‘บีเอ็นเอสพี สมาร์ท เทค’ (BNSP Smart Tech) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ‘บ้านปู เน็กซ์’ ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ ‘เอสพี กรุ๊ป’ ผู้ให้บริการระบบสาธารณูปโภคด้านพลังงานชั้นนำในเอเชียแปซิฟิก ประกาศความสำเร็จคว้าสิทธิ์ออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง (District Cooling System) ที่ครบครันด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย ในโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซนซี หากติดตั้งเสร็จคาดว่าระบบนี้จะช่วยประหยัดค่าพลังงานในโครงการฯ ได้กว่า 40 ล้านบาทต่อปี หรือลดลงกว่า 20% และลดการปล่อย CO2 ได้ปีละกว่า 3,000 ตัน เมื่อครบระยะเวลาสัญญา 20 ปี จะสามารถลดการปล่อย CO2 เทียบเท่ารถยนต์สันดาปประมาณ 20,000 คัน*

เมื่อติดตั้งระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางเสร็จในปี 2566 จะสามารถทำความเย็นสูงสุดถึง 14,000 ตันความเย็น (RT) สร้างความเย็นหมุนเวียนให้กับโครงการฯ โซนซี ซึ่งมีพื้นที่รวม 660,000 ตารางเมตร โดยบีเอ็นเอสพี สมาร์ท เทค จะนำความเชี่ยวชาญและความแข็งแกร่งของบ้านปู เน็กซ์ และเอสพี กรุ๊ป มาใช้ในการออกแบบ ดำเนินงาน และดูแลรักษาระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางเพื่อให้สามารถผลิตและกระจายน้ำเย็นไปยังพื้นที่ทุกส่วนภายในโครงการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดพลังงาน และมั่นใจในบริการได้ทุกขั้นตอน พร้อมนำเสนอบริการโซลูชันพลังงานสะอาดแบบครบวงจร โดยนอกจากการติดตั้งระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางแล้ว ยังมีแผนติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้บริการในพื้นที่โครงการอีกด้วย

ที่สำคัญ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายด้านความยั่งยืนให้กับโครงการฯ โซนซี บ้านปู เน็กซ์ และเอสพี กรุ๊ป จะจัดหาโซลูชันพลังงานสะอาดอื่น ๆ มาพัฒนาโครงการรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการต่อขยายระบบทำน้ำเย็น รถบัสไฟฟ้า การติดตั้งระบบโซลาร์ และระบบกักเก็บพลังงาน

นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด กล่าวว่า “เมกะโปรเจกต์ระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางภายในโครงการฯ โซนซี ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของบ้านปู เน็กซ์ บริษัทลูกของบ้านปู ที่จะก้าวเป็น Net-Zero Energy Provider ให้กับทุกองค์กรทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมพัฒนาให้เป็น Smart Enterprise เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือครั้งนี้ยังตอกย้ำความเชี่ยวชาญในธุรกิจจัดการพลังงานของบ้านปู เน็กซ์ ที่มอบบริการแบบครบวงจร ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และมอนิเตอร์ได้เรียลไทม์”

นายสแตนลีย์ หวง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอสพี กรุ๊ป กล่าวว่า “ความสำเร็จในครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกของเอสพี กรุ๊ป ในการรุกตลาดระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางในไทย ทั้งยังสะท้อนความมุ่งมั่นในการนำโซลูชันพลังงานที่ยั่งยืนมาเร่งขับเคลื่อนเป้าหมายด้าน Net-Zero ให้กับประเทศไทย โดยเอสพี กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางรายใหญ่ที่สุดของเอเชีย มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการบริหารต้นทุนและประสิทธิภาพด้านพลังงานด้วยบริการระบบผลิตความเย็นแบบครบวงจร (Cooling as a Service) เราพร้อมที่จะขยายเครือข่ายและขับเคลื่อนการใช้ระบบความเย็นที่ยั่งยืนในภูมิภาค ทั้งในประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะยกระดับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืนด้วยโซลูชันอันล้ำสมัยและการผนึกพันธมิตรที่แข็งแกร่ง”

ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ DAD Asset Development กล่าวว่า “DAD มีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีระดับเอเชียแปซิฟิกของ บีเอ็นเอสพี สมาร์ท เทค (BNSP Smart Tech) ด้านการบริหารจัดการระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง (District Cooling System: DCS) ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและระบบสาธารณูปโภคให้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนซี และเป็นการเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมือง DAD จึงมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่ขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 อย่างยั่งยืน”

บ้านปู เน็กซ์ และเอสพี กรุ๊ป มีประสบการณ์นำเสนอโซลูชันทำความเย็นที่ล้ำสมัยและยั่งยืน โดยบ้านปู เน็กซ์ ได้พัฒนาและติดตั้งระบบทำน้ำเย็นให้กับหลายโครงการชั้นนำในประเทศไทย อาทิ จามจุรีสแควร์, แพลทินัม แฟชั่น มอลล์ และอาคารล็อกซเล่ย์ ขณะที่เอสพี กรุ๊ป เป็นผู้ให้บริการระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโครงการในพอร์ตโฟลิโอทั่วเอเชียรวมทั้งสิ้นกว่า 228,000 ตันความเย็น (RT) ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายระบบการทำความเย็นจากส่วนกลางขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในพื้นที่ระดับแลนด์มาร์คอย่างมารีน่า เบย์ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะสามารถให้บริการทำความเย็นให้กับ 32 อาคารในย่านดังกล่าวภายในปี พ.ศ. 2570 นอกจากนี้ เอสพี กรุ๊ป ยังดูแลระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางให้กับโครงการฟื้นฟูเมืองเชิงบูรณาการให้กับย่านแทมปิเนส (Tampines) ติดตั้งระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางที่ใหญ่ที่สุดสำหรับภาคอุตสาหกรรมในสิงคโปร์ให้กับบริษัทเอสทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (STMicroelectronics) รวมไปถึงอีกหลายโครงการในประเทศจีน อาทิ กลุ่มอาคารราฟเฟิลส์ ซิตี้ ฉงชิ่ง, ศูนย์ออกแบบผังเมืองนานาชาติ เฉิงตู และโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้กว่างโจว

 บ้านปู เน็กซ์ ร่วมผลักดันแผนความร่วมมือระหว่าง “บียอนด์ กรีน” ผู้นำธุรกิจรถไฟฟ้าเอนกประสงค์ครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย และ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ในโครงการผลิตและประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนและโซเดียมไอออนสำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้า เดินหน้านำแบตฯ ลิเธียมไอออนไปใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าของ บียอนด์ กรีน ประมาณ 2,000 ชุดต่อปี และสนับสนุนการพัฒนาแบตฯ โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในภาคอีสานของไทย ตั้งเป้าขยายแบตเตอรี่ไทยไปสู่ตลาดโลก

บ้านปู เน็กซ์ ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทลูกของบ้านปู และบียอนด์ กรีน เครือข่ายพันธมิตรที่บ้านปู เน็กซ์เข้าไปร่วมลงทุน ต่างมีความมุ่งมั่นและเป้าหมายเดียวกันคือ ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยและทั่วเอเชียแปซิฟิก ดังนั้น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) ระหว่างบียอนด์ กรีนและ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในโครงการผลิตและประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนและโซเดียมไอออนสำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้า จะเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงช่วยรองรับดีมานต์การใช้แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย Meticulous Research คาดการณ์ว่าตลาดแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีอัตราการเติบโต (CAGR) อยู่ที่ 23.3% ในช่วงปี 2565-2572* นอกจากนี้ การผนึกกำลังของทั้ง 2 องค์กร ยังช่วยต่อยอดความแข็งแกร่งให้ธุรกิจแบตเตอรี่ของบ้านปู เน็กซ์ ให้สามารถนำเสนอโซลูชันที่หลากหลายและครบวงจรยิ่งขึ้นให้กับกลุ่มลูกค้า

บียอนด์ กรีน เป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเอนกประสงค์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ปัจจุบันมีรถกอล์ฟไฟฟ้าในตลาดประมาณ 20,000 คัน ซึ่งเป็นของบียอนด์ กรีน 5,000 คัน โดยในแต่ละปีบริษัทจะมีความต้องการใช้แบตเตอรี่สูงถึง 2,000 ชุด จึงมองหาพาร์ทเนอร์ที่เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าของบริษัท ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ที่สามารถผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูง ปลอดภัย และได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รวมถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังได้คิดค้นและพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในอาเซียน ซึ่งบียอนด์ กรีนเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสในการใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศ จึงเกิดเป็นความร่วมมือครั้งนี้ โดยมุ่งเน้น 2 เรื่อง คือ 1. นำแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูง แบรนด์ kkUVolts ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปทดลองใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าของบียอนด์ กรีนในประเทศไทย จำนวน 2,000 ชุด 2. สนับสนุนการพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออน พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าในเครือข่ายธุรกิจของบียอนด์ กรีนในอนาคต

การร่วมผลักดันความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จและมีส่วนช่วยเสริมให้บ้านปู เน็กซ์ มีพันธมิตรที่เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของตลาดแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของทีมนักวิจัยไทยที่สามารถพัฒนานวัตกรรมแบตเตอรี่พลังงานยุคใหม่ที่มีคุณภาพระดับสากล ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่จากพลังงานทางเลือกของโลกในอนาคต ขณะเดียวกันยังช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งในอนาคต บียอนด์ กรีนจะเดินหน้าขยายความร่วมมือนำแบตเตอรี่ทั้ง 2 ชนิดไปใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าในเครือข่ายธุรกิจ รวมถึงต่อยอดไปใช้กับรถไฟฟ้าเอนกประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย

*ข้อมูลจาก Asia-Pacific EV Battery Market

ขยายโซลาร์รูฟในต่างประเทศ-ตั้งโรงงานแบตฯ ในไทย-ผนึกพันธมิตรหนุนอีโคซิสเต็ม

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ เผยผลดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2565 ด้วยกระแสเงินสดและผลกำไรที่เติบโตต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากการขาย รวม 2,397 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 87,274 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 106 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) รวม 1,350 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 49,160 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 155 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 487 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 17,744 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 360 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นภายใต้อุปทานที่มีจำกัด ประกอบกับรายได้จากธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นและเทคโนโลยีพลังงานที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งมอบพลังงานที่ดีขึ้นเพื่ออนาคต (Smarter Energy for the Future)

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ผลการดำเนินงานของเราในไตรมาส 3 ปี 2565 มีการเติบโตอย่างน่าพอใจ ทั้งจากความต้องการพลังงานที่ขยายตัวแนวโน้มราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการขยายตัวของรายได้ที่เริ่มเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมทั้งจากการขยายการเติบโตในพอร์ตธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นและเทคโนโลยีพลังงานตามกลยุทธ์ Greener & Smarter และการลงทุนในธุรกิจ New S-Curve ทั้งด้านที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมพลังงาน รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากด้านพลังงานและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี (Tech Enabler) ซึ่งล่าสุด บ้านปู เน็กซ์ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นเพื่อการลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 25 ในบริษัท อัลโต้เทค โกลบอล จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม IoT สำหรับจัดการระบบการใช้พลังงานในอาคารและโรงแรม ต่อยอดโซลูชันเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และลงทุนในกองทุน Smart City Fund II ของ Eurazeo ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานรูปแบบใหม่ และเทคโนโลยีสำหรับภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ยังคงเดินหน้าการดำเนินการภายใต้หลัก ESG ที่เรายึดถือมาตลอดอย่างแข็งขัน โดยได้รับรางวัล Sustainability Awards of Honor จากเวที SET Awards 2022 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ซึ่งมอบให้กับองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนในระดับยอดเยี่ยมต่อเนื่องตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment) หรือ THSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 จากตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นกัน”

ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปี 2565 มีรายละเอียดจำแนกตาม 3 กลุ่มธุรกิจหลักได้ดังต่อไปนี้

ด้านกลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน (Energy Resources) ธุรกิจเหมือง สร้างโอกาสและรายได้ที่เติบโตจากราคาถ่านหินในตลาดโลกที่ยังคงสูง ขณะที่รายได้จากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น และราคายังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้น ในไตรมาส 3 บริษัทฯ ยังสามารถรับรู้รายได้จากการเข้าซื้อสัดส่วนผลประโยชน์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติ XTO Barnett

ขณะที่กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน (Energy Generation) ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน สามารถรักษาอัตราการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะที่โรงไฟฟ้า BLCP ในไทย โรงไฟฟ้า HPC ในลาว และโรงไฟฟ้า Temple I ในสหรัฐฯ ขณะที่ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สามารถเพิ่มกำลังการผลิตรวมจากพลังงานหมุนเวียนได้ถึง 1,003 เมกะวัตต์

กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology) ยังคงเร่งเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณท์และบริการ เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจของกลุ่มบ้านปู (Banpu Ecosystem) ให้แข็งแกร่ง โดยล่าสุดได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลท้องถิ่นในมณฑลเจิ้งติ้ง ประเทศจีน ในการดำเนินโครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา กำลังผลิต 58 เมกะวัตต์ และมีแผนขยายเพิ่มเป็น 167 เมกะวัตต์ในปี 2566

รวมทั้งเข้าถือหุ้น 25% ในบริษัท อัลโต้เทค โกลบอล จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม IoT สำหรับระบบจัดการการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมในอาคารและโรงแรม และเข้าลงทุนจำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ ในกองทุน Smart City Fund II ของ Eurazeo ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนระดับโลกที่มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานรูปแบบใหม่ สมาร์ทโมบิลิตี้ และเทคโนโลยีสำหรับภาคอุตสาหกรรม

เรายังคงเพิ่มอัตราเร่งในการสร้างการเติบโตภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter โดยอาศัยการผสานจุดแข็งจากระบบนิเวศด้านพลังงานอย่างครบวงจรของเรา ควบคู่ไปกับการแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรในธุรกิจต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญ ส่งเสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน เพื่อการเติบโตที่แข็งแกร่งและเดินหน้าพัฒนาสู่ความยั่งยืนในระยะยาว” นางสมฤดี กล่าวปิดท้าย

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click