที่มีความหลากหลายและในวงกว้างขึ้น เช่น บริษัทผู้บริหารกองทุน Private Equity, กองทุนรวมเพื่อความเสี่ยง (Hedge Funds), และ ผู้จัดการกองทุนประเภท General Partners (GPs) เป็นต้น กลุ่มนักลงทุนเหล่านี้สามารถนําความรู้และความสามารถในการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการสู่ตลาดทุนประเทศไทย เพื่อช่วยให้บริษัทที่มีภาวะตึงเครียดทางการเงินมีทางเลือกในการจัดการหนี้แบบครบวงจร เช่น โอกาสในการร่วมงานกับนักลงทุนสถาบันหรือผู้จัดการหนี้เสียเพื่อฟื้นฟูกิจการจากการล้มละลาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดให้แก่บุคลากรท้องถิ่น

หากเทียบกับตลาดชั้นนำในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นั้น แนวทางและหลักการเรื่องของการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการเป็นรากฐานสำคัญที่ปลูกฝังอยู่ในระบบนิเวศตลาดทุนของเขา บริษัทในสหรัฐฯ มีโอกาสทํางานร่วมกับกลุ่มนักลงทุนเพื่อให้บริษัทของพวกเขามีโอกาสครั้งที่สอง เรามักจะไม่ได้เห็นสถานการณ์ลักษณะนี้กับบริษัทในประเทศไทย เนื่องจากข้อจำกัดในขีดความสามารถในการฟื้นฟูกิจการ

เคนเนท เทย์ หุ้นส่วน บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “การศึกษายังมองถึงแนวทางการเพิ่มสภาพคล่องของตลาด (Market Liquidity) โดยการทบทวนกฎระเบียบและพิจารณาผ่อนปรนข้อจำกัดในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบันประเภทต่างๆ เช่น บริษัทประกันภัย กองทุนประกันสังคม กองทุนบําเหน็จบํานาญ และ/หรือสํานักงานครอบครัว (Family Offices) เพื่อตอบโจทย์ปัญหาหนีเสียที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ดี ยังคงต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม”

“ตลาดหนี้เสียในประเทศไทยทุกวันนี้มีลักษณะที่เน้น บริษัทบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Companies) เป็นศูนย์กลาง ซึ่งในระบบนิเวศที่แข็งแกร่งและยั่งยืนนั้น เราต้องการให้มีผู้เล่นที่หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดทุน เพื่อให้เกิดกระบวนการค้นหาราคาที่เหมาะสม (Price discovery) ของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เสริมสร้างความสามารถให้เพียงพอในการจัดการกับหนี้ที่เพิ่มขึ้น และมีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขหนี้" นิลภา บูชาสุข ผู้จัดการอาวุโส บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าว

"เราทราบดีว่าปริมาณหนี้เสียในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเราต้องการจัดการกับหนี้เหล่านี้อย่างเหมาะสม เราจะต้องปรับปรุงระบบนิเวศของเราให้ทันสมัย ดึงดูดเงินลงทุนที่เพียงพอ และดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถทางการเงินเพื่อสามารถจัดการวิกฤตการณ์ทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ดร.เมธินี กล่าว

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองและแนวโน้มการใช้งานดิจิทัลขององค์กรธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย 

การสํารวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในประเทศไทย (Thailand Digital Transformation Survey) เป็นการสำรวจที่ดีลอยท์ประเทศไทย ให้ความสำคัญและทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่สี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติขององค์กรต่อการปรับตัวสู่ดิจิทัล (Digital transformation) ผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนแนวคิดและมุมมองของผู้บริหารระดับสูง (C-suite) และพนักงานระดับอื่นๆ ในห้ากลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมผู้บริโภค (Consumer) กลุ่มทรัพยากรพลังงานและอุตสาหกรรม (Energy Resources and & Industrials: ER&I) บริการการเงิน (Financial Services) ชีววิทยาศาสตร์และสุขภาพ (Life Science & Healthcare) และเทคโนโลยี สื่อ และ โทรคมนาคม (Technology, Media and Telecommunications: TMT) ผลการสำรวจในปีนี้สะท้อนถึงพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายใต้ 3 หัวข้อหลัก ดังนี้

1. การสำรวจยุคของดิจิทัล ดิสรัปชั่น

2. การปลดล็อกความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

3. ภาพรวมอุตสาหกรรม

 

ตลอดช่วงเวลาในปี 2564-2566 ทัศนคติต่อผลกระทบของ ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง โดยธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทกว้าง ๆ ตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่

· ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลักในการดำเนินงาน: ธุรกิจเหล่านี้มีการดำเนินงานโดยใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก มองว่าได้รับผลกระทบจาก ดิจิทัล ดิสรัปชัน น้อยกว่า เนื่องจากการดําเนินงานของธุรกิจเหล่านี้จําเป็นต้องติดตามและปรับตัวต่อการเปลี่ยนของนวัตกรรมดิจิทัลเป็นปกติอยู่เสมอ

· ธุรกิจแบบดั้งเดิม หรือไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก: ธุรกิจเหล่านี้มักจะนําเทคโนโลยีมาใช้อย่างจํากัด โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลการปรับปรุงกลไกภายในองค์กรเพื่อให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคธุรกิจได้

เมื่อพิจารณาในเชิงการวิเคราะห์การนำเทคโนโลยีดิจิทัลในแต่ละปี พบว่า ข้อมูลแต่ละปีแตกต่างกัน ในช่วงปี 2564-2566จากรายงานการสำรวจ ปี 2564 พบว่า องค์กรมีการปรับตัวสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระยะแรก อย่างไรก็ตาม การขาดประสบการณ์และการดำเนินการปรับตัวสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังในหลายธุรกิจ จากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ในปีที่ผ่านมาทำให้ร้อยละ 43 ของบริษัทยังคงอยู่ในระยะ "Doing Digital" เนื่องจากพวกเขาได้ปรับตัวเชิงกลยุทธ์และเลือกใช้แนวทางที่เหมาะกับองค์กรของตนมากขึ้น ส่งผลให้การปรับตัวสู่ดิจิทัลประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นในปี 2565-2566 จากการสั่งสมประสบการณ์และการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมากขึ้น

เมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึกในด้านธุรกิจ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและเว็บไซต์ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยแอปพลิเคชันแชทและระบบส่งข้อความ (Instant Messaging) เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่ได้รับความนิยม กลุ่มผู้ค้ามีแนวโน้มที่จะปรับโมเดลธุรกิจและเสริมทักษะในการเข้าใจลูกค้า ในขณะที่กลุ่มผู้ให้บริการ เน้นวิธีการให้บริการที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และการพัฒนาระบบนิเวศทางดิจิทัล

เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรม ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยี สื่อและโทรคมนาคม (TMT) และกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องแข่งขันเพื่อส่วนแบ่งในตลาด ประสบความสำเร็จในการปรับตัวสู่ดิจิทัลได้ดีกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2565 และ 2566 พบว่า องค์กรมีความสนใจที่จะลงทุนในเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล

ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients & Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “เมื่อองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น องค์กรมักจะใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่มีงบประมาณและความซับซ้อนในการบริหารจัดการภายในองค์กรสูงกว่าองค์กรขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ มีการนำเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

การลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ เป็นผลสำเร็จสองอันดับแรกในการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้บริหารระดับสูงและพนักงานในระดับอื่นๆ มีมุมมองที่ต่างกันผลสำเร็จอันดับที่สาม โดยกลุ่มผู้บริหารระดับสูง มองว่า ความเสี่ยงในด้านการดำเนินการที่ลดลง เป็นอันดับที่สาม ในขณะที่พนักงานในระดับอื่นๆ มองว่าเป็นการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า เนื่องจากพวกเขาอาจมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดมากกว่า

เมื่อพิจาณาในส่วนความท้าทาย ร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าความสามารถของบุคลากรยังเป็นความท้าทายอันดับแรก โดยมีประเด็นด้านงบประมาณและทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ และวัฒนธรรมองค์กรแบบดิจิทัลที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ เป็นความท้าทายในอันดับรองลงมา ที่ร้อยละ 57 และ 47 ตามลำดับ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล ทั้งนี้ มีแนวโน้มที่จะนำโซลูชั่นมาใช้ในอนาคต เช่น การเปิดใช้ระบบไอทีผ่านแพลตฟอร์มในคลาวด์ ที่ให้บริการโดยหน่วยงานภายนอกเพื่อช่วยลดต้นทุน นอกจากนี้ การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังเป็นความท้าทายอีกประเด็นหนึ่ง เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอีกด้วย

 

โกบินทร์ รัตติวรากร ผู้อำนวยการบริหาร ดีลอย์ คอนซัลติ้ง กล่าวว่า “ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าองค์กรที่มีความก้าวหน้าในดำเนินการปรับตัวสู่ดิจิทัล สามารถจัดการกับความท้าทายในด้านทรัพยากรได้ดีขึ้น พวกเขาจึงมุ่งให้ความสนใจกับการจัดการความท้าทายเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล”

การปรับองค์กรสู่ดิจิทัล นับเป็นกระบวนการที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจจำต้องเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ และปรับตัวให้เท่าทันกับเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาเหมาะสมที่องค์กรต่างๆ จะเปิดรับโอกาสใหม่ๆ เพื่อเปิดทางไปสู่อนาคตที่ดีต่อธุรกิจมากยิ่งขึ้น และการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญ ระหว่างธุรกิจในปัจจุบันและธุรกิจแห่งอนาคต

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click