November 22, 2024

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร(KKP) โดยนายทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หนึ่งในทีมที่ปรึกษาของเยาวชนผู้แทนประเทศไทย (Educator) ในเวทีการประชุม APEC Voices of the Future 2022 (APEC VOTF 2022) พร้อมด้วยนางสาวนภัสสร พิศิษฏพงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้แทนเยาวชนของประเทศไทย เข้าร่วมงานเสวนา Bangkok Goals on BCG Economy: Post-APEC2022 Multistakeholder Forum ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินการตามเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Economy) ตามแนวทางการรับไม้ต่อจากเอเปคสู่การปฏิบัติจริง โดยภายในงานได้มีการเชิญผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และเยาวชน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และมีนายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคของไทยเข้าร่วมการเสวนา ณ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565

ผลจากการเสวนา Bangkok Goals on BCG Economy: Post-APEC2022 Multistakeholder Forum จะถูกนำไปจัดเตรียมสำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินการ ประเมินและทบทวนผลการดำเนินการ ทั้งภายในประเทศและในกรอบเอเปค

ทั้งนี้ เป้าหมายกรุงเทพฯ ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 โดยเหล่าผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่มาร่วมงานประชุม APEC 2022 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Economy) ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน และการลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเอกสารฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของเอเปคที่วางบรรทัดฐานและระบุเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจภูมิภาคในระยะยาว

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสิน ในฐานะสถาบันเพื่อการออม ที่มุ่งมั่นสนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงเยาวชน ได้มีจิตสำนึกรักการออม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ธนาคารได้จัดแคมเปญฝากเงินรับกระปุกออมสินเนื่องในวันเด็กแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สำหรับในปีนี้ ธนาคารได้ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย เปิดโอกาสให้ศิลปินเด็กออทิสติกของมูลนิธิฯ เป็นผู้วาดภาพลวดลายของกระปุกออมสินวาระโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยการจ้างงานผ่านบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Art Story by Autistic Thai) มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้เด็กพิเศษกลุ่มนี้ได้แสดงออกถึงศักยภาพและความชำนาญในการใช้ศิลปะบำบัด ที่สามารถนำมาต่อยอดสร้างรายได้ช่วยเหลือตนเองและครอบครัว นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมในสังคมได้เช่นเดียวกับเด็กและเยาวชนทั่วไป แนวคิดความร่วมมือในครั้งนี้จึงสอดคล้องตามจุดยืนของธนาคารที่มุ่งสร้างผลลัพธ์เชิงบวกในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

กระปุกออมสิน “ตุ๊กตาล้มลุก” เป็นการนำผลงานวาดภาพของศิลปินเด็กออทิสติก มาออกแบบและพิมพ์ลวดลายลงบนกระปุกออมสิน 3 แบบ 3 ลวดลาย สื่อความหมายถึงพลังในการดำเนินชีวิตที่คนเราเมื่อล้มได้ ก็ยังสามารถลุกขึ้นต่อสู้ต่อไปได้ทุกครั้ง โดยมุ่งหวังสร้างแรงบันดาลใจในการต่อสู้กับวิกฤติ และเป็นพลังใจแก่ผู้ออมที่แม้บางครั้งอาจพบกับอุปสรรค แต่ยังสามารถกลับมาออมต่อได้ใหม่ทุกครั้ง เพื่อบรรลุเป้าหมายการออมที่ตั้งใจไว้

ทั้งนี้ เด็กและเยาวชนที่ประสงค์ฝากเงินและรับกระปุกออมสินเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี 2566 สามารถลงทะเบียนออนไลน์เพื่อจองสิทธิ์ฝากเงินได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ถึงวันที่ 12 มกราคม 2566 ผ่าน 2 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ธนาคารออมสิน : www.gsb.or.th และ Line Official : GSB Society โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เยาว์ลงทะเบียนเพื่อไปฝากเงินในวันที่ 14 มกราคม 2566 (วันเด็กปี 2566) ที่สาขาของธนาคารออมสินทั่วประเทศ หรือที่แอปพลิเคชัน MyMo หรือที่เครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติ (ADM) ก็ได้ จากนั้นนำหลักฐานการลงทะเบียนและฝากเงินมาขอรับกระปุกออมสิน“ตุ๊กตาล้มลุก” ได้ ณ สาขาที่ลงทะเบียนจองสิทธิ์ฝากเงินไว้ จำนวน 1 ชิ้น ต่อ 1 สิทธิ์ (ของมีจำนวนจำกัด) ตั้งแต่วันที่ 14-31 มกราคม 2566 ทั้งนี้ ธนาคารขอสงวนสิทธิ์สำหรับบัญชีเงินฝาก หรือ สลากออมสินที่มีชื่อผู้เยาว์ หรือเพื่อประโยชน์ผู้เยาว์ เท่านั้น

ธนชาต เดินหน้าจัดการประกวดอ่านฟังเสียงภาษาไทยและมารยาทไทยภายใต้โครงการ ธนชาต ริเริ่ม...เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย” อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 48 เปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วไปและเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินและการมองเห็นทั่วประเทศร่วมแสดงความสามารถเพื่อรักษาและสืบทอดเอกลักษณ์อันดีงามของไทย โดยมีตัวแทนเยาวชนจากทุกภาคร่วมเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ธนาคารธนชาต อาคารสวนมะลิ

นายเกรียงไกร ภูริวิทย์วัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธนาคารธนชาต ตระหนักถึงความสำคัญของการธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย จึงได้จัดโครงการ “ธนชาต ริเริ่ม...เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย” ขึ้นทุกปี โดยจัดต่อเนื่องจากธนาคารศรีนคร และนครหลวงไทยมาเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษแล้ว เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนร่วมกันรักษาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยและทำหน้าที่เป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อส่งต่อสำนึกรักความเป็นไทยออกไปสู่สังคมอย่างยั่งยืน”

โครงการ “ธนชาต ริเริ่ม...เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย” ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากองค์กรภาครัฐ อาทิ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสถาบันการศึกษาชั้นนำ และได้รับเสียงตอบรับจากเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษาเป็นอย่างดีมาโดยตลอด เห็นได้จากจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมการประกวดที่เพิ่มขึ้นทุกปี    สำหรับปี 2562 นี้   มีจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกประเภท ทั้งเยาวชนทั่วไป   และเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินและการมองเห็น จากทุกภาคทั่วประเทศ รวมกันถึง 813 สถาบันการศึกษา 5,713 คน แบ่งเป็นอ่านฟังเสียง ชาย 661 คน หญิง 1,519 คน มารยาทไทย 3,364 คน (841 ทีม) อ่านฟังเสียงอักษรเบลล์สำหรับเยาวชนผู้บกพร่องทางการมองเห็น ชาย 13 คน หญิง 28 คน การประกวดมารยาทไทยสำหรับเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยิน 128 คน (32 ทีม) ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา

“ธนาคารธนชาตต้องการสนับสนุนให้เยาวชนทุกกลุ่ม ทุกวัย และทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในการแสดงออกซึ่งความรักและการเผยแพร่วัฒนธรรมประจำชาติ จึงได้ต่อยอดการประกวดมารยาทไทยสำหรับเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยิน และการประกวดอ่านฟังเสียงสำหรับเยาวชนผู้บกพร่องทางการมองเห็น เพื่อให้เยาวชนทุกกลุ่มได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและฝึกฝนทักษะในการใช้ชีวิตอย่างทั่วถึงกัน ตลอดจนเพื่อวางรากฐานให้เยาวชนของชาติได้มีทักษะและพื้นฐานที่สำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นทักษะการสื่อสาร บุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการรับมือกับความกดดัน ซึ่งล้วนแต่เป็นทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เยาวชนผู้เข้าร่วมการประกวดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับตนเองได้ทั้งในด้านอาชีพและการใช้ชีวิตประจำวัน ตามแนวคิด "ACT FOR SOCIAL PROGRESS ลงมือทำ...เพื่อสังคมก้าวหน้าอย่างยั่งยืน" ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีบุคคลมีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในหลายวงการผ่านการประกวดบนเวทีนี้มาก่อน และธนาคารธนชาตจะยังคงเดินหน้าส่งเสริมเยาวชนของชาติให้ตระหนักถึงภาษาและมารยาทอันดีงามของไทย เพื่อร่วมสร้างพื้นฐานความก้าวหน้าให้กับสังคมไทย” นายเกรียงไกร กล่าวปิดท้าย

การประกวดโครงการ “ธนชาต ริเริ่ม...เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย” ประจำปี 2562 ได้เดินทางมาถึงโค้งสุดท้ายแล้ว โดยการประกวดรอบชิงชนะเลิศสำหรับเยาวชนทั่วไปจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 9-13 กันยายน 2562 ส่วนการประกวดมารยาทไทยสำหรับเยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยิน และการประกวดอ่านฟังเสียงอักษรเบลล์สำหรับเยาวชนผู้บกพร่องทางการมองเห็น จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม 2562 โดยผู้ชนะเลิศในทุกประเภทการแข่งขันจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล ทุนการศึกษา และเกียรติบัตร

X

Right Click

No right click