เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ในชุมชน จัดกิจกรรม “ทิ้ง ถูก ที่” และ “แยก ถูก ถัง”

สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดตัว “ศูนย์ทดสอบความฉลาดในการเรียนรู้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ”

“มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” เป็นหนึ่งในนโยบายละแผนงานที่สำคัญของ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เพื่อเป็นการบริการวิชาการสู่สังคม

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ  รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเครือข่ายพันธมิตรพัฒนาเมือง “City Development Alliance: CDA” ซึ่งสมาคมการผังเมืองไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อสนับสนุนทางวิชาการให้กับการพัฒนาเมือง ร่วมกันสร้าง ค้นหา และ ออกแบบความรู้ร่วมกัน พัฒนานโยบายทางด้านการพัฒนาเมืองของประเทศไทย ได้กำหนดแผนการดำเนินงานขึ้นในพื้นที่นำร่อง 19 เมือง 

ทั้งนี้ มข.จะทำหน้าที่เป็นประธานเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนตามกรอบแนวทางการพัฒนาเมืองโดยมีกฎบัตรของเมืองต่างๆนั้นเป็นหัวใจหลักในการพัฒนา ซึ่งมข.และมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมดำเนินการตามโครงการดังกล่าวนี้จะนำหลักวิชาการและองค์ความรู้ด้านวิชาการ นำมาถ่ายทอดและต่อยอดจากสิ่งที่แต่ละเมืองนั้นได้ดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งทุกเมือง และทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมตามแผนการดำเนินงานดังกล่าวนี้นั้นจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอในสิ่งที่มี สิ่งที่ขาดและสิ่งที่ต้องการบนพื้นฐานที่เกิดขึ้นจากความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมสนับสนุนการพัฒนาเมืองตามแนวทางเมืองอัจริยะ และได้กำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น

“ขณะนี้มีเมืองต่างๆ จำนวน 19 แห่ง ที่ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบริษัทพัฒนาเมือง ที่เข้าร่วมกับการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือดังกล่าว จากนี้ไปคณะทำงานร่วม 6 หน่วยงานหลักจะลงพื้นที่เพื่อเปิดเวทีสาธารณะ ในการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการ และสิ่งที่คนในชุมชนนั้นอยากที่จะนำเสนอและอยากให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งบริบทของแต่ละพื้นที่ทั้ง 19 เมืองนั้นล้วนแตกต่างกันไปแต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ คนในชุมชนนั้นมีความเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่ม มีการร่วมกันวางแผน ยุทธศาสตร์ ด้วยข้อตกลงร่วมกันของสังคม ซึ่งเรียกกันว่า “กฎบัตร” ซึ่งเป็นรูปแบบการพื้นฟูพัฒนาเมือง และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ดังนั้นวันนี้จึงเป็นมิติใหม่ในการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากภาควิชาการที่เข้าไปสนับสนุนการทำงานในพื้นที่นำร่อง 19 เมืองที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไป”

Page 10 of 10
X

Right Click

No right click