SiteMinder ผู้นำแพลตฟอร์มระดับโลกด้านโฮเทลคอมเมิร์ซแบบ Open Platform เปิดตัวรายงานพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฉบับปี 2023 ที่เผยว่า 88% ของนักท่องเที่ยวไทยตั้งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างน้อยเท่าๆ กับที่เคยท่องเที่ยวเมื่อปีที่แล้ว โดย 1 ใน 2 หรือประมาณ 53% คาดว่าจะท่องเที่ยวมากกว่าเดิม นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะท่องเที่ยวไปยังต่างประเทศเท่านั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จาก 26% ในปีก่อน เป็น 49% ในปีนี้

รายงาน Changing Traveller Report 2023 ของ SiteMinder เป็นข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกว่า 10,000 คน จากทั้งในประเทศไทยและอีก 11 ประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นพฤติกรรมหลักๆ ได้ 4 ประเภท โดยแบ่งจากพฤติกรรมแผนการท่องเที่ยว และแรงจูงใจ ที่จะส่งผลต่อการท่องเที่ยวโลกในอนาคตอันใกล้นี้

1. The enduring explorer: นักเดินทางที่จริงจังกับการท่องเที่ยว ค่าครองชีพไม่ใช่เรื่องสำคัญ

2. The digital dependent: นักท่องเที่ยวที่พึ่งพาเทคโนโลยี และอุปกรณ์การสื่อสาร

3. The memory maker: นักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่น่าจดจำ

4. The conscious collaborator: นักท่องเที่ยวที่พร้อมให้ความร่วมมือกับผู้ให้บริการที่ัพักและชุมชน

แม้ยุคปัจจุบันจะมีอัตราเงินเฟ้อที่สูง แต่เมื่อเป็นเรื่องของที่พัก นักท่องเที่ยวชาวไทยทั่วโลกถึง 96% พร้อมที่จะใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าห้องพัก ผลการสำรวจนี้ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ เนื่องจากเกือบ 9 ใน 10 ของนักท่องเที่ยวชาวไทยบอกว่า ความคาดหวังจากผู้ให้บริการที่พักของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้ อาทิ การมีสถานที่ทำงานที่สะดวกสบาย และเหมาะกับการทำงาน คือสิ่งที่นักท่องเที่ยวชาวไทยคาดหวัง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจซึ่งพบว่านักท่องเที่ยวกว่า 57% คาดว่าจะทำงานไปด้วยระหว่างทริป แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดน้อยลงกว่าตัวเลข 65% ในปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวชาวไทยยังคงดำรงตำแหน่งอันดับสอง ของประเทศที่คาดว่าจะทำงานระหว่างท่องเที่ยว ซึ่งตามหลังเพียงนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเท่านั้น

ในภาพรวมโลก นักท่องเที่ยวถึง 1 ใน 2 มองที่พักเป็นจุดหมายปลายทางในการพักผ่อนในตัวเอง โดยเฉพาะในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยคาดว่าจะใช้ ‘เวลาเกือบทั้งหมด’ หรือ ‘เวลาส่วนมาก’ ไปกับการพักผ่อนในที่พักในทริปถัดไป และในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยยิ่งสูงขึ้นอีกที่ 77%

 

คุณแบรด ไฮนส์ รองประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค บริษัท SiteMinder เผยว่ารายงานฉบับล่าสุดนี้ ช่วยชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย รวมถึงการเป็นตัวแปรสำคัญของผู้ให้บริการที่พัก

“ตรงกันข้ามกับปีที่ผ่านๆ มา เราเห็นความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปต่างประเทศเป็นหลัก รวมถึงแผนการใช้จ่ายแม้จะมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูง” คุณแบรด ไฮนส์ กล่าว “นอกจากนี้ เรายังเห็นว่า สถานที่พัก กลายมาเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว โดย 77% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเผยว่า สถานที่พัก ก็คือสถานที่ท่องเที่ยวที่พวกเขาต้องการไป”

แม้ว่าเกือบ 77% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย จะเข้าใจถึงคุณภาพการบริการที่อาจจะลดลงกว่ามาตรฐานเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตาม ในรายงาน Changing Traveller Report 2023 ของ SiteMinder เผยว่า อุตสาหกรรมที่พักถูกมองว่ายังตามหลังอุตสาหกรรมอื่นๆ ในแง่ของเทคโนโลยี โดยกว่า 60% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยมองว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังอยู่ในค่าเฉลี่ย หรือตามหลัง ในเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้ และกว่า 95% มองว่าการจองที่พักและประสบการณ์การพักผ่อนของพวกเขาจะดีมากยิ่งขึ้นได้ หากธุรกิจที่พักมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มากยิ่งขึ้น

รายงานของ SiteMinder เผยถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้ในหมู่ของนักท่องเที่ยว ได้แก่:

· AI - นักท่องเที่ยวทั่วโลกมากกว่าครึ่ง และสองในสามของมิลเลนเนียล มี ‘แนวโน้ม’ หรือ ‘มีโอกาสมาก’ ที่จะใช้ AI ในการแนะนำสถานที่พัก โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยมีโอกาสใช้ AI เพื่อแนะนำสถานที่พักมากขึ้นอีก โดยมีแนวโน้มถึง 86%

· โซเชียลมีเดีย - 70% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึง 9 ใน 10 ของ Gen Z บอกว่าโซเชียลมีเดีย มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเสาะหาที่พักของพวกเขา ในประเทศไทย โซเชียลมีเดีย ยิ่งมีอิทธิพลสูงมากยิ่งขึ้น โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 25% ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยดำรงตำแหน่งอยู่ในอันดับสอง รองจากนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียเท่านั้น เมื่อวัดจากอิทธิพลของโซเชียลมีเดียต่อการเสาะหาที่พัก

· เว็บไซต์จองที่พัก - แม้นักท่องเที่ยวถึง 4 ใน 5 เลือกที่จะทำการจองที่พักผ่านทางออนไลน์ แต่ 3 ใน 5 บอกว่าพวกเขาจะไม่ดำเนินการจองที่พักต่อ หากพบเจอการใช้งานที่ไม่ลื่นไหล โดย ขั้นตอนที่ยุ่งยาก รวมถึงเว็บไซต์ที่ดูไม่ปลอดภัย นับเป็นสองเรื่องสำคัญอันดับแรกที่นักท่องเที่ยวคำนึงถึง

“นักเดินทางชาวไทยในปัจจุบัน ยังคงชื่นชอบการท่องเที่ยว มีการพึ่งพาเทคโนโลยี และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งพวกเขาก็ตั้งใจที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างความทรงจำดีๆ ตราบเท่าที่จะท่องเที่ยวได้ และจากผลสำรวจ ทำให้เรารู้ว่า พวกเขามองว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังไม่ได้มีการปรับใช้เทคโนโลยีเท่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งนี่อาจจะเป็นสัญญาณสำคัญให้ผู้ให้บริการที่พักต่างๆ หันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีคอมเมิร์ซกันมากขึ้น เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อความต้องการและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน” คุณแบรด ไฮนส์ กล่าว

“เคทีซี” มองการท่องเที่ยวไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว ส่งผลดีต่อการเช่ารถเพื่อการท่องเที่ยว เป็นที่นิยมมากขึ้น โดย 6 เดือนแรก ยอดการใช้จ่ายในหมวดรถเช่าเติบโตถึง 90% คาดการณ์ปลายปียังขยายตัวต่อ พร้อมจับมือ 17 พันธมิตร จัดแคมเปญเช่ารถขับรับไฮซีซั่น มองรถอีวีมาแรงเพราะประหยัดน้ำมัน หาที่ชาร์จสะดวก

นางสาววริษฐา พัฒนรัชต์ ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ส่งผลต่อการท่องเที่ยวไทยกลับมาฟื้นตัว และเป็นปัจจัยสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมรถเช่า (Car Rent) เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน โดยยอดการใช้จ่ายในกลุ่มรถเช่าช่วงเดือนมกราคม 2566 - มิถุนายน 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 90% และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี โดยครึ่งปีหลังมองว่าปัจจัยที่จะผลักดันให้ยอดการใช้จ่ายในกลุ่มรถเช่าขยายตัว คือการท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่น

“ ตอนนี้อุตสาหกรรมรถเช่ากลับมาฟื้นตัวตามการท่องเที่ยว และมองว่าช่วงครึ่งปีหลังยังโตต่อ เพราะเป็นช่วงไฮซีซั่นของไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยก็ชื่นชอบการเช่ารถ ทั้งขับเองและมีคนขับให้ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมรถเช่าเติบโต” นางสาววริษฐากล่าว

สำหรับเคทีซีมีโปรโมชั่นร่วมกับผู้ให้บริการรถเช่าชั้นนำทั้งในและต่างประเทศรวม 17 แห่ง พร้อมมีโปรโมชั่นพิเศษ เช่น รับส่วนลดสูงสุด 30% เมื่อเช่ารถและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี หรือ ใช้คะแนน KTC FOREVER เท่ายอดใช้จ่าย แลกรับเครดิตเงินคืน 12%

“ปัจจุบัน การเช่ารถอีวีได้รับความนิยมมากขึ้น โดยสัดส่วนการเช่ารถยนต์ปกติอยู่ที่ 80% และรถอีวี 20% เพราะราคาค่าเช่าไม่สูงมาก เช่น รถยนต์ไฟฟ้า Ora Good Cat จาก Hertz Thailand หนึ่งใน

พันธมิตรของเรา หากใช้บัตรเครดิตเคทีซีจะได้ส่วนลด 30% ค่าเช่าจะอยู่ที่ราคา 707 บาท จากราคาปกติ 1,010บาท แต่การใช้รถอีวี ยังมีข้อจำกัด และเหมาะกับนักท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะสามารถหาที่ชาร์จได้สะดวก”

สำหรับพันธมิตร 17 แห่ง ประกอบด้วย เอแซ็ป คาร์ เร็นทัล (ASAP) / เอวิส คาร์ เร็นทัล ( AVIS) / บัดเจ็ท คาร์ เรนทัล (Budget) / บิซคาร์ เรนทัล (Bizcar Rental) / ชิค คาร์เร้นท์ (Chic Car Rental) / ไดรฟ์ฮับ (Drivehub) / ไดรฟ์ คาร์ เร้นทัล (Drive Car Rental) / ยุโรปคาร์ (Europcar) / ฮ้อปคาร์ (Haupcar) / เฮิร์ซ (Hertz) / คลูก (Klook) / ไพร์ม คาร์ เรนทอล(Prime Cars) / เร้นท์ คอนเนคเต็ด (Rentconnected) / เรนทัลคาร์ดอทคอม (Rentalcars.com) / ซิกท์ เรนท์ อะคาร์ (Sixt) / ทราเวลไอโก (TraveliGo) และ ทรู ลีสซิ่ง (True Leasing)

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชัน ของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

4 กรกฎาคม 2566, - บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สานต่อเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืนของทั้งสององค์กรในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ลงนามความร่วมมือสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวระดับโลก (Mega global destination) ร่วมนำมาตรฐานใหม่เสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มุ่งเน้นการลดการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ สร้างคุณค่าองค์รวมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) รวมถึงสนับสนุนโครงการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล และการพัฒนาสังคมในอนาคต พร้อมร่วมสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การลงทุนอย่างต่อเนื่องของ AWC ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แถวหน้าของประเทศ เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงอนาคตทางเศรษฐกิจไทยที่กำลังดีขึ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักถึงบทบาทในการร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทยในทุกมิติ จึงมีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท แก่ AWC เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ๆ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ AWC อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคาร และธุรกิจภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพทางธุรกิจของ AWC และเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 20,000 ล้านบาทในครั้งนี้ จะช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจให้แก่ AWC ผ่านการพัฒนาโครงการคุณภาพมากมาย ที่จะสร้างความน่าตื่นเต้นให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อสนับสนุนประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ยั่งยืนระดับโลก”

นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า “AWC มีความประทับใจ SCB ต่อความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ที่ร่วมกันด้านความยั่งยืน ที่ได้ออกสินเชื่อด้านความยั่งยืนเป็นรายแรกของประเทศ ควบคู่การเดินหน้าผนึกกำลังร่วมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน ทั้งนี้ AWC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ SCB ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ โดย AWC มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก (Mega sustainable destination) อาทิ โครงการเอเชียทีค ที่จะสร้างเป็นแลนด์มาร์คความยั่งยืนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับกรุงเทพฯ โครงการอควอทีค กลางเมืองพัทยา และโครงการเวิ้ง นาครเกษม ศูนย์กลางคุณค่าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกลางไชน่า ทาวน์ รวมถึงโครงการลานนาทีค ที่มีคุณค่าของเสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมล้านนากลางเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่ง AWC เชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความยั่งยืนระดับโลกนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสานต่อนโยบายและกลยุทธ์หลักของประเทศสู่การเป็นผู้นำการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก

AWC ยังมุ่งพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารสีเขียวในระดับสากล อาทิ โรงแรมอินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies) และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง ได้รับการรับรอง LEED & WELL PRECERTIFIED รวมถึงอีกหลากหลายโครงการ โดยใช้สินเชื่อยั่งยืนแรกที่ได้รับการสนับสนุนจาก SCB เมื่อปีที่แล้ว โดยปัจจุบัน AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการเงินชั้นนำจัดวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่าร้อยละ 75 และตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวเชื่อมโยงความยั่งยืนเป็นร้อยละ 100 เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศ”

AWC มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เสาหลัก 9 มิติ หรือ 3 BETTERs ประกอบไปด้วย 1) การสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (BETTER PLANET) เพื่อโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น 2) การสร้าง

คุณค่าด้านสังคม (BETTER PEOPLE) เพื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3) การสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจ (BETTER PROSPERITY) เพื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น โดยที่ผ่านมา AWC ได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงแรม เชอราตัน สมุย ดำเนินโครงการธนาคารปู เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และโรงแรมบันยันทรี กระบี่ ที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิอันดามัน เพื่อนำร่องโครงการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านแนวคิดธุรกิจ reConcept ที่ส่งเสริมการนำเฟอร์นิเจอร์และวัสดุเก่า รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งของโรงแรมที่ไม่ได้ใช้งาน กลับมารีไซเคิลและใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ที่ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างรายได้สู่ชุมชนรอบโครงการ และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยท้องถิ่นเพื่อสร้างโอกาสรายได้ที่ยั่งยืนผ่านโครงการ เดอะ GALLERY เป็นต้น

AWC ยังคงดำเนินงานตามแผนแม่บทอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) สอดคล้องกับกรอบสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียว เพื่อมุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ครอบคลุมโรงแรมในเครือที่มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2019 นอกจากนี้ AWC จะพัฒนาโครงการในเครือตามกรอบเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวสากล อาทิ มาตรฐาน EDGE LEED หรือ WELL เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

“การลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ร่วมกันของ AWC และ SCB ในการดำเนินธุรกิจ โดย AWC จะยังคงดำเนินการตามกลยุทธ์ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ ของ AWC เพื่อร่วมสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งต่ออุตสาหกรรม ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ภายใต้พันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” พร้อมเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก” นางวัลลภา กล่าวเสริม

AWC ดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การได้รับการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รายชื่อหุ้นยั่งยืน Thailand Sustainability Investment (THSI) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ติดอันดับรายงานความยั่งยืน S&P CSA Yearbook 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P

Global ESG Score 2022” ได้รับรางวัล “Industry Mover” ในฐานะบริษัทที่มีความยั่งยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม รีสอร์ท และเรือสำราญ ได้รับการจัดอันดับรายงานการกำกับดูแลกิจการ ในระดับ “ดีเลิศ” (Excellence CG Scoring) ได้รับการรับรองให้เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) และได้รับการจัดอันดับในฐานะองค์กรที่มีการกำกับกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนของปี 2564 (ASEAN CG Scorecard)

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click