×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

 ระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่อง จากการผลักดันภาคการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศ สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีแรกนี้ มีอัตราเติบโตสูงขึ้น จากลูกหนี้บัตรเครดิตรวมและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้น”

 ผลการดำเนินงานเคทีซีครึ่งปีแรกสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 2,515 ล้านบาท หรือมีอัตราเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 66% ในขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาส 2 เท่ากับ 1,306 ล้านบาท ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคที่ทวีความเข้มข้นขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากความท้าทายของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และผลกระทบจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว บริษัทฯ จึงต้องปรับปรุงกระบวนการสื่อสารกับผู้บริโภคและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับต้องปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าและเพิ่มปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร เพื่อรองรับกับความท้าทายของมาตรการและกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้น”  

ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 เคทีซีมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 71,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินทรัพย์ที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัทฯ อยู่ในรูปของลูกหนี้การค้าสุทธิ คิดเป็น 92% ของสินทรัพย์รวม โดยพอร์ตลูกหนี้การค้ารวมเท่ากับ 72,037 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3.1 ล้านบัญชี เติบโต 2.8% แบ่งเป็นบัตรเครดิต 2,249,933 บัตร ขยายตัว 3.2% พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 46,251 ล้านบาท สัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมปัจจุบันอยู่ที่ 12.6% อัตราเติบโตการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีรวมเท่ากับ 7.7% (อุตสาหกรรมเติบโต 11.9%) ส่วนแบ่งการตลาดของการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 11.1%            เอ็นพีแอล (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ NPL) รวมของบริษัทยังลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 1.3% จาก 1.6% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.1% ลดลงจาก 1.2% (อุตสาหกรรม 1.9%) สินเชื่อบุคคล 867,236 บัญชี ขยายตัว 2.0% ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 25,423 ล้านบาท สัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 7.0% และ NPL ของสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 0.8% ลดลงจาก 0.9% (อุตสาหกรรม 2.5%) โดยสัดส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อ NPL ยังคงมูลค่าสูงที่ 605% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 528%”

ระเฑียรให้ข้อมูลต่อว่า “ไตรมาสสองของปี 2561 เคทีซีมีอัตราเติบโตของรายได้รวมสูงขึ้น และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายรวมให้มีอัตราลดลง โดยสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น 9% เท่ากับ 5,259 ล้านบาท จากรายได้ดอกเบี้ยซึ่งส่วนใหญ่เพิ่มจากลูกหนี้สินเชื่อบุคคลที่ยังเติบโตได้ดี (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) รายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วน 93% มาจากหนี้สูญได้รับคืน และมีการควบคุมค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 3,626 ล้านบาท ลดลง 5% จากค่าใช้จ่ายการตลาดที่ลดลง เพราะอนุมัติสมาชิกใหม่ในจำนวนน้อยลงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ และมีการใช้งบประมาณด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเม็ดเงินน้อยลง ในขณะที่มูลค่าหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงเช่นกันเนื่องจากพอร์ตลูกหนี้ที่ขยายตัวได้ช้า ทำให้การตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายการเงินที่เป็นต้นทุนเงินก็ลดลง เนื่องจากบริษัทฯ ออกหุ้นกู้ใหม่ในระยะเวลาที่ยาวขึ้นด้วยต้นทุนเงินที่ต่ำลงกว่าหุ้นกู้เดิม โดยรักษาสัดส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้สุทธิ (Operating Cost to Income Ratio) เท่ากับ 26.8% ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 27.3% ซึ่งแสดงว่าบริษัทยังคงรักษาประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานได้ดี”

“บริษัทฯ มีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) ทั้งสิ้น 24,890 ล้านบาท เป็นวงเงินของธนาคารกรุงไทย 18,030 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์อื่นๆ 6,860 ล้านบาท โดยมีต้นทุนการเงินไตรมาส 2/2561 เท่ากับ 2.99% ลดลง 3.23% หากเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2560 สำหรับครึ่งปีต้นทุนเงินอยู่ที่ 2.97% (สิ้นปี 2560 เท่ากับ 3.12%) เพราะบริษัทฯ จัดหาเงินจากการออกหุ้นกู้ใหม่ด้วยระยะเวลาที่ยาวขึ้น แต่มีต้นทุนเงินที่ต่ำกว่าหุ้นกู้เดิม โดยมีอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 4.24 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”

“แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทฯ จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านอัตราเติบโตของพอร์ตและการใช้จ่ายผ่านบัตรตามที่ได้ตั้งไว้ จากปัจจัยของภาพรวมการเติบโตเศรษฐกิจที่อยู่ในสภาวะเริ่มฟื้นตัว และกฎเกณฑ์การควบคุมที่เป็นความท้าทายสำคัญ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์ในหลายแนวทางเพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้ โดยในปี 2561 บริษัทฯ ยังคงประมาณการเป้าหมายพอร์ตลูกหนี้รวมธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเติบโตไว้ที่ 10% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวมขยายตัวไม่ต่ำกว่า 15% รักษาสัดส่วน NPL ให้คงอยู่ในระดับเดียวกับ           ปีก่อนที่ 1.3% และคาดว่าจะมีกำไรสูงกว่าปี 2560 ที่มีมูลค่า 3,304 ล้านบาท”

                ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยทิศทางธุรกิจปี 2561 ที่กำลังจะมาถึงว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สถาบันการเงินของไทยก็กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัล รวมถึงกฎเกฎฑ์ต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป การวางกลยุทธ์ของเคทีซี จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยสิ่งที่เคทีซีเตรียมพร้อมมานานแล้วคือการพัฒนาบุคลากรให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามในการวางกลยุทธ์ธุรกิจสำหรับปี 2561 หลักๆ คือจะมีการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้จุดเด่นของแต่ละฝ่ายที่มีสร้างแพลตฟอร์มที่ได้ประโยชน์ การที่เคทีซีมีการเตรียมพร้อมด้านบุคลากรมาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นจังหวะที่ดีที่จะทำให้กิจการเติบโตในภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้

                การปรับกลยุทธ์ด่านไอทีและดิจิทัลของเคทีซีเพื่อสนับสนุนประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสด มี 3 แนวทางหลัก คือ ระบบต้องมีความเสถียร โมเดลธุรกิจที่จับต้องได้ และกระบวนการทำงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่พันธมิตรที่เคทีซีมุ่งขยายความร่วมมือจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆ และพร้อมที่จะร่วมทำงานกับเคทีซี ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด สตาร์ทอัพ ฟินเทค หรือร้านค้าต่างๆ

                ปิยะฉัตร เตชะเสน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ช่องทางจัดจำหน่ายและธุรกิจร้านค้า เคทีซี เปิดเผยว่า กลยุทธ์ของธุรกิจช่องทางจัดจำหน่ายและธุรกิจการค้าที่ผ่านมามีการปรับปรุงระบบหลังบ้านเพื่อช่วยในขั้นตอนการสมัครสมาชิก การเน้นกลุ่มลูกค้าเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป โดยบริษัทจะช่วยผู้ขายในการชี้เป้าหมายกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น  เน้นช่องทางออนไลน์ในการรับสมัครผ่านแอพพลิเคชันและคิวอาร์โค้ดตอบรับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มช่องทางต่อเนื่องจากช่องทางหลักของเคทีซีคือสาขาของธนาคารกรุงไทยและตัวแทนขาย

                ในส่วนของร้านค้า จะมีการปรับใช้เทคโนโลยี Payment Solution ที่หลากหลายให้เหมาะกับแต่ละร้านค้าและช่วยให้ร้านค้าสามารถบริหารต้นทุนของตนเองได้ดีขึ้น และจะเจาะขยายร้านค้าขนาดกลางและเล็กด้วย QR Code Payment ขณะที่ตลาดนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็จะนำเสนอ Alipay O2O (Onlinte to Offline) เพื่อเร่งขยายจุดรับชำระค่าสินค้าและบริการตามแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน

                พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  ธุรกิจบัตรเครดิต เคทีซี บอกถึงกลยุทธ์ธุรกิจบัตรเครดิตว่า ยังคงเน้นกลยุทธ์ที่ใช้มาอย่างต่อเนื่องคือ เน้นที่ความต้องการของลูกค้า การร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว ผ่านโปรแกรมคะแนนสะสมและการผ่อนชำระ

                การปรับธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ทันท่วงทีเพื่อการเติบโตอย่างแข็งแรงโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อน เพื่อให้ลูกค้าเกิดความผูกพัน และเลือกใช้บัตรเครดิตเคทีซี รวมถึงการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งจะมีการพัฒนาให้เห็นในอีกไม่นานนี้

                สุดาพร จันทร์วัฒนากุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจสินเชื่อบุคคล เคทีซี เล่ากลยุทธ์การตลาดธุรกิจสินเชื่อบุคคลโดยเริ่มจากสถาพตลาดโดยรวมมีการแข่งขันที่สูง มีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาในตลาด รวมถึงกฎกติกาใหม่ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ต้องปรับกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้า โดยจะเน้นกลุ่มที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป เพราะไม่มีการจำกัดวงเงินและจำนวนสถาบันการเงิน

                ในกลุ่มที่รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มที่สำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาและเริ่มทำงานประจำ ก็จะใช้ KTC Proud ให้เป็นบัตรใบแรกของลูกค้า และจะพัฒนาคุณสมบัติและบริการสินเชื่อพร้อมใช้ของ KTC Pround ให้ตอบโจทย์สมาชิกมากขึ้น ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Cash Online เบิกถอนเงินสดผ่านโทรศัพท์มือถือและเว็บไซต์เคทีซี สำหรับผู้มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย นอกจากนี้ยังมีแผนการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้ากว่าแปดแสนรายให้ใช้บริการเคทีซี เช่น โปรแกรมแบ่งเบาภาระหนี้ และค่าครองชีพ คอร์สการให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างรายได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ

                ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานคอร์ปอเรทไฟแนนซ์ เคทีซี กล่าวถึงกลยุทธ์บริการการเงินของเคทีซีว่า แม้จะมีกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ออกมา แต่เคทีซีก็มีการเตรียมความพร้อมรับมือเช่น มาตรฐานบัญชี IFRS9 ที่จะประกาศใช้ในปี 2562 เคทีซีก็มีการสอบทานโมเดลที่ใช้ในการคำนวณสำรองว่ามีความสอดคล้อง และเป็นไปตามแนวทางของมาตรฐานนี้แล้ว  กลยุทธ์การบริหารด้านการเงินของเคทีซีในปี 2561 จะยังเน้นการบริหารต้นทุนเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการหาต้นทุนเงินที่ต่ำ และเพิ่มสัดส่วนเงินกู้ระยะยาวมากขึ้น รวมถึงมีแผนออกหุ้นกู้ระยะยาวเพื่อทดแทนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปีหน้า

                โดยเคทีซียังคงความสามารถในการสร้างรายได้และทำกำไร รวมถึงควบคุมสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม โดยกำไรของปี 2560 ยังจะเติบโต 10 เปอร์เซ็นต์ตามที่วางเป้าหมายไว้

                ระเฑียรสรุปว่า วันนี้เคทีซีพร้อมเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์สำหรับรองรับแพลตฟอร์มงานดิจิทัล และเชื่อว่าลูกค้าจะได้รับบริการด้านดิจิทัลที่ดีที่สุดของวงการบัตรเครดิตในขณะนี้ และพร้อมจะให้สมาชิกเคทีซีและลูกค้าในอนาคตเป็นผู้พิสูจน์ เพื่อให้เคทีซีมีโอกาสปรับปรุงและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น เพราะความพึงพอใจของลูกค้าจะช่วยสร้างความผูกพันกับแบรนด์เคทีซีอย่างยั่งยืน และเคทีซีพร้อมจะนำเสนอให้ลูกค้าได้ประโยชน์ครบทุกความต้องการ 

 

X

Right Click

No right click